มรรค (สันสกฤต: มรฺค; บาลี: มคฺค)
คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4
จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ
1.สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
2.สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
3.สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
4.สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
6.สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน ๔ คือ
ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
7.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
8.สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง การบรรลุฌาน 4
เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา
องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา
ข้อ 3-4-5 เป็นศีล
และข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ
ทำไมเอาปัญญาขึ้นนำ ศีล สมาธิ ทำไมเอาสติ สมาธิอยู่หลัง
คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4
จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ
1.สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
2.สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
3.สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
4.สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
6.สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน ๔ คือ
ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
7.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
8.สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง การบรรลุฌาน 4
เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา
องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา
ข้อ 3-4-5 เป็นศีล
และข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ