ท่านเล่าจื้อเคยกล่าวถึงผู้ที่เคยได้รับฟังเต๋าว่าอาจจำแนกได้เป็น3 ประเภท คือ
พวกแรกเหมือนคนที่มองไปบนท้องฟ้าในยามค่ำที่ฟ้ากระจ่างไร้เมฆบัง
เขาย่อมสามารถมองเห็นดวงดาวและกลุ่มดาวต่างๆ ได้กระจ่างชัด
พวกต่อมาคือผู้ที่มองไปบนท้องฟ้ายามค่ำขณะมีเมฆปกคลุมอยู่บางส่วน
เขาย่อมไม่อาจมองเห็นดวงดาวและกลุ่มดาวได้กระจ่างชัดและต้องใช้จินตานาการถึงส่วนที่เหลือนั้น
พวกสุดท้ายคือพวกมองฟ้าที่กำลังปกคลุมไปด้วยเมฆฝนเขาย่อมไม่สามารถมองเห็นดวงดาวใดๆ ได้
พวกแรกก็คือคนผู้มีคุณธรรมและมีปฏิภาณเกี่ยวกับคุณงามความดีอยู่ในตนอยู่แล้ว
คนเหล่านี้ย่อมสามารถเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามอย่างที่เรียกว่า"เต๋า" ได้ในทันที
พวกที่สองก็คือคนที่ฟังแล้วรู้สึกว่าเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างนั่นเอง
คนพวกนี้คือพวกที่จะมีความศรัทธาและคิดว่าเต๋าคืออุดมคติแต่ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความงมงายได้
เพราะเขายังคาดคะเน"เต๋า" ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งวิเศษอยู่
และพวกสุดท้ายนั้นก็คือคนที่ไม่ยอมรับฟังเลยนั่นเอง เป็นพวกที่มีปฏิภาณเกี่ยวกับคุณงามความดีน้อย
คนพวกนี้เมื่อได้รับฟังเต๋าก็กลับเห็นในสิ่งตรงกันข้ามว่าเหมาะสมและหัวเราะห์เยาะให้กับคำแนะนำเหล่านี้
ว่าโดยย่อคือการเป็นผู้ปฏิบัติตนด้วยความเข้าใจในธรรมะนั่นเอง
ประมาณว่าความเข้าใจในธรรมะจะช่วยส่งผลให้คิดพูดทำแต่ในทางดีๆ
และเป็นประโยชน์เป็นความสุขโดยส่วนรวม
ที่ผมต้องเริ่มต้นโดยพรรรณาถึงระดับของผู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวเต๋า
อย่างนี้ก็เพราะผมยังรู้สึกว่าขาดความมั่นในบทความที่กำลังจะแสดงในตอนนี้
ว่าสามารถพิจรณาเต๋าได้ถูกต้องหรือไม่ และควรนำออกมาเผยเเพร่หรือเปล่า
แต่เมื่อนึกขึ้นว่าผมยังศึกษาและพิจรณาเต๋าในฐานะของนักศึกษามิใช่ผู้รู้
และในทุกครั้งที่ได้นำบทความที่เขียนขึ้นมาจากการพิจรณาเต๋าออกมาเผยแพร่
ผมก็ต้องแจ้งความจริงข้อนี้ให้ผู้อ่านได้รับรู้เอาไว้ก่อนเสมอ
ผมจึงรู้สึกว่าถึงแม้ว่าผมจะอธิบายเต๋าได้ผิดพลาดไปเสียจากความหมายจริงๆ ของมัน
มันก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอะไรตามมาแต่อย่างใด
เพราะผมได้บอกกับท่านผู้อ่านให้เกิดวิจรณญาณก่อนจะบรรยายไปแล้วนั่นเอง
ว่านี่เป็นแค่เพียงผลงานจากการศึกษาของผมที่ยังเป็นเพียงนักศึกษาไม่ใช่ผู้รู้
อย่างไรก็ตามมผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถได้รับประโยชน์จากการพิจรณาของผมในครั้งนี้ไม่มากก็น้อยครับ
เต๋าเต๋อจิง บทที่ ๖ มารดาอันมหัศจรรย์
" มหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นมิเคยดับสูญ และเป็นมารดาอันมหัศจรรย์
จากทวาราแห่งมารดานี้เอง ได้ก่อเกิดรากฐานเเห่งฟ้าและดิน
นานแสนนานสืบมาสิ่งนี้ยังคงดำรงอยู่
มีคุณประโยชน์มากมาย ใช้ได้มิรู้หมดสิ้น "
...............................................
หลังจากอ่านบทความในข้างต้นจบ ในความคิดของผมจ่อมจมลงสู่ความนิ่งเงียบและสงบงัน
ผมไม่มีความคิดหรือความเห็นอะไรทั้งนั้น เพราะผมไม่รู้ว่าท่านพูดถึงอะไรอยู่
หลายวันมานี้ผมจึงพยายามท่องบทความในข้างต้นโดยอ่านจากบันทึก(ทั้งๆที่จำได้)
และท่องบนอยู่ในใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าวันละประมาณกว่าสิบรอบ
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผมคิดว่าจิตใจของผมมีความสงบร่มเย็นมากพอเช่นหลังจากตื่นนอน เป็นต้น
เพื่อหวังว่าตนเองจะสามารถเข้าใจบทความดังกล่าวนั้นได้ขึ้นมาเอง
แต่การพยายามให้เกิดความเข้าใจในทำนองว่า " อ๋อ! รู้ล่ะ " โดยอาศัยความสงบงัน
มันทำให้เกิดความเข้าใจว่าความจริงแล้วผมกำลังมองหาความจริงข้อนี้จากตัวเองอยู่
ผมกำลังค้นหารูปแบบดังกล่าวจากรูปธรรมนามธรรมที่เป็นธรรมชาติของตน
และนั่นก็นับเป็นการได้ก้าวขาขึ้นไปยังจุดเริ่มต้นของการพิจรณาเต๋าในบทนี้
"มหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นมิเคยดับสูญ และเป็นมาดาอันมหัศจรรย์
จากทวาราแห่งมารดานี้เอง ได้ก่อให้เกิดรากฐานแห่งฟ้าและดิน"
สิ่งที่มีฤทธิ์มากและมีความยิ่งใหญ่นี้คือ "จิตใจ" ของตนเอง
เป็นส่วนประกอบของนามธรรมในตน และเป็นที่ตั้งของการบัญญัติสมมติ
คือการปรุงแต่งวัตถุธาตุเป็น ประธาน กริยา กรรม สรรพนาม คำวิเศษณ์ คำขยาย
ที่ผมยกรูปแบบการเรียงประโยคในการใช้ภาษามาก็เพราะว่ามันมีความคล้ายคลึงกันอยู่
มันเป็นสิ่งที่เต๋าเรียกว่าการปรุงแต่งรูปและนามหรือการมีสภาวะ
สิ่งเหล่านี้เป็นภาพปรากฏการที่แสดงอยู่ในจิตใจของคนเรา (หรือควรเรียกว่าปรากฏกกรรมกันแน่นะ)
แต่ถ้าหากเป็นความเข้าใจที่ย้อนไปถึงจุดเหล่านี้ได้ล่ะ จะเป็นอย่างไร
กล่าวคือการละความยึดถือในสิ่งปรุงแต่งกับทั้งความหมายที่บัญัติกันเอาไว้
ไปจนถึงกระทั้งการผ่อยคลายจากความยินดียินร้ายต่างๆ ไปเสียได้
หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า เวทนา สัญญา สังขาร นั่นเอง
การผ่อยคลายไปเช่นนี้ย่อมส่งผลที่อาจเรียกได้ว่าไร้นามไร้สภาวะอย่างหนึ่งด้วย
และการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่าบ่อเกิดหรือ "มารดา" ในบทนี้นั่นเอง
ซึ่งจะเป็นการทำความเข้าใจในเรื่องราวของตนเองให้ชัดเจนมากขึ้นด้วยนั่นแหละ
เนื่องจากมารดาที่กล่าวถึงนี้เป็นแต่เพียงรูปแบบทางธรรมชาติเท่านั้น
จึงไม่อาจหยิบยกมาให้คนอื่นจับต้องได้เหมือนวัตถุและจำเป็นต้องอธิบายไปอย่างนี้
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดจิตใจของคนเราและจะส่งผลให้เกิดความบริสุทธิ์ความดีงามได้ด้วย
และนั่นก็เป็นผลประโยชน์จากการทำความเข้าใจที่มองย้อนกลับไปหาสาเหตุเริ่มต้น
เพราะการทำความเข้าใจกับการไม่เคยทำความเข้าใจย่อมให้ผลต่างกัน
คนแรกย่อมไม่ยึดถือและไม่ติดอยู่ในสภาวะที่ถูกสร้างสรรค์ ทำให้การดำรงอยู่จึงได้ชื่อว่า"ไร้นามไร้สภาวะ"ไปด้วย
คนที่สองย่อมตกอยู่ในภพและมองเห็นเพียงปรากฏการณ์ที่ตนปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น
สภาพอารมณ์ของทั้งสองคนจึงแตกต่างกันไปด้วย
คนแรกย่อมมีดุลยภาพในใจไม่ขึ้นๆ ลงๆ แบบคนที่สอง การทำความเข้าใจจึงมีคุณค่าแก่ตัวเองอย่างนี้
คนที่ติดอยู่ในภพย่อมพยายามปรุงแต่งภพครั้นเมื่อไม่ได้อย่างใจก็ทำลายทุกอย่าง
ความดีงามที่แท้จริงจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากวิถีทางเช่นนั้น
การมีคุณธรรมและความดีงามที่แท้จริงโดยวิถีของมันจึงควรออกมาเสียจากการปรุงแต่งสภาวะก่อน
เพราะหากยังมัวเมาหลงใหลก็รังแต่จะเดินตามทางของกิเลสตัณหาและหลีกห่างจากทางแห่งเต๋าไปทุกขณะ
ทั้งตัวเองและบ้านเมืองก็ยิ่งห่างจากความสงบสุขเพิ่มมากขึ้นตามไป
ส่วนผลสืบเนื่องจากการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น สังคมก็จะมีอารยธรรมที่สท้อนถึงการเคารพคุณธรรมศีลธรรมได้
ข้อนี้แลเป็นประโยชน์อันกว้างขวางและยิ่งใหญ่ ยั่งยืน
การรู้เห็นถึงต้นเหตุของการเป็นอยู่ของคนเราไม่ได้ใช้วิธีการซับซ้อนแต่อย่างใด
เพียงแค่อาศัยการละการยึดมั่นอันมีกิริยาคล้ายการออกไปเสียเพียงแค่นั้น
เพราะสภาวะจะเป็นปัญหาและความทุกข์ความเดือดร้อนต่อเมื่อตามด้วยอุปปาทานเท่านั้น
ท่านเล่าจื้อเคยกล่าวไว้ว่า "เราใช้ประโยชน์จากความมีและได้รับคุณประโยชน์จากความว่าง"
ในขณะนี้นั้นผมเองก็กำลังทำความเข้าใจในคำพูดนี้ให้กระจ่างอยู่นั่นเอง
" นานแสนนานสืบมา สิ่งนี้ยังดำรงอยู่
ใช้ประโยชน์ได้มากมาย ใช้ได้ไม่รู้หมดสิ้น "
ข้อนี้สำหรับผมหมายถึงความว่าง ที่ว่างจากอุปปาทาน คือความยึดถือโดยสมมติสังขาร
ตรงแก่นแท้ของชีวิตนั้นมีความว่าง ส่วนสิ่งอื่นๆ นั่นค่อยๆ เพิ่มเติมเข้ามาทีหลัง
อันความว่างนี่แหละที่กล่าวได้ว่ามีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสติปัญญาของคนเรา
เพราความว่างมันไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกับธรรมชาติ
เมื่อธรรมชาติเป็นความเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามเหตุและปัจจัย
ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจที่แต่งแต้มด้วยกิเลสตัญหาของผู้ใดทั้งนั้น
ผู้ที่มีความยึดถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องเกิดความเสียใจ
เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม
ข้อนี้แหละที่ผมกล่าวว่าเป็นความเศร้าหมองเพราะขัดแย้งกับธรรมชาติ
ทำให้ไม่สามารถรักษาดุลยภาพภายในจิตใจได้เลย
ฉนั้นเมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมะจึงย้อนกลับสู่ความว่างเสมอ
พร้อมทั้งส่งมอบสิ่งต่างๆ คืนกลับธรรมชาติ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่อไป
ดังคำท่านเล่าจื้อว่า "เต๋านั้นคือความเวิ้งว้างแต่คุณประโยชน์ของมันไม่รู้สิ้นสุด"
ความดีงามที่แท้จริงของคนเราก็คือจิตใจที่บริสุทธ์ชื่อตรง และมีอิสรภาพจากเครื่องร้อยรัด
ไม่อาจตกอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายต่ำอีก
จะคิดจะทำการสิ่งใดก็เล็งผลประโยชน์ที่ได้รับ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อส่วนตนและส่วนรวม
หากจะมองดูให้ดีๆ ใจความที่ผมได้เขียนมาทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ในทำนองว่า
" ดุจดั่งแสงอรุณที่กระทำให้ดอกบัวแย้มบาน "
มหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นก็คือแสงตะวันในยามอรุณ ส่วนดอกบัวก็คือจิตใจของผู้คน
สิ่งที่เปรียบเช่นดั่งแสงอรุณนี้มีลักษณะคือความว่าง
ดังนั้นสิ่งที่ผู้คนยกย่องว่ามีค่าสูงส่งจึงดูคล้ายสิ่งธรรมดา
ส่วนสิ่งที่ผู้คนรังเกียจเหยียดหยามก็ไม่ได้รู้สึกว่าต่ำทราม
แสงสว่างชนิดนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นแก่นแท้ และการอาศัยแก่นแท้จึงสามารถมองเห็นสาระแท้ได้
จิตใจก็อาจกลับคืนบริสุทธิ์ ความชั่วร้ายที่อยู่ภายในใจเพราะความยึดมั่นต่างๆ ก็พลอยดับลงไป
ความดีงามก็ค่อยผลิบานได้
....................................
ก็จบลงไปแล้วนะครับสำหรับการพิจรณาคำภีร์เต๋าเต็กเก็งในบทที่หกนี้
ผมหวังให้สิ่งที่ตนเองเขียนออกมามีความละเอียดและชัดแจ้งพอที่จะมีคุณค่าทางวิชาการ
จึงได้พยายามทุ่มเททำให้ออกมาดีที่สุด
แต่ด้วยความสามารถอันน้อยนิดจึงทำให้เขียนบรรยายได้เพียงเท่าที่ท่านเห็นอยู่นี้
ถึงแม้ผมสามารถบอกกับตัวเองได้ว่าผมเข้าใจคำพูดของท่านได้
แต่นั่นอาจเป็นการเข้าใจผิดไปก็เป็นได้
ผมจึงขอรบกวนให้ท่านผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง
กรุณาช่วยชี้แจงให้ผมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยครับ เป็นได้ผมก็จะขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
หวังว่าผลงานการพิจรณาเต๋าครั้งนี้จะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านบ้างนะครับ
......................................................
บทความจาก
https://amehart.blogspot.com/ ตอนนี้เขียนได้หลายตอนแล้วฝากติดตามกันด้วยนะ
เสวนาเกี่ยวกับปรัชญาเต๋าเต๋อจิงบทที่๖ มารดาอันมหัศจรรย์
พวกแรกเหมือนคนที่มองไปบนท้องฟ้าในยามค่ำที่ฟ้ากระจ่างไร้เมฆบัง
เขาย่อมสามารถมองเห็นดวงดาวและกลุ่มดาวต่างๆ ได้กระจ่างชัด
พวกต่อมาคือผู้ที่มองไปบนท้องฟ้ายามค่ำขณะมีเมฆปกคลุมอยู่บางส่วน
เขาย่อมไม่อาจมองเห็นดวงดาวและกลุ่มดาวได้กระจ่างชัดและต้องใช้จินตานาการถึงส่วนที่เหลือนั้น
พวกสุดท้ายคือพวกมองฟ้าที่กำลังปกคลุมไปด้วยเมฆฝนเขาย่อมไม่สามารถมองเห็นดวงดาวใดๆ ได้
พวกแรกก็คือคนผู้มีคุณธรรมและมีปฏิภาณเกี่ยวกับคุณงามความดีอยู่ในตนอยู่แล้ว
คนเหล่านี้ย่อมสามารถเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามอย่างที่เรียกว่า"เต๋า" ได้ในทันที
พวกที่สองก็คือคนที่ฟังแล้วรู้สึกว่าเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างนั่นเอง
คนพวกนี้คือพวกที่จะมีความศรัทธาและคิดว่าเต๋าคืออุดมคติแต่ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความงมงายได้
เพราะเขายังคาดคะเน"เต๋า" ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งวิเศษอยู่
และพวกสุดท้ายนั้นก็คือคนที่ไม่ยอมรับฟังเลยนั่นเอง เป็นพวกที่มีปฏิภาณเกี่ยวกับคุณงามความดีน้อย
คนพวกนี้เมื่อได้รับฟังเต๋าก็กลับเห็นในสิ่งตรงกันข้ามว่าเหมาะสมและหัวเราะห์เยาะให้กับคำแนะนำเหล่านี้
ว่าโดยย่อคือการเป็นผู้ปฏิบัติตนด้วยความเข้าใจในธรรมะนั่นเอง
ประมาณว่าความเข้าใจในธรรมะจะช่วยส่งผลให้คิดพูดทำแต่ในทางดีๆ
และเป็นประโยชน์เป็นความสุขโดยส่วนรวม
ที่ผมต้องเริ่มต้นโดยพรรรณาถึงระดับของผู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวเต๋า
อย่างนี้ก็เพราะผมยังรู้สึกว่าขาดความมั่นในบทความที่กำลังจะแสดงในตอนนี้
ว่าสามารถพิจรณาเต๋าได้ถูกต้องหรือไม่ และควรนำออกมาเผยเเพร่หรือเปล่า
แต่เมื่อนึกขึ้นว่าผมยังศึกษาและพิจรณาเต๋าในฐานะของนักศึกษามิใช่ผู้รู้
และในทุกครั้งที่ได้นำบทความที่เขียนขึ้นมาจากการพิจรณาเต๋าออกมาเผยแพร่
ผมก็ต้องแจ้งความจริงข้อนี้ให้ผู้อ่านได้รับรู้เอาไว้ก่อนเสมอ
ผมจึงรู้สึกว่าถึงแม้ว่าผมจะอธิบายเต๋าได้ผิดพลาดไปเสียจากความหมายจริงๆ ของมัน
มันก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอะไรตามมาแต่อย่างใด
เพราะผมได้บอกกับท่านผู้อ่านให้เกิดวิจรณญาณก่อนจะบรรยายไปแล้วนั่นเอง
ว่านี่เป็นแค่เพียงผลงานจากการศึกษาของผมที่ยังเป็นเพียงนักศึกษาไม่ใช่ผู้รู้
อย่างไรก็ตามมผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถได้รับประโยชน์จากการพิจรณาของผมในครั้งนี้ไม่มากก็น้อยครับ
เต๋าเต๋อจิง บทที่ ๖ มารดาอันมหัศจรรย์
" มหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นมิเคยดับสูญ และเป็นมารดาอันมหัศจรรย์
จากทวาราแห่งมารดานี้เอง ได้ก่อเกิดรากฐานเเห่งฟ้าและดิน
นานแสนนานสืบมาสิ่งนี้ยังคงดำรงอยู่
มีคุณประโยชน์มากมาย ใช้ได้มิรู้หมดสิ้น "
...............................................
หลังจากอ่านบทความในข้างต้นจบ ในความคิดของผมจ่อมจมลงสู่ความนิ่งเงียบและสงบงัน
ผมไม่มีความคิดหรือความเห็นอะไรทั้งนั้น เพราะผมไม่รู้ว่าท่านพูดถึงอะไรอยู่
หลายวันมานี้ผมจึงพยายามท่องบทความในข้างต้นโดยอ่านจากบันทึก(ทั้งๆที่จำได้)
และท่องบนอยู่ในใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าวันละประมาณกว่าสิบรอบ
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผมคิดว่าจิตใจของผมมีความสงบร่มเย็นมากพอเช่นหลังจากตื่นนอน เป็นต้น
เพื่อหวังว่าตนเองจะสามารถเข้าใจบทความดังกล่าวนั้นได้ขึ้นมาเอง
แต่การพยายามให้เกิดความเข้าใจในทำนองว่า " อ๋อ! รู้ล่ะ " โดยอาศัยความสงบงัน
มันทำให้เกิดความเข้าใจว่าความจริงแล้วผมกำลังมองหาความจริงข้อนี้จากตัวเองอยู่
ผมกำลังค้นหารูปแบบดังกล่าวจากรูปธรรมนามธรรมที่เป็นธรรมชาติของตน
และนั่นก็นับเป็นการได้ก้าวขาขึ้นไปยังจุดเริ่มต้นของการพิจรณาเต๋าในบทนี้
"มหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นมิเคยดับสูญ และเป็นมาดาอันมหัศจรรย์
จากทวาราแห่งมารดานี้เอง ได้ก่อให้เกิดรากฐานแห่งฟ้าและดิน"
สิ่งที่มีฤทธิ์มากและมีความยิ่งใหญ่นี้คือ "จิตใจ" ของตนเอง
เป็นส่วนประกอบของนามธรรมในตน และเป็นที่ตั้งของการบัญญัติสมมติ
คือการปรุงแต่งวัตถุธาตุเป็น ประธาน กริยา กรรม สรรพนาม คำวิเศษณ์ คำขยาย
ที่ผมยกรูปแบบการเรียงประโยคในการใช้ภาษามาก็เพราะว่ามันมีความคล้ายคลึงกันอยู่
มันเป็นสิ่งที่เต๋าเรียกว่าการปรุงแต่งรูปและนามหรือการมีสภาวะ
สิ่งเหล่านี้เป็นภาพปรากฏการที่แสดงอยู่ในจิตใจของคนเรา (หรือควรเรียกว่าปรากฏกกรรมกันแน่นะ)
แต่ถ้าหากเป็นความเข้าใจที่ย้อนไปถึงจุดเหล่านี้ได้ล่ะ จะเป็นอย่างไร
กล่าวคือการละความยึดถือในสิ่งปรุงแต่งกับทั้งความหมายที่บัญัติกันเอาไว้
ไปจนถึงกระทั้งการผ่อยคลายจากความยินดียินร้ายต่างๆ ไปเสียได้
หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า เวทนา สัญญา สังขาร นั่นเอง
การผ่อยคลายไปเช่นนี้ย่อมส่งผลที่อาจเรียกได้ว่าไร้นามไร้สภาวะอย่างหนึ่งด้วย
และการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่าบ่อเกิดหรือ "มารดา" ในบทนี้นั่นเอง
ซึ่งจะเป็นการทำความเข้าใจในเรื่องราวของตนเองให้ชัดเจนมากขึ้นด้วยนั่นแหละ
เนื่องจากมารดาที่กล่าวถึงนี้เป็นแต่เพียงรูปแบบทางธรรมชาติเท่านั้น
จึงไม่อาจหยิบยกมาให้คนอื่นจับต้องได้เหมือนวัตถุและจำเป็นต้องอธิบายไปอย่างนี้
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดจิตใจของคนเราและจะส่งผลให้เกิดความบริสุทธิ์ความดีงามได้ด้วย
และนั่นก็เป็นผลประโยชน์จากการทำความเข้าใจที่มองย้อนกลับไปหาสาเหตุเริ่มต้น
เพราะการทำความเข้าใจกับการไม่เคยทำความเข้าใจย่อมให้ผลต่างกัน
คนแรกย่อมไม่ยึดถือและไม่ติดอยู่ในสภาวะที่ถูกสร้างสรรค์ ทำให้การดำรงอยู่จึงได้ชื่อว่า"ไร้นามไร้สภาวะ"ไปด้วย
คนที่สองย่อมตกอยู่ในภพและมองเห็นเพียงปรากฏการณ์ที่ตนปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น
สภาพอารมณ์ของทั้งสองคนจึงแตกต่างกันไปด้วย
คนแรกย่อมมีดุลยภาพในใจไม่ขึ้นๆ ลงๆ แบบคนที่สอง การทำความเข้าใจจึงมีคุณค่าแก่ตัวเองอย่างนี้
คนที่ติดอยู่ในภพย่อมพยายามปรุงแต่งภพครั้นเมื่อไม่ได้อย่างใจก็ทำลายทุกอย่าง
ความดีงามที่แท้จริงจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากวิถีทางเช่นนั้น
การมีคุณธรรมและความดีงามที่แท้จริงโดยวิถีของมันจึงควรออกมาเสียจากการปรุงแต่งสภาวะก่อน
เพราะหากยังมัวเมาหลงใหลก็รังแต่จะเดินตามทางของกิเลสตัณหาและหลีกห่างจากทางแห่งเต๋าไปทุกขณะ
ทั้งตัวเองและบ้านเมืองก็ยิ่งห่างจากความสงบสุขเพิ่มมากขึ้นตามไป
ส่วนผลสืบเนื่องจากการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น สังคมก็จะมีอารยธรรมที่สท้อนถึงการเคารพคุณธรรมศีลธรรมได้
ข้อนี้แลเป็นประโยชน์อันกว้างขวางและยิ่งใหญ่ ยั่งยืน
การรู้เห็นถึงต้นเหตุของการเป็นอยู่ของคนเราไม่ได้ใช้วิธีการซับซ้อนแต่อย่างใด
เพียงแค่อาศัยการละการยึดมั่นอันมีกิริยาคล้ายการออกไปเสียเพียงแค่นั้น
เพราะสภาวะจะเป็นปัญหาและความทุกข์ความเดือดร้อนต่อเมื่อตามด้วยอุปปาทานเท่านั้น
ท่านเล่าจื้อเคยกล่าวไว้ว่า "เราใช้ประโยชน์จากความมีและได้รับคุณประโยชน์จากความว่าง"
ในขณะนี้นั้นผมเองก็กำลังทำความเข้าใจในคำพูดนี้ให้กระจ่างอยู่นั่นเอง
" นานแสนนานสืบมา สิ่งนี้ยังดำรงอยู่
ใช้ประโยชน์ได้มากมาย ใช้ได้ไม่รู้หมดสิ้น "
ข้อนี้สำหรับผมหมายถึงความว่าง ที่ว่างจากอุปปาทาน คือความยึดถือโดยสมมติสังขาร
ตรงแก่นแท้ของชีวิตนั้นมีความว่าง ส่วนสิ่งอื่นๆ นั่นค่อยๆ เพิ่มเติมเข้ามาทีหลัง
อันความว่างนี่แหละที่กล่าวได้ว่ามีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสติปัญญาของคนเรา
เพราความว่างมันไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกับธรรมชาติ
เมื่อธรรมชาติเป็นความเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามเหตุและปัจจัย
ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจที่แต่งแต้มด้วยกิเลสตัญหาของผู้ใดทั้งนั้น
ผู้ที่มีความยึดถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องเกิดความเสียใจ
เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม
ข้อนี้แหละที่ผมกล่าวว่าเป็นความเศร้าหมองเพราะขัดแย้งกับธรรมชาติ
ทำให้ไม่สามารถรักษาดุลยภาพภายในจิตใจได้เลย
ฉนั้นเมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมะจึงย้อนกลับสู่ความว่างเสมอ
พร้อมทั้งส่งมอบสิ่งต่างๆ คืนกลับธรรมชาติ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่อไป
ดังคำท่านเล่าจื้อว่า "เต๋านั้นคือความเวิ้งว้างแต่คุณประโยชน์ของมันไม่รู้สิ้นสุด"
ความดีงามที่แท้จริงของคนเราก็คือจิตใจที่บริสุทธ์ชื่อตรง และมีอิสรภาพจากเครื่องร้อยรัด
ไม่อาจตกอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายต่ำอีก
จะคิดจะทำการสิ่งใดก็เล็งผลประโยชน์ที่ได้รับ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อส่วนตนและส่วนรวม
หากจะมองดูให้ดีๆ ใจความที่ผมได้เขียนมาทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ในทำนองว่า
" ดุจดั่งแสงอรุณที่กระทำให้ดอกบัวแย้มบาน "
มหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นก็คือแสงตะวันในยามอรุณ ส่วนดอกบัวก็คือจิตใจของผู้คน
สิ่งที่เปรียบเช่นดั่งแสงอรุณนี้มีลักษณะคือความว่าง
ดังนั้นสิ่งที่ผู้คนยกย่องว่ามีค่าสูงส่งจึงดูคล้ายสิ่งธรรมดา
ส่วนสิ่งที่ผู้คนรังเกียจเหยียดหยามก็ไม่ได้รู้สึกว่าต่ำทราม
แสงสว่างชนิดนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นแก่นแท้ และการอาศัยแก่นแท้จึงสามารถมองเห็นสาระแท้ได้
จิตใจก็อาจกลับคืนบริสุทธิ์ ความชั่วร้ายที่อยู่ภายในใจเพราะความยึดมั่นต่างๆ ก็พลอยดับลงไป
ความดีงามก็ค่อยผลิบานได้
....................................
ก็จบลงไปแล้วนะครับสำหรับการพิจรณาคำภีร์เต๋าเต็กเก็งในบทที่หกนี้
ผมหวังให้สิ่งที่ตนเองเขียนออกมามีความละเอียดและชัดแจ้งพอที่จะมีคุณค่าทางวิชาการ
จึงได้พยายามทุ่มเททำให้ออกมาดีที่สุด
แต่ด้วยความสามารถอันน้อยนิดจึงทำให้เขียนบรรยายได้เพียงเท่าที่ท่านเห็นอยู่นี้
ถึงแม้ผมสามารถบอกกับตัวเองได้ว่าผมเข้าใจคำพูดของท่านได้
แต่นั่นอาจเป็นการเข้าใจผิดไปก็เป็นได้
ผมจึงขอรบกวนให้ท่านผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง
กรุณาช่วยชี้แจงให้ผมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยครับ เป็นได้ผมก็จะขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
หวังว่าผลงานการพิจรณาเต๋าครั้งนี้จะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านบ้างนะครับ
......................................................
บทความจากhttps://amehart.blogspot.com/ ตอนนี้เขียนได้หลายตอนแล้วฝากติดตามกันด้วยนะ