“ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง”
พวกเราทุกคนนี้ติดอยู่กับขันธ์ ๕ เราไปติดขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง มีรูป คือร่างกายของเรา มีเวทนาคือความรู้สึก มีสัญญาความจำได้หมายรู้ มีสังขารความคิดปรุงแต่ง มีวิญญาณคือการรับรู้รูปเสียงกลิ่นรสที่เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกาย
นี่คือสิ่งที่จิตใจของเราผูกพันอยู่เพราะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการหาความสุขให้กับจิตใจ แต่สิ่งเหล่านี้เขาไม่เที่ยง เขาไม่อยู่ภายใต้คำสั่งของเราตลอดไป
บางทีสั่งให้เขาหาความสุขเวทนามาให้เรา เขากลับหาทุกขเวทนามาให้เรา
เราจะบอกให้เขาเอากลับไป เขาก็ไม่ยอมเอากลับไป เขาก็จะให้ทุกขเวทนากับเรา
ถ้าเราไม่รู้จักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องกับสิ่งเหล่านี้ ใจของเราก็จะปฏิบัติไม่ถูก คือ ปฏิบัติด้วยการสร้างความทุกข์
ไม่ใช่ด้วยการระงับความทุกข์ เพราะเราไม่รู้ว่าความทุกข์ของเราเกิดจากอะไรนั่นเอง เราไม่รู้ว่าความทุกข์ของพวกเราเกิดจากความอยากต่างๆ อยากให้มีแต่ความสุข อยากให้มีแต่สุขเวทนา อันนี้ก็เป็นทุกข์แล้ว
พอสุขหายไปก็ทุกข์แล้ว เพราะเราไม่รู้ว่าเวทนานี้ไม่เที่ยง
เวทนานี้ไม่มีแต่เพียงสุขอย่างเดียว เวทนานี้เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเหมือนดินฟ้าอากาศ ดินฟ้าอากาศนี้จะไม่แจ้งตลอดเวลา จะมีวันที่มืดครึ้ม จะมีวันที่ฝนตก จะมีวันที่แดดออก มันก็สลับกันไป เปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมา แล้วก็ไม่มีใครไปควบคุมบังคับไปสั่งมันได้
ฉันใด ความรู้สึกที่เรามีกันมันก็เหมือนกัน ความรู้สึกทุกข์บ้างสุขบ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง มันก็ผลัดกันเดินกันเข้ามาหาเรา
เดี๋ยวก็สุขเข้ามา เดี๋ยวสุขไป ทุกข์ก็เข้ามา เดี๋ยวสุขไป ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เข้ามา แล้วก็วนกันไปเวียนกันมาอยู่อย่างนี้
แต่ใจเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ใจเราก็อยากจะให้มีแต่สุขอย่างเดียว พอมันไม่สุขอย่างเดียว
ใจมันก็เลยทุกข์ พอมีความอยากแล้วไม่ได้สิ่งที่เราอยากได้ เราก็จะทุกข์กันขึ้นมาทันที นี่คือเราไม่เข้าใจธรรมชาติของขันธ์ ของนามขันธ์คือเวทนา เวทนานี้มันมาคู่กับสัญญา สังขาร และวิญญาณ
เราไม่จำเป็นที่จะต้องพิจารณาสัญญา สังขาร วิญญาณ
เราเพียงแต่พิจารณาเวทนาตัวเดียวก็พอ เพราะว่ามันมาเป็นทีม สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นผู้สนับสนุนที่ทำให้เกิดเวทนาขึ้นมา มีเวทนาแบบต่างๆ
งั้นเราเพียงแต่ต้องรู้จักวิธีที่ปฏิบัติกับเวทนาก็พอ
วิธีที่จะปฏิบัติเวทนาที่ถูกต้องก็ต้องเห็นว่าเวทนาเป็นอนัตตา อนัตตาก็คือเป็นเหมือนดินฟ้าอากาศ
วิธีที่เราปฏิบัติกับดินฟ้าอากาศนี้เราปฏิบัติอย่างไร เราก็ปล่อยให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปตามเรื่องของเขา
เราไม่ไปควบคุมบังคับดินฟ้าอากาศกัน เพราะถ้าเราไปควบคุมแล้วเราก็รู้ว่าเราควบคุมไม่ได้ ไปสั่งไม่ได้ พอเราสั่งไม่ได้เราจะทุกข์กัน
เราจึงไม่ค่อยทุกข์กับดินฟ้าอากาศ ตอนนี้ฝนตกยังไงเราก็ไม่ทุกข์กัน เพราะเรารู้ว่าไปสั่งให้ฝนหยุดไม่ได้ ไปอยากให้ฝนหยุดไม่ได้
พออยากแล้วมันจะทำให้เราทุกข์กันนั่นเอง
ฉันใดเราก็ต้องมองเวทนาที่เกิดขึ้นในใจของพวกเราก็เป็นอย่างนั้น เดี๋ยวก็สุขเวทนา เดี๋ยวก็ทุกขเวทนา เดี๋ยวก็ไม่สุขไม่ทุกข์เวทนา
เราก็ต้องรู้ว่ามันเป็นธรรมชาติของเขาที่จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างนี้ เราก็ทำใจเฉยๆ เหมือนกับเราทำใจเฉยๆ กับดินฟ้าอากาศ
เราไม่ทุกข์กับดินฟ้าอากาศ เราก็จะไม่ทุกข์กับเวทนา
แต่ใจของเรานี้มันมีนิสัยเดิมฝังอยู่ลึก ที่มันจะคอยปรับเวทนาอยู่เรื่อยๆ พอมีเวทนาทุกข์ขึ้นมานิดเดียว มันจะปรับทันที พอคันตรงนั้นปั๊บจะเกาทันที พอเจ็บตรงนั้นปุ๊บจะหาวิธีหยุดมันทันที โดยที่ไม่พิจารณาว่าทำได้หรือไม่ได้ บางทีทำไม่ได้ บางทีทำได้ก็ทำไป
แต่ถ้าทำไม่ได้แล้วไปอยากให้มันหายนี้มันจะทำให้ใจทุกข์ งั้นเราต้องมาฝึกเปลี่ยนนิสัยใหม่
มาสอนใจว่าถ้าไม่อยากจะทุกข์ อย่าไปเปลี่ยนเวทนาที่เราเปลี่ยนไม่ได้ อย่าไปปรับมัน วิธีที่จะทำให้ใจเราไม่ทุกข์และอยู่กับเวทนาได้
ก็คือเราต้องทำใจให้เป็นอุเบกขา แล้วก็มีปัญญาสอนใจว่า เวทนานี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นดินฟ้าอากาศ เหมือนกับร่างกายก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนเหมือนกัน
นี่คือขันธ์ ๕ ที่เราพิจารณากันมี ๒ ส่วน ส่วนร่างกายส่วนหนึ่ง รูปขันธ์
แล้วส่วนนามขันธ์ เราก็พิจารณาเวทนาเป็นตัวหลัก เพราะเวทนานี้มันเกิดจากการทำงานของสัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เราไม่ต้องไปกังวลกับสัญญา สังขาร วิญญาณ เพียงแต่รู้ว่าหน้าที่ของสัญญา สังขาร วิญญาณก็พอ รู้ว่าวิญญาณเป็นผู้รับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เข้ามาให้กับใจ แล้วสัญญาก็ไปแปล ไปจำได้หมายรู้ในรูปเสียงกลิ่นรสที่เข้ามา ว่าเป็นอะไร ดีไม่ดี สุขหรือทุกข์ พอดีก็สุขขึ้นมา พอไม่ดีก็ทุกข์ขึ้นมาพอเกิดสุขเกิดทุกข์ ถ้าไม่มีปัญญา สังขารก็จะปรุงตามความอยากทันที อยากให้สุขอยู่ไปนานๆ อยากให้ทุกข์หายไปเร็วๆ พอไม่ได้ดังใจอยาก ใจก็ทุกข์ขึ้นมาทันที นี่คือการทำงานของนามขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ เขาทำพร้อมๆ กันเป็นทีม
เป็นเหมือนรถยนต์นี่ รถยนต์มีชิ้นส่วนเยอะแยะ มีล้อมีเบรกมีพวงมาลัย มีเครื่องยนต์ แต่เวลาทำงานนี้เขาทำเป็นทีม ทำพร้อมกัน
คนขับไม่ต้องไปรู้หรอกว่าตอนนี้เครื่องยนต์วิ่งอย่างไรบ้าง ล้อหมุนอย่างไรบ้าง
คนขับเพียงให้รู้วิธีขับรถ ให้มันวิ่งไปได้ ให้มันหยุดได้ทั้งนั้นก็พอ ใจก็เหมือนกัน ใจก็เหมือนคนขับร่างกายกับเวทนา ที่เป็นเหมือนรถยนต์
ก็ให้รู้จักวิธีขับร่างกาย ขับเวทนา เพื่อไม่ให้มันมาสร้างความทุกข์ให้กับใจ เท่านั้นเอง
ก็คือต้องรู้ความเป็นจริงของร่างกายว่าสิ่งไหนที่เราทำให้กับร่างกายได้บ้าง สิ่งไหนที่เราทำให้กับร่างกายไม่ได้ ก็อย่าไปอยากทำ
สิ่งที่เราทำได้ก็ทำ เช่น เลี้ยงร่างกายได้ เราก็เลี้ยงไป ให้อาหารได้ ให้น้ำได้ ให้ลมได้ หายใจได้ เราก็ทำไป แต่ถ้าสิ่งไหนเราทำไม่ได้เราก็อย่าไปทำมัน
เช่น ไปห้ามมันไม่ให้มันแก่นี้ ทำไม่ได้
ก็อย่าไปทำมัน ทำยังไงก็ทำไม่ได้ ทำได้ก็ชั่วคราว ถอนผมหงอกออกไป เดี๋ยวเส้นใหม่มันก็หงอกอีก ไปย้อมเดี๋ยวมันก็โผล่ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นอย่าไปทำให้มันเหนื่อยแล้วก็จะทุกข์ไปเปล่าๆ สู้ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมันดีกว่า สิ่งไหนที่เราทำไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไป เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา รักษาได้หรือเปล่า รักษาได้ก็รักษาไป
พระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็ยังกินยากันอยู่เวลาร่างกายไม่สบาย ถ้ากินยานี้แล้วรักษาให้โรคภัยหายได้ ท่านก็กินกัน ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นพระอรหันต์แล้วไม่ต้องรักษา ก็ไม่ใช่ ถึงแม้รักษาท่านก็ไม่ได้รักษาเพื่อตัวท่านอีกเหมือนกัน ร่างกายที่ท่านใช้นี้ท่านไม่ได้ใช้เพื่อตัวท่านแล้ว ท่านใช้เพื่อประโยชน์สุขของชาวพุทธเรา ของผู้ที่ปรารถนาการหลุดพ้น เพราะท่านต้องใช้ร่างกายที่แข็งแรง เพื่อที่จะได้เอาธรรมะมาสั่งสอนให้กับผู้ที่ยังไม่รู้นั่นเอง ถ้าท่านไม่รักษาร่างกาย ถ้าร่างกายท่านตายไป เราก็จะไม่มีครูบาอาจารย์มาคอยสั่งคอยสอนเรา แต่ให้เราเข้าใจว่าท่านไม่ได้รักษาเพื่อรักษาตัวท่าน ร่างกายท่านรู้ว่าไม่ใช่ตัวท่านอยู่แล้ว ตัวท่านคือจิตใจ
และจิตใจของท่านนี้ก็อิ่มแล้ว พอแล้ว เพราะไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แต่ที่ดูแลร่างกายเลี้ยงดูร่างกาย ออกกำลังกาย ทำอะไรให้กับร่างกายนี้เพราะยังทำได้อยู่
เพื่อที่จะได้ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้ที่สนใจ เท่านั้นเอง แต่เมื่อถึงเวลาที่ท่านรู้ว่ารักษาไม่ได้ เลี้ยงไม่ได้ ดูแลไม่ได้ ท่านก็จะปล่อย ท่านก็จะหยุดทันที ท่านไม่ฝืนความจริง แต่ผู้ที่ยังมีกิเลสมีตัณหา มีโมหะอวิชชาอยู่นี้ จะพยายามทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม ก็ต้องลองทำดูก่อนแล้ว หมอบอกไม่รับประกันว่าจะหายไม่หาย ก็ไม่เป็นไร ขอให้ทำ หมอบอกรักษาแบบนี้อาจจะไม่หาย บอกว่าไม่หายก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ทำ ไม่ทำแล้วไม่รู้ แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ผู้ที่ไม่มีกิเลสแล้ว ท่านก็ดูว่าถ้ามันไม่หายจริงๆ ก็อย่าไปทรมานมันดีกว่า ปล่อยให้มันเป็นไปตามสภาพของมัน เพราะไม่มีใครที่จะไปเหนี่ยวรั้งความตายได้ เหนี่ยงรั้งให้มันอยู่ต่อไปได้เมื่อถึงเวลาที่ต้
องตาย นี่ก็คือสิ่งที่เราต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องขันธ์
ธรรมะหน้ากุฏิ
วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
พระสุชาติอภิชาโต วัดญาณสังวราราม อธิบายเรื่อง ขันธ์ 5 ให้เข้าใจง่ายที่สุด
พวกเราทุกคนนี้ติดอยู่กับขันธ์ ๕ เราไปติดขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง มีรูป คือร่างกายของเรา มีเวทนาคือความรู้สึก มีสัญญาความจำได้หมายรู้ มีสังขารความคิดปรุงแต่ง มีวิญญาณคือการรับรู้รูปเสียงกลิ่นรสที่เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกาย
นี่คือสิ่งที่จิตใจของเราผูกพันอยู่เพราะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการหาความสุขให้กับจิตใจ แต่สิ่งเหล่านี้เขาไม่เที่ยง เขาไม่อยู่ภายใต้คำสั่งของเราตลอดไป
บางทีสั่งให้เขาหาความสุขเวทนามาให้เรา เขากลับหาทุกขเวทนามาให้เรา
เราจะบอกให้เขาเอากลับไป เขาก็ไม่ยอมเอากลับไป เขาก็จะให้ทุกขเวทนากับเรา
ถ้าเราไม่รู้จักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องกับสิ่งเหล่านี้ ใจของเราก็จะปฏิบัติไม่ถูก คือ ปฏิบัติด้วยการสร้างความทุกข์
ไม่ใช่ด้วยการระงับความทุกข์ เพราะเราไม่รู้ว่าความทุกข์ของเราเกิดจากอะไรนั่นเอง เราไม่รู้ว่าความทุกข์ของพวกเราเกิดจากความอยากต่างๆ อยากให้มีแต่ความสุข อยากให้มีแต่สุขเวทนา อันนี้ก็เป็นทุกข์แล้ว
พอสุขหายไปก็ทุกข์แล้ว เพราะเราไม่รู้ว่าเวทนานี้ไม่เที่ยง
เวทนานี้ไม่มีแต่เพียงสุขอย่างเดียว เวทนานี้เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเหมือนดินฟ้าอากาศ ดินฟ้าอากาศนี้จะไม่แจ้งตลอดเวลา จะมีวันที่มืดครึ้ม จะมีวันที่ฝนตก จะมีวันที่แดดออก มันก็สลับกันไป เปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมา แล้วก็ไม่มีใครไปควบคุมบังคับไปสั่งมันได้
ฉันใด ความรู้สึกที่เรามีกันมันก็เหมือนกัน ความรู้สึกทุกข์บ้างสุขบ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง มันก็ผลัดกันเดินกันเข้ามาหาเรา
เดี๋ยวก็สุขเข้ามา เดี๋ยวสุขไป ทุกข์ก็เข้ามา เดี๋ยวสุขไป ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เข้ามา แล้วก็วนกันไปเวียนกันมาอยู่อย่างนี้
แต่ใจเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ใจเราก็อยากจะให้มีแต่สุขอย่างเดียว พอมันไม่สุขอย่างเดียว
ใจมันก็เลยทุกข์ พอมีความอยากแล้วไม่ได้สิ่งที่เราอยากได้ เราก็จะทุกข์กันขึ้นมาทันที นี่คือเราไม่เข้าใจธรรมชาติของขันธ์ ของนามขันธ์คือเวทนา เวทนานี้มันมาคู่กับสัญญา สังขาร และวิญญาณ
เราไม่จำเป็นที่จะต้องพิจารณาสัญญา สังขาร วิญญาณ
เราเพียงแต่พิจารณาเวทนาตัวเดียวก็พอ เพราะว่ามันมาเป็นทีม สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นผู้สนับสนุนที่ทำให้เกิดเวทนาขึ้นมา มีเวทนาแบบต่างๆ
งั้นเราเพียงแต่ต้องรู้จักวิธีที่ปฏิบัติกับเวทนาก็พอ
วิธีที่จะปฏิบัติเวทนาที่ถูกต้องก็ต้องเห็นว่าเวทนาเป็นอนัตตา อนัตตาก็คือเป็นเหมือนดินฟ้าอากาศ
วิธีที่เราปฏิบัติกับดินฟ้าอากาศนี้เราปฏิบัติอย่างไร เราก็ปล่อยให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปตามเรื่องของเขา
เราไม่ไปควบคุมบังคับดินฟ้าอากาศกัน เพราะถ้าเราไปควบคุมแล้วเราก็รู้ว่าเราควบคุมไม่ได้ ไปสั่งไม่ได้ พอเราสั่งไม่ได้เราจะทุกข์กัน
เราจึงไม่ค่อยทุกข์กับดินฟ้าอากาศ ตอนนี้ฝนตกยังไงเราก็ไม่ทุกข์กัน เพราะเรารู้ว่าไปสั่งให้ฝนหยุดไม่ได้ ไปอยากให้ฝนหยุดไม่ได้
พออยากแล้วมันจะทำให้เราทุกข์กันนั่นเอง
ฉันใดเราก็ต้องมองเวทนาที่เกิดขึ้นในใจของพวกเราก็เป็นอย่างนั้น เดี๋ยวก็สุขเวทนา เดี๋ยวก็ทุกขเวทนา เดี๋ยวก็ไม่สุขไม่ทุกข์เวทนา
เราก็ต้องรู้ว่ามันเป็นธรรมชาติของเขาที่จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างนี้ เราก็ทำใจเฉยๆ เหมือนกับเราทำใจเฉยๆ กับดินฟ้าอากาศ
เราไม่ทุกข์กับดินฟ้าอากาศ เราก็จะไม่ทุกข์กับเวทนา
แต่ใจของเรานี้มันมีนิสัยเดิมฝังอยู่ลึก ที่มันจะคอยปรับเวทนาอยู่เรื่อยๆ พอมีเวทนาทุกข์ขึ้นมานิดเดียว มันจะปรับทันที พอคันตรงนั้นปั๊บจะเกาทันที พอเจ็บตรงนั้นปุ๊บจะหาวิธีหยุดมันทันที โดยที่ไม่พิจารณาว่าทำได้หรือไม่ได้ บางทีทำไม่ได้ บางทีทำได้ก็ทำไป
แต่ถ้าทำไม่ได้แล้วไปอยากให้มันหายนี้มันจะทำให้ใจทุกข์ งั้นเราต้องมาฝึกเปลี่ยนนิสัยใหม่
มาสอนใจว่าถ้าไม่อยากจะทุกข์ อย่าไปเปลี่ยนเวทนาที่เราเปลี่ยนไม่ได้ อย่าไปปรับมัน วิธีที่จะทำให้ใจเราไม่ทุกข์และอยู่กับเวทนาได้
ก็คือเราต้องทำใจให้เป็นอุเบกขา แล้วก็มีปัญญาสอนใจว่า เวทนานี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นดินฟ้าอากาศ เหมือนกับร่างกายก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนเหมือนกัน
นี่คือขันธ์ ๕ ที่เราพิจารณากันมี ๒ ส่วน ส่วนร่างกายส่วนหนึ่ง รูปขันธ์
แล้วส่วนนามขันธ์ เราก็พิจารณาเวทนาเป็นตัวหลัก เพราะเวทนานี้มันเกิดจากการทำงานของสัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เราไม่ต้องไปกังวลกับสัญญา สังขาร วิญญาณ เพียงแต่รู้ว่าหน้าที่ของสัญญา สังขาร วิญญาณก็พอ รู้ว่าวิญญาณเป็นผู้รับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เข้ามาให้กับใจ แล้วสัญญาก็ไปแปล ไปจำได้หมายรู้ในรูปเสียงกลิ่นรสที่เข้ามา ว่าเป็นอะไร ดีไม่ดี สุขหรือทุกข์ พอดีก็สุขขึ้นมา พอไม่ดีก็ทุกข์ขึ้นมาพอเกิดสุขเกิดทุกข์ ถ้าไม่มีปัญญา สังขารก็จะปรุงตามความอยากทันที อยากให้สุขอยู่ไปนานๆ อยากให้ทุกข์หายไปเร็วๆ พอไม่ได้ดังใจอยาก ใจก็ทุกข์ขึ้นมาทันที นี่คือการทำงานของนามขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ เขาทำพร้อมๆ กันเป็นทีม
เป็นเหมือนรถยนต์นี่ รถยนต์มีชิ้นส่วนเยอะแยะ มีล้อมีเบรกมีพวงมาลัย มีเครื่องยนต์ แต่เวลาทำงานนี้เขาทำเป็นทีม ทำพร้อมกัน
คนขับไม่ต้องไปรู้หรอกว่าตอนนี้เครื่องยนต์วิ่งอย่างไรบ้าง ล้อหมุนอย่างไรบ้าง
คนขับเพียงให้รู้วิธีขับรถ ให้มันวิ่งไปได้ ให้มันหยุดได้ทั้งนั้นก็พอ ใจก็เหมือนกัน ใจก็เหมือนคนขับร่างกายกับเวทนา ที่เป็นเหมือนรถยนต์
ก็ให้รู้จักวิธีขับร่างกาย ขับเวทนา เพื่อไม่ให้มันมาสร้างความทุกข์ให้กับใจ เท่านั้นเอง
ก็คือต้องรู้ความเป็นจริงของร่างกายว่าสิ่งไหนที่เราทำให้กับร่างกายได้บ้าง สิ่งไหนที่เราทำให้กับร่างกายไม่ได้ ก็อย่าไปอยากทำ
สิ่งที่เราทำได้ก็ทำ เช่น เลี้ยงร่างกายได้ เราก็เลี้ยงไป ให้อาหารได้ ให้น้ำได้ ให้ลมได้ หายใจได้ เราก็ทำไป แต่ถ้าสิ่งไหนเราทำไม่ได้เราก็อย่าไปทำมัน
เช่น ไปห้ามมันไม่ให้มันแก่นี้ ทำไม่ได้
ก็อย่าไปทำมัน ทำยังไงก็ทำไม่ได้ ทำได้ก็ชั่วคราว ถอนผมหงอกออกไป เดี๋ยวเส้นใหม่มันก็หงอกอีก ไปย้อมเดี๋ยวมันก็โผล่ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นอย่าไปทำให้มันเหนื่อยแล้วก็จะทุกข์ไปเปล่าๆ สู้ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมันดีกว่า สิ่งไหนที่เราทำไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไป เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา รักษาได้หรือเปล่า รักษาได้ก็รักษาไป
พระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็ยังกินยากันอยู่เวลาร่างกายไม่สบาย ถ้ากินยานี้แล้วรักษาให้โรคภัยหายได้ ท่านก็กินกัน ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นพระอรหันต์แล้วไม่ต้องรักษา ก็ไม่ใช่ ถึงแม้รักษาท่านก็ไม่ได้รักษาเพื่อตัวท่านอีกเหมือนกัน ร่างกายที่ท่านใช้นี้ท่านไม่ได้ใช้เพื่อตัวท่านแล้ว ท่านใช้เพื่อประโยชน์สุขของชาวพุทธเรา ของผู้ที่ปรารถนาการหลุดพ้น เพราะท่านต้องใช้ร่างกายที่แข็งแรง เพื่อที่จะได้เอาธรรมะมาสั่งสอนให้กับผู้ที่ยังไม่รู้นั่นเอง ถ้าท่านไม่รักษาร่างกาย ถ้าร่างกายท่านตายไป เราก็จะไม่มีครูบาอาจารย์มาคอยสั่งคอยสอนเรา แต่ให้เราเข้าใจว่าท่านไม่ได้รักษาเพื่อรักษาตัวท่าน ร่างกายท่านรู้ว่าไม่ใช่ตัวท่านอยู่แล้ว ตัวท่านคือจิตใจ
และจิตใจของท่านนี้ก็อิ่มแล้ว พอแล้ว เพราะไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แต่ที่ดูแลร่างกายเลี้ยงดูร่างกาย ออกกำลังกาย ทำอะไรให้กับร่างกายนี้เพราะยังทำได้อยู่
เพื่อที่จะได้ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้ที่สนใจ เท่านั้นเอง แต่เมื่อถึงเวลาที่ท่านรู้ว่ารักษาไม่ได้ เลี้ยงไม่ได้ ดูแลไม่ได้ ท่านก็จะปล่อย ท่านก็จะหยุดทันที ท่านไม่ฝืนความจริง แต่ผู้ที่ยังมีกิเลสมีตัณหา มีโมหะอวิชชาอยู่นี้ จะพยายามทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม ก็ต้องลองทำดูก่อนแล้ว หมอบอกไม่รับประกันว่าจะหายไม่หาย ก็ไม่เป็นไร ขอให้ทำ หมอบอกรักษาแบบนี้อาจจะไม่หาย บอกว่าไม่หายก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ทำ ไม่ทำแล้วไม่รู้ แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ผู้ที่ไม่มีกิเลสแล้ว ท่านก็ดูว่าถ้ามันไม่หายจริงๆ ก็อย่าไปทรมานมันดีกว่า ปล่อยให้มันเป็นไปตามสภาพของมัน เพราะไม่มีใครที่จะไปเหนี่ยวรั้งความตายได้ เหนี่ยงรั้งให้มันอยู่ต่อไปได้เมื่อถึงเวลาที่ต้
องตาย นี่ก็คือสิ่งที่เราต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องขันธ์
ธรรมะหน้ากุฏิ
วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี