คุณFaiyen Man โต้คนดังไว้ใน Facbook น่าสนใจดี ยกมาให้ศึกษากันคะ
เพิ่งจะได้ถกกับ เพื่อนคนหนึ่งอยู่กว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องจำเป็น
ประโยคนี้ใครเจ้าของไม่ทราบ...ว่าไว้
"ศึกษาอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน เพื่อมุ่งมั่นไปสู่อนาคต"
เพระดิฉัน ไม่ชอบมากเวลาใครยกเรื่องประวัติศาสตร์ มาบรรยายเรื่องการเดิมทางของประชาธิปไตย
ดิฉันต้องการทราบว่า จะเดินไปให้ถึงความเป็นประชาธิปไตย ต้องไปทางไหน อย่างไร
จากประโยคข้างต้น ทำให้เข้าใจว่า บ่อยครั้งเรื่องในอดีต มักจะบอกเหตุผล ผลลัพท์ที่เกิดในปัจจุบัน
ยาวไปถึงอนาคต ถ้าเราศึกษาเข้าใจ จะช่วยให้เราตัดสินใจ มีเหตุผลประกอบในการกระทำใด ๆ ก็ตาม
อย่างมีสติ รอบคอบขึ้น
เพื่อนเขามาต่อให้ประโยคทอง ให้อีกประโยค ว่า
" คนที่เข้าใจประวัติศาสตร์ เป็นอย่างดี แต่นำประวัติศาสตร์มาบิดเบือนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
และพวกพ้อง อันตรายและชั่วชาติยิ่ง "
สองประโยคทองนี้ จะเข้ากับเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร ลองพิจารณากันค่ะ
https://www.facebook.com/marx.perfect/posts/301675143312250
โดย : Faiyen Man
เรียนคุณ วูดไซด์,ดร.เพียงดิน และ คุณชูพงศ์
จากการออกอากาศวันที่ 23 ที่ผ่านมา มีความคลาดเคลื่อนในหลากหลายประเด็น จึงอยากแลกเปลี่ยนดังนี้
1. คุณชูพงศ์ เรียกสังคมไทยว่า"สังคมศักดินาเหนือรัฐ"แล้วกล่าวโยงถึง"พรรคคอมมิวนิสท์"ว่า"จะเรียกว่าเป็นอะไรก็ช่างเถอะ"...
ผมมีความเห็นว่า
..การวิเคราะห์ลักษณะสังคม ไม่ใช่แค่การมาตั้งชื่อเด็กแรกเกิด อยากจะให้ชื่ออะไร ก็นึกชื่อที่ชอบแล้วตั้งเอาตามใจผู้ตั้ง หากแต่ว่าเกิดมาจากนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความประสงค์จะเปิดเผยความขัดแย้งทางโครงสร้างในสังคมไทยทั้งที่เป็นด้านหลักและด้านรอง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขต่อไป
..การวิเคราะห์นี้ มิได้จัดทำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแต่อย่างใด เนื่องจาก พคท.หมดสภาพการนำไปแล้ว และได้เข้าไปเป็นพวก รอ.เรียบร้อยแล้วซึ่งไปทั้งองค์กรและตัวบุคคล (ในซีกหนึ่งที่ยอมสวามิภักดิ์แล้ว) อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการวิจารณ์ตนเอง,วิจารณ์การนำในอดีต พร้อมทั้งสรุปบทเรียนการทำงานในอดีต และข้อผิดพลาดที่ผ่านมาแล้ว หลังการประกาศสลายการนำในสายการจัดตั้งเดิมเมื่อหลายปีมาแล้ว โดยอ้างอิงได้จาก”ถ้อยแถลง ลุงธง แจ่มศรี” จึงอยากให้คุณ ชูพงศ์รับรู้และสำเหนียกไว้ เพื่อจะรายงานต่อ USA ได้ถูกต้อง
..หากชูพงศ์จะทำการวิจารณ์โต้ตอบการวิเคราะห์สังคมไทย "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ ที่มีอิทธิพลอเมริกาครอบงำ" ก็ขอให้ทำการศึกษาก่อน เพราะแม้แต่ชื่่อก็เรียกผิดๆถูกๆ…..หลักคิด , ชุดความคิด ก็ไม่วิจารณ์ จึงผิดพลาดในการตอบโต้ว่า เป็นการ “นำเสนอการปฏิวัติสังคมนิยม” ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วได้เสนออย่างชัดเจนในเอกสารการวิเคราะห์ฯนี้ว่า “เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นทุน”
นี่สะท้อนให้เห็นการหยิบแต่เพียง “ประโยค หรือ วลี” ปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นทุนมาพูด โดยไม่เข้าใจถึง “ลักษณะและขั้นตอนของการปฏิวัตินี้” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องผ่านการวิเคราะห์สังคมก่อน กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมง่ายๆเพื่อให้ประชาชนผู้ติดตามได้เข้าใจ กล่าวคือ…..ไม่กำหนดขั้นตอนการรักษาโรคก่อน ( ซึ่งในที่นี้คือการกำหนดขั้นตอนการปฏิวัติว่าเป็น การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นทุน ) แต่จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของอาการป่วยก่อนว่าเป็นโรคอะไร? อาการร้ายแรงอยู่ในขั้นไหน? และ จะใช้วิธีใดในการรักษา? กล่าวคือ .....
1. ป่วยเป็นโรคอะไร ?..
..ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์สังคม ในการค้นหาการดำรงอยู่ของความขัดแย้งในสังคม เช่น
เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หรือ
ในทางการเมือง
เป็นโรค โรคทุนเก่า ทุนใหม่ , โรคราชาธิปไตย , โรคสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ , โรคอำมาตยาธิปไตย , หรือ
โรค “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ ที่มีอิทธิพลอเมริกาครอบงำ”
2. อาการป่วยร้ายแรงอยู่ในขั้นไหน ? เช่น
หลอดเลือดตีบ 3 เส้นๆละ 80% หรือ
เป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ระหว่าง ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐฯ กับ ประชาชน เป็นความขัดแย้งด้านหลัก
และมีความขัดแย้งด้านรอง คือ ความขัดแย้งภายในชั้นชนของทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐฯ กับ ทุนผูกขาดสวามิภักดิ์รายใหม่ ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่ประนอมยอมกันได้ ที่เรียกว่า “ปรองดอง” กันได้นั่นเอง
3. จะใช้วิธีใดในการรักษา ?
1. แนวทางอนุรักษ์นิยม เช่น รดน้ำมนต์,แก้กรรม,สะเดาะเคราะห์ หรือ
ในทางการเมือง อวยต่อไป,ให้คนดีปกครอง,กราบสวามิภักด์
2. แนวทางปฏิรูป เช่น แจกยาหม้อ,ทำกายภาพบำบัด,กำหนดอาหาร หรือ
ในทางการเมือง ด่าลอยๆ , โม่หินในการสร้างขบวน , เลื่อยน้ำแข็งแบบลัทธิฉวยโอกาส , รอองค์กร ทรู (กระทิงแดงแปรรูป) มานำ
3.แนวทางปฏิวัติ เช่น ผ่าตัดทำ Balloon , By-Pass หรือ
ในทางการเมือง นำการปฏิวัติด้วยทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งระบบ
นี่เป็นกระบวนการวิเคราะห์ที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ เนื่องจากเป็นการ “ชิงบ้านชิงเมือง” ที่ใหญ่โต จึงไม่สามารถทำแบบตัดตอนเอาเพียงบางเรื่องมาพูดกันเรื่อยไป โดยยกเพียงปรากฏการณ์หรือข่าว เอากระพี้หรือเปลือกที่เป็นข่าวรายวันมาอธิบายว่า สาเหตุมาจาก “ราชาธิปไตย” จึงต้องเปลี่ยนระบอบ เมื่อเปลี่ยนระบอบแล้ว จะทำให้ตัวบุคคลเดิมที่อยู่ในระบอบทั้งหมดกลายเป็นคนดีหมด
ตรรกะ “ ทำลายระบอบโดยละเลยผู้รักษาระบบ” และไม่จัดการกับผู้รักษาระบอบในระดับต่างๆ กันอย่างไร ? ทั้งระดับ ตัวบุคคล และ ระดับชนชั้น ? .....ในกรณีนี้ จึงชี้ได้ว่า การอธิบาย “เปลี่ยนระบอบ” นี้ คือ การเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง ไม่ได้เปลี่ยนแปลง “ความสัมพันธ์ทางชนชั้น” แต่อย่างใด ? ดังนั้น “การเปลี่ยนระบอบ” นี้ จึงไม่มีความประสงค์จะเข้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาใจกลางของสังคมไทย และ ปลายทางประชาชนไม่สามารถฝากความหวังไว้ได้ อีกทั้ง ไม่กล่าวถึง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจดังที่ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐฯได้บรรยายไว้
2. ที่กล่าวถึง 3 อำนาจที่จะทำการเปลี่ยนแปลง แล้วโยงถึง พรรคการเมือง ว่า “เคยฝากความหวังไว้กับพรรคเพื่อไทย จะให้เป็นพรรคปฏิวัติ....แต่กลายเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ เพราะว่า ไปรักษาระบอบ ..พากันไปกราบ” ขอยกมาแบบย่อๆ และผมมีความเห็นดังนี้
....การยก 3 อำนาจ ที่จะเป็นผู้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้นั้น เป็นการยกมาโดย ขาดการพิจารณาเรื่อง “ลักษณะทางชนชั้นในสังคมไทย” ทั้ง สถาบันกษัตริย์ ทหาร และ ประชาชนนั้น เปรียบเสมือน สิงโต หมาป่า และลูกแกะ แล้วฝันเอาว่าจะเปลี่ยนให้ สิงโตและหมาป่า เปลี่ยนมากินมังสวิรัต เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับลูกแกะได้...แล้วจึงยกต่อไปถึง...การตั้งความหวังไว้กับ กลุ่มทุนผูกขาดสวามิภักดิ์รายใหม่ ซึ่งก็คือ กลุ่มแนวทางปฏิรูป ท่านทักษิณ และ พรรคเพื่อไทย จะสามารถนำการปฏิวัตินี้ได้ มี 2-3 ประเด็น ที่อยากจะชี้้
1. ทุนผูกขาดสวามิภักดิ์รายใหม่ ท่านทักษิณ หรือ พรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนของกลุ่มทุน จึงมีลักษณะทางธรรมชาติที่ยึดถือผลประโยชน์ของชนชั้นตนเป็นหลัก และ ย่อมโลเลต่อการปฏิวัติประชาธิปไตย และ ได้แสดงตนโลเลอย่างต่อเนื่องด้วยตัวของเขาเอง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งนี่ไม่ใช่เพียงข้อคิดเห็นของผมเองโดยปราศจากข้อเท็จจริงรองรับ ดังนั้น การรับว่าเคยฝากความหวังนี้ไว้กับ... จึงชี้ให้เห็นว่าชูพงศ์มามีความเข้าใจ “ธรรมชาติของชนชั้นทุนผิด และดูเหมือนยืนอยู่ข้างชนชั้นทุนผูกขาดสวามิภักดิ์ตลอดเวลา” จึงพยายามเสนอให้เป็น “ผู้นำการปฏิวัติ” โดยไม่เข้าใจว่า ท่านทักษิณ และ พรรคเพื่อไทยกำลังแสดงบทบาทนำใน “แนวทางปฏิรูป”และทำได้ดีเพียงเท่านี้ ดังนั้นชูพงศ์จึงมองไม่เห็น การเป็น “แนวร่วม” ซึ่งอยู่คนละสถานะกัน
2. ที่ผมกล่าวว่า”เป็นการปฏิวัติจากชนชั้นสูง” นั้น คุณก็ยอมอธิบายมาเองแล้ว ว่ามีที่มาจาก 3-4 แหล่ง จึงไม่ขอตอกย้ำ
3. และด้วยรากฐานทางความคิด “เสรีนิยม” ของชูพงศ์ จึงทำให้มองกลับไปอีกขั้วหนึ่งว่า ท่านทักษิณ , พรรคเพื่อไทย จะเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ โดยขาดการใช้วิจารณญาณ เพราะ ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ใช่สถานการปฏิวัติ ยังคงเป็นสถานการณ์ปฏิรูปอยู่ ท่านทักษิณจึงยังคงสามารถแสดงบทบาทหลักในการนำมวลชน และยังคงเป็น “แนวร่วม” กันได้ในระดับหนึ่ง จนกว่าจะเข้าสู่สถานการณ์ปฏิวัติซึ่งยังไม่สามารถกำหนดลงได้ว่าเมื่อไร ? เพียงแต่ได้อธิบายไว้ให้เป็นข้อสังเกตในบทที่ว่าด้วย “สถานการปฏิวัติ” แล้ว
3. ในหัวข้อ “การสร้างงานมวลชนพื้นฐาน และ มวลชนก้าวหน้า” มีเกณท์อะไรมาบอก ? หรือใช้ความรู้สึกมาอธิบาย ? แยกแยะกันย่างไร ? ภารกิจหน้าที่ควรเป็นอย่างไร ?
เมื่อปฏิวัติเสร็จแล้วมวลชนเดินหน้าต่อ...ในสังคมที่มีความสัมพันธ์กันแบบใด ? ผ่านเครื่องมืออะไร ?ตระเตรียมไว้อย่างไร ?
ในบทวิเคราะห์“ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ ที่มีอิทธิพลอเมริกาครอบงำ” ไม่มีตรงไหนเลยที่เสนอ “การปฏิวัติสังคมนิยม” ชูพงศ์ไปอ่านเจอตรงไหน ?
3. ที่ว่า”จัดตั้งทางความคิด”นั้น ใช้ชุดความคิดใดเป็นเข็มทิศชี้นำ ? ใช้ความคิดการต่อสู้ทางชนชั้นไหม ? หรือ ให้คิดแค่ “รักความเป็นธรรม เพื่อประชาธิปไตย” ก็พอแล้ว ? หรือแค่ “เลื่อยน้ำแข็ง” ไปเรื่อยๆ ? เพราะจากชุดความคิดชี้นำเหล่านี้ จะนำไปสู่การกำหนด จัดวาง การทำการต่อสู้ต่อไป ขึ้นอยู่กับ จะใช้ “ชุดความคิด” ใดชี้นำ
4. ที่ว่า”การนำสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ”.....ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนทั้งโลกมีที่ไหนบ้าง ? อาจจะยกเว้นไทยที่ต้องการเสนอ “รัฐบาลแห่งชาติ” ?????
5. ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่าของประชาชนทั้งโลก ( ซึ่งหมายรวมถึง ทั้งการต่อสู้กับธรรมชาติ และ การต่อสู้ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ด้วยกันเอง ) ล้วนสืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ผ่านยุคสมัยต่างๆมาแล้วทั้งสิ้น ประสบการณ์ ความจัดเจน ต่างๆ ล้วนต้องผ่านการสรุปบทเรียน แล้วถ่ายทอดต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งต่อไปอย่างต่อเนื่อง โลกและสังคมมนุษย์จึงล้วนพัฒนามาจาก องค์ความรู้ , ทฤษฎี เดิม พร้อมกับการต่อเติม นวัตกรรมใหม่ที่เป็นไปตามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่.......
ผมจึงเห็นว่า ผม…. “ไม่ได้อธิบายทฤษฎีแบบจำขี้ปากเขามา” ส่วนชูพงศ์ไปจำขี้ปากใครมา เพราะภาษาเป็นของ กอรมน. และ พวกกระทิงแดงในยุคถูกล้างสมองจากศักดินา ซึ่ง สะท้อนถึงความอ่อนด้อยทางสติปัญญา ขาดการอ่านหนังสือ สนทนากับผู้มีความรู้หรือขาดการติดตามข่าวสาร , การสรุปบทเรียนของขบวนการสังคมนิยม รวมถึงองค์ความรู้ การบริหารจัดการ และการปกครองโดยชนชั้นกรรมาชีพ ที่มีความสามารถปกครองชนชั้นนายทุนและสามารถบริหารจัดการให้ประเทศประสพความสำเร็จเหนือก่วาประเทศทุนนิยมทั้งหลายที่เห็นแก่ตัว จนไม่สามารถจัดการระบบกรรมสิทธิ์ระหว่าง เอกชนและของสังคมได้ ซึ่งประเทศสังคมนิยมสามารถวางรากฐานการพัฒนาที่จะเข้าสู่สังคมนิยมในอนาคตได้อย่างมั่นคง ขอคุณชูพงศ์อย่าได้หลงงมงายว่า นักลัทธิ Marx โง่เขลา ซึ่งการกล่าวหาว่า ระบอบประชาธิปไตยเสรีของชนชั้นนายทุน จะ เหนือกว่าระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบของประชาชนในยุคสังคมนิยม
6. การจับคู่ความขัดแย้งพื้นฐานของการปฏิวัติ คือ ประชาธิปไตย ขัดแย้งกับ สังคม นิยม จึงเป็นความเข้าใจผิดทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์อย่างโง่เขลายิ่ง
เรียนคุณ วูดไซด์,ดร.เพียงดิน และ คุณชูพงศ์
เพิ่งจะได้ถกกับ เพื่อนคนหนึ่งอยู่กว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องจำเป็น
ประโยคนี้ใครเจ้าของไม่ทราบ...ว่าไว้
"ศึกษาอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน เพื่อมุ่งมั่นไปสู่อนาคต"
เพระดิฉัน ไม่ชอบมากเวลาใครยกเรื่องประวัติศาสตร์ มาบรรยายเรื่องการเดิมทางของประชาธิปไตย
ดิฉันต้องการทราบว่า จะเดินไปให้ถึงความเป็นประชาธิปไตย ต้องไปทางไหน อย่างไร
จากประโยคข้างต้น ทำให้เข้าใจว่า บ่อยครั้งเรื่องในอดีต มักจะบอกเหตุผล ผลลัพท์ที่เกิดในปัจจุบัน
ยาวไปถึงอนาคต ถ้าเราศึกษาเข้าใจ จะช่วยให้เราตัดสินใจ มีเหตุผลประกอบในการกระทำใด ๆ ก็ตาม
อย่างมีสติ รอบคอบขึ้น
เพื่อนเขามาต่อให้ประโยคทอง ให้อีกประโยค ว่า
" คนที่เข้าใจประวัติศาสตร์ เป็นอย่างดี แต่นำประวัติศาสตร์มาบิดเบือนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
และพวกพ้อง อันตรายและชั่วชาติยิ่ง "
สองประโยคทองนี้ จะเข้ากับเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร ลองพิจารณากันค่ะ
https://www.facebook.com/marx.perfect/posts/301675143312250
โดย : Faiyen Man
เรียนคุณ วูดไซด์,ดร.เพียงดิน และ คุณชูพงศ์
จากการออกอากาศวันที่ 23 ที่ผ่านมา มีความคลาดเคลื่อนในหลากหลายประเด็น จึงอยากแลกเปลี่ยนดังนี้
1. คุณชูพงศ์ เรียกสังคมไทยว่า"สังคมศักดินาเหนือรัฐ"แล้วกล่าวโยงถึง"พรรคคอมมิวนิสท์"ว่า"จะเรียกว่าเป็นอะไรก็ช่างเถอะ"...
ผมมีความเห็นว่า
..การวิเคราะห์ลักษณะสังคม ไม่ใช่แค่การมาตั้งชื่อเด็กแรกเกิด อยากจะให้ชื่ออะไร ก็นึกชื่อที่ชอบแล้วตั้งเอาตามใจผู้ตั้ง หากแต่ว่าเกิดมาจากนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความประสงค์จะเปิดเผยความขัดแย้งทางโครงสร้างในสังคมไทยทั้งที่เป็นด้านหลักและด้านรอง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขต่อไป
..การวิเคราะห์นี้ มิได้จัดทำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแต่อย่างใด เนื่องจาก พคท.หมดสภาพการนำไปแล้ว และได้เข้าไปเป็นพวก รอ.เรียบร้อยแล้วซึ่งไปทั้งองค์กรและตัวบุคคล (ในซีกหนึ่งที่ยอมสวามิภักดิ์แล้ว) อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการวิจารณ์ตนเอง,วิจารณ์การนำในอดีต พร้อมทั้งสรุปบทเรียนการทำงานในอดีต และข้อผิดพลาดที่ผ่านมาแล้ว หลังการประกาศสลายการนำในสายการจัดตั้งเดิมเมื่อหลายปีมาแล้ว โดยอ้างอิงได้จาก”ถ้อยแถลง ลุงธง แจ่มศรี” จึงอยากให้คุณ ชูพงศ์รับรู้และสำเหนียกไว้ เพื่อจะรายงานต่อ USA ได้ถูกต้อง
..หากชูพงศ์จะทำการวิจารณ์โต้ตอบการวิเคราะห์สังคมไทย "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ ที่มีอิทธิพลอเมริกาครอบงำ" ก็ขอให้ทำการศึกษาก่อน เพราะแม้แต่ชื่่อก็เรียกผิดๆถูกๆ…..หลักคิด , ชุดความคิด ก็ไม่วิจารณ์ จึงผิดพลาดในการตอบโต้ว่า เป็นการ “นำเสนอการปฏิวัติสังคมนิยม” ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วได้เสนออย่างชัดเจนในเอกสารการวิเคราะห์ฯนี้ว่า “เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นทุน”
นี่สะท้อนให้เห็นการหยิบแต่เพียง “ประโยค หรือ วลี” ปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นทุนมาพูด โดยไม่เข้าใจถึง “ลักษณะและขั้นตอนของการปฏิวัตินี้” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องผ่านการวิเคราะห์สังคมก่อน กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมง่ายๆเพื่อให้ประชาชนผู้ติดตามได้เข้าใจ กล่าวคือ…..ไม่กำหนดขั้นตอนการรักษาโรคก่อน ( ซึ่งในที่นี้คือการกำหนดขั้นตอนการปฏิวัติว่าเป็น การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นทุน ) แต่จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของอาการป่วยก่อนว่าเป็นโรคอะไร? อาการร้ายแรงอยู่ในขั้นไหน? และ จะใช้วิธีใดในการรักษา? กล่าวคือ .....
1. ป่วยเป็นโรคอะไร ?..
..ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์สังคม ในการค้นหาการดำรงอยู่ของความขัดแย้งในสังคม เช่น
เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หรือ
ในทางการเมือง
เป็นโรค โรคทุนเก่า ทุนใหม่ , โรคราชาธิปไตย , โรคสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ , โรคอำมาตยาธิปไตย , หรือ
โรค “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ ที่มีอิทธิพลอเมริกาครอบงำ”
2. อาการป่วยร้ายแรงอยู่ในขั้นไหน ? เช่น
หลอดเลือดตีบ 3 เส้นๆละ 80% หรือ
เป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ระหว่าง ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐฯ กับ ประชาชน เป็นความขัดแย้งด้านหลัก
และมีความขัดแย้งด้านรอง คือ ความขัดแย้งภายในชั้นชนของทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐฯ กับ ทุนผูกขาดสวามิภักดิ์รายใหม่ ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่ประนอมยอมกันได้ ที่เรียกว่า “ปรองดอง” กันได้นั่นเอง
3. จะใช้วิธีใดในการรักษา ?
1. แนวทางอนุรักษ์นิยม เช่น รดน้ำมนต์,แก้กรรม,สะเดาะเคราะห์ หรือ
ในทางการเมือง อวยต่อไป,ให้คนดีปกครอง,กราบสวามิภักด์
2. แนวทางปฏิรูป เช่น แจกยาหม้อ,ทำกายภาพบำบัด,กำหนดอาหาร หรือ
ในทางการเมือง ด่าลอยๆ , โม่หินในการสร้างขบวน , เลื่อยน้ำแข็งแบบลัทธิฉวยโอกาส , รอองค์กร ทรู (กระทิงแดงแปรรูป) มานำ
3.แนวทางปฏิวัติ เช่น ผ่าตัดทำ Balloon , By-Pass หรือ
ในทางการเมือง นำการปฏิวัติด้วยทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งระบบ
นี่เป็นกระบวนการวิเคราะห์ที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ เนื่องจากเป็นการ “ชิงบ้านชิงเมือง” ที่ใหญ่โต จึงไม่สามารถทำแบบตัดตอนเอาเพียงบางเรื่องมาพูดกันเรื่อยไป โดยยกเพียงปรากฏการณ์หรือข่าว เอากระพี้หรือเปลือกที่เป็นข่าวรายวันมาอธิบายว่า สาเหตุมาจาก “ราชาธิปไตย” จึงต้องเปลี่ยนระบอบ เมื่อเปลี่ยนระบอบแล้ว จะทำให้ตัวบุคคลเดิมที่อยู่ในระบอบทั้งหมดกลายเป็นคนดีหมด
ตรรกะ “ ทำลายระบอบโดยละเลยผู้รักษาระบบ” และไม่จัดการกับผู้รักษาระบอบในระดับต่างๆ กันอย่างไร ? ทั้งระดับ ตัวบุคคล และ ระดับชนชั้น ? .....ในกรณีนี้ จึงชี้ได้ว่า การอธิบาย “เปลี่ยนระบอบ” นี้ คือ การเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง ไม่ได้เปลี่ยนแปลง “ความสัมพันธ์ทางชนชั้น” แต่อย่างใด ? ดังนั้น “การเปลี่ยนระบอบ” นี้ จึงไม่มีความประสงค์จะเข้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาใจกลางของสังคมไทย และ ปลายทางประชาชนไม่สามารถฝากความหวังไว้ได้ อีกทั้ง ไม่กล่าวถึง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจดังที่ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐฯได้บรรยายไว้
2. ที่กล่าวถึง 3 อำนาจที่จะทำการเปลี่ยนแปลง แล้วโยงถึง พรรคการเมือง ว่า “เคยฝากความหวังไว้กับพรรคเพื่อไทย จะให้เป็นพรรคปฏิวัติ....แต่กลายเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ เพราะว่า ไปรักษาระบอบ ..พากันไปกราบ” ขอยกมาแบบย่อๆ และผมมีความเห็นดังนี้
....การยก 3 อำนาจ ที่จะเป็นผู้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้นั้น เป็นการยกมาโดย ขาดการพิจารณาเรื่อง “ลักษณะทางชนชั้นในสังคมไทย” ทั้ง สถาบันกษัตริย์ ทหาร และ ประชาชนนั้น เปรียบเสมือน สิงโต หมาป่า และลูกแกะ แล้วฝันเอาว่าจะเปลี่ยนให้ สิงโตและหมาป่า เปลี่ยนมากินมังสวิรัต เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับลูกแกะได้...แล้วจึงยกต่อไปถึง...การตั้งความหวังไว้กับ กลุ่มทุนผูกขาดสวามิภักดิ์รายใหม่ ซึ่งก็คือ กลุ่มแนวทางปฏิรูป ท่านทักษิณ และ พรรคเพื่อไทย จะสามารถนำการปฏิวัตินี้ได้ มี 2-3 ประเด็น ที่อยากจะชี้้
1. ทุนผูกขาดสวามิภักดิ์รายใหม่ ท่านทักษิณ หรือ พรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนของกลุ่มทุน จึงมีลักษณะทางธรรมชาติที่ยึดถือผลประโยชน์ของชนชั้นตนเป็นหลัก และ ย่อมโลเลต่อการปฏิวัติประชาธิปไตย และ ได้แสดงตนโลเลอย่างต่อเนื่องด้วยตัวของเขาเอง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งนี่ไม่ใช่เพียงข้อคิดเห็นของผมเองโดยปราศจากข้อเท็จจริงรองรับ ดังนั้น การรับว่าเคยฝากความหวังนี้ไว้กับ... จึงชี้ให้เห็นว่าชูพงศ์มามีความเข้าใจ “ธรรมชาติของชนชั้นทุนผิด และดูเหมือนยืนอยู่ข้างชนชั้นทุนผูกขาดสวามิภักดิ์ตลอดเวลา” จึงพยายามเสนอให้เป็น “ผู้นำการปฏิวัติ” โดยไม่เข้าใจว่า ท่านทักษิณ และ พรรคเพื่อไทยกำลังแสดงบทบาทนำใน “แนวทางปฏิรูป”และทำได้ดีเพียงเท่านี้ ดังนั้นชูพงศ์จึงมองไม่เห็น การเป็น “แนวร่วม” ซึ่งอยู่คนละสถานะกัน
2. ที่ผมกล่าวว่า”เป็นการปฏิวัติจากชนชั้นสูง” นั้น คุณก็ยอมอธิบายมาเองแล้ว ว่ามีที่มาจาก 3-4 แหล่ง จึงไม่ขอตอกย้ำ
3. และด้วยรากฐานทางความคิด “เสรีนิยม” ของชูพงศ์ จึงทำให้มองกลับไปอีกขั้วหนึ่งว่า ท่านทักษิณ , พรรคเพื่อไทย จะเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ โดยขาดการใช้วิจารณญาณ เพราะ ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ใช่สถานการปฏิวัติ ยังคงเป็นสถานการณ์ปฏิรูปอยู่ ท่านทักษิณจึงยังคงสามารถแสดงบทบาทหลักในการนำมวลชน และยังคงเป็น “แนวร่วม” กันได้ในระดับหนึ่ง จนกว่าจะเข้าสู่สถานการณ์ปฏิวัติซึ่งยังไม่สามารถกำหนดลงได้ว่าเมื่อไร ? เพียงแต่ได้อธิบายไว้ให้เป็นข้อสังเกตในบทที่ว่าด้วย “สถานการปฏิวัติ” แล้ว
3. ในหัวข้อ “การสร้างงานมวลชนพื้นฐาน และ มวลชนก้าวหน้า” มีเกณท์อะไรมาบอก ? หรือใช้ความรู้สึกมาอธิบาย ? แยกแยะกันย่างไร ? ภารกิจหน้าที่ควรเป็นอย่างไร ?
เมื่อปฏิวัติเสร็จแล้วมวลชนเดินหน้าต่อ...ในสังคมที่มีความสัมพันธ์กันแบบใด ? ผ่านเครื่องมืออะไร ?ตระเตรียมไว้อย่างไร ?
ในบทวิเคราะห์“ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ ที่มีอิทธิพลอเมริกาครอบงำ” ไม่มีตรงไหนเลยที่เสนอ “การปฏิวัติสังคมนิยม” ชูพงศ์ไปอ่านเจอตรงไหน ?
3. ที่ว่า”จัดตั้งทางความคิด”นั้น ใช้ชุดความคิดใดเป็นเข็มทิศชี้นำ ? ใช้ความคิดการต่อสู้ทางชนชั้นไหม ? หรือ ให้คิดแค่ “รักความเป็นธรรม เพื่อประชาธิปไตย” ก็พอแล้ว ? หรือแค่ “เลื่อยน้ำแข็ง” ไปเรื่อยๆ ? เพราะจากชุดความคิดชี้นำเหล่านี้ จะนำไปสู่การกำหนด จัดวาง การทำการต่อสู้ต่อไป ขึ้นอยู่กับ จะใช้ “ชุดความคิด” ใดชี้นำ
4. ที่ว่า”การนำสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ”.....ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนทั้งโลกมีที่ไหนบ้าง ? อาจจะยกเว้นไทยที่ต้องการเสนอ “รัฐบาลแห่งชาติ” ?????
5. ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่าของประชาชนทั้งโลก ( ซึ่งหมายรวมถึง ทั้งการต่อสู้กับธรรมชาติ และ การต่อสู้ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ด้วยกันเอง ) ล้วนสืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ผ่านยุคสมัยต่างๆมาแล้วทั้งสิ้น ประสบการณ์ ความจัดเจน ต่างๆ ล้วนต้องผ่านการสรุปบทเรียน แล้วถ่ายทอดต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งต่อไปอย่างต่อเนื่อง โลกและสังคมมนุษย์จึงล้วนพัฒนามาจาก องค์ความรู้ , ทฤษฎี เดิม พร้อมกับการต่อเติม นวัตกรรมใหม่ที่เป็นไปตามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่.......
ผมจึงเห็นว่า ผม…. “ไม่ได้อธิบายทฤษฎีแบบจำขี้ปากเขามา” ส่วนชูพงศ์ไปจำขี้ปากใครมา เพราะภาษาเป็นของ กอรมน. และ พวกกระทิงแดงในยุคถูกล้างสมองจากศักดินา ซึ่ง สะท้อนถึงความอ่อนด้อยทางสติปัญญา ขาดการอ่านหนังสือ สนทนากับผู้มีความรู้หรือขาดการติดตามข่าวสาร , การสรุปบทเรียนของขบวนการสังคมนิยม รวมถึงองค์ความรู้ การบริหารจัดการ และการปกครองโดยชนชั้นกรรมาชีพ ที่มีความสามารถปกครองชนชั้นนายทุนและสามารถบริหารจัดการให้ประเทศประสพความสำเร็จเหนือก่วาประเทศทุนนิยมทั้งหลายที่เห็นแก่ตัว จนไม่สามารถจัดการระบบกรรมสิทธิ์ระหว่าง เอกชนและของสังคมได้ ซึ่งประเทศสังคมนิยมสามารถวางรากฐานการพัฒนาที่จะเข้าสู่สังคมนิยมในอนาคตได้อย่างมั่นคง ขอคุณชูพงศ์อย่าได้หลงงมงายว่า นักลัทธิ Marx โง่เขลา ซึ่งการกล่าวหาว่า ระบอบประชาธิปไตยเสรีของชนชั้นนายทุน จะ เหนือกว่าระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบของประชาชนในยุคสังคมนิยม
6. การจับคู่ความขัดแย้งพื้นฐานของการปฏิวัติ คือ ประชาธิปไตย ขัดแย้งกับ สังคม นิยม จึงเป็นความเข้าใจผิดทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์อย่างโง่เขลายิ่ง