ทำไมไม่พูดว่า "รับประทานข้าว" แต่ดันไปพูดว่า "ทานข้าว"

ผมเข้าใจมาตลอดว่า "ทานข้าว" คำว่าทาน มันแปลว่ากิน อาจจะลดมาจาก รับประทานข้าว
แต่พอเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554 อธิบายว่า
ทาน ๑, ทาน-
(๑)  [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน

(๒) น. สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในสังคหวัตถุและทศพิธราชธรรม. (ดู สังคหวัตถุและทศพิธราชธรรม).

ความหมายที่เกี่ยวข้อง ดู   สังคหวัตถุ  ทศพิธราชธรรม  


  ลูกคำของ "ทาน ๑, ทาน-" คือ   ทานกัณฑ์  ทานบดี  ทานบารมี  ทานมัย  ทานาธิบดี  
ทาน ๒

ก. ยันหรือรับไว้ เช่น ทานน้ำหนักไม่ไหว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.
ทาน ๓
ก. สอบหนังสือให้ถูกต้องหรือให้ตรงกับต้นฉบับ, ตรวจทาน ก็ว่า.


ซึ่งไม่มีความหมายหมายถึงกินได้เลย เคยเจอผู้ใหญ่บางท่านบอกว่า มันสุภาพกว่า "กินข้าว" (มันไม่สุภาพตรงไหน)
แม้กระทั่งคำอื่น ๆ เช่นคำว่า แdก พจนานุกรมอธิบายว่า
- ๑
(๑) ก. ทำให้แน่น, อัด, ดัน, เช่น ลม-ขึ้นจนแน่นหน้าอก

(๒)  (ปาก) ก. กิน

(๓) ก. โกงกิน, (เป็นคำหยาบ)

(๔) ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดให้เจ็บใจ, -ดัน ก็ว่า.

  ลูกคำของ "- ๑" คือ   -ดัน  
- ๒
(ถิ่น-อีสาน) น. เรียกปลาที่หมักใส่เกลือโขลกปนกับรำแล้วยัดใส่ไห ว่า ปลา-, ปลาร้า.

หรือคำว่า ยัด
ยัด
(๑) ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้าห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง

(๒)  (ปาก) ก. ใช้แทนคำว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).

หรือราชาศัพท์ คำว่า  เสวย
เสวย ๑
(๑)  [สะเหฺวย]  (ราชา) ก. กิน เช่น เสวยพระกระยาหาร เสวยพระสุธารส (ข. โสฺวย).

(๒) ก. ครอง เช่น เสวยราชย์. (ข. โสฺวย).
เสวย ๒
[สะเหฺวย] ก. ได้รับ, ได้ประสบ, เช่น เสวยทุกขเวทนา, ได้รับประโยชน์ เช่น เสวยสิทธิ์. (ข. โสฺวย).

  ลูกคำของ "เสวย ๒" คือ   เสวยกรรม  
ซึ่งไม่มีคำว่าทานเลย

**คือถ้าพูดมาก็เข้าใจได้ครับ แต่แบบยังไงอะ มันไม่ถูกะ หรือจะหยวน ๆ ไป (หรือผมเป็นคนเยอะหก็ไม่รู้ 5555)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่