ผู้ที่ไม่ชำนาญในสมาธิ มาแชร์เทคนิคของการ"เดินจงกรม"กันหน่อยครับ

ผู้เขียนได้แรงบันดาลใจอยากให้ผู้ที่ "ปฏิบัติ" และ "อยากจะปฏิบัติ" ก้าวข้ามขีดจำกัดของคำว่า "ยาก" หรือปฏิบัติสมาธิไม่ได้เพราะ "ปัญหาเวทนาและปํญหาสุขภาพ" หรือ "ไม่มีเวลา" มาขัดขวางการปฏิบัติ

   มีการกล่าวถึงเรื่องรายละเอียดของการเดินจงกรมกันน้อยมาก น้อยกว่าเรื่องของการนั่งสมาธิ หากจะมีผู้กล่าวถึงกันแล้ว จะกล่าวกันก็แต่เพียงสั้นๆเท่านั้นเช่นว่า "ก็ไปเดินจงกรมก่อนและกลับมานั่งสมาธิต่อ" หรือ "กำหนดรู้หนอ ย่างหนอก็ค่อยๆเดินไปนะ"   จนหลายคนมองข้ามเรื่องนี้ไปเลย ผู้เขียนจึงมีเรื่อง"อยากจะมาเล่า"ให้ผู้อ่านฟัง
       การเดินจงกรม สามารถช่วยส่งเสริมฐานสมถะ และส่งเสริมฐานวิปัสสนา ได้เป็นอย่างดี เหมาะกับนักปฏิบัติทุกระดับ ตั้งแต่หญิง-ชาย,ลูกเล็ก-เด็กแดง,คนแก่-คนพิการ เพราะจากพระพุทธโอษฐ์ การเดินจงกรม หมายถึงการมีสติรู้เท่าทันอากัปกิริยาอาการ การเคลื่อนไหวในท่วงท่าต่างๆของร่างกายในทุกๆอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นนอนไม่ว่าจะเป็นการกวาดบ้าน ถูพื้น ซักผ้า หรือแม้กระทั่งการเข้าห้องน้ำ  "โดยที่เราจะใช้การจงกรมในอากัปกิริยาต่างๆเป็นการเจริญอานาปานสติ"
                         "การเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน    อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่"
           ผู้เขียนก็มีเทคนิคส่วนตัวที่อยากจะมาเล่าให้คนอ่าน เผื่อเอาไว้ว่านักปฏิบัติบางท่านอาจจะยังหากริยา-อาการ "จริต" หรือท่วงท่าเดินที่เหมาะสมกับตนเองยังไม่ได้  ก็อาจจะลองนำวิธีการนี้ไปใช้ดูก็ไม่น่าจะเสียหายตรงไหน โดยที่ผู้เขียนจะกล่าวดังต่อไปนี้



       ให้ยืนหลังตรง-อกผาย-ไหล่ผึ่ง-หันหน้าตรง-เฉกเช่นทหารยืนหน้าเสาธงนั้นแล-โน้มมือไปสำรวมกันไว้ที่บริเวณเอว-และทดลองก้าวเดิน  
โดยที่ผู้ปฏิบัติอาจจะชำเลืองมองไปที่กระจก หรือให้คนรอบข้างสังเกตุดู จะพบได้ว่าท่าเดินจะมีความสง่างามสูง ความสง่าจะคล้ายกับพระ-นักบวชบาทหลวง กำลังเดินประกอบกิจในงานพระราชพิธีสำคัญ    โดยความเร็วในการก้าวท้าวก็เอาตามที่ผู้ปฏิบัติสะดวก แต่ขอให้เหมาะกับ "จริต" ในการย่างเท้าของผู้ปฏิบัติ แต่จะต้องไม่เร็วหรือช้าจนเกินไปเพื่อความพอดี
      มาต่อที่จุดที่สำคัญ ให้กำหนดวัตถุที่จะเอาไว้เป็นจุดสายตาเอาไว้หนึ่งจุด สูงต่ำก็ตามความเหมาะสม โดยให้กำหนดขาเดินไปหนึ่งจุด และขาเดินกลับหนึ่งจุด เป็นวัตถุ(อะไรก็ได้)ที่อยู่ไกลออกไปโดยในระหว่างที่ย่างเท้า  ให้สายตาจ้องไปที่วัตถุนั้นอยู่จุดเดียว  ขณะเดียวกันให้กำหนดลมหายใจเอาไว้ที่ปลายจมูก กำหนดรู้(เฉพาะรู้)หายใจเข้าสั้น-หายใจเข้ายาว ตามหลักของอานาปานสติสูตร ที่ปฏิบัติกันเป็นปกติทั่วไป    หากมีการคิดฟุ้งซ่านก็ให้ "รู้" ว่าฟุ้งซ่านและดึงกลับมา "รู้ลม" อยู่ที่ปลายจมูก ปฏิบัติแบบนี้สลับไปมาจนครบเวลาตามที่ตั้งใจเอาไว้


      จะเห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวจะเป็นลักษณะ 2 in 1    ได้ทั้ง"สมถะ" และ "วิปัสสนาการดูจิต รู้เท่าทันจิต"  และไม่ต้องลำบากกับเวทนามากนัก โดยเหมาะกับผู้อธิฐานจิตทุกระดับ  ตั้งแต่ผู้อธิฐานจิตอยากสำเร็จ สุกขวิปัสโก คือนั่งสมาธิไม่ได้เลยเพราะฟุ้งซ่าน มีปัญหาสุขภาพ ไม่มีเวลาเพราะต้องทำงานทั้งวัน ผู้ปฏิบัติประเภทนี้จะมี "จริต" ไม่สนใจอภิญญา จะไปนิพพานอย่างเดียว   หรือจนกระทั่งถึงผู้ที่อยากสำเร็จฌานสมถะที่อยากได้อภิญญาตั้งแต่ระดับ เตวิชโช ขึ้นไป ก็ต้องล้วนอาศัยการเดินจงกรมเป็นฐานส่งเสริมสมถะทั้งสิ้น

        ถือว่าเป็นการช่วยชาร์ตแบต สร้างกระแสพลังจิตหนุนเร่งให้เกิดการเดินปัญญาและวิปัสสนาญาณ ให้ทั้งกลุ่มผู้ที่เข้าถึงสมาธิ(ฌาน) และกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสมาธิ " ฌาน "    โดยให้ลองปฏิบัติครั้งละ 30 นาทีขึ้นไปในการปฏิบัติเดินเต็มรูปแบบ และในระหว่างวันที่ทำกิจกรรมต่างๆก็กำหนดรู้ลมและมีสติ เท่าที่จะทำได้

       ใครได้ผลยังไงก็กลับมาเล่าให้ฟังกันบ้าง      และใครมีเทคนิคอะไรดีๆก็แชร์ และเอามาแลกเปลี่ยนกันครับ

แก้คำผิด

เสร็จสิ้นการปฏิบัติอย่าลืมแผ่เมตตาอุทิศบุญกุศล เพราะเป็นธรรมที่หนุนเนื่องกันอยู่
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติมา ในสายสติปัฏฐานสี่ ยุบหนอ-พองหนอ
ก่อนอื่นต้องนิยามคำว่า "กำหนด" ก่อนครับ
การกำหนด เช่นการย่างเดิน ประกอบไปด้วยสองสิ่ง คืออาการย่างเดิน กับ การสร้างสติโดยการบริกรรม (ย่างหนอ)
เมื่อย่างเดินผู้ปฏิบัติต้องมีสติรู้อยู่กับการย่างเดินและการบริกรรมว่าย่างหนอก็เพื่อให้จิตไม่แกว่งไปสู่ที่อื่นคือให้อยู่กับฐานกายเท่านั้น
เมื่อกำหนดไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอนก็ทำให้สติถูกสร้างขึ้นมาเพิ่มพูนเรื่อยไป และการกำหนดยังใช้กับฐาน เวทนา จิต และ ธรรมด้วย
การเดินจงกรม เป็นการกำหนดรู้อริยาบถ ในรูปแบบจำกัดและมีขอบเขตในการปฏิบัติ  ต่างกับการกำหนดอริยาบถย่อยที่มีรูปแบบหลากหลายและขอบเขตกว้างขวางมาก
การเดินจงกรมมี เทคนิคแฝงที่สำคัญอยู่เล็กน้อยที่บางคนมักเข้าใจผิดเช่น เมื่อย่างเดินแล้วนำจิตกำหนดรู้อาการเดินของเท้าจะเป็นวิปัสสนา
แต่ถ้าเอาจิตไปจ่อที่เท้าเพียงจุดเดียวเหมือนจดจ่อที่เดียวจะเป็นสมถะ
ขอผู้ปฏิบัติอย่าได้แบ่งแยกว่าสมถะไม่ดีขอเพียงรู้ว่าปฏิบัติอะไรอยู่ก็เพียงพอครับ สมถะจะส่งเสริมวิปัสสนา วิปัสสนาจะช่วยสมถะทั้งสองเกื้อกูลกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่