1. ประเทศไทยยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย?
ประเทศไทยพร้อมเสียยิ่งกว่าพร้อมอีกครับ ผ่านการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย บาดเจ็บล้มตายมาเท่าไหร่ กระบวนการมันเลยจุดที่จะกลับไปใช้ระบอบอนาธิปไตยแล้ว แต่ปัญหาจริงๆคือที่ผ่านมาเรายังก้าวไม่ถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเลยต่างหาก เหตุเพราะพื้นฐานความคิดของประชาชนบางส่วนยังไม่เชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน แล้วโยนความผิดให้ประชาธิปไตยว่าคนส่วนมากโง่ เลือกคนเลวมาบริหารประเทศ เอาจริงๆปัญหามันอยู่ที่การควบคุม ตรวจสอบการคอรัปชั่นของนักการเมือง อภิสิทธิของนักการเมืองที่มากเกินไป ความคลุมเครือของรัฐธรรมนูญ อำนาจขององค์กรอิสระที่ไม่ชัดเจน เป็นต้น
2. มีความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง?
ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องปฏิรูปแน่นอน แต่การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งแบบ กปปส. ไม่ใช่คำตอบ และเป็นการทำลายโครงสร้างของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน การปฏิรูปภายใต้กติกาของระบอบประชาธิปไตยต่างหากคือสิ่งที่ถูกต้อง และชอบธรรม ซึ่งใครกันล่ะจะเป็นผู้ปฏิรูป ต้องไม่ใช่คนกลาง หรือใครที่แต่งตั้งขึ้นเหมือนที่ผ่านมา เพราะจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่ต้องเป็นกลุ่มคนที่ถูกคัดเลือกมาโดยระบอบประชาธิปไตย จะคัดยังไงล่ะ ใครจะสมัครเป็นตัวแทน แย่งตำแหน่งกันวุ่นวาย ดังนั้นก็ใช้วิธีแข่งขันแบบเดิมแบบสากลทั่วโลกนั่นแหละ ให้แต่ละพรรคเสนอแนวทางปฏิรูปให้แก่ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง ผู้ชนะก็เป็นรัฐบาลตัวแทนเสียงข้างมากในการทำการปฏิรูป ผู้แพ้ก็เป็นฝ่ายค้านตัวแทนเสียงข้างน้อยในการตรวจสอบ จับผิด ทานอำนาจ ของฝ่ายรัฐบาล ถ้า กปปส. มั่นใจว่ามีมวลมหาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้การสนับสนุน ก็นำสภาประชาชนมาเป็นนโยบายหลัก และแข่งขันในสนามเลือกตั้ง หากชนะการเลือกตั้ง กปปส. ก็จะมีอำนาจโดยชอบธรรมในการปฏิรูปประเทศอย่างเต็มที่ จะคัดตัวแทนอาชีพไหนมาก็ทำได้ เพราะมีอำนาจจากประชาชนแล้ว แต่ถ้าแพ้เลือกตั้งก็ต้องยอมรับให้ผู้อื่นทำหน้าที่ปฏิรูปเช่นกัน จะอ้างอะไรไม่ได้ เพราะทุกอย่างผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตย ดังนั้น การปฏิรูปจึงต้องเกิดหลังเลือกตั้งจึงจะมีความชอบธรรมธรรม ประชาธิปไตยทั่วโลกเขาก็ทำกันแบบนี้
3. ถ้าได้เพื่อไทยมาปฏิรูปอีกล่ะ จะไม่เกิดการคัดค้านอีกหรือ?
ถ้าเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูป ก็ต้องยอมรับ แต่การปฏิรูปครั้งนี้จะถูกจับตามองเป็นพิเศษ ทั้งจากฝ่ายค้าน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง(รวมถึงข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ) จะปฏิรูปส่วนใด ยังไง ก็มิอาจทำได้ตามอำเภอใจ และบางเรื่องที่สำคัญอาจต้องทำประชามติ
4. ทำไมนโยบายประชานิยมจึงชนะการเลือกตั้ง?
ผมจะไม่วิเคราะห์ว่ามันถูก หรือผิด แต่จะวิเคราะห์ว่าทำไมนโยบายของพรรคเพื่อไทยจึงเอาชนะใจคนส่วนใหญ่อขงประเทศ
อย่างแรกคือวิเคราะห์ก่อนว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศคือคนยากจน โดยเฉพาะคนในพื้นที่ชนบท อาชีพทำไร่ไถนา รับจ้างทำเกษตรกรรม ซึ่งคนพวกนี้จะมีความต้องการอยู่รอดในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
- ในทางเศรษฐศาสตร์คนเหล่านี้คือกลุ่ม Myopia หรือพวกวางแผนระยะสั้น
- ในทางจิตวิทยาและสังคมศาสตร์คนเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่มีความต้องการลำดับต้นๆของทฤษฎีมาสโลว์
นโยบายประชานิยมเป็นนโยบายที่ทำให้คนเหล่านี้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นในระยะสั้น ซึ่งตรงตามความต้องการ
นโยบายที่คิดว่าจะสร้างความยั่งยืนเช่นการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้ตายก็แก้ไขปัญหาของคนกลุ่มนี้ไม่ได้ หากชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละวันของเขายังไม่ดีพอ
คนจนก็ตั้งหน้าตั้งตารับจ้างทำมาหากิน จะเอาเวลาไหนไปหาการศึกษาเพิ่มเติม มีลูกก็จะเอาเงินไหนส่งเรียน สู้ให้ลูกออกไปทำมาหากินหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัวดีกว่า
นี่คือสังคมส่วนใหญ่ของประเทศ พรรคเพื่อไทยวางนโยบายตอบโจทย์ตรงนี้ จึงเอาชนะการเลือกตั้งได้
แต่ผลลัพธ์อาจไม่งดงาม ซึ่งมันก็เป็นสิทธิของประชาชนที่จะตัดสินใจผ่านการเลือกตั้งครั้งต่อไป ว่าจะยังให้โอกาสนโยบายเหล่านี้อยู่หรือไม่ ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยังยินยอม ทุกคนก็ต้องยอมรับตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
เคยฟังอาจารย์สองท่านดีเบตกัน
ท่านแรก : ถ้าประชาชนเค้าเต็มใจจะเป็นทาสทักษิณ ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของเขา
ท่านที่สอง : ร. 5 ท่านประกาศเลิกทาสไปแล้ว (ไม่รู้ว่ายกมาพูดได้ไง อาจารย์ท่านแรกเค้าแค่เปรียบเปรย)
ท่านแรก : ร. 7 ยินดีสละอำนาจให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน ไม่ใช่คณะใดคณะหนึ่ง
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ท่านแรก คนเขาจะชอบใคร เลือกใคร มันก็สิทธิของเขา เพราะเขาได้ตัดสินใจเอง ไม่ได้มีใครเอาปืนมาจี้ให้เขาเลือกคนนั้นคนนี้ ถ้าเขาโดนหลอก สักวันหนึ่งเขาก็มีสิทธิเลือกคนอื่น แต่ถ้าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย บางทีเขาอาจไม่มีสิทธิที่จะเลือกใครได้เลย
ใครเห็นต่างเชิญแย้งได้เลยครับ
ขอแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสัก 3 - 4 ประเด็น
ประเทศไทยพร้อมเสียยิ่งกว่าพร้อมอีกครับ ผ่านการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย บาดเจ็บล้มตายมาเท่าไหร่ กระบวนการมันเลยจุดที่จะกลับไปใช้ระบอบอนาธิปไตยแล้ว แต่ปัญหาจริงๆคือที่ผ่านมาเรายังก้าวไม่ถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเลยต่างหาก เหตุเพราะพื้นฐานความคิดของประชาชนบางส่วนยังไม่เชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน แล้วโยนความผิดให้ประชาธิปไตยว่าคนส่วนมากโง่ เลือกคนเลวมาบริหารประเทศ เอาจริงๆปัญหามันอยู่ที่การควบคุม ตรวจสอบการคอรัปชั่นของนักการเมือง อภิสิทธิของนักการเมืองที่มากเกินไป ความคลุมเครือของรัฐธรรมนูญ อำนาจขององค์กรอิสระที่ไม่ชัดเจน เป็นต้น
2. มีความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง?
ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องปฏิรูปแน่นอน แต่การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งแบบ กปปส. ไม่ใช่คำตอบ และเป็นการทำลายโครงสร้างของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน การปฏิรูปภายใต้กติกาของระบอบประชาธิปไตยต่างหากคือสิ่งที่ถูกต้อง และชอบธรรม ซึ่งใครกันล่ะจะเป็นผู้ปฏิรูป ต้องไม่ใช่คนกลาง หรือใครที่แต่งตั้งขึ้นเหมือนที่ผ่านมา เพราะจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่ต้องเป็นกลุ่มคนที่ถูกคัดเลือกมาโดยระบอบประชาธิปไตย จะคัดยังไงล่ะ ใครจะสมัครเป็นตัวแทน แย่งตำแหน่งกันวุ่นวาย ดังนั้นก็ใช้วิธีแข่งขันแบบเดิมแบบสากลทั่วโลกนั่นแหละ ให้แต่ละพรรคเสนอแนวทางปฏิรูปให้แก่ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง ผู้ชนะก็เป็นรัฐบาลตัวแทนเสียงข้างมากในการทำการปฏิรูป ผู้แพ้ก็เป็นฝ่ายค้านตัวแทนเสียงข้างน้อยในการตรวจสอบ จับผิด ทานอำนาจ ของฝ่ายรัฐบาล ถ้า กปปส. มั่นใจว่ามีมวลมหาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้การสนับสนุน ก็นำสภาประชาชนมาเป็นนโยบายหลัก และแข่งขันในสนามเลือกตั้ง หากชนะการเลือกตั้ง กปปส. ก็จะมีอำนาจโดยชอบธรรมในการปฏิรูปประเทศอย่างเต็มที่ จะคัดตัวแทนอาชีพไหนมาก็ทำได้ เพราะมีอำนาจจากประชาชนแล้ว แต่ถ้าแพ้เลือกตั้งก็ต้องยอมรับให้ผู้อื่นทำหน้าที่ปฏิรูปเช่นกัน จะอ้างอะไรไม่ได้ เพราะทุกอย่างผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตย ดังนั้น การปฏิรูปจึงต้องเกิดหลังเลือกตั้งจึงจะมีความชอบธรรมธรรม ประชาธิปไตยทั่วโลกเขาก็ทำกันแบบนี้
3. ถ้าได้เพื่อไทยมาปฏิรูปอีกล่ะ จะไม่เกิดการคัดค้านอีกหรือ?
ถ้าเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูป ก็ต้องยอมรับ แต่การปฏิรูปครั้งนี้จะถูกจับตามองเป็นพิเศษ ทั้งจากฝ่ายค้าน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง(รวมถึงข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ) จะปฏิรูปส่วนใด ยังไง ก็มิอาจทำได้ตามอำเภอใจ และบางเรื่องที่สำคัญอาจต้องทำประชามติ
4. ทำไมนโยบายประชานิยมจึงชนะการเลือกตั้ง?
ผมจะไม่วิเคราะห์ว่ามันถูก หรือผิด แต่จะวิเคราะห์ว่าทำไมนโยบายของพรรคเพื่อไทยจึงเอาชนะใจคนส่วนใหญ่อขงประเทศ
อย่างแรกคือวิเคราะห์ก่อนว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศคือคนยากจน โดยเฉพาะคนในพื้นที่ชนบท อาชีพทำไร่ไถนา รับจ้างทำเกษตรกรรม ซึ่งคนพวกนี้จะมีความต้องการอยู่รอดในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
- ในทางเศรษฐศาสตร์คนเหล่านี้คือกลุ่ม Myopia หรือพวกวางแผนระยะสั้น
- ในทางจิตวิทยาและสังคมศาสตร์คนเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่มีความต้องการลำดับต้นๆของทฤษฎีมาสโลว์
นโยบายประชานิยมเป็นนโยบายที่ทำให้คนเหล่านี้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นในระยะสั้น ซึ่งตรงตามความต้องการ
นโยบายที่คิดว่าจะสร้างความยั่งยืนเช่นการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้ตายก็แก้ไขปัญหาของคนกลุ่มนี้ไม่ได้ หากชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละวันของเขายังไม่ดีพอ
คนจนก็ตั้งหน้าตั้งตารับจ้างทำมาหากิน จะเอาเวลาไหนไปหาการศึกษาเพิ่มเติม มีลูกก็จะเอาเงินไหนส่งเรียน สู้ให้ลูกออกไปทำมาหากินหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัวดีกว่า
นี่คือสังคมส่วนใหญ่ของประเทศ พรรคเพื่อไทยวางนโยบายตอบโจทย์ตรงนี้ จึงเอาชนะการเลือกตั้งได้
แต่ผลลัพธ์อาจไม่งดงาม ซึ่งมันก็เป็นสิทธิของประชาชนที่จะตัดสินใจผ่านการเลือกตั้งครั้งต่อไป ว่าจะยังให้โอกาสนโยบายเหล่านี้อยู่หรือไม่ ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยังยินยอม ทุกคนก็ต้องยอมรับตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
เคยฟังอาจารย์สองท่านดีเบตกัน
ท่านแรก : ถ้าประชาชนเค้าเต็มใจจะเป็นทาสทักษิณ ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของเขา
ท่านที่สอง : ร. 5 ท่านประกาศเลิกทาสไปแล้ว (ไม่รู้ว่ายกมาพูดได้ไง อาจารย์ท่านแรกเค้าแค่เปรียบเปรย)
ท่านแรก : ร. 7 ยินดีสละอำนาจให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน ไม่ใช่คณะใดคณะหนึ่ง
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ท่านแรก คนเขาจะชอบใคร เลือกใคร มันก็สิทธิของเขา เพราะเขาได้ตัดสินใจเอง ไม่ได้มีใครเอาปืนมาจี้ให้เขาเลือกคนนั้นคนนี้ ถ้าเขาโดนหลอก สักวันหนึ่งเขาก็มีสิทธิเลือกคนอื่น แต่ถ้าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย บางทีเขาอาจไม่มีสิทธิที่จะเลือกใครได้เลย
ใครเห็นต่างเชิญแย้งได้เลยครับ