ผมว่างเว้นจากการพิจรณาปรัชญาของท่านเล่าจื้อ ที่ตัวท่านเล่าจื้อเองได้กล่าวเรียกมันว่า "เต๋า" ไปนานพอสมควร
ด้วยเหตุผลหลายอย่าง แต่เหตุผลอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ "เต๋า" นั้นยากแก่การพิจรณาตามวิสัยปกติทั่วไป
เพราะมันไม่สามารถคิดคำนวณหรือใช้เหตุผลเพื่อคิดวิเคราะห์ไปได้เสียทั้งหมด
มีหลายคำพูดของท่านที่ทำให้ผมงุนงงเพราะไม่รู้ว่าท่านกำลังพูดถึงอะไรกันแน่
ดังนั้นถ้าหากผมยังจะฝืนดึงดันพิจรณาโดยใช้ปัญญาเท่าที่มี ก็รังแต่จะอวดความโง่เขลาแก่ชาวโลกเขาไปเปล่าๆ
แต่หลักการพิจรณาเต๋านั้นก็มีอยู่ ดังในตำราเต๋าเต็กเก็งท่านก็ได้สั่งสอนเอาไว้เพื่อให้เกิดความรู้ยิ่งความรู้ดีตามท่านได้
ซึ่งเป็นการพิจรณาที่ต้องอาศัยประสบการณ์จริงในการกระทำตนหรือการปฏิบัติตนตามคำแนะนำของท่าน
นั่นจึงเป็นแนวทางของการศึกษาปรัชญาเต๋าที่ถูกต้องจริงๆ
การพิจรณา เต๋าจึงเปรียบเสมือนการพิจรณา ผลจากการทดลองจริง แบบวิทยาศาสตร์
เมื่อเราสามารถเข้าถึงความเข้าใจก็จะตามมาเอง
ดังในเนื้อหาที่กำลังจะอธิบายในบทที่5 นี้ก็เป็นการปฏิบัติตนเพื่อเข้าใจเต๋าด้วยเหมือนกัน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามการพิจรณาเต๋าในบทที่5 ที่ผมกำลังจะแสดงต่อไปนี้ก็อาจยังมีข้อผิดพลาดอยู่
เนื่องเพราะผมเป็นแค่เพียงนักศึกษาที่เพิ่งจะเริ่มต้นศึกษา และยังไม่ใช่ผู้รู้ที่สามารถเข้าใจคำพูดของท่านได้อย่างแจ่มแจ้ง
ซึ่งหากมีถ้อยคำใดที่ผมล่าวผิดพลาดไปผมก็ขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ
และหวังว่าการพิจรณาปรัชญาที่เรียกว่า "เต๋า" ของผมในครั้งนี้จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย
เต๋าเต๋อจิง บทที่๕ ประโยชน์ของสูบลม
" ฟ้าดินนั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายสรรพสิ่งเป็นหุ่นฟาง
ปราชญ์นั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายดังผู้คนเป็นหุ่นฟาง
แท้ที่จริงแล้วฟ้า ดิน และปราชญ์ มิได้ไร้เมตตา เมตตานั้นคงมีอยู่
เพียงแต่ไม่ต้องการเข้าไปก้าวก่ายในสรรพสิ่ง
ทำตนให้ว่างเหมือนสูบลม มีความว่างและความไร้
ครั้นเมื่อเคลื่อนไหวกลับให้พลัง
ยิ่งพูดมากคำก็ยิ่งไร้ประโยน์ พูดมากคำยิ่งเหน็ดเหนื่อย
มิสู้เก็บคุณค่านั้นไว้แต่เพียงภายใน
....................................
" ฟ้าดินนั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายสรรพสิ่งเป็นหุ่นฟาง
ปราชญ์นั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายผู้คนเป็นหุ่นฟาง "
ข้อนี้ท่านเล่าจื้อยกเอาธรรมชาติมาแสดงว่าธรรมชาติคือฟ้าและดิน
ที่ต่างก็ทำหน้าที่โดยมิได้แยแสต่อสิ่งใด
ฝนจะตกแดดจะออกน้ำจะท่วมแผ่นดินจะไหวก็ล้วนเป็นหน้าที่ของธรรมชาติ
ที่ขาดความปราณีปราศัย
จนในบางครั้งก็ทำลายสรรพสิ่งให้พินาศได้ในพริบตา
สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติที่คนเราต้องศึกษาทำความเข้าใจเอาเองจึงอาจสามารถปรับตัวให้รอดพ้นได้
ท่านเล่าจื้อบอกว่าปราชญ์เองก็มีลักษณะเดียวกันนี้อยู่เหมือนกัน
กล่าวคือการทำไปตามหน้าที่ของชีวิตตนและเพิกเฉยปล่อยวางต่อชีวิตอื่นๆ
และไม่เข้าไปขัดแย้งต่อสู้กับปัญหาทางสังคมโดยตรง
ความเป็นอยู่ของปราชญ์จึงคล้ายกับคนเฉยเมยและสิ้นห่วงใยต่อโลก
" แท้ที่จริงแล้วฟ้า ดิน และปราชญ์ มิได้ไร้เมตตา เมตตานั้นคงมีอยู่
เพียงแต่ไม่ต้องการเข้าไปก่าวก่ายในสรรพสิ่ง"
ท่านบอกว่าถึงแม้ว่าฟ้าดินและปราชญ์จะดูเฉยเมยต่อการมีชีวิตของผู้คน
แต่แท้จริงแล้วฟ้าดินและปราชญ์ยังคงมีน้ำใจต่อสรรพชีวิตอยู่
ดังฟ้าดินที่เป็นผู้ให้ชีวิตและทำให้สรรพชีวิตสามารถดำรงชีพได้อยู่
ดังปราชญ์ที่ยังคงถ่ายทอดความรู้โดยผ่านการให้การศึกษาแก่ผู้คนอยู่
" เพียงแต่ไม่ต้องการเข้าไปก่าวก่าย" นั่นเป็นเหตุผลของท่านที่ทำให้ท่านดูเหมือนวางเฉยต่อโลก
ซึ่งตัวท่านเล่าจื้อยังได้บอกเหตุผลของเรื่องนี้ในบทต่อๆ ไปอีกด้วย
ทั้งนี้โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าท่านมิต้องการลุกขึ้นเป็นผู้นำของสังคมและสร้างความขัดแย้งเสียเอง
ฟ้าดินและปราชญ์จึงเป็นผู้ให้แก่สรรพชีวิตอยู่เบื้องหลัง
คือการให้ธรรมะแก่จิตใจซึ่งไม่ต่างจากการให้อาหารแก่ร่างกายที่หิวโหยเลย
" ทำตนให้ว่างเหมือนสูบลม มีความว่างและความไร้
ครั้นเมื่อเคลื่อนไหวกลับให้พลัง "
การทำตนให้ว่างเหมือนสูบลมนี้ถือเป็นคำแนะนำในการปฏิบัติตน
ซึ่งแท้จริงแล้วคือการทำใจให้ว่างโปร่งและปล่อยวางนานาภาระต่างๆ ที่แบกไว้เสีย
ทำเช่นนั้นจิตใจกลับได้รับการฟื้นฟูและกลับคืนสู่การมีสมรรถนะอีกครั้ง
เมื่อจิตใจได้รับความสงบร่มเย็นจึงเกิดกำลังใจและเมื่อปลดเปลื้องความห่วงอาลัยจึงพร้อมต่อสู้
นั่นหมายถึงการพร้อมเผชิญกับทุกๆอย่างด้วยความสงบ
การทำจิตใจให้รู้จักปล่อยวางจึงมีคุณค่า และแท้จริงแล้วกลับช่วยสร้างกำลังใจได้ด้วย
" ยิ่งพูดมากคำก็ยิ่งไร้ประโยชน์ พูดมากคำยิ่งเหน็ดเหนื่อย
มิสู้เก็บคุณค่านั้นไว้แต่เพียงภายใน "
ข้อนี้นับเป็นคำแนะนำที่มุ่งเฉพาะสำหรับผู้ที่มีเมตตาธรรมและมีน้ำใจดีงามทั้งหลาย
ความชอบธรรมนั้นยากที่จะขับเคลื่อยด้วยการโต้แย้งและอาจจะเป็นการนำตนไปสู่ความขัดแย้งได้
เพราะผู้คนทุกหมู่เหล่าย่อมที่จะมีเหตุผลให้กับการกระทำของตัวเองอยู่แล้ว
ความชอบธรรมของคนพาลก็คือความชอบใจข้อนี้ย่อมทำให้พวกเขามีความเห็นแตกต่าง
ไปจากผู้ที่ได้รับการศึกษามาโดยเฉพาะแน่นอน
ความเมตตาที่มีให้แก่คนเหล่านั้นจึงควรรู้จักอดออมด้วยความจำเป็นอย่างนี้
เพราะหากคิดฝืนดื้อดึงเข้าไปชี้นำสังคมโดยไม่รู้กาละเทศะสุดท้ายอาจทำให้รักษาความดีงามไว้ไม่ได้
ผู้ฝึกตนจึงควรรู้จักการปล่อยวางและยอมให้โลกโคจรไปตามวิถีของมัน
ให้จิตใจที่มีความสงบร่มเย็นไม่มีความวุ่นวายขัดแย้งอยู่ภายในเป็นสิ่งขับเคลื่อนต่อไป
............................................................
จบลงแล้วนะครับสำหรับการพิจรณา "เต๋า" ในบทที5 ซึ่งเป็นคำแนะนำสำหรับการดำรงกายวาจาใจ
ไว้ในสันติ
แต่หากการพิจรณาและการตีความของผมผิดพลาดไปในส่วนใด
ผมก็ต้องขออภัยและขอให้ทุกท่านช่วยชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยนะครับ
สุดท้ายผมอยากบอกว่าการพิจรณาโดยขาดการปฏิบัติยังเป็นเพียงการสร้างแบบจำลอง ซึ่งยังมิใช่ความเข้าใจ
เพราะเต๋านั้นมีการพิสูจน์ด้วยมิใช่เป็นแต่เพียงความรู้ไว้ประดับหัวคิด
ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่อ่านด้วยครับ
บทความจาก
amehart.blogspot.com
ซึ่งเป็นบทความที่อรชุนพิจรณาปรัชญาเองท่านเล่าจื้อด้วยตนเองครับ
ตอนนี้ทำได้ 5 บทแล้วฝากเข้าไปติดตามด้วยนะครับ
เสวนาเกี่ยวกับปรัชญาเต๋าเต๋อจิงบทที่๕ ประโยชน์ของสูบลม
ด้วยเหตุผลหลายอย่าง แต่เหตุผลอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ "เต๋า" นั้นยากแก่การพิจรณาตามวิสัยปกติทั่วไป
เพราะมันไม่สามารถคิดคำนวณหรือใช้เหตุผลเพื่อคิดวิเคราะห์ไปได้เสียทั้งหมด
มีหลายคำพูดของท่านที่ทำให้ผมงุนงงเพราะไม่รู้ว่าท่านกำลังพูดถึงอะไรกันแน่
ดังนั้นถ้าหากผมยังจะฝืนดึงดันพิจรณาโดยใช้ปัญญาเท่าที่มี ก็รังแต่จะอวดความโง่เขลาแก่ชาวโลกเขาไปเปล่าๆ
แต่หลักการพิจรณาเต๋านั้นก็มีอยู่ ดังในตำราเต๋าเต็กเก็งท่านก็ได้สั่งสอนเอาไว้เพื่อให้เกิดความรู้ยิ่งความรู้ดีตามท่านได้
ซึ่งเป็นการพิจรณาที่ต้องอาศัยประสบการณ์จริงในการกระทำตนหรือการปฏิบัติตนตามคำแนะนำของท่าน
นั่นจึงเป็นแนวทางของการศึกษาปรัชญาเต๋าที่ถูกต้องจริงๆ
การพิจรณา เต๋าจึงเปรียบเสมือนการพิจรณา ผลจากการทดลองจริง แบบวิทยาศาสตร์
เมื่อเราสามารถเข้าถึงความเข้าใจก็จะตามมาเอง
ดังในเนื้อหาที่กำลังจะอธิบายในบทที่5 นี้ก็เป็นการปฏิบัติตนเพื่อเข้าใจเต๋าด้วยเหมือนกัน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามการพิจรณาเต๋าในบทที่5 ที่ผมกำลังจะแสดงต่อไปนี้ก็อาจยังมีข้อผิดพลาดอยู่
เนื่องเพราะผมเป็นแค่เพียงนักศึกษาที่เพิ่งจะเริ่มต้นศึกษา และยังไม่ใช่ผู้รู้ที่สามารถเข้าใจคำพูดของท่านได้อย่างแจ่มแจ้ง
ซึ่งหากมีถ้อยคำใดที่ผมล่าวผิดพลาดไปผมก็ขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ
และหวังว่าการพิจรณาปรัชญาที่เรียกว่า "เต๋า" ของผมในครั้งนี้จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย
เต๋าเต๋อจิง บทที่๕ ประโยชน์ของสูบลม
" ฟ้าดินนั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายสรรพสิ่งเป็นหุ่นฟาง
ปราชญ์นั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายดังผู้คนเป็นหุ่นฟาง
แท้ที่จริงแล้วฟ้า ดิน และปราชญ์ มิได้ไร้เมตตา เมตตานั้นคงมีอยู่
เพียงแต่ไม่ต้องการเข้าไปก้าวก่ายในสรรพสิ่ง
ทำตนให้ว่างเหมือนสูบลม มีความว่างและความไร้
ครั้นเมื่อเคลื่อนไหวกลับให้พลัง
ยิ่งพูดมากคำก็ยิ่งไร้ประโยน์ พูดมากคำยิ่งเหน็ดเหนื่อย
มิสู้เก็บคุณค่านั้นไว้แต่เพียงภายใน
....................................
" ฟ้าดินนั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายสรรพสิ่งเป็นหุ่นฟาง
ปราชญ์นั้นไร้เมตตา ปฏิบัติคล้ายผู้คนเป็นหุ่นฟาง "
ข้อนี้ท่านเล่าจื้อยกเอาธรรมชาติมาแสดงว่าธรรมชาติคือฟ้าและดิน
ที่ต่างก็ทำหน้าที่โดยมิได้แยแสต่อสิ่งใด
ฝนจะตกแดดจะออกน้ำจะท่วมแผ่นดินจะไหวก็ล้วนเป็นหน้าที่ของธรรมชาติ
ที่ขาดความปราณีปราศัย
จนในบางครั้งก็ทำลายสรรพสิ่งให้พินาศได้ในพริบตา
สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติที่คนเราต้องศึกษาทำความเข้าใจเอาเองจึงอาจสามารถปรับตัวให้รอดพ้นได้
ท่านเล่าจื้อบอกว่าปราชญ์เองก็มีลักษณะเดียวกันนี้อยู่เหมือนกัน
กล่าวคือการทำไปตามหน้าที่ของชีวิตตนและเพิกเฉยปล่อยวางต่อชีวิตอื่นๆ
และไม่เข้าไปขัดแย้งต่อสู้กับปัญหาทางสังคมโดยตรง
ความเป็นอยู่ของปราชญ์จึงคล้ายกับคนเฉยเมยและสิ้นห่วงใยต่อโลก
" แท้ที่จริงแล้วฟ้า ดิน และปราชญ์ มิได้ไร้เมตตา เมตตานั้นคงมีอยู่
เพียงแต่ไม่ต้องการเข้าไปก่าวก่ายในสรรพสิ่ง"
ท่านบอกว่าถึงแม้ว่าฟ้าดินและปราชญ์จะดูเฉยเมยต่อการมีชีวิตของผู้คน
แต่แท้จริงแล้วฟ้าดินและปราชญ์ยังคงมีน้ำใจต่อสรรพชีวิตอยู่
ดังฟ้าดินที่เป็นผู้ให้ชีวิตและทำให้สรรพชีวิตสามารถดำรงชีพได้อยู่
ดังปราชญ์ที่ยังคงถ่ายทอดความรู้โดยผ่านการให้การศึกษาแก่ผู้คนอยู่
" เพียงแต่ไม่ต้องการเข้าไปก่าวก่าย" นั่นเป็นเหตุผลของท่านที่ทำให้ท่านดูเหมือนวางเฉยต่อโลก
ซึ่งตัวท่านเล่าจื้อยังได้บอกเหตุผลของเรื่องนี้ในบทต่อๆ ไปอีกด้วย
ทั้งนี้โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าท่านมิต้องการลุกขึ้นเป็นผู้นำของสังคมและสร้างความขัดแย้งเสียเอง
ฟ้าดินและปราชญ์จึงเป็นผู้ให้แก่สรรพชีวิตอยู่เบื้องหลัง
คือการให้ธรรมะแก่จิตใจซึ่งไม่ต่างจากการให้อาหารแก่ร่างกายที่หิวโหยเลย
" ทำตนให้ว่างเหมือนสูบลม มีความว่างและความไร้
ครั้นเมื่อเคลื่อนไหวกลับให้พลัง "
การทำตนให้ว่างเหมือนสูบลมนี้ถือเป็นคำแนะนำในการปฏิบัติตน
ซึ่งแท้จริงแล้วคือการทำใจให้ว่างโปร่งและปล่อยวางนานาภาระต่างๆ ที่แบกไว้เสีย
ทำเช่นนั้นจิตใจกลับได้รับการฟื้นฟูและกลับคืนสู่การมีสมรรถนะอีกครั้ง
เมื่อจิตใจได้รับความสงบร่มเย็นจึงเกิดกำลังใจและเมื่อปลดเปลื้องความห่วงอาลัยจึงพร้อมต่อสู้
นั่นหมายถึงการพร้อมเผชิญกับทุกๆอย่างด้วยความสงบ
การทำจิตใจให้รู้จักปล่อยวางจึงมีคุณค่า และแท้จริงแล้วกลับช่วยสร้างกำลังใจได้ด้วย
" ยิ่งพูดมากคำก็ยิ่งไร้ประโยชน์ พูดมากคำยิ่งเหน็ดเหนื่อย
มิสู้เก็บคุณค่านั้นไว้แต่เพียงภายใน "
ข้อนี้นับเป็นคำแนะนำที่มุ่งเฉพาะสำหรับผู้ที่มีเมตตาธรรมและมีน้ำใจดีงามทั้งหลาย
ความชอบธรรมนั้นยากที่จะขับเคลื่อยด้วยการโต้แย้งและอาจจะเป็นการนำตนไปสู่ความขัดแย้งได้
เพราะผู้คนทุกหมู่เหล่าย่อมที่จะมีเหตุผลให้กับการกระทำของตัวเองอยู่แล้ว
ความชอบธรรมของคนพาลก็คือความชอบใจข้อนี้ย่อมทำให้พวกเขามีความเห็นแตกต่าง
ไปจากผู้ที่ได้รับการศึกษามาโดยเฉพาะแน่นอน
ความเมตตาที่มีให้แก่คนเหล่านั้นจึงควรรู้จักอดออมด้วยความจำเป็นอย่างนี้
เพราะหากคิดฝืนดื้อดึงเข้าไปชี้นำสังคมโดยไม่รู้กาละเทศะสุดท้ายอาจทำให้รักษาความดีงามไว้ไม่ได้
ผู้ฝึกตนจึงควรรู้จักการปล่อยวางและยอมให้โลกโคจรไปตามวิถีของมัน
ให้จิตใจที่มีความสงบร่มเย็นไม่มีความวุ่นวายขัดแย้งอยู่ภายในเป็นสิ่งขับเคลื่อนต่อไป
............................................................
จบลงแล้วนะครับสำหรับการพิจรณา "เต๋า" ในบทที5 ซึ่งเป็นคำแนะนำสำหรับการดำรงกายวาจาใจ
ไว้ในสันติ
แต่หากการพิจรณาและการตีความของผมผิดพลาดไปในส่วนใด
ผมก็ต้องขออภัยและขอให้ทุกท่านช่วยชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยนะครับ
สุดท้ายผมอยากบอกว่าการพิจรณาโดยขาดการปฏิบัติยังเป็นเพียงการสร้างแบบจำลอง ซึ่งยังมิใช่ความเข้าใจ
เพราะเต๋านั้นมีการพิสูจน์ด้วยมิใช่เป็นแต่เพียงความรู้ไว้ประดับหัวคิด
ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่อ่านด้วยครับ
บทความจาก amehart.blogspot.com
ซึ่งเป็นบทความที่อรชุนพิจรณาปรัชญาเองท่านเล่าจื้อด้วยตนเองครับ
ตอนนี้ทำได้ 5 บทแล้วฝากเข้าไปติดตามด้วยนะครับ