ที่ท่านพระอาจารย์ ปราโมทย์(ปราโมชโช)เทศน์เรื่อง มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ผมว่ามันไม่น่าจะใช่นะ

ขออ้างถึงข้อความ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมาธิก็จะเกิดขึ้นถ้ามีสติที่แท้จริง ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ มิจฉาสติเช่น
รู้ท้องพองยุบก็เพ่งอยู่ที่ท้องใจนิ่งๆทื่อๆนะ
หรือเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้าไปเรื่อยๆ ใจนิ่งๆทื่อๆ
เพ่งไปเรื่อยในที่สุดเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอยตัวเบาตัวโคลงตัวใหญ่ นะ
มีหลายแบบ เกิดขนลุกซู่ซ่า เกิดรู้สึกเหมือนฟ้าแล่บวูบๆวาบๆอะไรอย่างนี้
พวกนั้นยังไม่ใช่ตัวสัมมาสมาธิ

หรือบางคนภาวนาแล้วขาดสตินะ เคลิ้ม..ลืมเนื้อลืมตัว
ชอบกันมากนะนั่งสมาธิแล้วเคลิ้มเนี่ย สมัยก่อนหลวงพ่ออยู่ตามวัดป่า
กลางค่ำกลางคืนบางทีเขาไปภาวนารวมกัน
นั่งรวมกันเยอะๆเปิดเทปครูบาอาจารย์ไปด้วย
เพราะครูบาอาจารย์แก่แล้วเทศน์ไม่ไหว
ครูบาอาจารย์บางองค์เสียงท่านนุ่มนวลมากนะ อย่างหลวงปู่เทสก์นะ

หลวงปู่เทสก์ หลวงพ่อไปอยู่กับท่านบ่อยๆแต่ก่อน กลางค่ำกลางคืนคนภาวนา
เปิดเทปท่านไปนะแล้วก็สบาย . . . . หลวงพ่อก็ทำเป็นนะ ไม่ยากหรอก
เคลิ้มไปนะ พอหมดชั่วโมง สมัยก่อนมันเป็นเทปนี่ พอครึ่งชั่วโมงมันดีดแป๊ก..
อ้า..ตื่น เดี๋ยวเปิดอีกหน้าหนึ่ง.. แป๊ก.. อ้า.. ตื่น
แผ่นส่วนกุศลได้แล้วหมดเวลาละ.. ฝึกอะไร? ฝึกโมหะ ฝึกอะไร? ฝึกโลภะ
ไม่ได้ฝึกสติ อย่างนั้นใช้ไม่ได้เลย

หลวงพ่อไปเห็นเขาภาวนานะ ใจเราก็นึก โอ้.. นี่ไม่ได้ภาวนา นี่ขาดสติ
ไม่ได้ภาวนา พอตอนเช้า ตามพวกคุณป้านะเข้าไปถวายดอกไม้ท่าน
หลวงปู่ก็หันมามองหน้าเรายิ้มๆนะ “วัดนี้เขาไม่ได้ภาวนากันแล้วล่ะ” อูย..
ใจเรานี้แวบ.. แป้วเลย แหมนินทาอยู่ที่โบสถ์นะ นินทาในใจอยู่ในโบสถ์นะ
เช้าโดนท่านเฉาะเข้าให้แล้ว ท่านก็พูดยิ้มๆนะ กับโยมท่านใจดี
ส่วนมากครูบาอาจารย์จะใจดีกับโยมนะ จะดุกับพระ เหมือนกันแทบทั้งนั้นเลย

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕



ผมว่ามันไม่ใช่นะ องค์ของสัมมาสมาธิก็คือฌาน 1-4  และฌานก็ต้องอาศัยการเพ่ง คือเพ่งให้มันอยู่ในอารมณ์เดียว คือมีสติอยู่ในอารมณ์เดียว และสตินั้นมีสภาวะเป็นกุศล ไม่ใช่อกุศล ดังนั้นการที่เรามามีสติอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน เช่นบริกรรมภาวนา หรือมีแต่การเพ่งกสินทั้ง 10 ก็ตาม การระลึกถึงอารมณ์ภาวนานั้นจะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นมิจฉาสติ  

มิจฉาสติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

สภาวธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบความฟุ้งซ่านในกิจอื่น ๆ

ที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองจิตให้เป็นไปในอกุศล. ชื่อว่า อวิกเขปะ

เพราะไม่ซัดส่ายไป. ในอกุศลจิตนี้ ไม่ถือเอาธรรมเหล่านี้คือ ศรัทธา สติ

ปัญญา และธรรม ๖ คู่ เพราะเหตุไร ?

เพราะขึ้นชื่อว่า ความเลื่อมใสใน

จิตที่ไม่มีศรัทธาหามีได้ไม่ ฉะนั้น เบื้องต้นนี้จึงไม่ถือเอาศรัทธา.

ถามว่าก็คนมีทิฏฐิทั้งหลายไม่เชื่อศาสดาของตน ๆ หรือ ?

ตอบว่า เชื่อ. แต่การเชื่อนั้นไม่ชื่อว่าเป็นศรัทธา คำเชื่อนี้เป็นเพียงการรับคำเท่านั้น ว่าโดยอรรถ

ความเชื่อนั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ปราศจากความใคร่ครวญบ้าง เป็นทิฏฐิบ้าง.

อนึ่ง สติย่อมไม่มีในอกุศลจิตเพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงไม่ถือเอา.

ถามว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่ระลึกถึงการงาน

อันตนกระทำบ้างหรือ ?

ตอบว่า ย่อมระลึก แต่การระลึกนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสติ

เพราะอาการระลึกนั้น เป็นความประพฤติของอกุศลจิตอย่างเดียว ฉะนั้น จึงไม่

ทรงถือเอาสติ.

ถามว่า เมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในพระสูตร

จึงตรัสว่า มิจฉาสติ เป็นความระลึกเล่า ?

ตอบว่า เพื่อจะทรงยังมิจฉัตตะ

แห่งมิจฉามรรคให้บริบูรณ์ เพราะอกุศลขันธ์ทั้งหลายเป็นสภาวะเว้นจากสติ

และเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ จึงทรงทำเทศนามิจฉาสติไหวในพระสูตรนั้นโดยปริยาย

แต่มิจฉาสตินั้นว่าโดยนิปปริยายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา.

อนึ่ง ปัญญา ย่อมไม่มีในจิตของอันธพาลนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่

ทรงถือเอา.

http://www.tripitaka91.com/76-8-21.html#bottom
        

  สมัยพุทธกาลก็มี กรณีบุตรชายนายช่างทองที่ท่านเพ่งกสิน สีแดง แล้วท่านเจริญปัญญาต่อท่านก็เห็นธรรมได้เช่นกัน

เรื่องบุตรชายนายช่างทอง

ใส่ข้อคสารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน
บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว
ทรงส่งพระเถระไป
ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์
แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน
แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า
"เอาเถิด ภิกษุ
เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร
นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง
สีแดง)

               เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น
จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว
เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว
นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."

               ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ               
               ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว.
ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#-
นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.วาม

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=7

           ฉะนั้นการที่ท่านพระ อ ปราโมทย์กล่าวว่า "เพ่งไปเรื่อยในที่สุดเกิดปีติฯ" ซึ่งมันเป็นอาการขององค์ฌานในเบื้องต้น  นั้นเป็นการปฏิบัติที่ผิด เป็นมิจฉาสติ เป็นมิจฉาสมาธิ  ก็แล้วทำไมลูกชายนายช่างทองถึงเห็นธรรมได้ล่ะ   ความเห็นผมจะเป็นการปฏิบัติผิดก็ต่อเมื่อกรณีที่ท่านพระลูกชายนายช่างทอง เพ่งกสินสีแดงอยู่อย่างนั้น และจมอยู่กับความสุขในสมาธิ ไม่ได้ดำเนินมรรคข้อใดๆต่อ นั่นแหละถึงจะผิด  

          ดังนั้นแล้วผมเห็นว่าการเพ่งจิต ข่มอกุศลจิต ให้เกิดสมาธินั้น ไม่ผิดแต่อย่างใดแต่จะผิดก็ต่อเมื่อจมอยู่แค่นั้น ไม่นำสมาธิที่ได้นั้นมาใช้เพื่อเป็นฐานเพื่อพิจารณาธรรม

เพื่อนสมาชิกก็โปรดพิจารณาดูนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่