อาการไหล่ติดแข็ง หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Frozen shoulder มักพบมากในช่วงอายุ 40-70 ปี อุบัติการณ์เกิดจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การถูกจำกัดการเคลื่อนไหวโดยการใส่เฝือก จากการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อบริเวณรอบๆข้อ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากเส้นประสาทได้รับการบาดเจ็บ เป็นต้น
โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปล๊บๆ บริเวณด้านนอกของแขน และร้าวลงสู่แขนท่อนล่าง จะมีอาการปวดรบกวนขณะนอนโดยเฉพาะตอนกลางคืน โดยผู้ป่วยจะหยุดเคลื่อนไหวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเจ็บ เมื่ออาการปวดลดลง องศาการเคลื่อนไหวจะลดลง จนถึงมีการติดแข็งของข้อ
อาการแสดงทางคลินิก จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะ Painful freezing phase ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ทั้งในขณะพักหรือเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากเคลื่อนไหวเนื่องจากมีอาการปวด
2. ระยะ Frozen phase ในระยะนี้เมื่อเราเคลื่อนไหวหัวไหล่จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น แต่ถ้าพักหรือไม่มีการเคลื่อนไหวจำทำให้อาการปวดลดลง จึงเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะติดแข็งของข้อไหล่
3. ระยะ Thawing phase ในระยะนี้จะมีการกลับไปส่การเคลื่อนไหวได้อีกครั้งโดยระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 12- 42 เดือน
วิธีสังเกตว่าเป็นโรคข้อไหล่ติดหรือไม่
สามารถสังเกตได้ขณะใช้งานแขนในลักษณะท่าทางต่างๆแล้วจะรู้สึกเจ็บไหล่ เช่นล้วงกระเป๋าหลังของกางเกงที่สวมอยู่ ไม่สามารถยกแขนเหนือศีรษะเพื่อหยิบของที่สูงได้ไม่สามารถเอามือไขว้หลังเพื่อถูหลังตัวเองหรือสระผมตัวเองได้ไม่สามารถกางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น เป็นต้น
ท่าออกกกำลังกายเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยข้อไหล่ติด
1. หันด้านหน้าเข้าหากำแพง ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง
ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
2. หันด้านข้างเข้าหากำแพง ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง
ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
3. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ และดึงขึ้นมาเหนือศีรษะ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
4. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ (หากเอื้อมไม่ถึงให้ใช้ผ้าขนหนูช่วย) และดึงอ้อมทางด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง
ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
5. โน้มตัวมาทางด้านหน้า มือข้างปกติจับกับโต๊ะหรือเก้าอี้หมุนข้อไหล่ข้างที่มีอาการให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้อย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการปวด ประมาณ 10 รอบ ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
6. ประสานมือทั้งสองข้าง ยกแขนขึ้นไปทางด้านหลังค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
บทความโดยทีมกายภาพบำบัดฟิสิคอลคลินิก
ตอนแรกปวดไหล่ แต่นานๆไปทำไมไหล่ติด ???
โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปล๊บๆ บริเวณด้านนอกของแขน และร้าวลงสู่แขนท่อนล่าง จะมีอาการปวดรบกวนขณะนอนโดยเฉพาะตอนกลางคืน โดยผู้ป่วยจะหยุดเคลื่อนไหวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเจ็บ เมื่ออาการปวดลดลง องศาการเคลื่อนไหวจะลดลง จนถึงมีการติดแข็งของข้อ
อาการแสดงทางคลินิก จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะ Painful freezing phase ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ทั้งในขณะพักหรือเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากเคลื่อนไหวเนื่องจากมีอาการปวด
2. ระยะ Frozen phase ในระยะนี้เมื่อเราเคลื่อนไหวหัวไหล่จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น แต่ถ้าพักหรือไม่มีการเคลื่อนไหวจำทำให้อาการปวดลดลง จึงเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะติดแข็งของข้อไหล่
3. ระยะ Thawing phase ในระยะนี้จะมีการกลับไปส่การเคลื่อนไหวได้อีกครั้งโดยระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 12- 42 เดือน
วิธีสังเกตว่าเป็นโรคข้อไหล่ติดหรือไม่
สามารถสังเกตได้ขณะใช้งานแขนในลักษณะท่าทางต่างๆแล้วจะรู้สึกเจ็บไหล่ เช่นล้วงกระเป๋าหลังของกางเกงที่สวมอยู่ ไม่สามารถยกแขนเหนือศีรษะเพื่อหยิบของที่สูงได้ไม่สามารถเอามือไขว้หลังเพื่อถูหลังตัวเองหรือสระผมตัวเองได้ไม่สามารถกางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น เป็นต้น
ท่าออกกกำลังกายเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยข้อไหล่ติด
1. หันด้านหน้าเข้าหากำแพง ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง
ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
2. หันด้านข้างเข้าหากำแพง ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง
ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
3. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ และดึงขึ้นมาเหนือศีรษะ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
4. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ (หากเอื้อมไม่ถึงให้ใช้ผ้าขนหนูช่วย) และดึงอ้อมทางด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง
ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
5. โน้มตัวมาทางด้านหน้า มือข้างปกติจับกับโต๊ะหรือเก้าอี้หมุนข้อไหล่ข้างที่มีอาการให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้อย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการปวด ประมาณ 10 รอบ ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด
6. ประสานมือทั้งสองข้าง ยกแขนขึ้นไปทางด้านหลังค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
บทความโดยทีมกายภาพบำบัดฟิสิคอลคลินิก