MC นู๋สร้างชาติ รับหน้าที่ค่ะ
วันนี้ในอดีตเมื่อ พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เริ่มออกเดินทางในการเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร หม่อมราโชทัยผู้เป็นล่ามหลวงของคณะทูต ได้เขียนบันทึกการเดินทางไปลอนดอน ต่อมาเป็นบทประพันธ์
นิราศลอนดอน
รู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นเค้าโครงของละครเรื่องข้าบดินทร์ด้วย นู๋ก็ไม่รู้จักนิราศลอนดอน งั้นเรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กันเลย
ผู้แต่ง
หม่อมราโชทัย
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่โปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษจุดมุ่งหมายนิราศลอนดอนนี้หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย) ได้แต่งขึ้นในคราวได้ร่วมไปในคณะราชทูตไทยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2400 ได้แต่งพร้อมกับจดหมายราชทูตไทยไปอังกฤษ
รูปแบบการแต่ง
แต่งเป็นกลอนนิราศมีความยาว 2,414 คำกลอน เป็นเรื่องที่ยาวที่สุดในวรรณคดีประเภทนิราศ ตอนท้ายของเรื่องเป็นกลอนกลบท กบเต้นต่อยหอยหรือละลอกแก้วกระทบฝั่งและจบลงด้วยโคลงสี่สุภาพ 5 บท หม่อมราโชทัยได้บอกไว้ในตอนท้ายโคลงบทที่ 2 ความว่า
ตัวเราเกลากล่าวเกลี้ยง กลอนไข
คือหม่อมราโชทัย ที่ตั้ง
แสดงโดยแต่จริงใจ จำจด มานา
ห่อนจักพลิกแพลงพลั้ง พลาดถ้อยความแถลงฯ
เนื้อหา
กล่าวถึงการเดินทางของคณะทูต โดยเรือกำปั่นไปสิงค์โปร์ โดยแบ่งเป็นตอน ๆ ดังนี้
ตอนที่ 1 แต่งราชทูตออกจากกรุงเทพฯ จนถึงเมืองสิงค์โปร์
ตอนที่ 2 ว่าด้วยราชทูตออกจากเมืองสิงค์โปร์ไปถึงเมืองไกโรแว่นแคว้นอายฆุบโต
ตอนที่ 3 ว่าด้วยราชทูตออกจากไกโรถึงเกาะมอลตา และเมืองยิบรอเตอและเมืองไวโคและเมืองปอร์ดสมัทในอิงแลนด์
ตอนที่ 4 ว่าด้วยราชทูตไปจากเมืองปอร์ดสมัทถึงเมือง ลอนดอน ดูการเล่นต่างๆ
ตอนที่ 5 ว่าด้วยราชทูตนำพระราชสาส์นขึ้นไปเฝ้าพระนางวิคตอเรีย
ตอนที่ 6 ว่าด้วยพระนางเจ้าเชิญราชทูตไปเลี้ยงโต๊ะ
ตอนที่ 7 ว่าด้วยที่ว่าราชการชื่อปาลิเมนต์และเมืองต่างๆ
ตอนที่ 8 ว่าด้วยเฝ้าควีนที่วังบักกิงฮัม ดูรำเท้าและการซ้อมทหาร และการอาวาหะเจ้าลูกเธอหญิงใหญ่
ตอนที่ 9 ว่าด้วยกษัตริย์ (ควีน) ให้เจ้าหญิงและราชทูตไปดูคุกและคลังและแม่น้ำเทมส์
ตอนที่ 10 ว่าด้วยควีนตั้งขุนนางและราชทูตเข้าเฝ้าทูลลาไปดูที่ขังคนบ้า และพิพิธภัณท์
ตอนที่ 11 ว่าด้วยราชทูตออกจากเมืองลอนดอนไปถึงท่าโดเวอ และกลับว่าด้วยประเทศเครดบริดติน
ตอนที่ 12 ว่าด้วยผู้รับใช้ปรนนิบัติราชทูตที่โรงแรมและราชทูตออกจากเมืองลอนดอนจะกลับมาเมืองไทยและได้แวะที่เมืองฝรั่งเศส
ตอนที่ 13 ว่าด้วยราชทูตอยู่เมืองสุเอส แขวงเมืองอายฆุบโต แล้วไปเมืองเมกกะและเมืองดาลีและเมืองสิงค์โปร์
ตอนที่ 14 ว่าด้วยรับแขกเมืองที่มาส่งราชทูตเข้าเฝ้า แล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ
คุณค่าของวรรณคดี
1. คุณค่าด้านประวัติศาสตร์
นิราศเรื่องนี้เป็นนิราศเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทำให้รู้จัก วัน เวลา เดินทางของคณะทูตโดยละเอียดโดยไม่ต้องไปค้นหาหลักฐานที่อื่นให้ลำบาก ดังนี้
“.....มะเส็งศุกร์เดือนเก้าขึ้นสามค่ำ แสนระกำด้วยจะไปไกลสมร”
“พอวันศุกร์เดือนเจ็ดขึ้นค่ำ เห็นปากน้ำชวากวุ้งเข้ากรุงศรี
“ห้าโมงเช้ามีเศษเจ็ดนาที ก็ถึงที่ทอดพลันนอกสันดอน”
อีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการยิงสลุต ดังความว่า
ที่บนป้อมพร้อมพรั่งออกคั่งคับ แลสลับน่าดูหมูทหาร
ยิงปืนลั่นควันกลบตระหลบธาร แผ่นดินดานเลื่อนลั่นสนั่นดัง
ครั้นสลุตทูตถ้วนสิบเก้านัด ก็แออัดสับสนคนสพรั่ง.....
แอดมิรลันนายทหารชาญสมุทร์ ฤทธิรุทฦาเลื่องกระเดื่องไหว
สั่งให้ยิงสลุตธงพระทรงไชย ผู้บำรุงกรุงไทยทั้งสององค์
ทหารรับจับเชือกกระชากปราด พอนกฉาดปืนลั่นควันขมง
ยี่สิบเอ็ดเสร็จถ้วนจำนวนตรง คำนับธงแทนนาถบาทยุคล…
2. คุณค่าด้านประเพณี – วัฒนธรรม
สามารถสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีไทย ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เช่น ประเพณีการเข้าเฝ้าของราชทูตไทย จนได้รับการยกย่องจากราชสำนัก อังกฤษว่าเป็นประเพณีที่ดีงาม มีกริยาอ่อนน้อม เคารพ และชี้ให้เห็นถึงประเพณีในราชสำนักอังกฤษด้วย ดังเช่น
“ทั้งสี่นายนอบกายเข้ามอบเกศ ต่างทูลเหตุเอกอนงค์องค์สมร
เสาวนีตรัสเสร็จเสด็จจร ดังจันทรเลื่อนลับกลับวิมาน
พระสามีที่สนิทพิศวาส งามสะอาดโอ่อ่าดูกล้าหาญ
จึงแย้มเยื้อนเอื้อนโอษฐ์ด้วยโปรดปราน แล้วประทานหัตถ์ให้จับรับทุกนาย”
Cr.
https://writer.dek-d.com/thailith/writer/viewlongc.php?id=905904&chapter=13, ภาพจากในเนต
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 24/7/2018 (นิราศลอนดอน)
วันนี้ในอดีตเมื่อ พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เริ่มออกเดินทางในการเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร หม่อมราโชทัยผู้เป็นล่ามหลวงของคณะทูต ได้เขียนบันทึกการเดินทางไปลอนดอน ต่อมาเป็นบทประพันธ์ นิราศลอนดอน
รู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นเค้าโครงของละครเรื่องข้าบดินทร์ด้วย นู๋ก็ไม่รู้จักนิราศลอนดอน งั้นเรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กันเลย
ผู้แต่ง
หม่อมราโชทัย
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่โปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษจุดมุ่งหมายนิราศลอนดอนนี้หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย) ได้แต่งขึ้นในคราวได้ร่วมไปในคณะราชทูตไทยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2400 ได้แต่งพร้อมกับจดหมายราชทูตไทยไปอังกฤษ
รูปแบบการแต่ง
แต่งเป็นกลอนนิราศมีความยาว 2,414 คำกลอน เป็นเรื่องที่ยาวที่สุดในวรรณคดีประเภทนิราศ ตอนท้ายของเรื่องเป็นกลอนกลบท กบเต้นต่อยหอยหรือละลอกแก้วกระทบฝั่งและจบลงด้วยโคลงสี่สุภาพ 5 บท หม่อมราโชทัยได้บอกไว้ในตอนท้ายโคลงบทที่ 2 ความว่า
ตัวเราเกลากล่าวเกลี้ยง กลอนไข
คือหม่อมราโชทัย ที่ตั้ง
แสดงโดยแต่จริงใจ จำจด มานา
ห่อนจักพลิกแพลงพลั้ง พลาดถ้อยความแถลงฯ
เนื้อหา
กล่าวถึงการเดินทางของคณะทูต โดยเรือกำปั่นไปสิงค์โปร์ โดยแบ่งเป็นตอน ๆ ดังนี้
ตอนที่ 1 แต่งราชทูตออกจากกรุงเทพฯ จนถึงเมืองสิงค์โปร์
ตอนที่ 2 ว่าด้วยราชทูตออกจากเมืองสิงค์โปร์ไปถึงเมืองไกโรแว่นแคว้นอายฆุบโต
ตอนที่ 3 ว่าด้วยราชทูตออกจากไกโรถึงเกาะมอลตา และเมืองยิบรอเตอและเมืองไวโคและเมืองปอร์ดสมัทในอิงแลนด์
ตอนที่ 4 ว่าด้วยราชทูตไปจากเมืองปอร์ดสมัทถึงเมือง ลอนดอน ดูการเล่นต่างๆ
ตอนที่ 5 ว่าด้วยราชทูตนำพระราชสาส์นขึ้นไปเฝ้าพระนางวิคตอเรีย
ตอนที่ 6 ว่าด้วยพระนางเจ้าเชิญราชทูตไปเลี้ยงโต๊ะ
ตอนที่ 7 ว่าด้วยที่ว่าราชการชื่อปาลิเมนต์และเมืองต่างๆ
ตอนที่ 8 ว่าด้วยเฝ้าควีนที่วังบักกิงฮัม ดูรำเท้าและการซ้อมทหาร และการอาวาหะเจ้าลูกเธอหญิงใหญ่
ตอนที่ 9 ว่าด้วยกษัตริย์ (ควีน) ให้เจ้าหญิงและราชทูตไปดูคุกและคลังและแม่น้ำเทมส์
ตอนที่ 10 ว่าด้วยควีนตั้งขุนนางและราชทูตเข้าเฝ้าทูลลาไปดูที่ขังคนบ้า และพิพิธภัณท์
ตอนที่ 11 ว่าด้วยราชทูตออกจากเมืองลอนดอนไปถึงท่าโดเวอ และกลับว่าด้วยประเทศเครดบริดติน
ตอนที่ 12 ว่าด้วยผู้รับใช้ปรนนิบัติราชทูตที่โรงแรมและราชทูตออกจากเมืองลอนดอนจะกลับมาเมืองไทยและได้แวะที่เมืองฝรั่งเศส
ตอนที่ 13 ว่าด้วยราชทูตอยู่เมืองสุเอส แขวงเมืองอายฆุบโต แล้วไปเมืองเมกกะและเมืองดาลีและเมืองสิงค์โปร์
ตอนที่ 14 ว่าด้วยรับแขกเมืองที่มาส่งราชทูตเข้าเฝ้า แล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ
คุณค่าของวรรณคดี
1. คุณค่าด้านประวัติศาสตร์
นิราศเรื่องนี้เป็นนิราศเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทำให้รู้จัก วัน เวลา เดินทางของคณะทูตโดยละเอียดโดยไม่ต้องไปค้นหาหลักฐานที่อื่นให้ลำบาก ดังนี้
“.....มะเส็งศุกร์เดือนเก้าขึ้นสามค่ำ แสนระกำด้วยจะไปไกลสมร”
“พอวันศุกร์เดือนเจ็ดขึ้นค่ำ เห็นปากน้ำชวากวุ้งเข้ากรุงศรี
“ห้าโมงเช้ามีเศษเจ็ดนาที ก็ถึงที่ทอดพลันนอกสันดอน”
อีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการยิงสลุต ดังความว่า
ที่บนป้อมพร้อมพรั่งออกคั่งคับ แลสลับน่าดูหมูทหาร
ยิงปืนลั่นควันกลบตระหลบธาร แผ่นดินดานเลื่อนลั่นสนั่นดัง
ครั้นสลุตทูตถ้วนสิบเก้านัด ก็แออัดสับสนคนสพรั่ง.....
แอดมิรลันนายทหารชาญสมุทร์ ฤทธิรุทฦาเลื่องกระเดื่องไหว
สั่งให้ยิงสลุตธงพระทรงไชย ผู้บำรุงกรุงไทยทั้งสององค์
ทหารรับจับเชือกกระชากปราด พอนกฉาดปืนลั่นควันขมง
ยี่สิบเอ็ดเสร็จถ้วนจำนวนตรง คำนับธงแทนนาถบาทยุคล…
2. คุณค่าด้านประเพณี – วัฒนธรรม
สามารถสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีไทย ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เช่น ประเพณีการเข้าเฝ้าของราชทูตไทย จนได้รับการยกย่องจากราชสำนัก อังกฤษว่าเป็นประเพณีที่ดีงาม มีกริยาอ่อนน้อม เคารพ และชี้ให้เห็นถึงประเพณีในราชสำนักอังกฤษด้วย ดังเช่น
“ทั้งสี่นายนอบกายเข้ามอบเกศ ต่างทูลเหตุเอกอนงค์องค์สมร
เสาวนีตรัสเสร็จเสด็จจร ดังจันทรเลื่อนลับกลับวิมาน
พระสามีที่สนิทพิศวาส งามสะอาดโอ่อ่าดูกล้าหาญ
จึงแย้มเยื้อนเอื้อนโอษฐ์ด้วยโปรดปราน แล้วประทานหัตถ์ให้จับรับทุกนาย”
Cr. https://writer.dek-d.com/thailith/writer/viewlongc.php?id=905904&chapter=13, ภาพจากในเนต
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น