เหตุที่การบรรลุธรรมไม่เกิดขึ้นเพราะกำลังสมาธิและกำลังวิปัสสนาไม่เพียงพอ

คำว่า ฌาน ในพระพุทธศาสนา หมายถึง
การเพ่งหรือการเพ่งพิณิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่

แบ่งออกเป็น 2 อย่างตามลักษณะการทำหน้าที่ คือ

1. อารัมมณูปนิชฌาน คือ การเพ่งอารมณ์เพื่อความสงบของจิต นิยมเรียกว่า ฌานสมถะอารมณ์ที่กล่าวถึงจะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้ ที่เพ่งแล้วทำให้จิตสงบรวมเป็นหนึ่ง ปราศจากนิวรณ์รบกวนจิตเป็นอันใช้ได้ทั้งหมดที่นิยมฝึกมากที่สุด คือ อานาปานสติโดยมีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ให้จิตยึดเกาะ รองลงมา คือ การเพ่งกสิณประเภทต่างๆ

การฝึกฌานสมถะ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ

1.1 เพื่อเป็นเครื่องอยู่อันผาสุขของจิต
1.2 เป็นกำลังสำหรับวิปัสสนา เปรียบเหมือนจอบเสียม ต้องมีด้ามจับเพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ถ้าจะบรรลุพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ต้องสมบูรณ์ด้วยฌานสมถะ ถ้าฌานสมถะยังไม่สมบูรณ์จะไม่มีทางบรรลุอนาคามีหรือพระอรหันต์ได้เลย

2.ลักขณูปนิชฌาน คือ การเพ่งพินิจอารมณ์เพื่อการเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ เรียกว่า ฌานวิปัสสนา โดยใช้ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอารมณ์

หากการพิจารณาขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์แต่ความรู้แจ้งยังไม่เกิดขึ้น แสดงว่ากำลังสมาธิยังไม่มากพอ คนที่มีกำลังสมาธิไม่มากย่อมไม่อาจทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ต้องหยุดพักเอาแรงเป็นระยะๆ แต่ถ้าพิจารณาขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ถูกต้องแล้วและจิตมีกำลังสมาธิมากพอเป็นลักขณูปนิชฌานแล้ว ย่อมพิจารณาขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ยาวนานจนกว่าความรู้แจ้งตามความเป็นจริงจะเกิดขึ้น

การรู้แจ้งความจริง คือ การบรรลุธรรม
เหตุที่การบรรลุธรรมไม่เกิดขึ้นเพราะกำลังสมาธิและกำลังวิปัสสนาไม่เพียงพอจะไม่เกิดลักขณูปนิชฌานเป็นเพียงจินตามยปัญญาเท่านั้น การบรรลุธรรมทุกระดับชั้นล้วนเกิดจากการทำงานของลักขณูปนิชฌานทั้งสิ้น

https://www.facebook.com/share/v/14r6rL5Kh4/?mibextid=wwXIfr
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่