การละสังโยชน์ Focus ที่จิต ให้จิตตั้งมั่น เพื่อเห็นแจ้งตามความเป็นจริง และเป็นสัมมาทิฏฐิตลอดไป

สนทนาธรรมเพื่อความจรรโลงใจในการปฏิบัติธรรมเฉยๆ ครับ
บางครั้งผมก็มาพิจารณาว่า  ทำไม๊ ทำไม ผู้ที่ไม่ได้ทำอนันตริยกรรม 5 ประการ ปฏิบัติธรรม หรือฟังธรรมแล้ว จึงไม่สามารถเปลื้องมิจฉาทิฏฐิในจิตได้  จนจิตตั้งตรงกลายเป็นสัมมาทิฏฐิตลอดไป ซึ่งสัมมาทิฏฐิที่มีรากฐานมั่นคงอย่างยิ่งใหญ่ตลอดไปนี้ จะทำให้มรรคองค์ที่ 2 – 8 เป็นสัมมา หรือถูกต้องตามลำดับไปด้วย  กล่าวคือ  เมื่อจิตเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว  สัมมาสังกัปปะจะมีขึ้น สัมมาวาจา ฯลฯ  สัมมาสมาธิ  ซึ่งองค์ทำเหล่านี้ ที่เริ่มต้นจากสัมมาทิฏฐิในจิตที่ตั้งมั่นแล้ว จะประหารมิจฉาทิฏฐิในจิตให้ขาดสะบั้น บรรลัยออกไปโดยถาวร มิจฉาทิฏฐิอันเป็นรากเหง้า รากฐานอันใหญ่ที่สุด ปิดกั้นบุคคลไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงคือ การที่จิตมองเห็น รูป สัตว์ บุคคล เป็นตัวตน เรา เขา   ลองส่องดูรูปตัวเองในกระจกเงา แล้วมีความรู้สึกในจิตว่านี่คือตัวเราบ้างไหม  ถามย้ำเข้าไปในจิต  หรือให้สังเกตในจิตว่าจิตรู้สึกว่าอย่างไร

ถ้าไม่ถึงจิต มีสมาธิไม่ตั้งมั่นพอ สิ่งที่จิตรู้ไม่ทันคือ จะเป็นแค่สังขารความคิด ความปรุงแต่งจากความจำที่ได้ศึกษามาก เรียนมามาก มาตอบเองว่า มองเห็นแล้วว่าอันนั้นก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา  อันนี้ก็ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเรา  ในกระจกก็เป็นเพียงขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเรา   แต่ในความเป็นจริงคือ จิตไม่ได้รู้สึกอย่างนั้น จิตไม่ได้รู้แจ้งเห็นจริงเป็นสัมมาทิฏฐิแบบนั้น  แต่สัญญาที่จำได้จากการศึกษา กับสังขารความปรุงแต่งในจิตมันชิงตอบก่อน  เพราะจิตตั้งมั่นไม่เพียงพอเลยโดนสัญญา สังขารหลอกไปก่อน

นี่เป็นเหตุ  ผลคืออะไร ผลคือบางท่าน บางคนอาจจะสำคัญมั่นหมายหรือเข้าใจว่าเราบรรลุธรรมแล้ว มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว เป็นพระโสดาบันแล้ว แล้วก็เข้าใจผิด หลอกตัวเองต่อไปเรื่อยๆ  Keyword สำคัญคือไม่ได้ดูที่จิต  ว่าจิตคุมเครือหรือชัดเจนแจ่มแจ้งในการเห็นสรรพสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง หรือไม่ ถ้าจิตเห็นสรรพสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างจริงๆ แล้วว่ารูปคือรูปเท่านั้น รูปมีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา มองลงไปอย่างใคร่ครวญในจิต จิตจะเห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแดงแจ๋เองว่า มันจะเป็นเรา ของเรา ไปได้อย่างไร เพราะรูปก็คือรูป เวทนาก็คือเวทนา สัญญาก็คือสัญญา สังขารก็คือสังขาร วิญญาณก็คือวิญญาณ มันเป็นเราที่ตรงไหน  มันเป็นของเราที่ตรงไหน  สาเหตุที่มันเป็นเราของเราเพราะจิตเข้าใจผิด จิตเห็นผิด หรือจิตยังไม่รู้แจ้งอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งแดงแจ๋นั่นเอง หรือจิตคลุมเครือ เบลอๆ อันนี้คือความหมายของสักกายะทิฏฐิตามการปฏิบัติธรรม  

ถ้าตามหลักการในปริยัติให้ยึดความหมายของสักกายะทิฏฐิ 20 ที่พระสารีบุตรท่านอธิบายจะชัดเจนที่สุดครับ ความหมายอย่างงั้นเลย
คือจิตเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ขยายความ เช่น เวลาส่องกระจกจิตจะเห็นเงาในกระจกว่าเห็นตัวตนเราเอง หรือกรูนี่แหล่ะ ไอภาพในกระจกคือกรู (ตน)
พระโสดาบันจิตจะเห็นว่าภาพในกระจกคือวัตถุอันหนึ่ง หรือแค่เป็นภาพอันนึง ไม่ใช่เรา จิตจะค้านทันทีว่า เอ้า มันจะเป็นเราได้ยังไง เพราะคำว่าเราคือคำสมมติขึ้นมาจากสังขารที่ปรุงแต่งเฉยๆ คำว่าเราเป็นเพียงความคิดปรุงแต่งให้เรียกชื่อเรียกแซ่ให้โลกเข้าใจกันก็แค่นั้น สังขารปรุงแต่งขึ้น แต่ปุถุชนจิตหลงสังขาร ไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง จิตถึงเห็นว่ามันเป็นเราจริงๆ  นี้คือสักกายทิฏฐิ
ส่วนนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ
จิตเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน  
จิตเห็นตนมีในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  
จิตเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
จิตเห็นตนในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

จิตที่ทำลายสักกายทิฏฐิ หรือความเห็นรูปธรรม นามธรรม ผิดไปจากความเป็นจริง จิตจะเห็นชัดเหมือนที่พระพุทธองค์เทศน์เปี๊ยบบบบเลยว่าชัดเจน แจ่มแจ้ง แดงแจ๋ เลย
ว่ารูปเป็นรูป  รูปก็คือรูป  
เวทนาคือเวทนา  
สัญญาคือสัญญา
สังขารคือสังขาร
วิญญาณคือวิญญาณ

จิตที่รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงจึงอุทานเองว่า แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า คำเทศนาของพระพุทธองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ประนึงเหมือนช่วยบุคคลเปิดของคว่ำ ให้หงายขึ้น  เปรียบดังการจุดคบไฟในเวลากลางคืน ให้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จะได้ไม่เดินชน วิกิจิฉาคือความลังเลสงสัยในรูปธรรม นามธรรม ในกรรม และผลของกรรม จึงหายไป เพราะธรรม จะได้คลายทุกข์จากจิตเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ  จิตที่เป็นสัมมาทิฏฐิจะคลายทุกข์โดยถาวรได้ในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้ผมก็เป็นเพียงผู้ปฏิบัติธรรมเล็กๆ คนหนึ่ง เท่านั้นครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่