“วิธีเดินจงกรม” (Revised)
การรำมวยจีนไทเก็ก เป็นการออกกำลังกายและฝึกสมาธิแบไปด้วย เรียกว่า เป็นวิธีฝึกสมาธิแบบเคลื่อนไหวรูปแบบหนึ่งของชาวจีน..
ในศาสนาพุทธนั้น นอกจากการทำวัตร ปัดตาด กวาดวัด ทำความสะอาดเสนาสนะแล้ว “การเดินจงกรม” ก็นับว่าเป็นการฝึกสมาธิและออกกำลังกายไปด้วยในแบบของศาสนาพุทธ
“การเดินจงกรม” แต่ละสำนักที่สอนสมาธิ ก็มีเป้าหมายและวิธีการแตกต่างกัน แต่โดยหลักการแล้ว ท่านว่าการทำสมาธิสามารถทำได้ในทุกอิริยาบท ทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน
ส่วนการฝึกสมาธิ จะได้ผลหรือไม่ อย่างไร ก็ขึ้นกับแต่ละบุคคล ที่จะหาวิธีการที่เหมาะสมและได้ผลสำหรับตัวเอง
ด้วยเหตุนี้ ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เดินจงกรมแบบใดแล้วได้ผลดี จึงนำวิธีการเดินของท่านแบบนั้นมาสอนลูกศิษย์
วันนี้จะเล่าให้ฟังถึง วิธีการฝึกสมาธิด้วยการเดินให้เป็นสมาธิ..ที่เรียกว่า “เดินจงกรม”
เราเดินจงกรมเพื่ออะไร ถ้าตอบแบบไม่มีวันผิด ก็คือ เดินเพื่อให้จิตสงบระงับ และให้หมดกิเลส
สำนักที่สอนให้ทำสมาธิบางแห่ง ไม่เน้นให้เดินจงกรม จึงไม่สอนวิธีเดินที่ชัดเจน
เท่าที่เคยทดลองมา ผมแบ่งแนวการสอนเดินจงกรมออกเป็น 2 แบบ กว้างๆ
เดินจงกรมเพื่อฝึกสติ
แนวนี้ จะเน้นการสร้างกำลังสติให้มากขึ้นจากการเดิน จึงสอนว่า ให้เดินช้าๆ เพราะถ้าเดินเร็วจะกำหนดสติตามไม่ทัน
การเคลื่อนไหวทุกย่างก้าว จึงต้องมีสติคอยรับรู้อาการทางกาย
การเดินช้า หากค่อยๆย่างก้าว จะทำให้เรากำหนดสติติดตามการเคลื่อนไหวของเท้าได้ง่ายกว่า
เช่น. การฝึกสมาธิแบบสติปัฏฐาน จะต้องกำหนดสติรู้กายใจ รับรู้ความรู้สึกทางกาย รู้ความคิด รู้การปรุงแต่งทางใจ..ทั้งเกิดและดับ
ให้เห็นให้เฝ้าดู การเกิดดับ ของความรู้สึก และอารมณ์ ตามแนวสอนกรรมฐานของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
หรือแนวสติตามการเคลื่อนไหวของมือเป็นจังหวะๆ ของหลวงพ่อเทียน ก็มีเดินจงกรม เช่นกัน
หรือแนวสมาธิแบบหนอ โดยสังเกตความพองยุบของหน้าท้องตอนหายใจเข้าและออก พร้อมนึกตามว่า พองหนอ ตอนหายใจเข้า และยุบหนอตอนหายใจออก
ตามแบบของวัดมหาธาตุ (ยุบหนอ พองหนอ) เป็นต้น
แนวสมาธิแบบเน้นสตินี้ เวลาเดินจงกรม ก็มักจะให้รับรู้การเคลื่อนไหวโดยละเอียด ตั้งแต่ยกเท้า ยืดเท้าก้าวย่าง และวางเท้าลง
เช่น เริ่มกำหนดในใจว่าจะเดิน.. ใจสั่งเท้าขวาให้ยก.. ก็ยกส้นเท้าก่อนก้าว กำหนดในใจว่า ยกหนอ
ก้าวเท้าออกไป..ยังไม่สัมผัสพื้น ก็กำหนดในใจว่า ย่างหนอ
เมื่อเท้านั้นสัมผัสพื้น กำหนดใจว่า เหยียบหนอ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆทุกย่างก้าว เป็นต้น
คนใจเย็นน่าจะเหมาะกับแนวนี้นะครับ เพราะตอนฝึกใหม่ ต้องทำอะไร ช้าไปหมด และกำหนดหนอให้หมดทุกสิ่ง
เช่น. .. หิวหนอ.. ง่วงหนอ.. ดีใจหนอ.. จับหนอ.. ดื่มหนอ.. อิ่มหนอ..คิดหนอ..
สังเกตว่า ผู้ปฏิบัติแนวนี้ จะใช้วิธีฝึกสมาธิบ่อยๆ.. และในแต่ละครั้ง ก็ฝึกค่อนข้างนานอาจเรียกได้ว่า เป็นวิธีการเน้นกำหนดให้สติมากๆ มากจนเป็นสมาธิ
คือเน้น สติให้มากจนจิตรวมตัว นิ่ง ที่เรียกว่า ”สตินำสมถะสมาธิ”
ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค
การปฎิบัติธรรม ไม่ว่าแนวไหน ถ้าถูกทาง จะทำให้ลดตัวตน คลายความยึดมั่นในสิ่งต่างๆลงได้ ไม่ผิด ถือว่าถูกทางหมด
การรำมวยจีนไทเก็ก เป็นการออกกำลังกายและฝึกสมาธิแบไปด้วย เรียกว่า เป็นวิธีฝึกสมาธิแบบเคลื่อนไหวรูปแบบหนึ่งของชาวจีน..
ในศาสนาพุทธนั้น นอกจากการทำวัตร ปัดตาด กวาดวัด ทำความสะอาดเสนาสนะแล้ว “การเดินจงกรม” ก็นับว่าเป็นการฝึกสมาธิและออกกำลังกายไปด้วยในแบบของศาสนาพุทธ
“การเดินจงกรม” แต่ละสำนักที่สอนสมาธิ ก็มีเป้าหมายและวิธีการแตกต่างกัน แต่โดยหลักการแล้ว ท่านว่าการทำสมาธิสามารถทำได้ในทุกอิริยาบท ทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน
ส่วนการฝึกสมาธิ จะได้ผลหรือไม่ อย่างไร ก็ขึ้นกับแต่ละบุคคล ที่จะหาวิธีการที่เหมาะสมและได้ผลสำหรับตัวเอง
ด้วยเหตุนี้ ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เดินจงกรมแบบใดแล้วได้ผลดี จึงนำวิธีการเดินของท่านแบบนั้นมาสอนลูกศิษย์
วันนี้จะเล่าให้ฟังถึง วิธีการฝึกสมาธิด้วยการเดินให้เป็นสมาธิ..ที่เรียกว่า “เดินจงกรม”
เราเดินจงกรมเพื่ออะไร ถ้าตอบแบบไม่มีวันผิด ก็คือ เดินเพื่อให้จิตสงบระงับ และให้หมดกิเลส
สำนักที่สอนให้ทำสมาธิบางแห่ง ไม่เน้นให้เดินจงกรม จึงไม่สอนวิธีเดินที่ชัดเจน
เท่าที่เคยทดลองมา ผมแบ่งแนวการสอนเดินจงกรมออกเป็น 2 แบบ กว้างๆ
เดินจงกรมเพื่อฝึกสติ
แนวนี้ จะเน้นการสร้างกำลังสติให้มากขึ้นจากการเดิน จึงสอนว่า ให้เดินช้าๆ เพราะถ้าเดินเร็วจะกำหนดสติตามไม่ทัน
การเคลื่อนไหวทุกย่างก้าว จึงต้องมีสติคอยรับรู้อาการทางกาย
การเดินช้า หากค่อยๆย่างก้าว จะทำให้เรากำหนดสติติดตามการเคลื่อนไหวของเท้าได้ง่ายกว่า
เช่น. การฝึกสมาธิแบบสติปัฏฐาน จะต้องกำหนดสติรู้กายใจ รับรู้ความรู้สึกทางกาย รู้ความคิด รู้การปรุงแต่งทางใจ..ทั้งเกิดและดับ
ให้เห็นให้เฝ้าดู การเกิดดับ ของความรู้สึก และอารมณ์ ตามแนวสอนกรรมฐานของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
หรือแนวสติตามการเคลื่อนไหวของมือเป็นจังหวะๆ ของหลวงพ่อเทียน ก็มีเดินจงกรม เช่นกัน
หรือแนวสมาธิแบบหนอ โดยสังเกตความพองยุบของหน้าท้องตอนหายใจเข้าและออก พร้อมนึกตามว่า พองหนอ ตอนหายใจเข้า และยุบหนอตอนหายใจออก
ตามแบบของวัดมหาธาตุ (ยุบหนอ พองหนอ) เป็นต้น
แนวสมาธิแบบเน้นสตินี้ เวลาเดินจงกรม ก็มักจะให้รับรู้การเคลื่อนไหวโดยละเอียด ตั้งแต่ยกเท้า ยืดเท้าก้าวย่าง และวางเท้าลง
เช่น เริ่มกำหนดในใจว่าจะเดิน.. ใจสั่งเท้าขวาให้ยก.. ก็ยกส้นเท้าก่อนก้าว กำหนดในใจว่า ยกหนอ
ก้าวเท้าออกไป..ยังไม่สัมผัสพื้น ก็กำหนดในใจว่า ย่างหนอ
เมื่อเท้านั้นสัมผัสพื้น กำหนดใจว่า เหยียบหนอ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆทุกย่างก้าว เป็นต้น
คนใจเย็นน่าจะเหมาะกับแนวนี้นะครับ เพราะตอนฝึกใหม่ ต้องทำอะไร ช้าไปหมด และกำหนดหนอให้หมดทุกสิ่ง
เช่น. .. หิวหนอ.. ง่วงหนอ.. ดีใจหนอ.. จับหนอ.. ดื่มหนอ.. อิ่มหนอ..คิดหนอ..
สังเกตว่า ผู้ปฏิบัติแนวนี้ จะใช้วิธีฝึกสมาธิบ่อยๆ.. และในแต่ละครั้ง ก็ฝึกค่อนข้างนานอาจเรียกได้ว่า เป็นวิธีการเน้นกำหนดให้สติมากๆ มากจนเป็นสมาธิ
คือเน้น สติให้มากจนจิตรวมตัว นิ่ง ที่เรียกว่า ”สตินำสมถะสมาธิ”
ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค