บทความวันจันทร์ (13 ส.ค. 61)
เรื่อง เวลาที่น่าหวงแหน (5)
โดย วรา วราภรณ์
ข้าพเจ้าได้เขียนถึงช่วงเวลาที่น่าหวงแหนมาสี่ตอนแล้ว และยังคงนำเสนอเรื่องราวที่เป็นการอธิบายคำตอบว่า เหตุใดช่วงเวลาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่น่าหวงแหนสำหรับตนเองและคงรวมถึงอีกหลายท่านที่คิดตรงกัน
จากประสบการณ์ที่ได้รับในการอบรม ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า การเจริญสติ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ คือหัวใจของการอบรมหลักสูตรนี้ และทุกคนจะประจักษ์แจ้งแก่ใจก็ต่อเมื่อได้ผ่านการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองแล้วเท่านั้น ตรงนี้สำคัญที่สุด
การเจริญสติ หมายถึง การกำหนดอิริยาบถให้ทันกับปัจจุบัน และรับรู้ความรู้สึกตามทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างสม่ำเสมอและตลอดเวลาให้ได้มากที่สุด คือให้เรากำหนดรู้ไปตามจริงที่ใจรู้ ทั้งอิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และอิริยาบถย่อย คือการเคลื่อนกายในทุกกิริยา ได้แก่ ก้ม เงย หยิบ ยก เหลียว เคี้ยว กลืน แม้แต่การขับถ่ายก็ให้เราเจริญสติด้วย คุณแม่สิริสอนว่า การที่เราทำได้ต่อเนื่องกัน จิตจะสงบลงได้ ความฟุ้งซ่านจะน้อยลง และปัญญาคือการรู้คิด รู้ผิด รู้ถูก ก็จะตามมา
อย่างไรก็ตาม ทุกคนย่อมพลั้งเผลอ ไม่มีใครกำหนดได้ทุกกิริยา ดังนั้น เมื่อรู้สึกตัวว่าเผลอ ก็ให้กำหนดว่า “เผลอหนอ” เพื่อการกำกับตนเองด้วย
หลังจากลงมือปฏิบัติ ข้าพเจ้าได้ทำความเข้าใจว่า การฝึกเดินจงกรมก็คือการฝึกให้เรารู้จักเจริญสติว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เช่น เรากำลังยกเท้า ก้าว หรือวางเท้าลงบนพื้น ทำให้จิตของเราจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนของเท้า ดังนั้น การฝึกเดินจงกรมภายในเจ็ดวัน จึงเท่ากับฝึกให้เราหัดเจริญสติจากอิริยาบถใหญ่ไปสู่อิริยาบถย่อยได้ทีละน้อยๆ นั่นเอง
นั่นคือ จากวันแรกๆ ที่กำหนดการก้าวเท้าไว้เพียง 3 อิริยาบถ (ขวา...ย่าง...หนอ/ซ้าย...ย่าง...หนอ) ก็จะค่อยๆ เพิ่มอิริยาบถย่อยเข้าไปทีละขั้นในแต่ละวัน จนครบ 7 อิริยาบถ ดังนี้
2-ยก...หนอ....เหยียบ....หนอ
3-ยก...หนอ....ย่าง....หนอ......เหยียบ....หนอ
4-ยกส้น.....หนอ......ยก...หนอ......ย่าง....หนอ.....เหยียบ....หนอ
5-ยกส้น....หนอ.....ยก....หนอ.....ย่าง...หนอ.....ลง....หนอ.....ถูก....หนอ
6-ยกส้น...หนอ....ยก...หนอ..........ย่าง...หนอ.....ลง....หนอ.....ถูก....หนอ.....กด....หนอ
7-ยกส้น....หนอ....คิด/ไม่คิดหนอ......ยก...หนอ...คิด/ไม่คิดหนอ.......ย่าง...หนอ...คิด/ไม่คิดหนอ....ลง....หนอ..(คิด/ไม่คิดหนอ).....ถูก....หนอ...(คิด/ไม่คิดหนอ).....กด....หนอ...(คิด/ไม่คิดหนอ)
เนื่องจากการเดินจงกรมคือการเดินไปและเดินกลับมาในระยะ 3 เมตร ดังนั้น นอกจากอิริยาบถก้าวเท้าแล้ว ยังมีอิริยาบถตอนกลับหลังหันเพื่อเดินกลับมาในทิศทางเดิม โดยการกลับตัวจะเริ่มที่การยืนนิ่ง กำหนดรู้ที่ใจว่า "ยืนหนอ" แล้วเปล่งเสียงออกมา 3 ครั้ง จากนั้น กำหนดรู้ที่ใจและเปล่งเสียงว่า "อยากกลับหนอ" อีก 3 ครั้งเช่นกัน แล้วจึงค่อยยกเท้าในท่าหันกลับให้ได้ 4 ครั้ง 8 คู่
ในหนึ่งวัน โยคีทุกคนจะได้ฝึกเดินจงกรมไปพร้อมกันในแบบเดียวกัน ทั้งช่วงเช้า บ่าย และค่ำ เมื่อเดินจงกรมจบแล้วในแต่ละรอบ วิทยากรจะให้เปลี่ยนมาเป็นการนั่งสมาธิครั้งละ 20-30 นาที โดยให้ทุกคนหลับตาลงและเอาใจมาพิจารณาลมหายใจที่เข้าออกผ่านการพองหรือยุบที่หน้าท้องเหนือสะดือ หากใจไม่สงบพอ ยังคิดโน่นนี่ไปเรื่อย เมื่อรู้สึกตัวก็ให้กำหนดว่า “คิดหนอ” แล้วก็กลับไปพิจารณาที่อาการท้องพองยุบต่อไป
สิ่งที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าเมื่อแรกฝึกนั่งสมาธิก็ไม่ต่างอะไรจากการฝึกเดินจงกรม นั่นก็คือ เกิดความกระวนกระวายขึ้นมาเป็นช่วงๆ ด้วยคำถามในใจว่า “จะเลิกหรือยังนะ”....“พอหรือยัง”....”ทำไมนานจัง” ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูที่มีพลังค่อนข้างมาก ต้องพยายามกดข่มใจด้วยวลี “อดทนหนอ...พากเพียรหนอ” ของคุณแม่สิริจนกว่ามันจะอ่อนกำลังลงไป แต่สิ่งที่พบเมื่อตนเองตั้งใจฝึกมากขึ้นก็คือ ความกระวนกระวายค่อยๆ ลดน้อยลงไปจนกระทั่งไม่กระวนกระวายอีก แล้วก็มานึกแปลกใจว่า ที่เรานั่งสมาธิไปสักครู่นี้นานตั้งสามสิบนาทีเชียวหรือ ?
สรุปว่าตั้งแต่ 04.30 น. โดยประมาณกระทั่งถึง 20.30 น. ของทุกวัน ข้าพเจ้าและเพื่อนโยคีได้อยู่กับการสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น เดินจงกรม การนั่งสมาธิ ร่วมกับการรับฟังธรรมผ่านวิดีทัศน์หลายหัวข้อ เช่น ตามรอยบาทพระศาสดา, อริยมรรคมีองค์ 8, เมื่อมารให้โอกาส, ขันธ์ 5, อรหันต์พลิกฝ่ามือ เป็นต้น และได้รับฟังการสนทนาธรรมจากวิทยากรในโครงการ ได้แก่
คุณกิตติศักดิ์ โตมรศักดิ์ และคุณไพรัช ลาวัณยากุล อย่างเป็นกันเอง รวมถึงได้ร่วมรำลึกถึงพระคุณบิดามารดาในพิธีกราบพระในบ้าน การรับฟังข้อชี้แนะจากวิทยากร และรับฟังเพื่อนโยคีสะท้อนความรู้สึกยามสอบอารมณ์ในวันสุดท้าย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องราวและภาพที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม
บทสรุปสั้นๆ ที่ได้จากหนึ่งสัปดาห์ในการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ของ
คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย สำหรับคนห่างวัดอย่างข้าพเจ้าก็คือ วิปัสสนากรรมฐานเป็นแสงสว่างแห่งชีวิตที่เราจะเลือกทำให้ดับลง หรือยังคงเปล่งประกายแสงต่อไปก็ได้ อยู่ที่ตัวเราเท่านั้น และเป็นดั่งอริยทรัพย์ที่ติดตัวเราไปกระทั่งหมดลมหายใจ
ที่เปรียบเช่นนี้ก็เพราะว่า การที่เรารู้สติ ครองกาย ครองใจให้อยู่กับปัจจุบันขณะด้วยความรู้คิดหรือปัญญา คือหนทางเดียวที่ทำให้จิตของเราสงบ และเป็นจิตที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่นรวมทั้งสรรพสิ่งรอบข้าง เป็นความโปร่งเบาของชีวิตที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหา ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายให้ได้มา เพราะว่าคำตอบอยู่ที่ตัวเรานั่นเอง
(ขอเชิญพบกับเรื่องราวน่าประทับใจอันเนื่องมาจากการอบรมหลักสูตรนี้ในวันจันทร์หน้าค่ะ)
หมายเหตุ : ในเดือนนี้ขอเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมอบรมหลักสูตร พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ของ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย
วันที่ 26 สิงหาคมถึง 2 กันยายน ศกนี้ ณ สำนักวิปัสสนาสอนทวี อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา (ควรเดินทางไปถึงเย็นวันที่ 25 ส.ค.
เพื่อการเตรียมตัวค่ะ) ไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่เดินทางไป-กลับเอง (ชาวนครราชสีมาและเขตใกล้เคียง สามารถนัดหมายเดินทาง
ร่วมกันได้เพราะมีรถบริการไปกลับฟรีค่ะ)
สนใจสมัครโปรดติดต่อ คุณจิตร์สุภา โตมรศักดิ์ โทร.08-1984-0712 หรือ อ.นิศารัตน์ ลาวัณยากุล โทร. 08-9892-2612
และหากรอบนี้ไม่ทัน ยังเหลือเดือนตุลาคม และพฤศจิกายนอีก 3 รอบนะคะ
หลานสาวสวดมนต์ตามคุณยาย
ผู้สูงวัยบางท่านเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยขณะเดินจงกรม
นั่งสมาธิพร้อมกันในท่านั่งที่สะดวก
เยาวชนก็สนใจมาร่วมกิจกรรมจนจบหลักสูตร
โยคีที่มาเป็นครอบครัวกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ในพิธีกราบพระในบ้าน
(ขอขอบคุณทุกท่านค่ะที่ให้ความสนใจเข้ามาอ่าน)
บทความวันจันทร์ (13 ส.ค. 61) : เวลาที่น่าหวงแหน (5)
เรื่อง เวลาที่น่าหวงแหน (5)
โดย วรา วราภรณ์
ข้าพเจ้าได้เขียนถึงช่วงเวลาที่น่าหวงแหนมาสี่ตอนแล้ว และยังคงนำเสนอเรื่องราวที่เป็นการอธิบายคำตอบว่า เหตุใดช่วงเวลาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่น่าหวงแหนสำหรับตนเองและคงรวมถึงอีกหลายท่านที่คิดตรงกัน
จากประสบการณ์ที่ได้รับในการอบรม ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า การเจริญสติ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ คือหัวใจของการอบรมหลักสูตรนี้ และทุกคนจะประจักษ์แจ้งแก่ใจก็ต่อเมื่อได้ผ่านการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองแล้วเท่านั้น ตรงนี้สำคัญที่สุด
การเจริญสติ หมายถึง การกำหนดอิริยาบถให้ทันกับปัจจุบัน และรับรู้ความรู้สึกตามทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างสม่ำเสมอและตลอดเวลาให้ได้มากที่สุด คือให้เรากำหนดรู้ไปตามจริงที่ใจรู้ ทั้งอิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และอิริยาบถย่อย คือการเคลื่อนกายในทุกกิริยา ได้แก่ ก้ม เงย หยิบ ยก เหลียว เคี้ยว กลืน แม้แต่การขับถ่ายก็ให้เราเจริญสติด้วย คุณแม่สิริสอนว่า การที่เราทำได้ต่อเนื่องกัน จิตจะสงบลงได้ ความฟุ้งซ่านจะน้อยลง และปัญญาคือการรู้คิด รู้ผิด รู้ถูก ก็จะตามมา
อย่างไรก็ตาม ทุกคนย่อมพลั้งเผลอ ไม่มีใครกำหนดได้ทุกกิริยา ดังนั้น เมื่อรู้สึกตัวว่าเผลอ ก็ให้กำหนดว่า “เผลอหนอ” เพื่อการกำกับตนเองด้วย
หลังจากลงมือปฏิบัติ ข้าพเจ้าได้ทำความเข้าใจว่า การฝึกเดินจงกรมก็คือการฝึกให้เรารู้จักเจริญสติว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เช่น เรากำลังยกเท้า ก้าว หรือวางเท้าลงบนพื้น ทำให้จิตของเราจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนของเท้า ดังนั้น การฝึกเดินจงกรมภายในเจ็ดวัน จึงเท่ากับฝึกให้เราหัดเจริญสติจากอิริยาบถใหญ่ไปสู่อิริยาบถย่อยได้ทีละน้อยๆ นั่นเอง
นั่นคือ จากวันแรกๆ ที่กำหนดการก้าวเท้าไว้เพียง 3 อิริยาบถ (ขวา...ย่าง...หนอ/ซ้าย...ย่าง...หนอ) ก็จะค่อยๆ เพิ่มอิริยาบถย่อยเข้าไปทีละขั้นในแต่ละวัน จนครบ 7 อิริยาบถ ดังนี้
2-ยก...หนอ....เหยียบ....หนอ
3-ยก...หนอ....ย่าง....หนอ......เหยียบ....หนอ
4-ยกส้น.....หนอ......ยก...หนอ......ย่าง....หนอ.....เหยียบ....หนอ
5-ยกส้น....หนอ.....ยก....หนอ.....ย่าง...หนอ.....ลง....หนอ.....ถูก....หนอ
6-ยกส้น...หนอ....ยก...หนอ..........ย่าง...หนอ.....ลง....หนอ.....ถูก....หนอ.....กด....หนอ
7-ยกส้น....หนอ....คิด/ไม่คิดหนอ......ยก...หนอ...คิด/ไม่คิดหนอ.......ย่าง...หนอ...คิด/ไม่คิดหนอ....ลง....หนอ..(คิด/ไม่คิดหนอ).....ถูก....หนอ...(คิด/ไม่คิดหนอ).....กด....หนอ...(คิด/ไม่คิดหนอ)
เนื่องจากการเดินจงกรมคือการเดินไปและเดินกลับมาในระยะ 3 เมตร ดังนั้น นอกจากอิริยาบถก้าวเท้าแล้ว ยังมีอิริยาบถตอนกลับหลังหันเพื่อเดินกลับมาในทิศทางเดิม โดยการกลับตัวจะเริ่มที่การยืนนิ่ง กำหนดรู้ที่ใจว่า "ยืนหนอ" แล้วเปล่งเสียงออกมา 3 ครั้ง จากนั้น กำหนดรู้ที่ใจและเปล่งเสียงว่า "อยากกลับหนอ" อีก 3 ครั้งเช่นกัน แล้วจึงค่อยยกเท้าในท่าหันกลับให้ได้ 4 ครั้ง 8 คู่
ในหนึ่งวัน โยคีทุกคนจะได้ฝึกเดินจงกรมไปพร้อมกันในแบบเดียวกัน ทั้งช่วงเช้า บ่าย และค่ำ เมื่อเดินจงกรมจบแล้วในแต่ละรอบ วิทยากรจะให้เปลี่ยนมาเป็นการนั่งสมาธิครั้งละ 20-30 นาที โดยให้ทุกคนหลับตาลงและเอาใจมาพิจารณาลมหายใจที่เข้าออกผ่านการพองหรือยุบที่หน้าท้องเหนือสะดือ หากใจไม่สงบพอ ยังคิดโน่นนี่ไปเรื่อย เมื่อรู้สึกตัวก็ให้กำหนดว่า “คิดหนอ” แล้วก็กลับไปพิจารณาที่อาการท้องพองยุบต่อไป
สิ่งที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าเมื่อแรกฝึกนั่งสมาธิก็ไม่ต่างอะไรจากการฝึกเดินจงกรม นั่นก็คือ เกิดความกระวนกระวายขึ้นมาเป็นช่วงๆ ด้วยคำถามในใจว่า “จะเลิกหรือยังนะ”....“พอหรือยัง”....”ทำไมนานจัง” ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูที่มีพลังค่อนข้างมาก ต้องพยายามกดข่มใจด้วยวลี “อดทนหนอ...พากเพียรหนอ” ของคุณแม่สิริจนกว่ามันจะอ่อนกำลังลงไป แต่สิ่งที่พบเมื่อตนเองตั้งใจฝึกมากขึ้นก็คือ ความกระวนกระวายค่อยๆ ลดน้อยลงไปจนกระทั่งไม่กระวนกระวายอีก แล้วก็มานึกแปลกใจว่า ที่เรานั่งสมาธิไปสักครู่นี้นานตั้งสามสิบนาทีเชียวหรือ ?
สรุปว่าตั้งแต่ 04.30 น. โดยประมาณกระทั่งถึง 20.30 น. ของทุกวัน ข้าพเจ้าและเพื่อนโยคีได้อยู่กับการสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น เดินจงกรม การนั่งสมาธิ ร่วมกับการรับฟังธรรมผ่านวิดีทัศน์หลายหัวข้อ เช่น ตามรอยบาทพระศาสดา, อริยมรรคมีองค์ 8, เมื่อมารให้โอกาส, ขันธ์ 5, อรหันต์พลิกฝ่ามือ เป็นต้น และได้รับฟังการสนทนาธรรมจากวิทยากรในโครงการ ได้แก่ คุณกิตติศักดิ์ โตมรศักดิ์ และคุณไพรัช ลาวัณยากุล อย่างเป็นกันเอง รวมถึงได้ร่วมรำลึกถึงพระคุณบิดามารดาในพิธีกราบพระในบ้าน การรับฟังข้อชี้แนะจากวิทยากร และรับฟังเพื่อนโยคีสะท้อนความรู้สึกยามสอบอารมณ์ในวันสุดท้าย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องราวและภาพที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม
บทสรุปสั้นๆ ที่ได้จากหนึ่งสัปดาห์ในการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ของคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย สำหรับคนห่างวัดอย่างข้าพเจ้าก็คือ วิปัสสนากรรมฐานเป็นแสงสว่างแห่งชีวิตที่เราจะเลือกทำให้ดับลง หรือยังคงเปล่งประกายแสงต่อไปก็ได้ อยู่ที่ตัวเราเท่านั้น และเป็นดั่งอริยทรัพย์ที่ติดตัวเราไปกระทั่งหมดลมหายใจ
ที่เปรียบเช่นนี้ก็เพราะว่า การที่เรารู้สติ ครองกาย ครองใจให้อยู่กับปัจจุบันขณะด้วยความรู้คิดหรือปัญญา คือหนทางเดียวที่ทำให้จิตของเราสงบ และเป็นจิตที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่นรวมทั้งสรรพสิ่งรอบข้าง เป็นความโปร่งเบาของชีวิตที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหา ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายให้ได้มา เพราะว่าคำตอบอยู่ที่ตัวเรานั่นเอง
(ขอเชิญพบกับเรื่องราวน่าประทับใจอันเนื่องมาจากการอบรมหลักสูตรนี้ในวันจันทร์หน้าค่ะ)
หมายเหตุ : ในเดือนนี้ขอเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมอบรมหลักสูตร พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ของ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย
วันที่ 26 สิงหาคมถึง 2 กันยายน ศกนี้ ณ สำนักวิปัสสนาสอนทวี อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา (ควรเดินทางไปถึงเย็นวันที่ 25 ส.ค.
เพื่อการเตรียมตัวค่ะ) ไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่เดินทางไป-กลับเอง (ชาวนครราชสีมาและเขตใกล้เคียง สามารถนัดหมายเดินทาง
ร่วมกันได้เพราะมีรถบริการไปกลับฟรีค่ะ)
สนใจสมัครโปรดติดต่อ คุณจิตร์สุภา โตมรศักดิ์ โทร.08-1984-0712 หรือ อ.นิศารัตน์ ลาวัณยากุล โทร. 08-9892-2612
และหากรอบนี้ไม่ทัน ยังเหลือเดือนตุลาคม และพฤศจิกายนอีก 3 รอบนะคะ
หลานสาวสวดมนต์ตามคุณยาย
ผู้สูงวัยบางท่านเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยขณะเดินจงกรม
นั่งสมาธิพร้อมกันในท่านั่งที่สะดวก
เยาวชนก็สนใจมาร่วมกิจกรรมจนจบหลักสูตร
โยคีที่มาเป็นครอบครัวกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ในพิธีกราบพระในบ้าน
(ขอขอบคุณทุกท่านค่ะที่ให้ความสนใจเข้ามาอ่าน)