เอ็นใต้ฝ่าเท้าจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆจะเชื่อมระหว่างกระดูกสันเท้าไปยังกระดูกนิ้วเท้า
ทำหน้าที่ช่วยพยุงส่วนโค้งของฝ่าเท้า ถ้าเอ็นฝ่าถูกยืดหรือเกิดแรงตึงมากเกินไปจะเดิดการบวมหรืออักเสบ
ทำให้ขณะเดินหรือยืนจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าหรือปลายเท้าได้
ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า จะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือยืนลงน้ำหนัก
แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งแล้วอาการปวดมักจะดีขึ้น หากการอักเสบรุนแรงขึ้น หลังจากยืนหรือเดินนานๆจะมีอาหารปวดมากขึ้น
การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำในผู้ที่มีเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
ท่าที่ 1 กระดกเท้าขึ้น – ลง
ให้ผู้ป่วยนั่งเหยียดขา กระกดเท้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที และกระดกเท้าลงค้างไว้ 5 วินาที
ทำสลับกัน 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 คล้องผ้า ดึงเท้าเข้า
ใช้ผ้าคล้องปลายเท้า ดึงให้ข้อเท้ากระดกขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาทีแล้วปล่อย ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 เหยียบนวดฝ่าเท้า
ใช้เท้าเหยียบวัสดุกลมๆ เช่น ลูกเทนนิส ขวดน้ำ หรือกะลา เหยียบแล้วกลิ้งไปมาตรงบริเวณใต้ฝ่าเท้า ทำ 50 – 100 ครั้ง
ท่าที่ 4 จิกนิ้วขยุ้มผ้า
ใช้นิ้วหยิบสิ่งของจากพื้น เช่น ผ้า ดินสอ ก้อนหินเล็กๆ แล้วปล่อยลง สลับกับหยิบขึ้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 5 ยืนโน้มตัวดันผนัง
ยืนห่างจากผนัง 1 ช่วงแขน ก้าวขาที่จะเหยียดไว้ด้านหลังให้เข่าเหยียดตรง มือยันผนังไว้
ย่อเข่าที่อยู่ข้างหน้าลง โน้มตัวไปด้านหน้าจนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 6 เขย่งเท้า ขึ้น – ลง
ยืนเขย่งเท้าให้สูงพ้นพื้นค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 7 ยืนด้วยส้นเท้า
ยืนเขย่งส้นเท้าให้สูงพ้นพื้นค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อยลง สัลบกับยืนด้วยส้นเท้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การออกกำลังกายในผู้ป่วยรองช้ำ
ทำหน้าที่ช่วยพยุงส่วนโค้งของฝ่าเท้า ถ้าเอ็นฝ่าถูกยืดหรือเกิดแรงตึงมากเกินไปจะเดิดการบวมหรืออักเสบ
ทำให้ขณะเดินหรือยืนจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าหรือปลายเท้าได้
ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า จะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือยืนลงน้ำหนัก
แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งแล้วอาการปวดมักจะดีขึ้น หากการอักเสบรุนแรงขึ้น หลังจากยืนหรือเดินนานๆจะมีอาหารปวดมากขึ้น
การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำในผู้ที่มีเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
ท่าที่ 1 กระดกเท้าขึ้น – ลง
ให้ผู้ป่วยนั่งเหยียดขา กระกดเท้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที และกระดกเท้าลงค้างไว้ 5 วินาที
ทำสลับกัน 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 คล้องผ้า ดึงเท้าเข้า
ใช้ผ้าคล้องปลายเท้า ดึงให้ข้อเท้ากระดกขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาทีแล้วปล่อย ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 เหยียบนวดฝ่าเท้า
ใช้เท้าเหยียบวัสดุกลมๆ เช่น ลูกเทนนิส ขวดน้ำ หรือกะลา เหยียบแล้วกลิ้งไปมาตรงบริเวณใต้ฝ่าเท้า ทำ 50 – 100 ครั้ง
ท่าที่ 4 จิกนิ้วขยุ้มผ้า
ใช้นิ้วหยิบสิ่งของจากพื้น เช่น ผ้า ดินสอ ก้อนหินเล็กๆ แล้วปล่อยลง สลับกับหยิบขึ้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 5 ยืนโน้มตัวดันผนัง
ยืนห่างจากผนัง 1 ช่วงแขน ก้าวขาที่จะเหยียดไว้ด้านหลังให้เข่าเหยียดตรง มือยันผนังไว้
ย่อเข่าที่อยู่ข้างหน้าลง โน้มตัวไปด้านหน้าจนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 6 เขย่งเท้า ขึ้น – ลง
ยืนเขย่งเท้าให้สูงพ้นพื้นค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 7 ยืนด้วยส้นเท้า
ยืนเขย่งส้นเท้าให้สูงพ้นพื้นค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อยลง สัลบกับยืนด้วยส้นเท้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด