ภินทุบาทว์ (ราหูล่าจันทร์ - จันทร์ล่าราหู)
เนื่องจากมีบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของผมที่เรียนกันอยู่ ได้สอบถามกันเข้ามาถึงเรื่องนี้ และผมยังไม่เคยได้เขียนบทความในเรื่องนี้ลงเพจไว้ด้วย
จึงได้หยิบยกมาเขียนบทความอัพเดทให้ท่านผู้ติดตามเพจ ได้อ่านได้ทราบกันอีกเช่นเคยครับ คงจะมีหลายท่านเลย ที่ยังฉงนและสงสัยอยู่เป็นแน่ แต่ผมจะเขียนตามหลักทัศนะส่วนตัวของผมเองเป็นสำคัญ อาจจะแตกต่างไปจากหลักของท่านอื่น ๆ ก็ได้
และ "ภินทุบาทว์" ที่ว่านี้ ถือเป็นเรื่องเบสิกพื้นฐานที่ผู้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ไทย จะต้องทราบกันเป็นอย่างดี ดังหลักครูที่ว่า.-
"เสาร์เพ่งเล็งลัคน์ แล้วอสุรา
ภุมเมนทร์อัษฎา ว่าไว้
จันทร์เป็นสิบเอ็ด แก่ราหูเล่านา
อาภัพอัปภาคย์ โทษแท้ประเหินหิน"
คำว่า "ภินทุ" ภาษาบาลี แปลว่า "แตกหัก" คนละอย่างกับคำว่า "พินทุ" ที่แปลว่า "จุด" บางท่านสับสน นึกว่าเป็นคำเดียวกัน
ส่วนคำว่า "บาทว์" ย่อมาจากคำว่า "อุบาทว์" ดี ๆ นั่นเองครับ
เมื่อนำคำว่า "ภินทุ+อุบาว์" มาสนธิรวมความกันแล้ว "ภินทุบาทว์" จึงหมายถึง ดวงช้ำ ดวงรั่ว ดวงหัก หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "ดวงแตก" ก็คือ "ภินทุ" ตัวนี้
แต่จริง ๆ แล้ว การที่ไปพิจารณาว่าดวงแตก มันคงจะฟังดูเลวร้ายมากจนเกินไปนัก ทำให้ผู้รับฟังแทบหงายหลังตกเก้าอี้ อุทานว่า... ดวงข้าพเจ้าแตกเลยหรือ !! ว่าไปนั่น... อย่างกับว่าดวงชะตาแตกไปเสียแล้ว และไม่มีอะไรดีเลย อย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง
เพราะดวงชะตาของคนเรา มันไม่ได้แตกกันง่าย ๆ หรอกครับ และไม่มีใครที่ดีทุกอย่าง 100% หรือเสียทุกอย่างชนิดไม่มีอะไรดีเลย
ซึ่งตามหลักของธรรมชาติแล้ว ทุกสิ่งอย่าง "มีดีและมีเสีย" ปะปนกันไปเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งใดที่ดีเพียงแต่อย่างเดียว หรือเสียเพียงแต่อย่างเดียวเท่านั้น มันอยู่ที่ว่าจะดีมากกว่าเสีย หรือเสียมากกว่าดีก็เท่านั้นครับ และถ้าดี ดีอย่างไร เสีย เสียอย่างไร ต้องแยกกัน
กล่าวคือ ถ้าหากพื้นฐานดวงชะตาส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นภินทุบาทว์นั้นดี ก็จะต้องดีในเรื่องนั้น ๆ แต่จะมีผลเสียเฉพาะส่วนที่เป็นภินทุบาทว์ หรือจะเรียกว่า มีตำหนิ ถูกแต้มสีไว้ในส่วนนั้นก็ได้ ไม่ผิด
#ในทัศนะของผม
เรามาทำความเข้าใจกันก่อน ในความหมายของคำว่า "ล่า" ซึ่งมีความหมายอยู่ด้วยกัน 2 แนว คือ การถอย หรือการหนีอย่างหนึ่ง และการแสวงหา หรือติดตามอีกอย่างหนึ่ง แต่ล่าในที่นี้ ผมเข้าใจว่าเป็นการล่าถอย หรือ "หนี" เสียมากกว่า
ทั้งนี้ ท่านจะต้องทราบด้วยว่า ราหู(๘) จะโคจรย้อนจักรเวียนขวา ตามเข็มนาฬิกา (ทักษิณาวรรต) ไม่เหมือนกับพระเคราะห์อื่น ๆ ที่เวียนซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา (อุตราวรรต) การนับว่าอะไรเป็น 3 อะไรเป็น 11 แก่ราหู(๘) ก็จะแตกต่างจากพระเคราะห์อื่น ๆ นั่นเอง
ซึ่งการที่นับดาวจันทร์(๒) ว่าเป็น 11 แก่ราหู(๘) นั้น จะต้องนับเวียนซ้ายจากราหู(๘) ไป 3 ราศี ถึงจะถูกต้อง (ไม่ใช่เวียนขวา)
ตัวอย่างเช่น มีราหู(๘) อยู่ราศีกรกฎ และมีดาวจันทร์(๒) อยู่ราศีกันย์ ตามรูปที่แสดงประกอบ เรียกว่า "จันทร์เป็นสิบเอ็ดแก่ราหู" และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "จันทร์ล่าราหู"
หรือถ้าจะไม่ให้งง เอาดาวจันทร์(๒) ตั้งเป็นเกณฑ์การนับก็ได้ กล่าวตามภาษาโหร ถ้าหากมีราหู(๘) โยคหลัง ดาวจันทร์(๒) อย่างนี้ "จันทร์เป็นสิบเอ็ดแก่ราหู" เหมือนกัน
แต่ถ้าราหู(๘) อยู่ในตำแหน่งโยคหน้า ดาวจันทร์(๒) อย่างนี้เรียกว่า "จันทร์เป็นสามแก่ราหู" หรือ "ราหูเป็นสามแก่ดาวจันทร์" ก็ได้
ลองอ่านทบทวนทำความเข้าใจกันดี ๆ นะครับ เดี๋ยวจะฉงนเอา
ข้อพิจารณา
"จันทร์ล่าราหู"
ถ้าจะให้อธิบายเห็นภาพกันง่าย ๆ คือ ดาวจันทร์(๒) โคจรหนีออกจากราหู(๘) นั่นเองครับ ในทางโหราศาสตร์ถือว่าเสียมากที่สุด เพราะดาวจันทร์(๒) ถูกราหู(๘) เข้าทำร้ายก่อนตีจากมา
อารมณ์เหมือนโดนทำร้ายร่างกายไปแล้ว และถูกข่มขู่อยู่ทางข้างหลัง ตามหลอกหลอน สร้างความกดดันทำให้จิตใจมัวหมอง
จึงเป็นเหตุที่ทำให้สภาพจิตใจมืดบอด และไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ในเชิงลบได้ง่าย เวลามีอะไรเข้ามากระทบจิตใจ ก็จะเกิดอาการวิตก และบั่นทอนกำลังใจของตนเองลงไปในทันที
แต่ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาด้วยว่า ดาวจันทร์(๒) มีมาตรฐานที่เข้มแข็งกว่าราหู(๘) และหรือเป็นเกณฑ์ เข้ากฎยกเว้นหรือไม่ ถ้าหากว่าดาวจันทร์(๒) มีความเข้งแข็งกว่า สภาพจิตใจก็จะดีกว่าความมืดมัว เช่น ดาวจันทร์(๒) เป็นเกษตรในราศีกรกฎ และราหู(๘) เป็นนิจในราศีพฤษภ อย่างนี้ถูกเบียฬเพียงเล็กน้อย
ยกเว้น มีมาตรฐานที่เข้มแข็งเหมือนกัน เช่น เป็นอุจจ์ เป็นราชาโชค กันทั้งคู่ ก็จะต้องไปชั่งน้ำหนักมาตรฐาน ตัดสินกันในดวงนวางศ์จักรอีกชั้น และถ้าหากว่า ดันมีมาตรฐานที่เข้มแข็งพอกันอีก อย่างนี้ดีร้ายกึ่งกัน ทำให้สภาพจิตใจเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ไม่ดี แบบคนผีเข้าผีออกครับ
"ราหูล่าจันทร์"
อย่างนี้ ราหู(๘) อยู่ข้างหน้าดาวจันทร์(๒) เปรียบเสมือนมองเห็นโจรกำลังเดินเข้ากรู่มาจะทำร้าย แต่สามารถหลบเลี่ยงไม่ปะทะ หรือป้องกันตนเองได้
ดังนั้น เมื่อเราเห็นภัยอันตรายต่าง ๆ อยู่ข้างหน้า ก็มีเวลาให้เตรียมตัวเตรียมใจ ตั้งสติก่อนสตาร์ท จากเรื่องใหญ่ ก็สามารถกลายเป็นเรื่องเล็กได้ และหรือเรื่องเล็ก ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ ไม่พิจารณาไตร่ตรองให้ดีก่อน
และเวลาไปเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไปเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่นมากเกินไป ก็จะทำให้ประมาทไปโดยไม่รู้ตัวอีกเช่นเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นญาติสนิท มิตรสหายที่คบค้ากันมานาน อย่างนี้ยิ่งประมาทได้ง่าย เช่น คบกันมา 20 - 30 ปีแล้ว ดันมาหักหลัง คดโกงกันไปเสียได้ บางรายเป็นญาติกัน มองหน้ากันไม่ติด ตัดขาดกันไปเลยก็มีให้เห็นกันมากรายแล้ว
เหล่านี้ คือ อิทธิพลของราหูล่าจันทร์ หรือ จันทร์เป็น 3 แก่ราหู ทั้งหมดทั้งสิ้น ภาษาโหรเรียกว่า "ราหูโยคหลังดาวจันทร์"
แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะแน่กว่ากัน หรือมีมาตรฐานที่เข้มแข็งกว่ากันทั้งในดวงราศีจักร และดวงนวางศ์จักร แบบเดียวกับจันทร์ล่าราหูทุกประการ ถ้าหากว่าดาวจันทร์(๒) แข็งกว่า มีมาตรฐานที่ดีกว่า ราหู(๘) ก็จะทำอะไรไม่ได้มากครับ
เคล็ดลับเพิ่มเติม
ถ้าจะให้เป็นภินทุบาทว์จริง ดังโคลงกลอนที่หลักครูท่านว่าเอาไว้ จะต้องอยู่ในข่ายของอุปราคาด้วย
กล่าวคือ ในระยะ 7 วัน หน้า-หลัง วันที่มีคราส ไม่ว่าจะเป็นสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคา โบราณาจารย์ท่านกำหนดห้ามทำการมงคลใด ๆ ทุกประเภท และเป็นระยะรอบวันที่ ดาวจันทร์(๒) จะโยคเป็น 3 หรือ 11 กับราหู(๘) จึงเป็นที่มาของภินทุบาทว์ดังกล่าวครับ
แต่โบราณาจารย์ท่านทำตากลเอาไว้ หรือบอกไม่หมด เพื่อให้ใช้สติปัญญาในการขบคิด และตีความเข้าใจกันเอาเอง
ดังนั้น จึงไม่ได้กล่าวถึง ดาวอาทิตย์(๑) ที่เป็นเจ้าการสำคัญของเรื่องนี้ครับ และยังมีอีกหลายโคลงบทประพันธ์ ที่ทำตากลบดบังเอาไว้ในทำนองเดียวกันเยอะมาก
ปล. ผมหวังว่าบทความนี้ พอจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน และไข้ข้อข้องใจในเชิงโหราสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาวิชาโหราศาสตร์ไทย หรือยังฉงนกันได้อยู่บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
"เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริง"
สวัสดีครับ.
Cr.ธนพงศ์ ศุภประเสริฐ (อ.ตากล)
อาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ไทยชั้นสูง
ราหูล่าจันทร์ - จันทร์ล่าราหู
เนื่องจากมีบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของผมที่เรียนกันอยู่ ได้สอบถามกันเข้ามาถึงเรื่องนี้ และผมยังไม่เคยได้เขียนบทความในเรื่องนี้ลงเพจไว้ด้วย
จึงได้หยิบยกมาเขียนบทความอัพเดทให้ท่านผู้ติดตามเพจ ได้อ่านได้ทราบกันอีกเช่นเคยครับ คงจะมีหลายท่านเลย ที่ยังฉงนและสงสัยอยู่เป็นแน่ แต่ผมจะเขียนตามหลักทัศนะส่วนตัวของผมเองเป็นสำคัญ อาจจะแตกต่างไปจากหลักของท่านอื่น ๆ ก็ได้
และ "ภินทุบาทว์" ที่ว่านี้ ถือเป็นเรื่องเบสิกพื้นฐานที่ผู้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ไทย จะต้องทราบกันเป็นอย่างดี ดังหลักครูที่ว่า.-
"เสาร์เพ่งเล็งลัคน์ แล้วอสุรา
ภุมเมนทร์อัษฎา ว่าไว้
จันทร์เป็นสิบเอ็ด แก่ราหูเล่านา
อาภัพอัปภาคย์ โทษแท้ประเหินหิน"
คำว่า "ภินทุ" ภาษาบาลี แปลว่า "แตกหัก" คนละอย่างกับคำว่า "พินทุ" ที่แปลว่า "จุด" บางท่านสับสน นึกว่าเป็นคำเดียวกัน
ส่วนคำว่า "บาทว์" ย่อมาจากคำว่า "อุบาทว์" ดี ๆ นั่นเองครับ
เมื่อนำคำว่า "ภินทุ+อุบาว์" มาสนธิรวมความกันแล้ว "ภินทุบาทว์" จึงหมายถึง ดวงช้ำ ดวงรั่ว ดวงหัก หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "ดวงแตก" ก็คือ "ภินทุ" ตัวนี้
แต่จริง ๆ แล้ว การที่ไปพิจารณาว่าดวงแตก มันคงจะฟังดูเลวร้ายมากจนเกินไปนัก ทำให้ผู้รับฟังแทบหงายหลังตกเก้าอี้ อุทานว่า... ดวงข้าพเจ้าแตกเลยหรือ !! ว่าไปนั่น... อย่างกับว่าดวงชะตาแตกไปเสียแล้ว และไม่มีอะไรดีเลย อย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง
เพราะดวงชะตาของคนเรา มันไม่ได้แตกกันง่าย ๆ หรอกครับ และไม่มีใครที่ดีทุกอย่าง 100% หรือเสียทุกอย่างชนิดไม่มีอะไรดีเลย
ซึ่งตามหลักของธรรมชาติแล้ว ทุกสิ่งอย่าง "มีดีและมีเสีย" ปะปนกันไปเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งใดที่ดีเพียงแต่อย่างเดียว หรือเสียเพียงแต่อย่างเดียวเท่านั้น มันอยู่ที่ว่าจะดีมากกว่าเสีย หรือเสียมากกว่าดีก็เท่านั้นครับ และถ้าดี ดีอย่างไร เสีย เสียอย่างไร ต้องแยกกัน
กล่าวคือ ถ้าหากพื้นฐานดวงชะตาส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นภินทุบาทว์นั้นดี ก็จะต้องดีในเรื่องนั้น ๆ แต่จะมีผลเสียเฉพาะส่วนที่เป็นภินทุบาทว์ หรือจะเรียกว่า มีตำหนิ ถูกแต้มสีไว้ในส่วนนั้นก็ได้ ไม่ผิด
#ในทัศนะของผม
เรามาทำความเข้าใจกันก่อน ในความหมายของคำว่า "ล่า" ซึ่งมีความหมายอยู่ด้วยกัน 2 แนว คือ การถอย หรือการหนีอย่างหนึ่ง และการแสวงหา หรือติดตามอีกอย่างหนึ่ง แต่ล่าในที่นี้ ผมเข้าใจว่าเป็นการล่าถอย หรือ "หนี" เสียมากกว่า
ทั้งนี้ ท่านจะต้องทราบด้วยว่า ราหู(๘) จะโคจรย้อนจักรเวียนขวา ตามเข็มนาฬิกา (ทักษิณาวรรต) ไม่เหมือนกับพระเคราะห์อื่น ๆ ที่เวียนซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา (อุตราวรรต) การนับว่าอะไรเป็น 3 อะไรเป็น 11 แก่ราหู(๘) ก็จะแตกต่างจากพระเคราะห์อื่น ๆ นั่นเอง
ซึ่งการที่นับดาวจันทร์(๒) ว่าเป็น 11 แก่ราหู(๘) นั้น จะต้องนับเวียนซ้ายจากราหู(๘) ไป 3 ราศี ถึงจะถูกต้อง (ไม่ใช่เวียนขวา)
ตัวอย่างเช่น มีราหู(๘) อยู่ราศีกรกฎ และมีดาวจันทร์(๒) อยู่ราศีกันย์ ตามรูปที่แสดงประกอบ เรียกว่า "จันทร์เป็นสิบเอ็ดแก่ราหู" และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "จันทร์ล่าราหู"
หรือถ้าจะไม่ให้งง เอาดาวจันทร์(๒) ตั้งเป็นเกณฑ์การนับก็ได้ กล่าวตามภาษาโหร ถ้าหากมีราหู(๘) โยคหลัง ดาวจันทร์(๒) อย่างนี้ "จันทร์เป็นสิบเอ็ดแก่ราหู" เหมือนกัน
แต่ถ้าราหู(๘) อยู่ในตำแหน่งโยคหน้า ดาวจันทร์(๒) อย่างนี้เรียกว่า "จันทร์เป็นสามแก่ราหู" หรือ "ราหูเป็นสามแก่ดาวจันทร์" ก็ได้
ลองอ่านทบทวนทำความเข้าใจกันดี ๆ นะครับ เดี๋ยวจะฉงนเอา
ข้อพิจารณา
"จันทร์ล่าราหู"
ถ้าจะให้อธิบายเห็นภาพกันง่าย ๆ คือ ดาวจันทร์(๒) โคจรหนีออกจากราหู(๘) นั่นเองครับ ในทางโหราศาสตร์ถือว่าเสียมากที่สุด เพราะดาวจันทร์(๒) ถูกราหู(๘) เข้าทำร้ายก่อนตีจากมา
อารมณ์เหมือนโดนทำร้ายร่างกายไปแล้ว และถูกข่มขู่อยู่ทางข้างหลัง ตามหลอกหลอน สร้างความกดดันทำให้จิตใจมัวหมอง
จึงเป็นเหตุที่ทำให้สภาพจิตใจมืดบอด และไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ในเชิงลบได้ง่าย เวลามีอะไรเข้ามากระทบจิตใจ ก็จะเกิดอาการวิตก และบั่นทอนกำลังใจของตนเองลงไปในทันที
แต่ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาด้วยว่า ดาวจันทร์(๒) มีมาตรฐานที่เข้มแข็งกว่าราหู(๘) และหรือเป็นเกณฑ์ เข้ากฎยกเว้นหรือไม่ ถ้าหากว่าดาวจันทร์(๒) มีความเข้งแข็งกว่า สภาพจิตใจก็จะดีกว่าความมืดมัว เช่น ดาวจันทร์(๒) เป็นเกษตรในราศีกรกฎ และราหู(๘) เป็นนิจในราศีพฤษภ อย่างนี้ถูกเบียฬเพียงเล็กน้อย
ยกเว้น มีมาตรฐานที่เข้มแข็งเหมือนกัน เช่น เป็นอุจจ์ เป็นราชาโชค กันทั้งคู่ ก็จะต้องไปชั่งน้ำหนักมาตรฐาน ตัดสินกันในดวงนวางศ์จักรอีกชั้น และถ้าหากว่า ดันมีมาตรฐานที่เข้มแข็งพอกันอีก อย่างนี้ดีร้ายกึ่งกัน ทำให้สภาพจิตใจเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ไม่ดี แบบคนผีเข้าผีออกครับ
"ราหูล่าจันทร์"
อย่างนี้ ราหู(๘) อยู่ข้างหน้าดาวจันทร์(๒) เปรียบเสมือนมองเห็นโจรกำลังเดินเข้ากรู่มาจะทำร้าย แต่สามารถหลบเลี่ยงไม่ปะทะ หรือป้องกันตนเองได้
ดังนั้น เมื่อเราเห็นภัยอันตรายต่าง ๆ อยู่ข้างหน้า ก็มีเวลาให้เตรียมตัวเตรียมใจ ตั้งสติก่อนสตาร์ท จากเรื่องใหญ่ ก็สามารถกลายเป็นเรื่องเล็กได้ และหรือเรื่องเล็ก ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ ไม่พิจารณาไตร่ตรองให้ดีก่อน
และเวลาไปเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไปเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่นมากเกินไป ก็จะทำให้ประมาทไปโดยไม่รู้ตัวอีกเช่นเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นญาติสนิท มิตรสหายที่คบค้ากันมานาน อย่างนี้ยิ่งประมาทได้ง่าย เช่น คบกันมา 20 - 30 ปีแล้ว ดันมาหักหลัง คดโกงกันไปเสียได้ บางรายเป็นญาติกัน มองหน้ากันไม่ติด ตัดขาดกันไปเลยก็มีให้เห็นกันมากรายแล้ว
เหล่านี้ คือ อิทธิพลของราหูล่าจันทร์ หรือ จันทร์เป็น 3 แก่ราหู ทั้งหมดทั้งสิ้น ภาษาโหรเรียกว่า "ราหูโยคหลังดาวจันทร์"
แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะแน่กว่ากัน หรือมีมาตรฐานที่เข้มแข็งกว่ากันทั้งในดวงราศีจักร และดวงนวางศ์จักร แบบเดียวกับจันทร์ล่าราหูทุกประการ ถ้าหากว่าดาวจันทร์(๒) แข็งกว่า มีมาตรฐานที่ดีกว่า ราหู(๘) ก็จะทำอะไรไม่ได้มากครับ
เคล็ดลับเพิ่มเติม
ถ้าจะให้เป็นภินทุบาทว์จริง ดังโคลงกลอนที่หลักครูท่านว่าเอาไว้ จะต้องอยู่ในข่ายของอุปราคาด้วย
กล่าวคือ ในระยะ 7 วัน หน้า-หลัง วันที่มีคราส ไม่ว่าจะเป็นสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคา โบราณาจารย์ท่านกำหนดห้ามทำการมงคลใด ๆ ทุกประเภท และเป็นระยะรอบวันที่ ดาวจันทร์(๒) จะโยคเป็น 3 หรือ 11 กับราหู(๘) จึงเป็นที่มาของภินทุบาทว์ดังกล่าวครับ
แต่โบราณาจารย์ท่านทำตากลเอาไว้ หรือบอกไม่หมด เพื่อให้ใช้สติปัญญาในการขบคิด และตีความเข้าใจกันเอาเอง
ดังนั้น จึงไม่ได้กล่าวถึง ดาวอาทิตย์(๑) ที่เป็นเจ้าการสำคัญของเรื่องนี้ครับ และยังมีอีกหลายโคลงบทประพันธ์ ที่ทำตากลบดบังเอาไว้ในทำนองเดียวกันเยอะมาก
ปล. ผมหวังว่าบทความนี้ พอจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน และไข้ข้อข้องใจในเชิงโหราสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาวิชาโหราศาสตร์ไทย หรือยังฉงนกันได้อยู่บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
"เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริง"
สวัสดีครับ.
Cr.ธนพงศ์ ศุภประเสริฐ (อ.ตากล)
อาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ไทยชั้นสูง