ธนาธร เขียนจ.ม.เปิดผนึกถึง นายกฯอิ๊งค์ ทบทวนออกสัมปทาน รับซื้อพลังงานหมุนเวียน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870262
‘ธนาธร’ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง “แพทองธาร”ทบทวนการการออกสัมปทานรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ หวั่น เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้โพสต์
[ จดหมายเปิดผนึกถึงคุณแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ] ผ่านเฟสบุ๊ก เรื่อง
ขอให้ทบทวนการการออกสัมปทานรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน โดยระบุว่า
ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นเพราะไม่เห็นด้วยกับการประกาศรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ที่ท่านนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นประธาน
ผมเห็นว่าการรับซื้อพลังงานครั้งนี้ รับซื้อด้วยราคาที่แพงเกินไป ไม่มีการเปิดประมูลเพื่อให้มีการแข่งขัน ซึ่งหากดำเนินการต่อไป อาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้รัฐและประชาชนต้องจ่ายค่าไฟแพงเกินไปโดยไม่จำเป็น
การจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ครั้งนี้ ใช้ราคาและหลักการเดียวกับการจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน 5,200 เมกกะวัตต์ในปี 2565 สมัยที่คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรี การจัดซื้อครั้งนั้น มีเอกชนเสนอขายมากกว่าจำนวนที่รัฐบาลต้องการซื้อถึง 3.3 เท่าตัว (ต้องการซื้อ 5,200 เมกะวัตต์ เอกชนเสนอขาย 17,400 เมกะวัตต์) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคารับซื้อสูงเกินกว่าราคาตลาด จึงมีเอกชนสนใจเสนอขายจำนวนมาก
ในฐานะที่คุณแพทองธารเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผมขอให้ท่านทบทวนนโยบายการจัดซื้อพลังงาน 3,600 เมกะวัตต์นี้เสียใหม่ การประกาศผู้ได้รับการคัดเลือกจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ และลงนามในสัญญาปีหน้า ยังไม่สายเกินไปที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การใช้พลังงานสะอาดเป็นไปด้วยความเป็นธรรม
ในการตอบกระทู้สดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในสภาผู้แทนราษฎร คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ตอบคุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ผู้ตั้งกระทู้ ว่าท่านเห็นด้วยว่าเงื่อนไขมีข้อบกพร่อง และรับปากกับสภาว่าจะทบทวนการซื้อพลังงานครั้งนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผมจำเป็นต้องเรียนท่านนายกรัฐมนตรีว่า อำนาจในการหยุดยั้งแก้ไข ไม่ได้อยู่ที่ท่านรัฐมนตรี แต่อยู่ที่ตัวท่านนายกฯ เอง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
อย่าให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเป็นโอกาสให้กลุ่มทุนร่ำรวยขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยนวัตกรรมใดๆ ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ
อย่าให้ประชาชนต้องรับภาระการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดด้วยการจ่ายค่าไฟที่แพงขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม
จากการประเมินเบื้องต้น หากการรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ดำเนินต่อไปด้วยเงื่อนไขปัจจุบัน รัฐจะจ่ายค่าไฟแพงกว่าที่ควรจะเป็นหากเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมถึง 66,000 ล้านบาท (พิจารณาจากมูลค่าปัจจุบัน)
ท่านนายกรัฐมนตรีมีทางเลือกคือ หากต้องการดำเนินนโยบายนี้ต่อ ผมขอให้มีการประมูล ให้เอกชนแข่งขันกัน ไม่ใช่กำหนดราคาตายตัว เช่นเงื่อนไขปัจจุบันหรือเงื่อนไขแบบ 5,200 เมกะวัตต์ของปี 2565 หรือใช้กลไก Direct PPA ที่มีอยู่ ที่เปิดให้ผู้ผลิตซื้อขายกับผู้ใช้ได้โดยตรง
ไปไกลกว่านั้น หากท่านต้องการปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานอย่างจริงจัง ท่านมีทางเลือกคือการยุติการจัดซื้อครั้งนี้ ปฏิรูปอุตสาหกรรมการผลิตและการขายพลังงาน ให้เกิดการแข่งขันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม สอดคล้องต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานสะอาด
ท่านนายกรัฐมนตรีย่อมทราบดีว่าพรรคเพื่อไทยก็มีนโยบายที่ต้องการจะลดราคาพลังงาน และปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการบริหารจัดการพลังงานเช่นกัน การรับซื้อพลังงาน 3,600 เมกะวัตต์ ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำลังทำอยู่นี้ ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงต่อแนวนโยบายของพรรคเพื่อไทย
ค่าไฟแพงไม่ใช่ความบังเอิญ และไม่ใช่ผลจากการแข่งขัน แต่มาจากนโยบายรัฐ 20 ปีที่ผ่านมา เราปล่อยให้นโยบายพลังงานสร้างกลุ่มทุนพลังงานที่รวยเป็นแสนล้านขึ้นในประเทศไทย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนห่างขึ้นมหาศาล รัฐออกนโยบายเอื้อกลุ่มทุนผูกขาด ส่วนประชาชนต้องแบกรับผลกระทบในฐานะเป็นคนจ่ายค่าไฟ
วันนี้ ท่านมีอำนาจที่จะพิจารณาชะลอ หยุดยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัตินี้ ผมหวังว่าท่านจะใช้อำนาจนั้นเพื่อรับใช้ประชาชน
ขอแสดงความนับถือ
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
28 ตุลาคม 2567
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/posts/pfbid0boYYSh3LuBmKd4edoV34b25892pKr1M1vhQ5AMyM9V1eYxviS67RFf7edFyk2x4Jl
‘พรรณิการ์’ ลั่น เป็นติ่ง ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ ผู้เกิด 3 ครั้ง – น่าเศร้าปัญหาเหลื่อมล้ำยังอยู่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870370
‘พรรณิการ์’ ลั่น เป็นติ่ง ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ ผู้เกิด 3 ครั้ง – น่าเศร้าปัญหาเหลื่อมล้ำยังอยู่
เนื่องในวาระครบรอบ 71 ปี เหตุการณ์โยนบก และ 94 ปี ชาติกาลของ ‘
จิตร ภูมิศักดิ์’ ปัญญาชนคนสำคัญ อดีตนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เป็นกวี คีตกร และนักคิดทางการเมืองในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งถูกนิสิตหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่ง ‘โยนบก’ ลงจากเวทีหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อ 28 ตุลาคม 2496 ทั้งยังถูกคณาจารย์ลงโทษพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี เพียงเพราะนำเสนอหนังสือ 23 ตุลาฯ หนังสือประจำปีของมหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่ นั้น
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม เวลา 16.00 น. ที่ลานจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ,
คณะกรรมการนิสิตนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานรำลึก “
94 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ : ฤๅเป็นการสิ้นสุดของ ‘ยุคแสวงหา’เพื่อรำลึกถึงนักเขียนคิดนักเขียน และปราชญ์แห่งยุคแสวงหา”
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการจัดนิทรรศการ ‘
ประวัติชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์’ บอกเล่าชีวิต และรายละเอียดของเหตุการณ์โยนบก เมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ.2496 ซึ่งครบรอบ 71 ปีในวันนี้
พร้อมทั้งวางหุ่นจำลองเพื่อย้ำเตือนถึงเหตุการณ์ดังกล่าว มีการทำโพลแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ‘เด็กจุฬา เป็น Ignorant ?’ รวมไปถึงบอร์ดให้แสดงความคิดเห็น ‘เราเรียนรู้อะไรจากจิตร’
เวลา 17.30 น. มีการเสวนาในหัวข้อ ‘ฤๅเป็นการสิ้นสุดของยุคแสวงหา’ โดย ผศ.ดร.
ธิบดี บัวคำศรี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต และ น.ส.
พรรณิการ์ วานิช หรือ ช่อ จากคณะก้าวหน้า
ในตอนหนึ่ง น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวว่า ตนเป็นแฟนพันธุ์แท้ จิตร ภูมิศักดิ์ เพราะเป็นแฟนวรรณกรรม ดีใจและภูมิใจที่คนจุฬาฯ ยุคนี้ ตระหนักถึงความสำคัญของจิตร ในฐานะราษฎรบัณฑิต และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย
“
รู้จักจิตร ครั้งแรกตอน ม.ปลาย เพราะชอบ ‘ลิลิตพระลอ’ มาก เนื้อหามันสั้นนิดเดียว แต่เราไปตามหาอ่านต่อ แล้วไปพบบทวิจารณ์ลิลิตพระลอ ของจิตร ซึ่ง ณ วันนั้นไม่ได้รู้จักจิตร แต่พบว่าคนๆ นี้มีบทวิจารณ์ที่น่าสนใจ แหวกขนบไปไกลถึงเรื่องชนชั้นศักดินา เราในฐานะเด็ก ม.ปลาย ในตอนนั้นก็ตกใจมาก
หลายคนบอกว่า การเป็นนักกวีและนักปฏิวัติ ใช้จิตวิญญาณเดียวกัน ช่อ ปวารณาตัวว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ จิตร ภูมิศักดิ์” น.ส.พรรณิการ์กล่าว
น.ส.
พรรณิการ์กล่าวต่อว่า ตอนแรกเจอคำถามจากผู้จัดแล้วช็อก เพราะเกิดไม่ทันจึงไม่รู้บริบทของจุฬาฯ ในยุคนั้น แต่ความจริงมาพบว่าคุณปู่ของตน แทบจะเป็นรุ่นเดียวกันกับ จิตร ในขณะที่ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
“
คุณปู่ เป็นคนบ้านนอก ลูกหลานชาว จ.ชัยภูมิ ต้องเรียนไปทำงานไป ต้องถีบตัวเอง จบมาเป็นปลัดอำเภอ เป็นยุคแรกๆ ที่จุฬาฯ มีทั้งลูกหลานขุนนาง ลูกชาวบ้าน บ้านนอกคอกนา
ส่วนตัวมองว่า ‘
เช เกวารา’ กับ ‘
จิตร ภูมิศักดิ์’ แทบจะเกิดและตายในปีเดียวกัน เป็นยุคที่การปฏิวัติ เบ่งบานทั่วโลก คนแสวงหาการปลดแอก เพื่อความเท่าเทียมอยู่ทุกมุมโลก เราถึงจินตนาการสังคมของ ‘
อาภรณ์แผ่นดิน’ ผู้ที่มีคุณภาพสูงสุดในประเทศ ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้สัมผัส ‘กระแสหัวก้าวหน้า’ ในยุคโลกาภิวัฒน์นั้น บวกกับ การมีคนหลายจากหลายชนชั้นมาเรียนร่วมกันในคลาส
“
มันคงเป็นยุค ที่เปิดให้ได้พูดคุยกับคนต่างแบ๊กกราวด์ และมีความหัวก้าวหน้า ไม่ใช่สายลมแสงแดดเลย การเกิดขึ้นของนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาสู้เรื่องการทุจริตการเลือกตั้ง ไม่ได้ใสๆ ไม่อย่างนั้น คงไม่เกิดเป็นการป๊อบอัพใน 2500” น.ส.
พรรณิการ์ระบุ
น.ส.
พรรณิการ์กล่าวอีกว่า เราเห็นการเติบโตของจิตร จากเด็กที่ไปเรียนที่ จ.พระตระบอง จนมาต่อต้านเจ๊ก มองเรื่องการต่อต้านทางชนชั้น ตกผลึกมาเป็นหนังสือ ‘
โฉมหน้าศักดินาไทย’
“มันชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่สุดในฐานะการต่อสู้ เรียกร้องเพื่อความเท่าเทียม ในแง่ universal เหมือนคำกล่าวที่ว่า ‘กรรมกรทั่วโลกจงสามัคคี’
เพราะสิ่งที่มนุษย์เผชิญเหมือนกันคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ก็จะกดขี่แรงงาน จนถึงปัจจุบันยังมีการต่อสู้เรื่องชนชั้นและความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์อย่างเสมอหน้า แม้วันนี้ไม่มี พ.ร.บ.ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่การมี ม.112 ก็ยังเป็นเรื่องเดียวกันอยู่
“
ในฐานะติ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ หลายคนไม่รู้ว่ามีการตั้งวงดนตรีในคุก ซึ่ง จิตร เล่นจะเข้ และจะเข้ของจิตร ก็ยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์แรงงาน ที่มักกะสัน ห้องที่ชอบมากคือห้องของจิตร มีข้าวของของจิตร ที่ใช้ตอนอยู่ในคุก
การเป็นกวีและนักปฏิวัติ ใช้เอเลเมนท์เดียวกัน การปฏิวัติเป็นเรื่องศิลปะ และใช้อารมณ์ความรู้อย่างมาก ในคุกมีการแต่งเพลง เนื้อร้อง ทำนอง บทกวี ต้องยอมรับว่า ‘บทกวีของจิตร’ ยังใช้ในการปลุกเร้าความรู้สึกถึงความอยุติธรรม ที่คนต่างลุกขึ้นมาปลดแอก เพื่อให้เป็นสังคมที่เท่าเทียม จิตวิญญาณที่เข้าใจความเจ็บปวดของผู้อื่น ต่อให้เป็นชนชั้นกระดุมพี แต่เข้าใจชนชั้นแรงงาน จิตวิญญาณของจิตร ยิ่งถูกบ่มเพาะ เพราะเมื่อคุณอยู่ในคุก จะยิ่งรู้สึกถึงความเจ็บปวด” น.ส.
พรรณิการ์กล่าว
น.ส.
พรรณิการ์กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า จิตร เกิด 3 ครั้ง ผลงานมาบูมในยุคแสวงหา ก่อน 14 ตุลาคม 2516 ที่เป็นกระแสต่อเนื่องจากยุคของจิตรเอง ซึ่งเขาพูดถึงการปฏิวัติ ความเท่าเทียม ชนชั้น จนระยะหลังเริ่มมีการเสาะหางานของจิตร
“
แน่นอนว่า งานของจิตร มีพลัง ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องปลอบประโลม ปลุกระดม เป็นการเกิดครั้งที่ 2
ส่วนการเกิดครั้งที่ 3 ถ้าจำไม่ผิด คือช่วงม็อบหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ ต่อเนื่องมาเป็นการต่อสู้ของกลุ่มราษฎร มีการจัดกิจกรรมรำลึกจิต ร ที่จุฬาฯ ปีนั้น ช่อ ก็มาเข้าร่วมด้วย เป็นที่ปีที่คนเยอะมาก และมีการขอโทษจากกรรมการนิสิต วิศวฯ จุฬาฯ ด้วย
เพราะเนื้อหาพูดถึงความเหลื่อมล้ำ คนที่กล้าพูด คิดต่าง มีความผิดถึงตาย ใช้กฎหมายในการเล่นงาน การเกิดของจิตรในแต่ละยุคสมัย มีค่าพอที่จะถูกหยิบมาสะท้อนความไม่เท่าเทียมในสังคม น่าเศร้าที่ปัจจุบันปัญหานั้นยังคงอยู่” น.ส.พรรณิการ์ชี้
ต่อมาเวลา 19.10 น. มีการมอบรางวัล ‘จิตร ภูมิศักดิ์ ประจำปี 2567’ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 4 ท่านในปีนี้ได้แก่ 1.ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ด้านศิลปะเพื่อประชาชน 2.นายณัฐพล เมฆโสภณ (เป้ ประชาไท) ด้านสื่อเพื่อเสรีภาพ 3.รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ด้านขับเคลื่อนสังคม และ 4.น.ส.อัญชนา
มมิหน๊ะ ด้านสิทธิมนุษยชน
จากนั้น มีการแสดงดนตรีสด โดย นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์
JJNY : ทบทวนออกสัมปทาน│‘พรรณิการ์’ลั่นเป็นติ่ง‘จิตร’│จำเลยคดีตากใบ โผล่ทำงาน│สหรัฐเผยเกาหลีเหนือส่งทหารเข้ารัสเซียแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870262
‘ธนาธร’ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง “แพทองธาร”ทบทวนการการออกสัมปทานรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ หวั่น เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ [ จดหมายเปิดผนึกถึงคุณแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ] ผ่านเฟสบุ๊ก เรื่อง ขอให้ทบทวนการการออกสัมปทานรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน โดยระบุว่า
ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นเพราะไม่เห็นด้วยกับการประกาศรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ที่ท่านนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นประธาน
ผมเห็นว่าการรับซื้อพลังงานครั้งนี้ รับซื้อด้วยราคาที่แพงเกินไป ไม่มีการเปิดประมูลเพื่อให้มีการแข่งขัน ซึ่งหากดำเนินการต่อไป อาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้รัฐและประชาชนต้องจ่ายค่าไฟแพงเกินไปโดยไม่จำเป็น
การจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ครั้งนี้ ใช้ราคาและหลักการเดียวกับการจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน 5,200 เมกกะวัตต์ในปี 2565 สมัยที่คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรี การจัดซื้อครั้งนั้น มีเอกชนเสนอขายมากกว่าจำนวนที่รัฐบาลต้องการซื้อถึง 3.3 เท่าตัว (ต้องการซื้อ 5,200 เมกะวัตต์ เอกชนเสนอขาย 17,400 เมกะวัตต์) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคารับซื้อสูงเกินกว่าราคาตลาด จึงมีเอกชนสนใจเสนอขายจำนวนมาก
ในฐานะที่คุณแพทองธารเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผมขอให้ท่านทบทวนนโยบายการจัดซื้อพลังงาน 3,600 เมกะวัตต์นี้เสียใหม่ การประกาศผู้ได้รับการคัดเลือกจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ และลงนามในสัญญาปีหน้า ยังไม่สายเกินไปที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การใช้พลังงานสะอาดเป็นไปด้วยความเป็นธรรม
ในการตอบกระทู้สดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในสภาผู้แทนราษฎร คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ตอบคุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ผู้ตั้งกระทู้ ว่าท่านเห็นด้วยว่าเงื่อนไขมีข้อบกพร่อง และรับปากกับสภาว่าจะทบทวนการซื้อพลังงานครั้งนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผมจำเป็นต้องเรียนท่านนายกรัฐมนตรีว่า อำนาจในการหยุดยั้งแก้ไข ไม่ได้อยู่ที่ท่านรัฐมนตรี แต่อยู่ที่ตัวท่านนายกฯ เอง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
อย่าให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเป็นโอกาสให้กลุ่มทุนร่ำรวยขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยนวัตกรรมใดๆ ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ
อย่าให้ประชาชนต้องรับภาระการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดด้วยการจ่ายค่าไฟที่แพงขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม
จากการประเมินเบื้องต้น หากการรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ดำเนินต่อไปด้วยเงื่อนไขปัจจุบัน รัฐจะจ่ายค่าไฟแพงกว่าที่ควรจะเป็นหากเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมถึง 66,000 ล้านบาท (พิจารณาจากมูลค่าปัจจุบัน)
ท่านนายกรัฐมนตรีมีทางเลือกคือ หากต้องการดำเนินนโยบายนี้ต่อ ผมขอให้มีการประมูล ให้เอกชนแข่งขันกัน ไม่ใช่กำหนดราคาตายตัว เช่นเงื่อนไขปัจจุบันหรือเงื่อนไขแบบ 5,200 เมกะวัตต์ของปี 2565 หรือใช้กลไก Direct PPA ที่มีอยู่ ที่เปิดให้ผู้ผลิตซื้อขายกับผู้ใช้ได้โดยตรง
ไปไกลกว่านั้น หากท่านต้องการปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานอย่างจริงจัง ท่านมีทางเลือกคือการยุติการจัดซื้อครั้งนี้ ปฏิรูปอุตสาหกรรมการผลิตและการขายพลังงาน ให้เกิดการแข่งขันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม สอดคล้องต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานสะอาด
ท่านนายกรัฐมนตรีย่อมทราบดีว่าพรรคเพื่อไทยก็มีนโยบายที่ต้องการจะลดราคาพลังงาน และปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการบริหารจัดการพลังงานเช่นกัน การรับซื้อพลังงาน 3,600 เมกะวัตต์ ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำลังทำอยู่นี้ ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงต่อแนวนโยบายของพรรคเพื่อไทย
ค่าไฟแพงไม่ใช่ความบังเอิญ และไม่ใช่ผลจากการแข่งขัน แต่มาจากนโยบายรัฐ 20 ปีที่ผ่านมา เราปล่อยให้นโยบายพลังงานสร้างกลุ่มทุนพลังงานที่รวยเป็นแสนล้านขึ้นในประเทศไทย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนห่างขึ้นมหาศาล รัฐออกนโยบายเอื้อกลุ่มทุนผูกขาด ส่วนประชาชนต้องแบกรับผลกระทบในฐานะเป็นคนจ่ายค่าไฟ
วันนี้ ท่านมีอำนาจที่จะพิจารณาชะลอ หยุดยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัตินี้ ผมหวังว่าท่านจะใช้อำนาจนั้นเพื่อรับใช้ประชาชน
ขอแสดงความนับถือ
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
28 ตุลาคม 2567
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/posts/pfbid0boYYSh3LuBmKd4edoV34b25892pKr1M1vhQ5AMyM9V1eYxviS67RFf7edFyk2x4Jl
‘พรรณิการ์’ ลั่น เป็นติ่ง ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ ผู้เกิด 3 ครั้ง – น่าเศร้าปัญหาเหลื่อมล้ำยังอยู่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870370
‘พรรณิการ์’ ลั่น เป็นติ่ง ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ ผู้เกิด 3 ครั้ง – น่าเศร้าปัญหาเหลื่อมล้ำยังอยู่
เนื่องในวาระครบรอบ 71 ปี เหตุการณ์โยนบก และ 94 ปี ชาติกาลของ ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ ปัญญาชนคนสำคัญ อดีตนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เป็นกวี คีตกร และนักคิดทางการเมืองในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งถูกนิสิตหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่ง ‘โยนบก’ ลงจากเวทีหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อ 28 ตุลาคม 2496 ทั้งยังถูกคณาจารย์ลงโทษพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี เพียงเพราะนำเสนอหนังสือ 23 ตุลาฯ หนังสือประจำปีของมหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่ นั้น
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม เวลา 16.00 น. ที่ลานจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ,
คณะกรรมการนิสิตนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานรำลึก “94 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ : ฤๅเป็นการสิ้นสุดของ ‘ยุคแสวงหา’เพื่อรำลึกถึงนักเขียนคิดนักเขียน และปราชญ์แห่งยุคแสวงหา”
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการจัดนิทรรศการ ‘ประวัติชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์’ บอกเล่าชีวิต และรายละเอียดของเหตุการณ์โยนบก เมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ.2496 ซึ่งครบรอบ 71 ปีในวันนี้
พร้อมทั้งวางหุ่นจำลองเพื่อย้ำเตือนถึงเหตุการณ์ดังกล่าว มีการทำโพลแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ‘เด็กจุฬา เป็น Ignorant ?’ รวมไปถึงบอร์ดให้แสดงความคิดเห็น ‘เราเรียนรู้อะไรจากจิตร’
เวลา 17.30 น. มีการเสวนาในหัวข้อ ‘ฤๅเป็นการสิ้นสุดของยุคแสวงหา’ โดย ผศ.ดร.ธิบดี บัวคำศรี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต และ น.ส.พรรณิการ์ วานิช หรือ ช่อ จากคณะก้าวหน้า
ในตอนหนึ่ง น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า ตนเป็นแฟนพันธุ์แท้ จิตร ภูมิศักดิ์ เพราะเป็นแฟนวรรณกรรม ดีใจและภูมิใจที่คนจุฬาฯ ยุคนี้ ตระหนักถึงความสำคัญของจิตร ในฐานะราษฎรบัณฑิต และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย
“รู้จักจิตร ครั้งแรกตอน ม.ปลาย เพราะชอบ ‘ลิลิตพระลอ’ มาก เนื้อหามันสั้นนิดเดียว แต่เราไปตามหาอ่านต่อ แล้วไปพบบทวิจารณ์ลิลิตพระลอ ของจิตร ซึ่ง ณ วันนั้นไม่ได้รู้จักจิตร แต่พบว่าคนๆ นี้มีบทวิจารณ์ที่น่าสนใจ แหวกขนบไปไกลถึงเรื่องชนชั้นศักดินา เราในฐานะเด็ก ม.ปลาย ในตอนนั้นก็ตกใจมาก
หลายคนบอกว่า การเป็นนักกวีและนักปฏิวัติ ใช้จิตวิญญาณเดียวกัน ช่อ ปวารณาตัวว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ จิตร ภูมิศักดิ์” น.ส.พรรณิการ์กล่าว
น.ส.พรรณิการ์กล่าวต่อว่า ตอนแรกเจอคำถามจากผู้จัดแล้วช็อก เพราะเกิดไม่ทันจึงไม่รู้บริบทของจุฬาฯ ในยุคนั้น แต่ความจริงมาพบว่าคุณปู่ของตน แทบจะเป็นรุ่นเดียวกันกับ จิตร ในขณะที่ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
“คุณปู่ เป็นคนบ้านนอก ลูกหลานชาว จ.ชัยภูมิ ต้องเรียนไปทำงานไป ต้องถีบตัวเอง จบมาเป็นปลัดอำเภอ เป็นยุคแรกๆ ที่จุฬาฯ มีทั้งลูกหลานขุนนาง ลูกชาวบ้าน บ้านนอกคอกนา
ส่วนตัวมองว่า ‘เช เกวารา’ กับ ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ แทบจะเกิดและตายในปีเดียวกัน เป็นยุคที่การปฏิวัติ เบ่งบานทั่วโลก คนแสวงหาการปลดแอก เพื่อความเท่าเทียมอยู่ทุกมุมโลก เราถึงจินตนาการสังคมของ ‘อาภรณ์แผ่นดิน’ ผู้ที่มีคุณภาพสูงสุดในประเทศ ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้สัมผัส ‘กระแสหัวก้าวหน้า’ ในยุคโลกาภิวัฒน์นั้น บวกกับ การมีคนหลายจากหลายชนชั้นมาเรียนร่วมกันในคลาส
“มันคงเป็นยุค ที่เปิดให้ได้พูดคุยกับคนต่างแบ๊กกราวด์ และมีความหัวก้าวหน้า ไม่ใช่สายลมแสงแดดเลย การเกิดขึ้นของนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาสู้เรื่องการทุจริตการเลือกตั้ง ไม่ได้ใสๆ ไม่อย่างนั้น คงไม่เกิดเป็นการป๊อบอัพใน 2500” น.ส.พรรณิการ์ระบุ
น.ส.พรรณิการ์กล่าวอีกว่า เราเห็นการเติบโตของจิตร จากเด็กที่ไปเรียนที่ จ.พระตระบอง จนมาต่อต้านเจ๊ก มองเรื่องการต่อต้านทางชนชั้น ตกผลึกมาเป็นหนังสือ ‘โฉมหน้าศักดินาไทย’
“มันชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่สุดในฐานะการต่อสู้ เรียกร้องเพื่อความเท่าเทียม ในแง่ universal เหมือนคำกล่าวที่ว่า ‘กรรมกรทั่วโลกจงสามัคคี’
เพราะสิ่งที่มนุษย์เผชิญเหมือนกันคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ก็จะกดขี่แรงงาน จนถึงปัจจุบันยังมีการต่อสู้เรื่องชนชั้นและความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์อย่างเสมอหน้า แม้วันนี้ไม่มี พ.ร.บ.ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่การมี ม.112 ก็ยังเป็นเรื่องเดียวกันอยู่
“ในฐานะติ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ หลายคนไม่รู้ว่ามีการตั้งวงดนตรีในคุก ซึ่ง จิตร เล่นจะเข้ และจะเข้ของจิตร ก็ยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์แรงงาน ที่มักกะสัน ห้องที่ชอบมากคือห้องของจิตร มีข้าวของของจิตร ที่ใช้ตอนอยู่ในคุก
การเป็นกวีและนักปฏิวัติ ใช้เอเลเมนท์เดียวกัน การปฏิวัติเป็นเรื่องศิลปะ และใช้อารมณ์ความรู้อย่างมาก ในคุกมีการแต่งเพลง เนื้อร้อง ทำนอง บทกวี ต้องยอมรับว่า ‘บทกวีของจิตร’ ยังใช้ในการปลุกเร้าความรู้สึกถึงความอยุติธรรม ที่คนต่างลุกขึ้นมาปลดแอก เพื่อให้เป็นสังคมที่เท่าเทียม จิตวิญญาณที่เข้าใจความเจ็บปวดของผู้อื่น ต่อให้เป็นชนชั้นกระดุมพี แต่เข้าใจชนชั้นแรงงาน จิตวิญญาณของจิตร ยิ่งถูกบ่มเพาะ เพราะเมื่อคุณอยู่ในคุก จะยิ่งรู้สึกถึงความเจ็บปวด” น.ส.พรรณิการ์กล่าว
น.ส.พรรณิการ์กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า จิตร เกิด 3 ครั้ง ผลงานมาบูมในยุคแสวงหา ก่อน 14 ตุลาคม 2516 ที่เป็นกระแสต่อเนื่องจากยุคของจิตรเอง ซึ่งเขาพูดถึงการปฏิวัติ ความเท่าเทียม ชนชั้น จนระยะหลังเริ่มมีการเสาะหางานของจิตร
“แน่นอนว่า งานของจิตร มีพลัง ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องปลอบประโลม ปลุกระดม เป็นการเกิดครั้งที่ 2
ส่วนการเกิดครั้งที่ 3 ถ้าจำไม่ผิด คือช่วงม็อบหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ ต่อเนื่องมาเป็นการต่อสู้ของกลุ่มราษฎร มีการจัดกิจกรรมรำลึกจิต ร ที่จุฬาฯ ปีนั้น ช่อ ก็มาเข้าร่วมด้วย เป็นที่ปีที่คนเยอะมาก และมีการขอโทษจากกรรมการนิสิต วิศวฯ จุฬาฯ ด้วย
เพราะเนื้อหาพูดถึงความเหลื่อมล้ำ คนที่กล้าพูด คิดต่าง มีความผิดถึงตาย ใช้กฎหมายในการเล่นงาน การเกิดของจิตรในแต่ละยุคสมัย มีค่าพอที่จะถูกหยิบมาสะท้อนความไม่เท่าเทียมในสังคม น่าเศร้าที่ปัจจุบันปัญหานั้นยังคงอยู่” น.ส.พรรณิการ์ชี้
ต่อมาเวลา 19.10 น. มีการมอบรางวัล ‘จิตร ภูมิศักดิ์ ประจำปี 2567’ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 4 ท่านในปีนี้ได้แก่ 1.ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ด้านศิลปะเพื่อประชาชน 2.นายณัฐพล เมฆโสภณ (เป้ ประชาไท) ด้านสื่อเพื่อเสรีภาพ 3.รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ด้านขับเคลื่อนสังคม และ 4.น.ส.อัญชนา มมิหน๊ะ ด้านสิทธิมนุษยชน
จากนั้น มีการแสดงดนตรีสด โดย นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์