.
บทที่ ๒๑ พระศรีศรัทธา
แม้จะเป็นยามบ่าย แต่อากาศบนยอดเขาหลวงยังคงชื้นเย็น ผสมด้วยไอหมอกที่เลื่อนลอยอ้อยอิ่งอยู่รอบบริเวณ
เขาหลวงแห่งนี้คือแหล่งน้ำใหญ่ของชาวสุโขทัย ยามฤดูฝนน้ำจะหลากไหลมหาศาล ผสานกับน้ำป่าจากแนวเขาทางทิศตะวันตกเข้าท่วมตัวเมือง ด้วยกรุงสุโขทัยตั้งอยู่บนพื้นที่ลาดเอียงในแนวตะวันตกเฉียงใต้สู่ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อแรกสร้างสุโขทัยขึ้นเป็นปึกแผ่นองค์พ่อขุนรามคำแหงจึงโปรดให้สร้างทำนบกั้นน้ำหรือที่ชาวเมืองเรียกกันว่า “สรีดภงส์” ขนาดใหญ่ ยาวราว ๓๐ เส้น (๑,๒๐๐ เมตร) ปิดระหว่างช่องเขาโคกมนและเขากุดยายชี
นอกจากนั้นยังสร้างคันดินสูงเชื่อมต่ออีกด้านของเขาโคกมนเป็นแนวยาวขึ้นไปทางเหนือราว ๑๒๕ เส้น (๕ กิโลเมตร) จนถึงบริเวณใกล้มุมกำแพงเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ แต่นั้นมากรุงสุโขทัยจึงอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ไม่มีน้ำท่วมในหน้าฝนและไม่ขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
“ในเมื่อเจ้าอยากรู้เรื่ององค์ตุมพะทะนานทองที่ขึ้นมาประดิษฐานอยู่สุโขทัย เราก็จะเล่าให้เจ้าฟังเอง จะได้ไม่ต้องไปเที่ยวสอบถามเอาจากใคร เรื่องนี้เป็นเรื่องนมนานและไม่มีใครอยากกล่าวถึงนักหรอก”
ปู่หลวงกล่าวขึ้นหลังจากชวนแสงพรายให้ไปหลบเงาแดดและไอฝนอยู่ใต้พุ่มไม้ใหญ่
“ถ้าปู่หลวงมีสิ่งใดอึดอัดใจ ไม่ต้องเล่าให้ข้าพเจ้าฟังก็ได้ขอรับ”
ปู่หลวงโบกมือเป็นนัย มิให้ชายหนุ่มกล่าวกระไร พลางสูดลมหายใจยาวประหนึ่งตระเตรียมเดินทางกลับสู่อดีตอันยาวไกล
“ครั้งเมื่อสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นเจ้า อำนาจบารมีของพระองค์แผ่ไพศาล ทางทิศตะวันตกจรดขอบมหาสมุทรของฝั่งพะโคและเมาะลำเลิงของพระเจ้าฟ้ารั่ว ทางใต้ลงไปจรดปลายสุดแหลมสุวรรณภูมิของพระเจ้านครศรีธรรมราช ราชาทุกแว่นแคว้นต่างเข้ามาสวามิภักดิ์ยอมอยู่ในพระราชอำนาจ แม้พระองค์จะทรงปรีชาชาญในการศึกแต่พระราชอำนาจหาได้มาเพราะการรบพุ่งไม่... เป็นเพราะทศพิธราชธรรมและความรุ่งเรืองทางการค้าที่นำพาทุกเขตเมืองมารวมกัน...
ครั้งนั้นเมืองนครศรีธรรมราชรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากลังกา จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว พ่อขุนรามคำแหงทรงมีพระราชดำริจะสืบสายเนื้อแท้แห่งพระธรรมและพระวินัย จึงโปรดให้แต่งคณะผู้แทนพระองค์ลงไปยังเมืองนครฯ เพื่อขออาราธนาพระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกขึ้นมาเผยแผ่พระศาสนายังกรุงสุโขทัย”
กล่าวถึงตอนนี้พลันทอดถอนใจ ผิดกับเมื่อตอนเริ่มเรื่องที่ปู่หลวงเล่าด้วยความภาคภูมิใจ... จากนั้นจึงเล่าต่อไปว่า
“ในคณะผู้แทนขององค์พ่อขุนมีทั้งเสนาบดีผู้ใหญ่ ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์และนักบวชพราหมณ์... มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ “วัชรพราหมณ์” คิดเอาว่า หากพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังการุ่งเรืองขึ้นในสุโขทัย นักบวชพราหมณ์จักเป็นอันตรายและเสื่อมลง จึงคิดจะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่าจากแดนใต้คือองค์ตุมพะทะนานทองที่โทณพราหมณ์ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งทรงปรินิพพานมาถวาย
ประจวบกับมีพราหมณ์จากเมืองปตานีชื่อ “เมฆินทร์พราหมณ์” มาเฝ้าต้อนรับผู้แทนจากเมืองเรา พราหมณ์ผู้นี้มีจิตใจคับแคบด้วยมิได้สืบสายอยู่ในตระกูลโทณพราหมณ์ สวมสายยัชโญปวีต
(เรียกอีกชื่อว่า สายธุรำ เป็นสายประจำตัวระบุว่าเกิดในวรรณะพราหมณ์ระดับใด มีทั้งหมด ๑๒ ระดับ ระดับ ๑๒ เป็นระดับสูงสุด) ระดับ ๘ อยู่ปตานี มิได้มีผู้ยกย่องเชิดชู ทั้งสองจึงคบคิดกันลักลอบขโมยองค์ตุมพะทะนานทองออกจากเมืองปตานี แล้วเร่งเดินทางกลับสู่สุโขทัย ชิงตัดหน้าขบวนอาราธนาพระมหาเถระด้วยหวังว่าองค์พ่อขุนจะพอพระราชหฤทัย... และพวกพราหมณ์จะกลับมาเป็นที่โปรดปราน เพราะองค์ตุมพะทะนานทองจักต้องมีพราหมณ์ผู้ทรงศีลคอยสาธยายมนต์บูชา
แต่พราหมณ์ทั้งสองกลับหยั่งน้ำพระทัยองค์พ่อขุนผิดไป เมื่อพิราบสื่อสารแจ้งมาว่าองค์ตุมพะทะนานทองได้อันตรธานหายไปจากเมืองปตานีพร้อมพราหมณ์ทั้งสอง องค์พ่อขุนผู้ประเสริฐจึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้ออกตามคร่าตัวพราหมณ์มาไต่สวนและนำองค์ตุมพะทะนานทองกลับคืนสู่อาณาจักรทางใต้ทันที พระบรมราชโองการประกาศไปทั่ว จนเข้าใจได้ว่าพราหมณ์ผู้ก่อเหตุจะรู้ตัวและกลัวพระราชอาญา จึงพากันหลบเลี่ยงหนีหายและไม่มีผู้ใดได้พบเห็นอีกเลย...”
ปู่หลวงระบายลมหายใจยาวด้วยความอ่อนล้า สายตาทอดยาวไปยังพระขพุง คล้ายดั่งมีเพียงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัยเท่านั้นที่ล่วงรู้
“เท่าที่ข้าพเจ้าทราบมา... ปีที่เกิดเรื่องราวขึ้นนั้น เมืองปตานีและหัวเมืองทั้งปวงจรดปลายแหลมสุวรรณภูมิยังหาได้อยู่ในพระราชอำนาจของพระเจ้านครศรีธรรมราช หากยังเป็นแคว้นอิสระชื่อลังกาสุกะ จวบจนเกิดเหตุการณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแคว้นสูญหาย เมืองต่างๆ จึงพากันแตกแยกระส่ำระสายและถูกกองทัพจากเกาะชวาเข้าโจมตีจนแพ้พ่าย... กระทั่งได้กองทัพของเมืองนครฯ เข้ามาช่วยต่อต้านขับไล่ จากนั้นมาเมืองปตานีและหัวเมืองทั้งหลายจึงสมัครเข้าอยู่ในพระราชอำนาจของพระเจ้านครศรีธรรมราช สักในราว ๕ ปีหลังการสูญหายขององค์ตุมพะทะนานทองขอรับ” แสงพรายกล่าวเสริมขึ้น
“เรื่องลำดับปีของเหตุการณ์ เจ้าที่อยู่เมืองนครฯ คงจะรู้ดีกว่าข้าที่อยู่ทางนี้”
“...แล้วเรื่องซึ่งกล่าวกันว่าองค์ตุมพะทะนานทองเคยประดิษฐานอยู่วัดพระพายหลวง เป็นมาอย่างไรหรือขอรับ ปู่หลวง”
ผู้เฒ่าหันกลับมามองหน้าชายหนุ่ม พลางคิดทบทวนเรื่องราว ก่อนเล่าว่า
“เรื่องนี้เราก็ไม่ใคร่ชัดเจนนัก หลังจากเวลาผ่านไปอีกสองชั่วคนจึงมีเรื่องเล่าลือขึ้นมา เกี่ยวพันกับพระศรีศรัทธาพระราชบุตรของพระยาคำแหงพระราม เชื้อพระวงศ์ขององค์พ่อขุนผาเมืองผู้ทรงยึดเมืองสุโขทัยคืนกลับมาจากขอมในอดีต...
กล่าวกันว่าพระศรีศรัทธาทรงทราบเรื่องจากพราหมณ์คนหนึ่งในสำนักทิศาปราโมกข์เมืองละโว้ ซึ่งพระองค์เสด็จไปศึกษาวิชา ว่าองค์ตุมพะทะนานทองถูกซ่อนไว้ภายในวัดพระพายหลวง ด้วยวัชรพราหมณ์นั้นแม้ตัวจะกระทำผิดแต่ก็เคารพบูชาองค์ตุมพะยิ่งกว่าสิ่งใด มิต้องการนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้เร่ร่อนติดตัว จึงลอบเร้นนำไปประดิษฐานไว้บนขื่อคาใหญ่ภายในพระวิหารวัดพระพายหลวงก่อนจะหนีสูญหาย
ว่ากันว่าวัชรพราหมณ์ได้ไปอาศัยยังเมืองละโว้ที่ซึ่งศาสนาพราหมณ์ยังรุ่งเรืองอยู่ และเชื้อสายของท่านอาจได้เป็นอาจารย์ประจำสำนักทิศาปราโมกข์สืบต่อมา เข้าใจกันว่าพระศรีศรัทธาจะทรงเป็นที่รักใคร่ของบรรดาอาจารย์ ด้วยพระองค์เป็นผู้มากด้วยพระสติปัญญา แตกฉานในทุกศาสตร์ที่ทรงศึกษา กระทั่งอาจารย์พราหมณ์ผู้เป็นเชื้อสายของวัชรพราหมณ์แอบทูลบอกความลับเรื่ององค์ตุมพะทะนานทองเพื่อให้พระองค์ท่านได้ทรงครอบครอง...
พระองค์เสด็จกลับมายังเมืองสุโขทัยพร้อมพระสหายสนิทซึ่งกาลต่อมาได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุพรรณภูมิ พระองค์พร้อมพระสหายทรงนำองค์ตุมพะทะนานทองออกไปจากพระวิหารวัดพระพายหลวง ครั้นเสด็จกลับถึงเมืองของพระราชบิดา พระองค์ทรงถูกจับกุมด้วยข้อหาความผิดที่พระองค์มิได้ทรงกระทำ จนเมื่อชำระความพ้นผิดออกมาแล้ว จึงทรงทราบว่าพระสหายสนิทได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ผู้เป็นคนรักของพระองค์...
ส่วนเรื่ององค์ตุมพะทะนานทองนั้น กลับเงียบหายไปอย่างลึกลับ บ้างกล่าวว่าพระองค์ทรงฝากไว้กับพระสหายก่อนจะทรงถูกกุมขัง บ้างก็ว่าพระองค์ทรงนำไปซ่อนไว้ มิมีผู้ใดจะล่วงรู้ความจริงเลย...
ชีวิตทางโลกของพระศรีศรัทธาช่างน่าอนาถนัก ยามดีก็ดีใจหาย จนเกือบจะได้ขึ้นเป็นองค์พ่อขุนครองกรุงสุโขทัย ยามร้ายก็ร้ายยิ่งนัก ถึงขั้นถูกสักไหล่ประจานเป็นนักโทษรอประหาร...
ชีวิตของพระองค์เจริญรุ่งเรืองด้วยฝีมือในการรบ ศึกใดที่หนักหนาหาผู้นำทัพมิได้ เป็นต้องเชิญพระองค์เป็นจอมทัพ พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่มีผู้เคารพรักเป็นอันมากและก็ทรงถูกริษยามากเช่นกัน ทรงถูกปรักปรำเป็นโทษหลายครั้งหลายครา แต่ก็ทรงพ้นผิดด้วยความบริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง
กระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อปลายรัชสมัยองค์พ่อขุนพระยางั่วนำถม ผู้สืบเชื้อพระวงศ์สายพ่อขุนผาเมือง ทำให้พระองค์ทรงเบื่อหน่ายทางโลกและทรงออกผนวช...
ไม่นานก็สิ้นรัชกาลและเกิดจลาจลแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างฝ่ายราชวงศ์ศรีนาวนำถมผู้สืบเชื้อสายพ่อขุนผาเมือง และฝ่ายราชวงศ์พระร่วงผู้สืบเชื้อสายพ่อขุนบางกลางหาว สุดท้ายเมื่อแผ่นดินสงบ องค์พ่อขุนพระยาลิไทแห่งราชวงศ์พระร่วงทรงได้ครองกรุงสุโขทัยสืบมา...”
ทั้งผู้เฒ่าและชายหนุ่มต่างนิ่งงัน คล้ายจมอยู่ในกระแสเรื่องราวความผันผวนแห่งชีวิตของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ทั้งทางโลกและทางธรรม
“การที่พระองค์ทรงผนวชหาใช่เพราะทรงหนีภัยจากการเมืองไม่ แต่เพราะพระองค์ทรงเห็นซึ้งถึงสัจธรรมตามหลักไตรลักษณ์” ผู้เฒ่าถอนหายใจยาวนานอีกครั้ง “...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
“ข้าพเจ้าก็ได้ยินมาว่า เมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จผ่านเมืองปตานี ผู้คนที่ได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดต่างเชื่อกันว่าพระองค์ทรงบรรลุธรรมแล้ว” แสงพรายกล่าวเสริมขึ้น
“อืม... ทรงจาริกไปยังดินแดนต่างๆ ถึงเกาะลังกา พระเจ้ากรุงลังกาทรงศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ทรงถวายพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ปกครองพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี (
คณะภิกษุสงฆ์ผู้อยู่อาศัยในป่าหรือห่างไกลชุมชน)... ต่อมาได้เสด็จกลับสุโขทัย และทรงพำนักอยู่ช่วงสั้นๆ ก่อนจะทรงธุดงค์จากไปอย่างไร้ร่องรอย”
ไม่นานครูพิธานก็พาคนกลับมา บนบ่าของช่างอีกสองคนต่างแบกสะพายผ้าดิบห่อดิน ส่วนน้าหมานมีหน้าที่ขนจอบเสียมและเครื่องมือ
ปู่หลวงกราบไหว้พระขพุงขอลาเอาธาตุดินไป ในขณะที่สองช่างพาดห่อผ้าบรรจุดินไว้กับม้าตัวที่ไม่มีคนขี่มา แม้แต่ดินที่สะพายอยู่บนหลังม้าก็ไม่ให้คนมาขี่คร่อม
“พวกเจ้าก็พักกันไปบนหลังม้าเถิด จะได้รีบลงถึงเชิงเขาก่อนพลบค่ำ คืนนี้เราจะไปขอนอนค้างแรมกับค่ายพักทหารที่ประจำรักษาสรีดภงส์กัน”
-----------------------------------
ปู่หลวงพาคณะกลับมายังสำนักในช่วงเที่ยงของวันรุ่งขึ้น และอนุญาตให้ทุกคนได้หยุดพักผ่อนกันในตอนบ่าย มีเพียงแสงพรายที่ขอไปทำความสะอาดเครื่องมือต่อ ด้วยไปครั้งนี้ไม่ได้ช่วยกระไรมากมายในการขุดเลือกเนื้อดิน
“อีก ๒ วัน ข้าอยากให้พาแสงพรายไปช่วยงานของสำนักเราที่วัดตระพังทอง” ปู่หลวงกล่าวขึ้นกับครูพิธาน
“ได้ขอรับพ่อปู่ ข้าจะให้ไปช่วยโบกปูนกำแพง...”
“ไม่ใช่กำแพง แต่เป็นเสาซุ้มประตูเข้าวัด” ปู่หลวงรีบขัดขึ้น
“ให้ไปเป็นผู้ช่วยบุญจันกับคำแปง อาจจะไม่เหมาะนะพ่อปู่... ดูแสงพรายไม่ค่อยจะมีเรี่ยวแรง หากผสมปูนคอยยกส่งให้เกรงจะยิ่งเป็นตัวถ่วงให้สองคนนั้นทำงานช้าไปเสียเปล่า”
ปู่หลวงส่ายหน้า...
“ข้าจะให้แสงพรายก่อซุ้มประตู ทดแทนคนใดคนหนึ่ง”
ครูพิธานถึงกับตกใจ
“ก่อซุ้มประตู... นั่นมันงานหลักของการบูรณะกำแพงเลยนะพ่อปู่ จะปล่อยให้แสงพรายที่ยังไม่รู้ว่ามีความสามารถแค่ไหนมารับทำได้อย่างไรขอรับ”
“เมื่อคืนที่สรีดภงค์ ข้าได้สอบถามถึงภูมิวิชางานปั้นปูนของเขาแล้ว... ข้ามั่นใจ”
ครูพิธาน สูดลมหายใจลึกลงท้องแล้วผ่อนระบายออกมายาว คล้ายอัดอั้น
“ก็แล้วแต่พ่อปู่จะเห็นสมควรเถอะ”
“แต่เจ้าจะต้องเป็นคนเลือก จะให้แสงพรายไปก่อซุ้มประตูเสาไหน ทดแทนใครระหว่างบุญจันกับคำแปง... ส่วนคนที่ถูกเอาออก ข้าจะให้มาช่วยเจ้าปั้นแบบองค์พระใหญ่ที่จะส่งประกวด”
สำนักบ้านเงินบ้านทองรับงานบูรณะกำแพงวัดตระพังทองที่ชำรุดทรุดโทรม ช่างทุกคนจึงผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานที่นั่น เมื่อแสงพรายทำความสะอาดเครื่องมือทั้งหมดเสร็จสิ้นในอีกสองวันต่อมา จึงถูกมอบหมายให้ไปทำงานร่วมกับช่างคนอื่นที่วัดแห่งนั้น... แต่เป็นส่วนงานซึ่งสำคัญที่สุด คือซุ้มประตูกำแพงวัด
วัดตระพังทองตั้งอยู่ฝั่งทิศใต้ของแนวถนนจาก “ประตูกำแพงหัก” ซึ่งเป็นประตูเมืองทิศตะวันออกตรงสู่วัดมหาธาตุและพระราชวังกลางเมือง บริเวณโดยรอบวัดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ สมกับชื่อตระพังที่แปลว่าสระน้ำ พระอุโบสถตั้งอยู่บนแผ่นดินตรงกลางสระซึ่งเกือบจะกลายเป็นเกาะ หากมิใช่เพราะมีทางเดินเชื่อมสู่ประตูกำแพงวัดด้านทิศเหนือ
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๒๑ พระศรีศรัทธา
บทที่ ๒๑ พระศรีศรัทธา
แม้จะเป็นยามบ่าย แต่อากาศบนยอดเขาหลวงยังคงชื้นเย็น ผสมด้วยไอหมอกที่เลื่อนลอยอ้อยอิ่งอยู่รอบบริเวณ
เขาหลวงแห่งนี้คือแหล่งน้ำใหญ่ของชาวสุโขทัย ยามฤดูฝนน้ำจะหลากไหลมหาศาล ผสานกับน้ำป่าจากแนวเขาทางทิศตะวันตกเข้าท่วมตัวเมือง ด้วยกรุงสุโขทัยตั้งอยู่บนพื้นที่ลาดเอียงในแนวตะวันตกเฉียงใต้สู่ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อแรกสร้างสุโขทัยขึ้นเป็นปึกแผ่นองค์พ่อขุนรามคำแหงจึงโปรดให้สร้างทำนบกั้นน้ำหรือที่ชาวเมืองเรียกกันว่า “สรีดภงส์” ขนาดใหญ่ ยาวราว ๓๐ เส้น (๑,๒๐๐ เมตร) ปิดระหว่างช่องเขาโคกมนและเขากุดยายชี
นอกจากนั้นยังสร้างคันดินสูงเชื่อมต่ออีกด้านของเขาโคกมนเป็นแนวยาวขึ้นไปทางเหนือราว ๑๒๕ เส้น (๕ กิโลเมตร) จนถึงบริเวณใกล้มุมกำแพงเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ แต่นั้นมากรุงสุโขทัยจึงอุดมสมบูรณ์ตลอดปี ไม่มีน้ำท่วมในหน้าฝนและไม่ขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
“ในเมื่อเจ้าอยากรู้เรื่ององค์ตุมพะทะนานทองที่ขึ้นมาประดิษฐานอยู่สุโขทัย เราก็จะเล่าให้เจ้าฟังเอง จะได้ไม่ต้องไปเที่ยวสอบถามเอาจากใคร เรื่องนี้เป็นเรื่องนมนานและไม่มีใครอยากกล่าวถึงนักหรอก”
ปู่หลวงกล่าวขึ้นหลังจากชวนแสงพรายให้ไปหลบเงาแดดและไอฝนอยู่ใต้พุ่มไม้ใหญ่
“ถ้าปู่หลวงมีสิ่งใดอึดอัดใจ ไม่ต้องเล่าให้ข้าพเจ้าฟังก็ได้ขอรับ”
ปู่หลวงโบกมือเป็นนัย มิให้ชายหนุ่มกล่าวกระไร พลางสูดลมหายใจยาวประหนึ่งตระเตรียมเดินทางกลับสู่อดีตอันยาวไกล
“ครั้งเมื่อสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นเจ้า อำนาจบารมีของพระองค์แผ่ไพศาล ทางทิศตะวันตกจรดขอบมหาสมุทรของฝั่งพะโคและเมาะลำเลิงของพระเจ้าฟ้ารั่ว ทางใต้ลงไปจรดปลายสุดแหลมสุวรรณภูมิของพระเจ้านครศรีธรรมราช ราชาทุกแว่นแคว้นต่างเข้ามาสวามิภักดิ์ยอมอยู่ในพระราชอำนาจ แม้พระองค์จะทรงปรีชาชาญในการศึกแต่พระราชอำนาจหาได้มาเพราะการรบพุ่งไม่... เป็นเพราะทศพิธราชธรรมและความรุ่งเรืองทางการค้าที่นำพาทุกเขตเมืองมารวมกัน...
ครั้งนั้นเมืองนครศรีธรรมราชรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากลังกา จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว พ่อขุนรามคำแหงทรงมีพระราชดำริจะสืบสายเนื้อแท้แห่งพระธรรมและพระวินัย จึงโปรดให้แต่งคณะผู้แทนพระองค์ลงไปยังเมืองนครฯ เพื่อขออาราธนาพระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกขึ้นมาเผยแผ่พระศาสนายังกรุงสุโขทัย”
กล่าวถึงตอนนี้พลันทอดถอนใจ ผิดกับเมื่อตอนเริ่มเรื่องที่ปู่หลวงเล่าด้วยความภาคภูมิใจ... จากนั้นจึงเล่าต่อไปว่า
“ในคณะผู้แทนขององค์พ่อขุนมีทั้งเสนาบดีผู้ใหญ่ ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์และนักบวชพราหมณ์... มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ “วัชรพราหมณ์” คิดเอาว่า หากพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังการุ่งเรืองขึ้นในสุโขทัย นักบวชพราหมณ์จักเป็นอันตรายและเสื่อมลง จึงคิดจะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่าจากแดนใต้คือองค์ตุมพะทะนานทองที่โทณพราหมณ์ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งทรงปรินิพพานมาถวาย
ประจวบกับมีพราหมณ์จากเมืองปตานีชื่อ “เมฆินทร์พราหมณ์” มาเฝ้าต้อนรับผู้แทนจากเมืองเรา พราหมณ์ผู้นี้มีจิตใจคับแคบด้วยมิได้สืบสายอยู่ในตระกูลโทณพราหมณ์ สวมสายยัชโญปวีต (เรียกอีกชื่อว่า สายธุรำ เป็นสายประจำตัวระบุว่าเกิดในวรรณะพราหมณ์ระดับใด มีทั้งหมด ๑๒ ระดับ ระดับ ๑๒ เป็นระดับสูงสุด) ระดับ ๘ อยู่ปตานี มิได้มีผู้ยกย่องเชิดชู ทั้งสองจึงคบคิดกันลักลอบขโมยองค์ตุมพะทะนานทองออกจากเมืองปตานี แล้วเร่งเดินทางกลับสู่สุโขทัย ชิงตัดหน้าขบวนอาราธนาพระมหาเถระด้วยหวังว่าองค์พ่อขุนจะพอพระราชหฤทัย... และพวกพราหมณ์จะกลับมาเป็นที่โปรดปราน เพราะองค์ตุมพะทะนานทองจักต้องมีพราหมณ์ผู้ทรงศีลคอยสาธยายมนต์บูชา
แต่พราหมณ์ทั้งสองกลับหยั่งน้ำพระทัยองค์พ่อขุนผิดไป เมื่อพิราบสื่อสารแจ้งมาว่าองค์ตุมพะทะนานทองได้อันตรธานหายไปจากเมืองปตานีพร้อมพราหมณ์ทั้งสอง องค์พ่อขุนผู้ประเสริฐจึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้ออกตามคร่าตัวพราหมณ์มาไต่สวนและนำองค์ตุมพะทะนานทองกลับคืนสู่อาณาจักรทางใต้ทันที พระบรมราชโองการประกาศไปทั่ว จนเข้าใจได้ว่าพราหมณ์ผู้ก่อเหตุจะรู้ตัวและกลัวพระราชอาญา จึงพากันหลบเลี่ยงหนีหายและไม่มีผู้ใดได้พบเห็นอีกเลย...”
ปู่หลวงระบายลมหายใจยาวด้วยความอ่อนล้า สายตาทอดยาวไปยังพระขพุง คล้ายดั่งมีเพียงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัยเท่านั้นที่ล่วงรู้
“เท่าที่ข้าพเจ้าทราบมา... ปีที่เกิดเรื่องราวขึ้นนั้น เมืองปตานีและหัวเมืองทั้งปวงจรดปลายแหลมสุวรรณภูมิยังหาได้อยู่ในพระราชอำนาจของพระเจ้านครศรีธรรมราช หากยังเป็นแคว้นอิสระชื่อลังกาสุกะ จวบจนเกิดเหตุการณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแคว้นสูญหาย เมืองต่างๆ จึงพากันแตกแยกระส่ำระสายและถูกกองทัพจากเกาะชวาเข้าโจมตีจนแพ้พ่าย... กระทั่งได้กองทัพของเมืองนครฯ เข้ามาช่วยต่อต้านขับไล่ จากนั้นมาเมืองปตานีและหัวเมืองทั้งหลายจึงสมัครเข้าอยู่ในพระราชอำนาจของพระเจ้านครศรีธรรมราช สักในราว ๕ ปีหลังการสูญหายขององค์ตุมพะทะนานทองขอรับ” แสงพรายกล่าวเสริมขึ้น
“เรื่องลำดับปีของเหตุการณ์ เจ้าที่อยู่เมืองนครฯ คงจะรู้ดีกว่าข้าที่อยู่ทางนี้”
“...แล้วเรื่องซึ่งกล่าวกันว่าองค์ตุมพะทะนานทองเคยประดิษฐานอยู่วัดพระพายหลวง เป็นมาอย่างไรหรือขอรับ ปู่หลวง”
ผู้เฒ่าหันกลับมามองหน้าชายหนุ่ม พลางคิดทบทวนเรื่องราว ก่อนเล่าว่า
“เรื่องนี้เราก็ไม่ใคร่ชัดเจนนัก หลังจากเวลาผ่านไปอีกสองชั่วคนจึงมีเรื่องเล่าลือขึ้นมา เกี่ยวพันกับพระศรีศรัทธาพระราชบุตรของพระยาคำแหงพระราม เชื้อพระวงศ์ขององค์พ่อขุนผาเมืองผู้ทรงยึดเมืองสุโขทัยคืนกลับมาจากขอมในอดีต...
กล่าวกันว่าพระศรีศรัทธาทรงทราบเรื่องจากพราหมณ์คนหนึ่งในสำนักทิศาปราโมกข์เมืองละโว้ ซึ่งพระองค์เสด็จไปศึกษาวิชา ว่าองค์ตุมพะทะนานทองถูกซ่อนไว้ภายในวัดพระพายหลวง ด้วยวัชรพราหมณ์นั้นแม้ตัวจะกระทำผิดแต่ก็เคารพบูชาองค์ตุมพะยิ่งกว่าสิ่งใด มิต้องการนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้เร่ร่อนติดตัว จึงลอบเร้นนำไปประดิษฐานไว้บนขื่อคาใหญ่ภายในพระวิหารวัดพระพายหลวงก่อนจะหนีสูญหาย
ว่ากันว่าวัชรพราหมณ์ได้ไปอาศัยยังเมืองละโว้ที่ซึ่งศาสนาพราหมณ์ยังรุ่งเรืองอยู่ และเชื้อสายของท่านอาจได้เป็นอาจารย์ประจำสำนักทิศาปราโมกข์สืบต่อมา เข้าใจกันว่าพระศรีศรัทธาจะทรงเป็นที่รักใคร่ของบรรดาอาจารย์ ด้วยพระองค์เป็นผู้มากด้วยพระสติปัญญา แตกฉานในทุกศาสตร์ที่ทรงศึกษา กระทั่งอาจารย์พราหมณ์ผู้เป็นเชื้อสายของวัชรพราหมณ์แอบทูลบอกความลับเรื่ององค์ตุมพะทะนานทองเพื่อให้พระองค์ท่านได้ทรงครอบครอง...
พระองค์เสด็จกลับมายังเมืองสุโขทัยพร้อมพระสหายสนิทซึ่งกาลต่อมาได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุพรรณภูมิ พระองค์พร้อมพระสหายทรงนำองค์ตุมพะทะนานทองออกไปจากพระวิหารวัดพระพายหลวง ครั้นเสด็จกลับถึงเมืองของพระราชบิดา พระองค์ทรงถูกจับกุมด้วยข้อหาความผิดที่พระองค์มิได้ทรงกระทำ จนเมื่อชำระความพ้นผิดออกมาแล้ว จึงทรงทราบว่าพระสหายสนิทได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ผู้เป็นคนรักของพระองค์...
ส่วนเรื่ององค์ตุมพะทะนานทองนั้น กลับเงียบหายไปอย่างลึกลับ บ้างกล่าวว่าพระองค์ทรงฝากไว้กับพระสหายก่อนจะทรงถูกกุมขัง บ้างก็ว่าพระองค์ทรงนำไปซ่อนไว้ มิมีผู้ใดจะล่วงรู้ความจริงเลย...
ชีวิตทางโลกของพระศรีศรัทธาช่างน่าอนาถนัก ยามดีก็ดีใจหาย จนเกือบจะได้ขึ้นเป็นองค์พ่อขุนครองกรุงสุโขทัย ยามร้ายก็ร้ายยิ่งนัก ถึงขั้นถูกสักไหล่ประจานเป็นนักโทษรอประหาร...
ชีวิตของพระองค์เจริญรุ่งเรืองด้วยฝีมือในการรบ ศึกใดที่หนักหนาหาผู้นำทัพมิได้ เป็นต้องเชิญพระองค์เป็นจอมทัพ พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่มีผู้เคารพรักเป็นอันมากและก็ทรงถูกริษยามากเช่นกัน ทรงถูกปรักปรำเป็นโทษหลายครั้งหลายครา แต่ก็ทรงพ้นผิดด้วยความบริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง
กระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อปลายรัชสมัยองค์พ่อขุนพระยางั่วนำถม ผู้สืบเชื้อพระวงศ์สายพ่อขุนผาเมือง ทำให้พระองค์ทรงเบื่อหน่ายทางโลกและทรงออกผนวช...
ไม่นานก็สิ้นรัชกาลและเกิดจลาจลแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างฝ่ายราชวงศ์ศรีนาวนำถมผู้สืบเชื้อสายพ่อขุนผาเมือง และฝ่ายราชวงศ์พระร่วงผู้สืบเชื้อสายพ่อขุนบางกลางหาว สุดท้ายเมื่อแผ่นดินสงบ องค์พ่อขุนพระยาลิไทแห่งราชวงศ์พระร่วงทรงได้ครองกรุงสุโขทัยสืบมา...”
ทั้งผู้เฒ่าและชายหนุ่มต่างนิ่งงัน คล้ายจมอยู่ในกระแสเรื่องราวความผันผวนแห่งชีวิตของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ทั้งทางโลกและทางธรรม
“การที่พระองค์ทรงผนวชหาใช่เพราะทรงหนีภัยจากการเมืองไม่ แต่เพราะพระองค์ทรงเห็นซึ้งถึงสัจธรรมตามหลักไตรลักษณ์” ผู้เฒ่าถอนหายใจยาวนานอีกครั้ง “...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
“ข้าพเจ้าก็ได้ยินมาว่า เมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จผ่านเมืองปตานี ผู้คนที่ได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดต่างเชื่อกันว่าพระองค์ทรงบรรลุธรรมแล้ว” แสงพรายกล่าวเสริมขึ้น
“อืม... ทรงจาริกไปยังดินแดนต่างๆ ถึงเกาะลังกา พระเจ้ากรุงลังกาทรงศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ทรงถวายพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ปกครองพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี (คณะภิกษุสงฆ์ผู้อยู่อาศัยในป่าหรือห่างไกลชุมชน)... ต่อมาได้เสด็จกลับสุโขทัย และทรงพำนักอยู่ช่วงสั้นๆ ก่อนจะทรงธุดงค์จากไปอย่างไร้ร่องรอย”
ไม่นานครูพิธานก็พาคนกลับมา บนบ่าของช่างอีกสองคนต่างแบกสะพายผ้าดิบห่อดิน ส่วนน้าหมานมีหน้าที่ขนจอบเสียมและเครื่องมือ
ปู่หลวงกราบไหว้พระขพุงขอลาเอาธาตุดินไป ในขณะที่สองช่างพาดห่อผ้าบรรจุดินไว้กับม้าตัวที่ไม่มีคนขี่มา แม้แต่ดินที่สะพายอยู่บนหลังม้าก็ไม่ให้คนมาขี่คร่อม
“พวกเจ้าก็พักกันไปบนหลังม้าเถิด จะได้รีบลงถึงเชิงเขาก่อนพลบค่ำ คืนนี้เราจะไปขอนอนค้างแรมกับค่ายพักทหารที่ประจำรักษาสรีดภงส์กัน”
-----------------------------------
ปู่หลวงพาคณะกลับมายังสำนักในช่วงเที่ยงของวันรุ่งขึ้น และอนุญาตให้ทุกคนได้หยุดพักผ่อนกันในตอนบ่าย มีเพียงแสงพรายที่ขอไปทำความสะอาดเครื่องมือต่อ ด้วยไปครั้งนี้ไม่ได้ช่วยกระไรมากมายในการขุดเลือกเนื้อดิน
“อีก ๒ วัน ข้าอยากให้พาแสงพรายไปช่วยงานของสำนักเราที่วัดตระพังทอง” ปู่หลวงกล่าวขึ้นกับครูพิธาน
“ได้ขอรับพ่อปู่ ข้าจะให้ไปช่วยโบกปูนกำแพง...”
“ไม่ใช่กำแพง แต่เป็นเสาซุ้มประตูเข้าวัด” ปู่หลวงรีบขัดขึ้น
“ให้ไปเป็นผู้ช่วยบุญจันกับคำแปง อาจจะไม่เหมาะนะพ่อปู่... ดูแสงพรายไม่ค่อยจะมีเรี่ยวแรง หากผสมปูนคอยยกส่งให้เกรงจะยิ่งเป็นตัวถ่วงให้สองคนนั้นทำงานช้าไปเสียเปล่า”
ปู่หลวงส่ายหน้า...
“ข้าจะให้แสงพรายก่อซุ้มประตู ทดแทนคนใดคนหนึ่ง”
ครูพิธานถึงกับตกใจ
“ก่อซุ้มประตู... นั่นมันงานหลักของการบูรณะกำแพงเลยนะพ่อปู่ จะปล่อยให้แสงพรายที่ยังไม่รู้ว่ามีความสามารถแค่ไหนมารับทำได้อย่างไรขอรับ”
“เมื่อคืนที่สรีดภงค์ ข้าได้สอบถามถึงภูมิวิชางานปั้นปูนของเขาแล้ว... ข้ามั่นใจ”
ครูพิธาน สูดลมหายใจลึกลงท้องแล้วผ่อนระบายออกมายาว คล้ายอัดอั้น
“ก็แล้วแต่พ่อปู่จะเห็นสมควรเถอะ”
“แต่เจ้าจะต้องเป็นคนเลือก จะให้แสงพรายไปก่อซุ้มประตูเสาไหน ทดแทนใครระหว่างบุญจันกับคำแปง... ส่วนคนที่ถูกเอาออก ข้าจะให้มาช่วยเจ้าปั้นแบบองค์พระใหญ่ที่จะส่งประกวด”
สำนักบ้านเงินบ้านทองรับงานบูรณะกำแพงวัดตระพังทองที่ชำรุดทรุดโทรม ช่างทุกคนจึงผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานที่นั่น เมื่อแสงพรายทำความสะอาดเครื่องมือทั้งหมดเสร็จสิ้นในอีกสองวันต่อมา จึงถูกมอบหมายให้ไปทำงานร่วมกับช่างคนอื่นที่วัดแห่งนั้น... แต่เป็นส่วนงานซึ่งสำคัญที่สุด คือซุ้มประตูกำแพงวัด
วัดตระพังทองตั้งอยู่ฝั่งทิศใต้ของแนวถนนจาก “ประตูกำแพงหัก” ซึ่งเป็นประตูเมืองทิศตะวันออกตรงสู่วัดมหาธาตุและพระราชวังกลางเมือง บริเวณโดยรอบวัดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ สมกับชื่อตระพังที่แปลว่าสระน้ำ พระอุโบสถตั้งอยู่บนแผ่นดินตรงกลางสระซึ่งเกือบจะกลายเป็นเกาะ หากมิใช่เพราะมีทางเดินเชื่อมสู่ประตูกำแพงวัดด้านทิศเหนือ
(มีต่อ)