★★★มิจฉาสติ คืออะไร และเกิดได้ยังไง???(จากกระทู้ของสมาชิก2884358)★★★

มีคำตอบที่น่าสนใจดังนี้ครับ
เครดิตจากบ้าน ธัมมะ
ขออนุญาต และขอขอบคุณมากครับ

[[[ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

    มิจฉาสติ คือความระลึกผิด ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ตัวสติที่ระลึกผิด เพราะ สติ

เกิดกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น แต่มิจฉาสติเป็นอกุศลจึงไม่ใช่สติครับ แต่ที่พระพุทธองค์ทรง

แสดงว่า   การระลึกผิด ที่เป็นมิจฉาสติเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนทางที่ผิด   ก็มีทั้งที่เป็น

มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ....มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาน เป็นต้น

    มิจฉาสติ    จึงเป็นอกุศล   เป็นการนึกถึงเรื่อราวต่างๆที่เป็นไปในอกุศล คำถามคือ

มิจฉาสติทำไมถึงเป็นโลภะ  เหตุผลเป็นดังนี้ครับ

     พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า โดยทั่วไปแล้ว มิจฉาสติ การระลึกผิดก็เหมือนกับมิจฉา

สังกัปปะ  การตรึก นึกคิดที่ผิด คือเหมือนกันตรงที่เป็นการนึกถึงด้วยจิตที่เป็นอกุศล แต่

มิจฉาสตินั้นย่อมนึกถึงเรื่องราวในอดีต เช่น การได้บุตร การได้ลาภ ได้สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็น

ลักษณะของโลภะ

             เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้มิจฉาสติเป็นไปด้วยโลภะ เพราะว่า ในความเป็นจริง

แล้ว ผู้ที่มีความเห็นผิดคือ มิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ

มิจฉาอาชีวะ มิจฉาสติ  มิจฉาสมาธิ ขณะที่เข้าใจผิด เห็นผิด   ขณะนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ขณะที่เห็นผิดก็ต้องมีการคิดนึก ระลึกที่ผิดในขณะนั้นด้วย อันเป็นมิจฉาสติในขณะนั้น

        มิจฉาสติ คิดด้วยความเห็นผิดเกิดกับจิตที่เป็นโลภมูลจิต [สีลขันธวรรค]

        หากเราศึกษาพระอภิธรรมจะเข้าใจได้ว่า ความเห็นผิด ทิฏฐิเจตสิกจะเกิดขึ้นย่อม

เกิดกับโลภมูลจิต เกิดกับโลภเจตสิกเท่านั้น จะไม่เกิดกับโทสมูลจิต โทสเจตสิกเลย

ขณะที่เห็นผิด ก็จะไม่เกิดกับจิตที่โมหมูลจิตเช่นกัน    ทิฏฐิเจตสิกจึงไม่เกิดกับโทสะ

เจตสิกในขณะนั้นครับ มิจฉาสติโดยส่วนใหญ่ เป็นโลภะครับ]]]
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่