มีบ้างบางวันที่หนอนฯพบอะไรที่สะดุดตา
อาจเพราะว่าสิ่งนั้น "อยู่ผิดที่ผิดทาง" ในความรู้สึก ดูน่าประหลาดใจไปจากที่หนอนฯเคยคุ้น
หนอนฯไปอินเดียมาแล้ว3ครั้ง ล่าสุดปีนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และทริปที่4 ก็เกือบได้อีกไปในเดือนมีนาคม แต่โชคไม่ดีที่ทำพาสปอร์ตหายก่อนวันเดินทางจึงต้องยกเลิกไป
ทุกครั้งที่ไปอินเดีย จะได้เห็นพืชผักที่ควรจะอยู่ในครัว แต่ที่อินเดียกลับถูกนำมาใช้ร้อยด้าย เชือกหรือเส้นลวด และแขวนประดับตามหน้าประตูบ้าน หน้าร้านค้า และห้อยหน้ายานพาหนะทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ริกชอว์ หรือเกวียน
(รูปรถถ่ายมาเอง ส่วนอีกสองรูปเอามาจากเนตค่ะ ขออภัยไม่ได้เก็บที่มาไว้)
การที่มีพริกและมะนาวห้อยระย้า แขวนระโยงเรียงรายมากมาย ในเกือบทุกสถานที่ที่เราผ่านไปในทุกๆวันที่อยู่ในอินเดีย ช่างดูน่าแปลกใจ แขวนกันไว้ทำไม?
ครั้งหนึ่งเมื่อมีโอกาสก็ได้ถามกับคนอินเดียโดยตรง และเธอก็อธิบายว่า
"คนอินเดียส่วนใหญ่เป็นฮินดู พวกเรานับถือเทพเทวีหลายพระองค์ และมีความเชื่อมากมายหลายอย่าง ที่ส่งผลต่อวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
การร้อยและแขวนพริกและมะนาวไว้หน้าอาคารสถานที่และยานพาหนะนั้น ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มาจากความเชื่อ
คุณรู้จักพระแม่ลักษมีใช่ไหม? " เธอถามฉันยิ้มๆ
"ค่ะ รู้จัก" ก็ตอบอ่อยๆไป หวังไว้ว่าที่รู้จักจะไม่ผิดองค์
"รู้จักว่า...?" แน่ะ ยังถามต่อ
" เทวีแห่งความรัก ความงาม ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ใช่ไหมคะ?"
"ถูกต้อง" คนอินเดียส่งรอยยิ้มบางๆเป็นรางวัลก่อนจะอธิบายต่อ
" พระแม่ลักษมี มีพี่สาวชื่อ อลักษมี"
ฉันตาโต โอ้ นี่ความรู้ใหม่
" อลักษมี ( Alakshmi ) เป็นเทวีแห่งความอับโชค " คนอธิบายใช้คำว่า Goddess of Misfortune ค่ะ และเธอก็ว่าต่อ
" อลักษมี เป็นทุกสิ่งที่ตรงข้ามกับลักษมีก็ว่าได้ ถ้าลักษมีบันดาลสิ่งใด อลักษมีก็ให้ในสิ่งที่ตรงกันข้าม ไม่ว่าจะความอัปลักษณ์ ยากไร้ โชคร้าย เธอบันดาลให้ได้ทั้งนั้น และเมื่อเป็นอย่างนั้น หากเธอดำเนินผ่านมา ใครเล่าจะปรารถนาให้เธอมาประทับในเรือน จริงไหม? "
" ค่ะ " ฉันตอบไปอย่างนั้น แน่ล่ะ ขอเชิญดำเนินผ่านไปโดยเร็วเถิดเพคะอลักษมีเทวี หม่อมฉันขี้เหร่อยู่หน่อยๆ ขืนประทับนาน เห็นทีจะเข้าขั้นขี้ริ้วไร้เทียมทาน แถมเงินทองก็มีไม่เยอะ ไม่อยากมีน้อยลงไปกว่านี้
" เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเราที่มีความเชื่อเรื่องนี้ ก็คิดว่าทำอย่างไรดี หากเทวีท่านจะเสด็จมา ถ้าท่านมาถึงหน้าบ้าน ทำอย่างไรให้เทวีประทับอยู่แค่ตรงหน้าบ้าน ไม่ดำเนินเข้ามาด้านใน ในความเชื่อนั้นว่ากันว่าเทวีโปรดเสวยของเปรี้ยวและเผ็ดร้อน "
อ๋อ เรื่องเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะโปรดของเปรี้ยวจึงใช้มะนาว โปรดของเผ็ดร้อนจึงใช้พริกเป็นของถวายเพื่อให้หยุดรับและเมื่อพอใจ เทวีก็จะดำเนินจากไป ไม่เสด็จเข้ามาประทานความโชคร้ายให้ อืมห์ อย่างนี้เอง
ดังนั้นในทุกๆวันที่ฉันเรียกรถรับจ้างในอินเดีย เลยมักเหล่มองหน้ารถก่อนเลย ว่าห้อยพริกและมะนาวของโปรดของเทวีแห่งความอับโชคอับเฉาหรือไม่
ถ้าท่านใดเห็นของอะไรที่ปกติพบเห็นได้ในครัว แต่กลับออกมาอยู่นอกครัวได้ ก็ช่วยมาเล่ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยนะคะ
หมายเหตุ
หนอนฯเคยลงเรียนหลักสูตรป.โท (อินเดียศึกษา ) แต่ว่าเรียนไม่จบเพราะไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ ตอนเรียนก็ไม่รู้จักเทวี Alakshmi มาก่อนจนกระทั่งได้ไปอินเดียและเห็นภาพการแขวนพริกและมะนาวและได้ฟังเรื่องเล่าดังกล่าว
อย่างไรก็ดี บางครั้งถามคนอื่นเขาก็ตอบมาไม่เหมือนกัน บางคนว่าเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย (ออกแนวเรื่องแบบดวงตาปีศาจของบางประเทศเช่นตุรกี)
เลยขอแถมข้อมูลนี้ไว้เผื่อท่านใดอยากรู้จักเทวีแห่งความอับโชคเพิ่มนะคะ
http://www.malakshmi.com/Alakshmi.html
..... พริก & มะนาวนอกครัว @India .....
อาจเพราะว่าสิ่งนั้น "อยู่ผิดที่ผิดทาง" ในความรู้สึก ดูน่าประหลาดใจไปจากที่หนอนฯเคยคุ้น
หนอนฯไปอินเดียมาแล้ว3ครั้ง ล่าสุดปีนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และทริปที่4 ก็เกือบได้อีกไปในเดือนมีนาคม แต่โชคไม่ดีที่ทำพาสปอร์ตหายก่อนวันเดินทางจึงต้องยกเลิกไป
ทุกครั้งที่ไปอินเดีย จะได้เห็นพืชผักที่ควรจะอยู่ในครัว แต่ที่อินเดียกลับถูกนำมาใช้ร้อยด้าย เชือกหรือเส้นลวด และแขวนประดับตามหน้าประตูบ้าน หน้าร้านค้า และห้อยหน้ายานพาหนะทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ริกชอว์ หรือเกวียน
(รูปรถถ่ายมาเอง ส่วนอีกสองรูปเอามาจากเนตค่ะ ขออภัยไม่ได้เก็บที่มาไว้)
การที่มีพริกและมะนาวห้อยระย้า แขวนระโยงเรียงรายมากมาย ในเกือบทุกสถานที่ที่เราผ่านไปในทุกๆวันที่อยู่ในอินเดีย ช่างดูน่าแปลกใจ แขวนกันไว้ทำไม?
ครั้งหนึ่งเมื่อมีโอกาสก็ได้ถามกับคนอินเดียโดยตรง และเธอก็อธิบายว่า
"คนอินเดียส่วนใหญ่เป็นฮินดู พวกเรานับถือเทพเทวีหลายพระองค์ และมีความเชื่อมากมายหลายอย่าง ที่ส่งผลต่อวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
การร้อยและแขวนพริกและมะนาวไว้หน้าอาคารสถานที่และยานพาหนะนั้น ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มาจากความเชื่อ
คุณรู้จักพระแม่ลักษมีใช่ไหม? " เธอถามฉันยิ้มๆ
"ค่ะ รู้จัก" ก็ตอบอ่อยๆไป หวังไว้ว่าที่รู้จักจะไม่ผิดองค์
"รู้จักว่า...?" แน่ะ ยังถามต่อ
" เทวีแห่งความรัก ความงาม ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ใช่ไหมคะ?"
"ถูกต้อง" คนอินเดียส่งรอยยิ้มบางๆเป็นรางวัลก่อนจะอธิบายต่อ " พระแม่ลักษมี มีพี่สาวชื่อ อลักษมี"
ฉันตาโต โอ้ นี่ความรู้ใหม่
" อลักษมี ( Alakshmi ) เป็นเทวีแห่งความอับโชค " คนอธิบายใช้คำว่า Goddess of Misfortune ค่ะ และเธอก็ว่าต่อ
" อลักษมี เป็นทุกสิ่งที่ตรงข้ามกับลักษมีก็ว่าได้ ถ้าลักษมีบันดาลสิ่งใด อลักษมีก็ให้ในสิ่งที่ตรงกันข้าม ไม่ว่าจะความอัปลักษณ์ ยากไร้ โชคร้าย เธอบันดาลให้ได้ทั้งนั้น และเมื่อเป็นอย่างนั้น หากเธอดำเนินผ่านมา ใครเล่าจะปรารถนาให้เธอมาประทับในเรือน จริงไหม? "
" ค่ะ " ฉันตอบไปอย่างนั้น แน่ล่ะ ขอเชิญดำเนินผ่านไปโดยเร็วเถิดเพคะอลักษมีเทวี หม่อมฉันขี้เหร่อยู่หน่อยๆ ขืนประทับนาน เห็นทีจะเข้าขั้นขี้ริ้วไร้เทียมทาน แถมเงินทองก็มีไม่เยอะ ไม่อยากมีน้อยลงไปกว่านี้
" เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเราที่มีความเชื่อเรื่องนี้ ก็คิดว่าทำอย่างไรดี หากเทวีท่านจะเสด็จมา ถ้าท่านมาถึงหน้าบ้าน ทำอย่างไรให้เทวีประทับอยู่แค่ตรงหน้าบ้าน ไม่ดำเนินเข้ามาด้านใน ในความเชื่อนั้นว่ากันว่าเทวีโปรดเสวยของเปรี้ยวและเผ็ดร้อน "
อ๋อ เรื่องเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะโปรดของเปรี้ยวจึงใช้มะนาว โปรดของเผ็ดร้อนจึงใช้พริกเป็นของถวายเพื่อให้หยุดรับและเมื่อพอใจ เทวีก็จะดำเนินจากไป ไม่เสด็จเข้ามาประทานความโชคร้ายให้ อืมห์ อย่างนี้เอง
ดังนั้นในทุกๆวันที่ฉันเรียกรถรับจ้างในอินเดีย เลยมักเหล่มองหน้ารถก่อนเลย ว่าห้อยพริกและมะนาวของโปรดของเทวีแห่งความอับโชคอับเฉาหรือไม่
ถ้าท่านใดเห็นของอะไรที่ปกติพบเห็นได้ในครัว แต่กลับออกมาอยู่นอกครัวได้ ก็ช่วยมาเล่ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยนะคะ
หมายเหตุ
หนอนฯเคยลงเรียนหลักสูตรป.โท (อินเดียศึกษา ) แต่ว่าเรียนไม่จบเพราะไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ ตอนเรียนก็ไม่รู้จักเทวี Alakshmi มาก่อนจนกระทั่งได้ไปอินเดียและเห็นภาพการแขวนพริกและมะนาวและได้ฟังเรื่องเล่าดังกล่าว
อย่างไรก็ดี บางครั้งถามคนอื่นเขาก็ตอบมาไม่เหมือนกัน บางคนว่าเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย (ออกแนวเรื่องแบบดวงตาปีศาจของบางประเทศเช่นตุรกี)
เลยขอแถมข้อมูลนี้ไว้เผื่อท่านใดอยากรู้จักเทวีแห่งความอับโชคเพิ่มนะคะ
http://www.malakshmi.com/Alakshmi.html