'อดีตสนช.' ระบุหากไม่แก้กลุ่มทุนผูกขาดศก.ไทยจะเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุดในโลก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1085383
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเครือข่ายภาคประชาชน จัดงานเสวนาเรื่อง
“ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจกับการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม” โดยมีนาย
คำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) และอดีตวุฒิสภา นาย
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นาย
กษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย
ประพันธุ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นาย
สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นาย
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธานคณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ผู้สนใจและสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเสวนา
นาย
ประพันธุ์กล่าวว่า การเผชิญหน้ากับการผูกขาดอำนาจของประเทศไทย ไม่ใช่แค่การผูกขาดอำนาจทางการเมืองเท่านั้น แต่ความร้ายแรงยิ่งกว่าคือการเผชิญหน้ากับการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งถ้าว่าตามความเป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจจะต้องเป็นทุนนิยมเสรี มีความเป็นธรรม มีกฎกติกาที่ส่งเสริมการผลิตในประเทศให้คนได้เข้าถึงแหล่งทุน โอกาสทางธุรกิจ การศึกษาและในด้านอื่นๆ ซึ่งการไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจจะเป็นการปิดกั้น ทำให้กลุ่มทุนเดิมต่อยอดอำนาจตัวเอง และยึดครองสมบัติประชาชาติด้วย โดยรายได้ของประเทศกว่า 70-80% มาจากกลุ่มทุนใหญ่ และนอกจากการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจแล้ว ทุนนิยมขุนนางที่เกิดจากการให้สัมปทานกับเอกชน ทำลายระบอบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้อาจจะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 1 ของโลก จากปัจจุบันอยู่อันดับ 3 จากกร่วมมือของทุนขุนนาง ทุนผูกขาดขนาดใหญ่และทุนต่างชาติที่มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ร่วมมือกัน” นาย
ประพันธ์กล่าว
นาย
สาวิทย์กล่าวว่า กลุ่มทุนที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ แต่ประชาชนถูกมอมเมาว่ารัฐวิสาหกิจเป็นของประชาชน เพราะฉะนั้นจะต้องดูว่ารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีบริษัทระดับหลานขึ้นไปกี่แห่ง ทรัพย์สินส่วนมากของรัฐวิสากิจสุดท้ายตกอยู่ในมือเอกชน นอกจากนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจคท์) ก็เอื้อให้เอกชนต่างประเทศ จึงเป็นประเด็นที่ต้องตั้งข้อสังเกตว่าการแข่งขันเป็นธรรมหรือไม่ ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจจะถูกผูกขาดจากกลุ่มทุ่นขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่ม
นาย
ธีระชัยกล่าวว่า การแข่งขันทางค้าของเอกชนแต่ละรายเป็นการแข่งขันที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรมหรือไม่ ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรเมื่อถึงจุดหนึ่งความสามารถการแข่งขันของรายใหญ่และรายเล็กจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด มีผลกีดกันโดยอัตโนมัติและเกิดจากการผูกขาดตลาดที่ใหญ่เกินไป โดยภายหลังที่มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแข่งขันทางการค้าสะท้อนว่าได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น โดยกระบวนการบังคับให้กฎหมายมีความเป็นธรรมกฎกติกาต้องชัดเจน มีการสำรวจตรวจสอบและตัดสิน
นาย
คำนูณกล่าวว่า อยากให้จับตาดูร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ยังค้างอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนากำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการปรับแก้นิยามคำว่ารัฐวิสาหกิจในกฎหมายเดิมปี พ.ศ. 2502 ที่บัญญัติคำนิยามรัฐวิสาหกิจไว้ 4 ชั้น คือ บริษัทแม่ ลูก หลาน เหลน แต่ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีการแก้จนเหลือแค่แม่ และลูกเท่านั้น ซี่งจะทำให้บริษัทชั้นหลานและเหลนไม่ถูกตรวจสอบจากองค์กรต่างๆ โดยตอนนี้มีร่างกฎหมายที่เรียกกันว่าร่างกฎหมายซูเปอร์โฮลดิ้งที่กำลังทำการพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการของสนช. โดยเนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายเป็นร่างพ.ร.บ.การพัฒนากำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐ ในการจัดตั้งธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ขัดมาตรา 75 ที่กล่าวไว้ว่ารัฐต้องจัดระบบเศรษฐกิจที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับประชาชน ให้สามารถเจริญเติบโตอย่างทั่วถึง ลดความผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐไม่สามารถประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่จะทำเพื่อรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงส่วนร่วมเท่านั้น
นาย
พิชายกล่าวว่า ประเทศที่สามารถพัฒนาไปได้และทำให้ความเหลื่อมล้ำต่างๆ หลุดพ้นได้ มีเงื่อนไขอยู่ 2 ข้อ คือ มีสถาบันทางการเมืองเป็นประชาธิปไตย และสถาบันทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง ถ้าประเทศใดมีเงื่อนไข 2 ข้อนี้ จะทำให้ประเทศนั้นพัฒนาไปได้โดยมีความเหลื่อมล้ำน้อยหรืออาจจะไม่มีความเหลื่อมล้ำ และสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีการกระจายรายได้ต่อคนในสังคมทั้งหมด โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือเมื่อสถาบันทางเศรษฐกิจปิดกั้นจะเกิดลักษณะการผูกขาดขึ้นมา ทั้งการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการผูกขาดของรัฐวิสาหกิจ โดยนำเงินทุนรัฐไปสร้างความเสี่ยงและความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงการทำให้โอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชนภายในประเทศ ที่จะประกอบการต่างๆ ทำธุรกิจลดลง ทำให้ประชาชนมีรายได้ต่ำ การจ้างงานต่ำ ส่งผลสถานะทางสังคมก็ตกต่ำลงไปด้วย และเมื่อไม่มีการเลื่อนชนชั้นทางสังคม ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่สถาบันทางการเมืองได้ โดยเฉพาะการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ที่มีเงื่อนไขต้องมีชนชั้นกลางจำนวนมากในสังคม
นาย
กษิตกล่าวว่า การผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างปัจจุบันที่ภายในร้านสะดวกซื้อมีให้บริการแทบทุกอย่าง ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ไม่ได้ ต้องปิดกิจการไป เพราะไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ จึงทำให้รายได้ไม่ถูกกระจายออกไปยังประชาชนทุกคน แต่กระจุกอยู่ในผู้ประกอบการรายใหญ่แทน
กก.ปฏิรูปฯเผยโรคพิษสุนัขบ้ามีปัญหา! วัคซีนสัตว์ 10 ล้านโดสล่องหน เผยข้อมูลหมาตายปริศนา
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1085039
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ศ.นพ.
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ว่าคณะกรรมการปฏิรูปยังมีความเป็นห่วงความปลอดภัยของประชาชนด้านอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นโรคพิษสุนัขบ้าที่ยังเป็นปัญหา คือวัคซีนทั้งสัตว์และคน เห็นได้จากสถานการณ์การระบาดล่าสุดมีผู้เสียชีวิตรวม 17 ราย หนึ่งในนั้นเป็นเด็กพม่าที่ก่อนหน้านี้กรมควบคุมโรคไม่ได้นับรวม เนื่องจากไม่ได้ถูกกัดหรือสัมผัสโรคในไทย แต่จริงๆ ควรนับให้หมด ซึ่งตัวเลขปี 2561 ยังไม่ทั้งปีพบมากกว่าปี 2560 ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 11 ราย จึงต้องมาพิจารณาแล้วว่ามาตรการที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ซึ่งกรรมการปฏิรูปให้ความสนใจเรื่องนี้อยู่ว่าจะมีแนวทางอย่างไร ส่วนหนึ่งคือภาคประชาชน สังคมต้องช่วยกันสอดส่องว่าปัญหาอยู่ที่ไหนและร้องเข้ามาให้หน่วยงานรัฐรับผิดชอบ
ศ.นพ.
ธีระวัฒน์กล่าวอีกว่า ข้อมูลที่ผ่านมามีการร้องมาในระดับพื้นที่ว่าวัคซีนสำหรับสัตว์ไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้กรมปศุสัตว์มีการประมูลมาจำนวน 10 ล้านโดส แต่ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ใครนำเข้า ผ่านการตรวจสอบคุณภาพหรือไม่อย่างไร ซึ่งปกติแล้วกรมปศุสัตว์จะเฉลี่ยการใช้วัคซีน 10 ล้านโดส แบ่งเป็น 1 ล้านโดสสำหรับสุนัขจรจัด กลุ่มไม่มีเจ้าของ และอีก 9 ล้านโดสเป็นคลินิกเอกชน ซึ่งล็อตใหม่ในพื้นที่ก็ยังไม่เห็น ส่วนใหญ่บอกว่าใช้ของเดิมอยู่ แต่ของเดิมก็ไม่รู้ว่ามีการตรวจคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะระบบเราไม่ได้มีการสุ่มตรวจหลังการรับอนุญาตนำเข้ามา ซึ่งการสุ่มตรวจก็ต้องลงพื้นที่ไปสุ่มตรวจเอง ไม่ใช่ให้บริษัทส่งให้ แบบนี้ตรวจไม่เจอที่เป็นปัญหา เมื่อไม่มีระบบตรงนี้ก็ไม่แปลกที่มีการตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของวัคซีน อย่างตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าวัคซีนที่ฉีดในสุนัขมีหลายรายเกิดปัญหา ฉีดไป 1-3 วันก็เริ่มมีอาการผิดปกติ พิการขาเป๋ บางรายตายก็มี ซึ่งส่วนใหญ่ไปฉีดในคลินิกเอกชนด้วย
“เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนต้องดูแลตัวเอง เพราะเราไม่รู้หรอกว่าสุนัขจรจัดที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ ตัวไหนติดเชื้อบ้าง หากถูกกัดก็ต้องรีบพบแพทย์เพื่อไปฉีดวัคซีนป้องกันของคนทันที ซึ่งประเด็นวัคซีนคนก็ยังมีปัญหา เพราะขณะนี้กำลังผลิตของต่างประเทศไม่เพียงพอเช่นกัน เห็นได้ว่าวัคซีนยังมีปัญหาอยู่ เริ่มต้นคือ เราต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ ทั้งวัคซีนคนและสัตว์ โดยเฉพาะวัคซีนในสัตว์ เพราะที่ผ่านมาบริษัทที่รับอนุญาตนำเข้ายังใช้ทะเบียนเก่าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตผ่านมาแล้ว 7-8 ปี ทั้งที่ต้องอัพเดตกว่านี้” ศ.นพ.
ธีระวัฒน์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบได้อย่างไรว่าสุนัขที่ฉีดวัคซีนตายเพราะวัคซีน ศ.นพ.
ธีระวัฒน์กล่าวว่า เนื่องจากสุนัขที่ตาย เมื่อตรวจเชื้อแล้วไม่พบเชื้อพิษสุนัขบ้า ซึ่งไม่ได้ป่วยแน่ๆ และสุนัขที่มาก็เป็นพันธุ์ที่มีราคาแพง เมื่อฉีดวัคซีนที่กรมปศุสัตว์แนะนำหรือแบ่งล็อตมา ปรากฏว่ามีอาการโคม่าสมองบวมต้องอยู่ใน ICU 1 เดือน แต่พอรอดมาก็ขาเป๋ ดังนั้นไม่ต้องจำกัดว่าต้องเป็นวัคซีนที่ใช้ในสุนัขไฮโซหรือวัคซีนที่ใช้ในสุนัขทั่วไป จริงๆ แล้วยังไม่มีความมั่นใจว่าวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นกระบวนการในการตรวจสอบวัคซีนที่นำมาใช้ต้องเข้มข้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูว่าเป็นเพราะอะไร เพราะวัคซีน หรือเพราะการฉีด มีการติดตามอยู่ เพียงแต่จะบอกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับรู้และออกมาเปิดเผยข้อมูล และแจงข้อสงสัยเหล่านี้ด้วย เพราะหากนิ่งเฉย สุดท้ายหากระบาดมากขึ้นกว่าจะคุมได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี เหมือนในต่างประเทศที่เคยเจอปัญหามาแล้ว ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปมีความเป็นห่วง และมีเรื่องนี้อยู่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต้องคุมได้ตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำ ซึ่งหน่วยงานต้นน้ำอย่าง อย.ต้องปฏิรูปการตรวจสอบคุณภาพวัคซีนด้วย
เมื่อถามว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องวัคซีนไม่มีคุณภาพกระทรวงเกษตรก็จะมีการออกมาถามหาหลักฐานและข้อมูล ศ.นพ.
ธีระวัฒน์กล่าวว่า เราไม่ได้บอกว่าวัคซีนไม่มีคุณภาพ แต่เราดูถึงเรื่องของวัคซีนที่ผ่านเข้ามาใช้ในมนุษย์หรือในสัตว์ โดยเฉพาะเพื่อจะป้องกันโรคที่ร้ายแรง ขณะนี้เป็นวิกฤตของประเทศไทยแล้ว ก็ต้องร่วมมือกันต้องตื่นตัวขึ้น
“ตอนนี้เราหวังพึ่งใครไม่ได้ ประชาชนด้วยกันเองต้องสอดส่อง ไม่ว่าใครจะไป ใครจะมา ผู้บริหารทั้งหลายแหล่ ตอนนี้จะมีแต่ผลงานดี ไม่พูดเรื่องแย่ เพราะถ้าหากมีการเลือกตั้งใหม่ปัญหาก็ยังวนเวียนอยู่ คนอื่นอาจจะสน แต่ผมไม่สนว่าใครจะไปใครจะมา ที่ประชาชนต้องการคือมีการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ให้ความปลอดภัยกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม การปฏิรูปวันนี้เดินไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งวันนี้ก็ยังพูดแต่เรื่องดีๆ ทำทุกอย่างบรรลุวัตถุประสงค์ดี ตัวหนังสือประกาศดี ซึ่งไม่มีความหมาย ความหมายคือเราเห็นได้ว่าดีจริงหรือเปล่า เรื่องพิษสุนัขบ้าหวังว่าสถานการณ์คงดีขึ้นแต่ต้องทวงถามคือ 10 ล้านโดสนั้น มีการใช้จริง และคุณภาพดีจริงหรือไม่” ศ.นพ.
ธีระวัฒน์กล่าว
JJNY : 6in1-II ชี้แก้กลุ่มทุน/วัคซีนสัตว์ล่องหน/จีนขึ้นภาษีนำเข้าข้าว/อินโดเผาลองกองชมพู่/กระเทียมค้าง/จับตาน้ำเหนือ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1085383
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเครือข่ายภาคประชาชน จัดงานเสวนาเรื่อง “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจกับการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม” โดยมีนายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) และอดีตวุฒิสภา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายประพันธุ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธานคณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ผู้สนใจและสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเสวนา
นายประพันธุ์กล่าวว่า การเผชิญหน้ากับการผูกขาดอำนาจของประเทศไทย ไม่ใช่แค่การผูกขาดอำนาจทางการเมืองเท่านั้น แต่ความร้ายแรงยิ่งกว่าคือการเผชิญหน้ากับการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งถ้าว่าตามความเป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจจะต้องเป็นทุนนิยมเสรี มีความเป็นธรรม มีกฎกติกาที่ส่งเสริมการผลิตในประเทศให้คนได้เข้าถึงแหล่งทุน โอกาสทางธุรกิจ การศึกษาและในด้านอื่นๆ ซึ่งการไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจจะเป็นการปิดกั้น ทำให้กลุ่มทุนเดิมต่อยอดอำนาจตัวเอง และยึดครองสมบัติประชาชาติด้วย โดยรายได้ของประเทศกว่า 70-80% มาจากกลุ่มทุนใหญ่ และนอกจากการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจแล้ว ทุนนิยมขุนนางที่เกิดจากการให้สัมปทานกับเอกชน ทำลายระบอบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้อาจจะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 1 ของโลก จากปัจจุบันอยู่อันดับ 3 จากกร่วมมือของทุนขุนนาง ทุนผูกขาดขนาดใหญ่และทุนต่างชาติที่มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ร่วมมือกัน” นายประพันธ์กล่าว
นายสาวิทย์กล่าวว่า กลุ่มทุนที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ แต่ประชาชนถูกมอมเมาว่ารัฐวิสาหกิจเป็นของประชาชน เพราะฉะนั้นจะต้องดูว่ารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีบริษัทระดับหลานขึ้นไปกี่แห่ง ทรัพย์สินส่วนมากของรัฐวิสากิจสุดท้ายตกอยู่ในมือเอกชน นอกจากนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจคท์) ก็เอื้อให้เอกชนต่างประเทศ จึงเป็นประเด็นที่ต้องตั้งข้อสังเกตว่าการแข่งขันเป็นธรรมหรือไม่ ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจจะถูกผูกขาดจากกลุ่มทุ่นขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่ม
นายธีระชัยกล่าวว่า การแข่งขันทางค้าของเอกชนแต่ละรายเป็นการแข่งขันที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรมหรือไม่ ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรเมื่อถึงจุดหนึ่งความสามารถการแข่งขันของรายใหญ่และรายเล็กจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด มีผลกีดกันโดยอัตโนมัติและเกิดจากการผูกขาดตลาดที่ใหญ่เกินไป โดยภายหลังที่มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแข่งขันทางการค้าสะท้อนว่าได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น โดยกระบวนการบังคับให้กฎหมายมีความเป็นธรรมกฎกติกาต้องชัดเจน มีการสำรวจตรวจสอบและตัดสิน
นายคำนูณกล่าวว่า อยากให้จับตาดูร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ยังค้างอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนากำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการปรับแก้นิยามคำว่ารัฐวิสาหกิจในกฎหมายเดิมปี พ.ศ. 2502 ที่บัญญัติคำนิยามรัฐวิสาหกิจไว้ 4 ชั้น คือ บริษัทแม่ ลูก หลาน เหลน แต่ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีการแก้จนเหลือแค่แม่ และลูกเท่านั้น ซี่งจะทำให้บริษัทชั้นหลานและเหลนไม่ถูกตรวจสอบจากองค์กรต่างๆ โดยตอนนี้มีร่างกฎหมายที่เรียกกันว่าร่างกฎหมายซูเปอร์โฮลดิ้งที่กำลังทำการพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการของสนช. โดยเนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายเป็นร่างพ.ร.บ.การพัฒนากำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐ ในการจัดตั้งธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ขัดมาตรา 75 ที่กล่าวไว้ว่ารัฐต้องจัดระบบเศรษฐกิจที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับประชาชน ให้สามารถเจริญเติบโตอย่างทั่วถึง ลดความผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐไม่สามารถประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่จะทำเพื่อรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงส่วนร่วมเท่านั้น
นายพิชายกล่าวว่า ประเทศที่สามารถพัฒนาไปได้และทำให้ความเหลื่อมล้ำต่างๆ หลุดพ้นได้ มีเงื่อนไขอยู่ 2 ข้อ คือ มีสถาบันทางการเมืองเป็นประชาธิปไตย และสถาบันทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง ถ้าประเทศใดมีเงื่อนไข 2 ข้อนี้ จะทำให้ประเทศนั้นพัฒนาไปได้โดยมีความเหลื่อมล้ำน้อยหรืออาจจะไม่มีความเหลื่อมล้ำ และสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีการกระจายรายได้ต่อคนในสังคมทั้งหมด โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือเมื่อสถาบันทางเศรษฐกิจปิดกั้นจะเกิดลักษณะการผูกขาดขึ้นมา ทั้งการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการผูกขาดของรัฐวิสาหกิจ โดยนำเงินทุนรัฐไปสร้างความเสี่ยงและความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงการทำให้โอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชนภายในประเทศ ที่จะประกอบการต่างๆ ทำธุรกิจลดลง ทำให้ประชาชนมีรายได้ต่ำ การจ้างงานต่ำ ส่งผลสถานะทางสังคมก็ตกต่ำลงไปด้วย และเมื่อไม่มีการเลื่อนชนชั้นทางสังคม ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่สถาบันทางการเมืองได้ โดยเฉพาะการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ที่มีเงื่อนไขต้องมีชนชั้นกลางจำนวนมากในสังคม
นายกษิตกล่าวว่า การผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างปัจจุบันที่ภายในร้านสะดวกซื้อมีให้บริการแทบทุกอย่าง ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ไม่ได้ ต้องปิดกิจการไป เพราะไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ จึงทำให้รายได้ไม่ถูกกระจายออกไปยังประชาชนทุกคน แต่กระจุกอยู่ในผู้ประกอบการรายใหญ่แทน
กก.ปฏิรูปฯเผยโรคพิษสุนัขบ้ามีปัญหา! วัคซีนสัตว์ 10 ล้านโดสล่องหน เผยข้อมูลหมาตายปริศนา
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1085039
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ว่าคณะกรรมการปฏิรูปยังมีความเป็นห่วงความปลอดภัยของประชาชนด้านอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นโรคพิษสุนัขบ้าที่ยังเป็นปัญหา คือวัคซีนทั้งสัตว์และคน เห็นได้จากสถานการณ์การระบาดล่าสุดมีผู้เสียชีวิตรวม 17 ราย หนึ่งในนั้นเป็นเด็กพม่าที่ก่อนหน้านี้กรมควบคุมโรคไม่ได้นับรวม เนื่องจากไม่ได้ถูกกัดหรือสัมผัสโรคในไทย แต่จริงๆ ควรนับให้หมด ซึ่งตัวเลขปี 2561 ยังไม่ทั้งปีพบมากกว่าปี 2560 ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 11 ราย จึงต้องมาพิจารณาแล้วว่ามาตรการที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ซึ่งกรรมการปฏิรูปให้ความสนใจเรื่องนี้อยู่ว่าจะมีแนวทางอย่างไร ส่วนหนึ่งคือภาคประชาชน สังคมต้องช่วยกันสอดส่องว่าปัญหาอยู่ที่ไหนและร้องเข้ามาให้หน่วยงานรัฐรับผิดชอบ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวอีกว่า ข้อมูลที่ผ่านมามีการร้องมาในระดับพื้นที่ว่าวัคซีนสำหรับสัตว์ไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้กรมปศุสัตว์มีการประมูลมาจำนวน 10 ล้านโดส แต่ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ใครนำเข้า ผ่านการตรวจสอบคุณภาพหรือไม่อย่างไร ซึ่งปกติแล้วกรมปศุสัตว์จะเฉลี่ยการใช้วัคซีน 10 ล้านโดส แบ่งเป็น 1 ล้านโดสสำหรับสุนัขจรจัด กลุ่มไม่มีเจ้าของ และอีก 9 ล้านโดสเป็นคลินิกเอกชน ซึ่งล็อตใหม่ในพื้นที่ก็ยังไม่เห็น ส่วนใหญ่บอกว่าใช้ของเดิมอยู่ แต่ของเดิมก็ไม่รู้ว่ามีการตรวจคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะระบบเราไม่ได้มีการสุ่มตรวจหลังการรับอนุญาตนำเข้ามา ซึ่งการสุ่มตรวจก็ต้องลงพื้นที่ไปสุ่มตรวจเอง ไม่ใช่ให้บริษัทส่งให้ แบบนี้ตรวจไม่เจอที่เป็นปัญหา เมื่อไม่มีระบบตรงนี้ก็ไม่แปลกที่มีการตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของวัคซีน อย่างตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าวัคซีนที่ฉีดในสุนัขมีหลายรายเกิดปัญหา ฉีดไป 1-3 วันก็เริ่มมีอาการผิดปกติ พิการขาเป๋ บางรายตายก็มี ซึ่งส่วนใหญ่ไปฉีดในคลินิกเอกชนด้วย
“เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนต้องดูแลตัวเอง เพราะเราไม่รู้หรอกว่าสุนัขจรจัดที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ ตัวไหนติดเชื้อบ้าง หากถูกกัดก็ต้องรีบพบแพทย์เพื่อไปฉีดวัคซีนป้องกันของคนทันที ซึ่งประเด็นวัคซีนคนก็ยังมีปัญหา เพราะขณะนี้กำลังผลิตของต่างประเทศไม่เพียงพอเช่นกัน เห็นได้ว่าวัคซีนยังมีปัญหาอยู่ เริ่มต้นคือ เราต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ ทั้งวัคซีนคนและสัตว์ โดยเฉพาะวัคซีนในสัตว์ เพราะที่ผ่านมาบริษัทที่รับอนุญาตนำเข้ายังใช้ทะเบียนเก่าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตผ่านมาแล้ว 7-8 ปี ทั้งที่ต้องอัพเดตกว่านี้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบได้อย่างไรว่าสุนัขที่ฉีดวัคซีนตายเพราะวัคซีน ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า เนื่องจากสุนัขที่ตาย เมื่อตรวจเชื้อแล้วไม่พบเชื้อพิษสุนัขบ้า ซึ่งไม่ได้ป่วยแน่ๆ และสุนัขที่มาก็เป็นพันธุ์ที่มีราคาแพง เมื่อฉีดวัคซีนที่กรมปศุสัตว์แนะนำหรือแบ่งล็อตมา ปรากฏว่ามีอาการโคม่าสมองบวมต้องอยู่ใน ICU 1 เดือน แต่พอรอดมาก็ขาเป๋ ดังนั้นไม่ต้องจำกัดว่าต้องเป็นวัคซีนที่ใช้ในสุนัขไฮโซหรือวัคซีนที่ใช้ในสุนัขทั่วไป จริงๆ แล้วยังไม่มีความมั่นใจว่าวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นกระบวนการในการตรวจสอบวัคซีนที่นำมาใช้ต้องเข้มข้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูว่าเป็นเพราะอะไร เพราะวัคซีน หรือเพราะการฉีด มีการติดตามอยู่ เพียงแต่จะบอกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับรู้และออกมาเปิดเผยข้อมูล และแจงข้อสงสัยเหล่านี้ด้วย เพราะหากนิ่งเฉย สุดท้ายหากระบาดมากขึ้นกว่าจะคุมได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี เหมือนในต่างประเทศที่เคยเจอปัญหามาแล้ว ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปมีความเป็นห่วง และมีเรื่องนี้อยู่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต้องคุมได้ตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำ ซึ่งหน่วยงานต้นน้ำอย่าง อย.ต้องปฏิรูปการตรวจสอบคุณภาพวัคซีนด้วย
เมื่อถามว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องวัคซีนไม่มีคุณภาพกระทรวงเกษตรก็จะมีการออกมาถามหาหลักฐานและข้อมูล ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า เราไม่ได้บอกว่าวัคซีนไม่มีคุณภาพ แต่เราดูถึงเรื่องของวัคซีนที่ผ่านเข้ามาใช้ในมนุษย์หรือในสัตว์ โดยเฉพาะเพื่อจะป้องกันโรคที่ร้ายแรง ขณะนี้เป็นวิกฤตของประเทศไทยแล้ว ก็ต้องร่วมมือกันต้องตื่นตัวขึ้น
“ตอนนี้เราหวังพึ่งใครไม่ได้ ประชาชนด้วยกันเองต้องสอดส่อง ไม่ว่าใครจะไป ใครจะมา ผู้บริหารทั้งหลายแหล่ ตอนนี้จะมีแต่ผลงานดี ไม่พูดเรื่องแย่ เพราะถ้าหากมีการเลือกตั้งใหม่ปัญหาก็ยังวนเวียนอยู่ คนอื่นอาจจะสน แต่ผมไม่สนว่าใครจะไปใครจะมา ที่ประชาชนต้องการคือมีการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ให้ความปลอดภัยกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม การปฏิรูปวันนี้เดินไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งวันนี้ก็ยังพูดแต่เรื่องดีๆ ทำทุกอย่างบรรลุวัตถุประสงค์ดี ตัวหนังสือประกาศดี ซึ่งไม่มีความหมาย ความหมายคือเราเห็นได้ว่าดีจริงหรือเปล่า เรื่องพิษสุนัขบ้าหวังว่าสถานการณ์คงดีขึ้นแต่ต้องทวงถามคือ 10 ล้านโดสนั้น มีการใช้จริง และคุณภาพดีจริงหรือไม่” ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว