มีงานวิจัยเกี่ยวกับการกินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป(ไส้กรอก เบค่อน เนื้อรมควันต่างๆ) ของทางอังกฤษ ตีพิมพ์ใน Elsevier และ European journal of cancer เมื่อปลายปีที่แล้ว ชื่อว่า
Red and processed meat consumption and breast cancer
สรุปย่อๆ มีความเชื่อว่าการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปอาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมเนื่องจากธาตุเหล็กในเนื้อแดง การฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สัตว์ และการเกิดสารก่อมะเร็งจากกระบวนการปรุงอาหาร เค้าเลยทำวิจัยแบบ Cohort(เป็นการเก็บข้อมูลประชากรไปข้างหน้า การวิจัยแบบนี้จะค่อนข้างน่าเชื่อถือเวลาหาสาเหตุของโรคต่างๆ) โดยรวบรวมเก็บข้อมูลผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ติดตามไป 7 ปี ดูการเกิดมะเร็งเต้านม และนำตัวแปรด้านอาหารมาวิเคราะห์ทางสถิติ นอกจากนั้นยังหางานวิจัยอื่นๆที่คล้ายคลึงกันมาวิเคราะห์ร่วมด้วย
ผลพบว่าคนที่กินเนื้อแปรรูปมาก (ตัดที่มากกว่า 9 g ต่อวัน) มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ากลุ่มที่กินน้อยกว่า 1.21 เท่า เมื่อรวมกับการศึกษาอื่นๆ พบว่าผู้หญิงที่กินเนื้อแปรรูป มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ากลุ่มอื่น 1.06 เท่า โดยความเสี่ยงนี้พบในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว ส่วนการกินเนื้อแดงไม่ส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
สถาณการณ์มะเร็งเต้านมในไทย
ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมจัดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 จากมะเร็งของผู้หญิง โดยมีอัตราป่วยประมาณ 30 รายต่อประชากร แสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม ประมาณ 10 รายต่อวัน
ในอดีต มะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงคือมะเร็งปากมดลูก แต่หลังจากที่เราค้นพบสาเหตุ(จากการติดเชื้อไวรัส HPV) และรณรงค์การตรวจภายใน(สาวๆก็ไปฉีดวัคซีนและตรวจภายในกันนะ) มะเร็งปากมดลูกก็ลดลง และมีมะเร็งเต้านมแซงหน้าขึ้นมาแทน
ภาพจาก
https://theleader.asia/2017/07/5147
ทั่วโลกล่ะ
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่พบมากเป็นอันดับ 1 ทั่วทั้งโลก โดยอัตราเกิดที่ประเทศทางฝั่งยุโรปและอเมริกา จะมากกว่ากลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และจะตรวจพบในระยะต้นๆมากกว่า ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจะตรวจพบในระยะที่ Advance มากกว่า อุบัติการณ์สูงสุดที่เบลเยี่ยม คือ 111 รายต่อประชากร 100000 คน
เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาตรวจเจอช้า อัตราตายจากมะเร็งเต้านมจะสูงมากกว่า
แต่เมื่อเทียบกับทั้งโลกแล้ว ไทยเรายังมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมที่ต่ำอยู่นะ เทียบกับฝั่งยุโรปและอเมริกา (ผิวขาว) ที่ตัวเลขอยู่ประมาณ 90 รายในประชากร 100000คน
ความอ้วน
มะเร็งเต้านมนั้นถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเซลล์ไขมันเราสามารถสังเคราะห์เอสโตรเจนได้ แต่โดยมากจะนับเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ารังไข่ อย่างไรก็ตามหากเซลล์ไขมันมีปริมาณมาก ก็อาจผลิตเอสโตรเจนมากจนมีนัยยะสำคัญได้โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
(ผู้ชายอ้วนก็มีเอสโตรเจนจากไขมันได้นะเออ อ้อ ผู้ชายก็เจอมะเร็งเต้านมได้นะ ประมาณ 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด) การถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนสูง/เป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ (รวมถึงมะเร็งที่โพรงมดลูกด้วย)
อาหารการกิน
มีการศึกษาว่าการกินอาหารที่มีน้ำตาลมากส่งผลให้มะเร็งเต้านมโตเร็วขึ้น และการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง(Saturated fat)อาจจะส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ในบางเชื้อชาติ
พบว่าในเชื้อชาติที่พบมะเร็งเต้านมน้อย (แอฟริกันและเอเชีย) มีการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และอาหารแปรรูปน้อยกว่าอาหารทั่วไปของประเทศทางตะวันตกที่จะมีน้ำตาล ไขมันมาก (ดั้งเดิมอาจจะเป็นเพราะภูมิอากาศที่ทำให้ต้องกินอาหารพลังงานสูง)
ฮอร์โมน
พบว่าผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุเยอะ หรือไม่เคยมีลูก จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงในระหว่างมีรอบเดือน การมีลูกและให้นมลูกทำให้ไม่มีรอบเดือน จึงเป็นปัจจัยป้องกัน
ยาคุมกำเนิดชนิดที่ฮอร์โมนสูงก็จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน
ไส้กรอกเป็นอีกหนึ่งชนิดของเนื้อแปรรูป
กลับมาที่งานวิจัยของเรา
การวิจัยนี้ทำในประเทศอังกฤษ ซึ่งประชากรของเค้าเป็นมะเร็งเต้านมเยอะกว่าไทย โดยการเก็บข้อมูลของประชากรที่เป็นผู้หญิง 270,000 คนแล้วติดตามต่อไปเพื่อดูการเกิดมะเร็งเต้านม โดยมีข้อมูลพื้นฐานต่างๆรวมไปถึงลักษณะการรับประทานอาหาร ความถี่ในการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ เน้นที่เนื้อแดงและเนื้อแปรรูป โดยให้ประเมินเป็นสัดส่วนของปริมาณอาหารในแต่ละวัน
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลก็มาใช้สถิติในการคำนวณความเสี่ยงว่าตัวแปรต่างๆมีผลยังไงกับมะเร็งเต้านม โดยจะตัดตัวแปรเรื่องอื่น เช่นเศรษฐานะ ลักษณะการใช้ชีวิต ความอ้วน ออกไป
นอกจากนี้ก็ได้ทำการหางานวิจัยอื่นๆที่คล้ายกันมาร่วมวิเคราะห์ในงานวิจัยนี้ด้วย
ผลงานวิจัย
กลุ่มที่กินเนื้อแปรรูป (เค้าแบ่งเป็น Low < 4 g/วัน Moderate 4-9 g/วัน High > 9 g/วัน)ตามปริมาณที่กิน ) มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นจากคนที่ไม่กิน(Hazard ratio) 1.15 1.19 และ 1.21 เท่า ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่กินผักมาก จะสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมได้เล็กน้อย
พอจำแนกกลุ่มประชากรที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว พบว่า ในทางสถิติ กลุ่มที่ยังมีประจำเดือนอยู่จะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มเฉพาะกลุ่มที่กินเนื้อแปรรูปมาก ( >9g/วัน)แต่ในกลุ่มผู้หญิงที่หมดประจำเดือน กลุ่มที่กินเนื้อแปรรูปจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยถ้ากินมากก็จะเสี่ยงมากขึ้น
เสี่ยงมากแค่ไหน จากงานวิจัยพบว่า ถ้าไม่กินเนื้อแปรรูป(และกินผักเยอะ)จะเป็นมะเร็งเต้านม 2.01 คนใน 1000 คน ต่อปี แต่ถ้ากินเนื้อแปรรูป(และกินผักเยอะ) จะเป็นมะเร็งเต้านม 2.35 คนใน 1000 คนต่อปี ก็แปลง่ายๆว่า ถ้าเราไม่กินเนื้อแปรรูป จะลดคนที่เป็นมะเร็งเต้านมได้ 34 คนต่อประชากร 100,000 คน ต่อปี (ในประชากรอังกฤษนะ)
แต่ในกลุ่มที่กินเนื้อแดง ไม่พบว่าส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
โดยเชื่อว่าการแปรรูปเนื้อ ทำให้มีสารก่อมะเร็งเกิดขึ้น(อันที่เคยเขียนถึง) คือ heterocyclic amines และ polycyclic aromatic hydrocarbons โดยเฉพาะการปรุงโดยใช้ความร้อนสูง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าในกลุ่มที่ชอบกินอาหารประเภทเนื้อรมควัน มีอัตราตายจากมะเร็งเต้านมสูง
นอกจากนี้ผู้เขียนได้รวบรวมงานวิจัยอื่นมาสิเคราะห์ร่ยมกัน ทำเป็น Meta-analysis เพื่อดูผล ซึ่งได้ผลลัพท์ออกมาคล้ายๆกัน
สรุปจากงานวิจัยนี้ คือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินเนื้อแปรรูป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
แล้วเราจะเชื่อได้รึเปล่า
1. การวิจัยเป็นการสำรวจลักษณะอาหาร โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบเอง ซึ่งอาจมีการผิดพลาดเรื่องข้อมูลได้ (เค้าบอกว่าถ้าสำรวจเป็น อาหารทีกินเมื่อ 24 ชม ที่แล้วจะถูกต้องกว่า แต่มันจะไม่ใช่อาหารเฉลี่ยที่กินตลอดปี)
2. ลักษณะประชากรไม่ใช่ General population ซึ่งเค้าพยายามแก้ด้วยการรีวิวงานวิจัยอื่นเพิ่ม
3. สำหรับไทย มีความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ อาหารการกิน และอุบัติการของมะเร็งเต้านมที่น้อยกว่าอังกฤษ อาจจะต้องหางานวิจัยในชนชาติใกล้เคียง หรือรอประเทศเราทำงานวิจัยเอง (เหมือนเรื่องเซ็กซ์ทอย ถถถถถ)
4. คิดว่าปริมาณ cut point ในงานวิจัยนี้น้อยมากเลยนะ 9 g เนี่ย
โดยส่วนตัวที่สังเกตเอง เราพบว่าผู้ป่วยที่มาผ่าตัดมะเร็งเต้านมมีอายุน้อยลง บางคนเป็นเร็วตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปี และมะเร็งมีลักษณะ โตเร็ว ดู aggressive มากขึ้น ซึ่งปกติสอนกันว่ามักเป็นในผู้หญิงอายุ 50 ปี เราจึงคิดว่าสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของเราส่งผลกับการเกิดมะเร็งจริงๆ
งานวิจัย
Red and processed meat consumption and breast cancer: UK Biobank cohort study and meta-analysis
Jana J. Anderson a, Narisa D.M. Darwis a, Daniel F. Mackay a, Carlos A. Celis-Morales b, Donald M. Lyall a, Naveed Sattar b, Jason M.R. Gill b, Jill P. Pell a,*
ข้อมูลสถิติมะเร็งเต้านมจาก WHO และ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute: NCI)
ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ
ฝากวิธีสังเกตดูมะเร็งเต้านมเบื้อต้นด้วยตัวเองไว้ง่ายๆ
https://www.yamu.lk/blog/breast-cancer-srilanka
ใครสนใจอยากเข้าไปพูดคุยเรื่องอาหารการกิน และสุขภาพ แวะมาที่เพจเราได้นะคะ
https://www.facebook.com/kangsohungry/
สวัสดีค่ะ
กินเบค่อนทำให้เป็นมะเร็งเต้านมจริงไหม
สรุปย่อๆ มีความเชื่อว่าการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปอาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมเนื่องจากธาตุเหล็กในเนื้อแดง การฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สัตว์ และการเกิดสารก่อมะเร็งจากกระบวนการปรุงอาหาร เค้าเลยทำวิจัยแบบ Cohort(เป็นการเก็บข้อมูลประชากรไปข้างหน้า การวิจัยแบบนี้จะค่อนข้างน่าเชื่อถือเวลาหาสาเหตุของโรคต่างๆ) โดยรวบรวมเก็บข้อมูลผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ติดตามไป 7 ปี ดูการเกิดมะเร็งเต้านม และนำตัวแปรด้านอาหารมาวิเคราะห์ทางสถิติ นอกจากนั้นยังหางานวิจัยอื่นๆที่คล้ายคลึงกันมาวิเคราะห์ร่วมด้วย
ผลพบว่าคนที่กินเนื้อแปรรูปมาก (ตัดที่มากกว่า 9 g ต่อวัน) มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ากลุ่มที่กินน้อยกว่า 1.21 เท่า เมื่อรวมกับการศึกษาอื่นๆ พบว่าผู้หญิงที่กินเนื้อแปรรูป มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ากลุ่มอื่น 1.06 เท่า โดยความเสี่ยงนี้พบในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว ส่วนการกินเนื้อแดงไม่ส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
สถาณการณ์มะเร็งเต้านมในไทย
ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมจัดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 จากมะเร็งของผู้หญิง โดยมีอัตราป่วยประมาณ 30 รายต่อประชากร แสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม ประมาณ 10 รายต่อวัน
ในอดีต มะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงคือมะเร็งปากมดลูก แต่หลังจากที่เราค้นพบสาเหตุ(จากการติดเชื้อไวรัส HPV) และรณรงค์การตรวจภายใน(สาวๆก็ไปฉีดวัคซีนและตรวจภายในกันนะ) มะเร็งปากมดลูกก็ลดลง และมีมะเร็งเต้านมแซงหน้าขึ้นมาแทน
ภาพจาก https://theleader.asia/2017/07/5147
ทั่วโลกล่ะ
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่พบมากเป็นอันดับ 1 ทั่วทั้งโลก โดยอัตราเกิดที่ประเทศทางฝั่งยุโรปและอเมริกา จะมากกว่ากลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และจะตรวจพบในระยะต้นๆมากกว่า ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจะตรวจพบในระยะที่ Advance มากกว่า อุบัติการณ์สูงสุดที่เบลเยี่ยม คือ 111 รายต่อประชากร 100000 คน
เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาตรวจเจอช้า อัตราตายจากมะเร็งเต้านมจะสูงมากกว่า
แต่เมื่อเทียบกับทั้งโลกแล้ว ไทยเรายังมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมที่ต่ำอยู่นะ เทียบกับฝั่งยุโรปและอเมริกา (ผิวขาว) ที่ตัวเลขอยู่ประมาณ 90 รายในประชากร 100000คน
ความอ้วน
มะเร็งเต้านมนั้นถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเซลล์ไขมันเราสามารถสังเคราะห์เอสโตรเจนได้ แต่โดยมากจะนับเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ารังไข่ อย่างไรก็ตามหากเซลล์ไขมันมีปริมาณมาก ก็อาจผลิตเอสโตรเจนมากจนมีนัยยะสำคัญได้โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
(ผู้ชายอ้วนก็มีเอสโตรเจนจากไขมันได้นะเออ อ้อ ผู้ชายก็เจอมะเร็งเต้านมได้นะ ประมาณ 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด) การถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนสูง/เป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ (รวมถึงมะเร็งที่โพรงมดลูกด้วย)
อาหารการกิน
มีการศึกษาว่าการกินอาหารที่มีน้ำตาลมากส่งผลให้มะเร็งเต้านมโตเร็วขึ้น และการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง(Saturated fat)อาจจะส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ในบางเชื้อชาติ
พบว่าในเชื้อชาติที่พบมะเร็งเต้านมน้อย (แอฟริกันและเอเชีย) มีการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และอาหารแปรรูปน้อยกว่าอาหารทั่วไปของประเทศทางตะวันตกที่จะมีน้ำตาล ไขมันมาก (ดั้งเดิมอาจจะเป็นเพราะภูมิอากาศที่ทำให้ต้องกินอาหารพลังงานสูง)
ฮอร์โมน
พบว่าผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุเยอะ หรือไม่เคยมีลูก จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงในระหว่างมีรอบเดือน การมีลูกและให้นมลูกทำให้ไม่มีรอบเดือน จึงเป็นปัจจัยป้องกัน
ยาคุมกำเนิดชนิดที่ฮอร์โมนสูงก็จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน
กลับมาที่งานวิจัยของเรา
การวิจัยนี้ทำในประเทศอังกฤษ ซึ่งประชากรของเค้าเป็นมะเร็งเต้านมเยอะกว่าไทย โดยการเก็บข้อมูลของประชากรที่เป็นผู้หญิง 270,000 คนแล้วติดตามต่อไปเพื่อดูการเกิดมะเร็งเต้านม โดยมีข้อมูลพื้นฐานต่างๆรวมไปถึงลักษณะการรับประทานอาหาร ความถี่ในการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ เน้นที่เนื้อแดงและเนื้อแปรรูป โดยให้ประเมินเป็นสัดส่วนของปริมาณอาหารในแต่ละวัน
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลก็มาใช้สถิติในการคำนวณความเสี่ยงว่าตัวแปรต่างๆมีผลยังไงกับมะเร็งเต้านม โดยจะตัดตัวแปรเรื่องอื่น เช่นเศรษฐานะ ลักษณะการใช้ชีวิต ความอ้วน ออกไป
นอกจากนี้ก็ได้ทำการหางานวิจัยอื่นๆที่คล้ายกันมาร่วมวิเคราะห์ในงานวิจัยนี้ด้วย
ผลงานวิจัย
กลุ่มที่กินเนื้อแปรรูป (เค้าแบ่งเป็น Low < 4 g/วัน Moderate 4-9 g/วัน High > 9 g/วัน)ตามปริมาณที่กิน ) มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นจากคนที่ไม่กิน(Hazard ratio) 1.15 1.19 และ 1.21 เท่า ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่กินผักมาก จะสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมได้เล็กน้อย
พอจำแนกกลุ่มประชากรที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว พบว่า ในทางสถิติ กลุ่มที่ยังมีประจำเดือนอยู่จะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มเฉพาะกลุ่มที่กินเนื้อแปรรูปมาก ( >9g/วัน)แต่ในกลุ่มผู้หญิงที่หมดประจำเดือน กลุ่มที่กินเนื้อแปรรูปจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยถ้ากินมากก็จะเสี่ยงมากขึ้น
เสี่ยงมากแค่ไหน จากงานวิจัยพบว่า ถ้าไม่กินเนื้อแปรรูป(และกินผักเยอะ)จะเป็นมะเร็งเต้านม 2.01 คนใน 1000 คน ต่อปี แต่ถ้ากินเนื้อแปรรูป(และกินผักเยอะ) จะเป็นมะเร็งเต้านม 2.35 คนใน 1000 คนต่อปี ก็แปลง่ายๆว่า ถ้าเราไม่กินเนื้อแปรรูป จะลดคนที่เป็นมะเร็งเต้านมได้ 34 คนต่อประชากร 100,000 คน ต่อปี (ในประชากรอังกฤษนะ)
แต่ในกลุ่มที่กินเนื้อแดง ไม่พบว่าส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
โดยเชื่อว่าการแปรรูปเนื้อ ทำให้มีสารก่อมะเร็งเกิดขึ้น(อันที่เคยเขียนถึง) คือ heterocyclic amines และ polycyclic aromatic hydrocarbons โดยเฉพาะการปรุงโดยใช้ความร้อนสูง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าในกลุ่มที่ชอบกินอาหารประเภทเนื้อรมควัน มีอัตราตายจากมะเร็งเต้านมสูง
นอกจากนี้ผู้เขียนได้รวบรวมงานวิจัยอื่นมาสิเคราะห์ร่ยมกัน ทำเป็น Meta-analysis เพื่อดูผล ซึ่งได้ผลลัพท์ออกมาคล้ายๆกัน
สรุปจากงานวิจัยนี้ คือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินเนื้อแปรรูป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
แล้วเราจะเชื่อได้รึเปล่า
1. การวิจัยเป็นการสำรวจลักษณะอาหาร โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบเอง ซึ่งอาจมีการผิดพลาดเรื่องข้อมูลได้ (เค้าบอกว่าถ้าสำรวจเป็น อาหารทีกินเมื่อ 24 ชม ที่แล้วจะถูกต้องกว่า แต่มันจะไม่ใช่อาหารเฉลี่ยที่กินตลอดปี)
2. ลักษณะประชากรไม่ใช่ General population ซึ่งเค้าพยายามแก้ด้วยการรีวิวงานวิจัยอื่นเพิ่ม
3. สำหรับไทย มีความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ อาหารการกิน และอุบัติการของมะเร็งเต้านมที่น้อยกว่าอังกฤษ อาจจะต้องหางานวิจัยในชนชาติใกล้เคียง หรือรอประเทศเราทำงานวิจัยเอง (เหมือนเรื่องเซ็กซ์ทอย ถถถถถ)
4. คิดว่าปริมาณ cut point ในงานวิจัยนี้น้อยมากเลยนะ 9 g เนี่ย
โดยส่วนตัวที่สังเกตเอง เราพบว่าผู้ป่วยที่มาผ่าตัดมะเร็งเต้านมมีอายุน้อยลง บางคนเป็นเร็วตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปี และมะเร็งมีลักษณะ โตเร็ว ดู aggressive มากขึ้น ซึ่งปกติสอนกันว่ามักเป็นในผู้หญิงอายุ 50 ปี เราจึงคิดว่าสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของเราส่งผลกับการเกิดมะเร็งจริงๆ
งานวิจัย
Red and processed meat consumption and breast cancer: UK Biobank cohort study and meta-analysis
Jana J. Anderson a, Narisa D.M. Darwis a, Daniel F. Mackay a, Carlos A. Celis-Morales b, Donald M. Lyall a, Naveed Sattar b, Jason M.R. Gill b, Jill P. Pell a,*
ข้อมูลสถิติมะเร็งเต้านมจาก WHO และ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute: NCI)
ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ
ฝากวิธีสังเกตดูมะเร็งเต้านมเบื้อต้นด้วยตัวเองไว้ง่ายๆ
https://www.yamu.lk/blog/breast-cancer-srilanka
ใครสนใจอยากเข้าไปพูดคุยเรื่องอาหารการกิน และสุขภาพ แวะมาที่เพจเราได้นะคะ
https://www.facebook.com/kangsohungry/
สวัสดีค่ะ