สาเหตุของข้อไหล่ติดเกิดจากมีการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงเนื่องมาจากการบาดเจ็บ โรคข้ออักเสบ หมอนรอง
กระดูกคอเสื่อม ทำให้เกิดเอ็นข้อต่อหัวไหล่ยึด รวมไปถึงกระบวนการเสื่อมของเส้นเอ็มกล้ามเนื้อตามอายุที่มากขึ้น
ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง
นอกจากนี้การใช้งานข้อไหล่ที่มากเกินไป ทำให้เยื่อหุ้มข้อและเส้นเอ็นอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการหนาตัวขึ้นของเยื่อหุ้มข้อ
ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้น้อยลง จนเกิดข้อติดเกิดขึ้น
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันและรักษา
1. แกว่งแขน
เอาแขนข้างที่ไม่มีอาการปวดเท้าบนโต๊ะ ก้มตัวลงให้แขนข้างเจ็บห้อยลง ค่อยๆ แกว่งแขนไปข้างหน้า ข้างหลัง
ข้างใน ออกข้างนอก แกว่งเป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำครั้งละ 5 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
2. แบะไหล่กางออก
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตรง มือทั้งสองข้างประสานไว้ที่ท้ายทอย แบะไหล่ให้รู้สึกตึงที่กล้ามเนื้ออกและไหล่ด้านหน้า
ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
3. ท่ามือแตะไหล่
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตรง ยกมือซ้ายแตะไหล่ขวาและใช้มือขวาดันข้อศอกซ้ายไปทางด้านหลัง ดันไปจนรู้สึกตึงที่
กล้ามเนื้อไหล่ด้านหลัง ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต จากนั้นสลับทำอีกข้าง
4. ท่ายกแขนแนบหู
นอนหงาย ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้มืออีกข้างพยุงบริเวณศอก แล้วดันให้รู้สึกตึงบริเวณด้านข้างหัวไหล่
ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
5. ท่ายกแขนขึ้นลง
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง มือทั้งสองข้างจับไม้พลองหรือไม้เท้า เหยียดข้อศอกตรง ยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้า
พยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้แขนข้างปกติช่วยยกนำแขนข้างที่ไหล่ติดให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
6. ท่ากางแขนยกขึ้น
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง มือทั้งสองข้างจับไม้พลองหรือไม้เท้า ใช้แรงข้างที่ไม่มีอาการปวดไหล่ ดันไปด้านข้าง โดยดันไป
แขนข้างที่มีอาการปวดกางออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่มีอาการปวด ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที
ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
7. ท่าผ้าขนหนูถูหลัง
ใช้มือข้างที่ไหล่ติดไขว้ไปด้านหลังเเพื่อแตะสะบักฝั่งตรงข้าม ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต หรือใช้มือข้างที่ไหล่ติดไขว้ไปด้านหลัง แล้วจับผ้าขนหนู ใช้มืออีกข้างดึงขึ้นเพื่อให้เคลื่อนไปด้านบน
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่มีอาการปวด ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การออกกำลังในผู้ป่วยข้อไหล่ติด
กระดูกคอเสื่อม ทำให้เกิดเอ็นข้อต่อหัวไหล่ยึด รวมไปถึงกระบวนการเสื่อมของเส้นเอ็มกล้ามเนื้อตามอายุที่มากขึ้น
ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง
นอกจากนี้การใช้งานข้อไหล่ที่มากเกินไป ทำให้เยื่อหุ้มข้อและเส้นเอ็นอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการหนาตัวขึ้นของเยื่อหุ้มข้อ
ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้น้อยลง จนเกิดข้อติดเกิดขึ้น
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันและรักษา
1. แกว่งแขน
เอาแขนข้างที่ไม่มีอาการปวดเท้าบนโต๊ะ ก้มตัวลงให้แขนข้างเจ็บห้อยลง ค่อยๆ แกว่งแขนไปข้างหน้า ข้างหลัง
ข้างใน ออกข้างนอก แกว่งเป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำครั้งละ 5 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
2. แบะไหล่กางออก
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตรง มือทั้งสองข้างประสานไว้ที่ท้ายทอย แบะไหล่ให้รู้สึกตึงที่กล้ามเนื้ออกและไหล่ด้านหน้า
ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
3. ท่ามือแตะไหล่
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง ลำตัวตรง ยกมือซ้ายแตะไหล่ขวาและใช้มือขวาดันข้อศอกซ้ายไปทางด้านหลัง ดันไปจนรู้สึกตึงที่
กล้ามเนื้อไหล่ด้านหลัง ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต จากนั้นสลับทำอีกข้าง
4. ท่ายกแขนแนบหู
นอนหงาย ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้มืออีกข้างพยุงบริเวณศอก แล้วดันให้รู้สึกตึงบริเวณด้านข้างหัวไหล่
ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
5. ท่ายกแขนขึ้นลง
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง มือทั้งสองข้างจับไม้พลองหรือไม้เท้า เหยียดข้อศอกตรง ยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้า
พยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้แขนข้างปกติช่วยยกนำแขนข้างที่ไหล่ติดให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
6. ท่ากางแขนยกขึ้น
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง มือทั้งสองข้างจับไม้พลองหรือไม้เท้า ใช้แรงข้างที่ไม่มีอาการปวดไหล่ ดันไปด้านข้าง โดยดันไป
แขนข้างที่มีอาการปวดกางออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่มีอาการปวด ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที
ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
7. ท่าผ้าขนหนูถูหลัง
ใช้มือข้างที่ไหล่ติดไขว้ไปด้านหลังเเพื่อแตะสะบักฝั่งตรงข้าม ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต
วันละ 2-3 เซต หรือใช้มือข้างที่ไหล่ติดไขว้ไปด้านหลัง แล้วจับผ้าขนหนู ใช้มืออีกข้างดึงขึ้นเพื่อให้เคลื่อนไปด้านบน
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่มีอาการปวด ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง/เซต วันละ 2-3 เซต
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด