มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สังโยชน์ 10 ที่เกี่ยวข้องกับอายตนะ และ วิธีการตัดสังโยชน์ 10 โดยพระราชพรหมญาน วัดท่าซุงกันครับ (ง่ายต่อการปฏิบัติ)
สังโยชน์10ที่เกี่ยวข้องกับอายตนะ
๑. สักกายทิฏฐิ มีความหลงผิดเข้าใจว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา ก็คิดว่าร่างกายของเรานี่มันไม่ตายหรอก มันไม่ตาย มันไม่ยอมตาย มันไม่ยอมสลายตัว มันอยู่กับเราตลอดเวลา แล้วก็ร่างกายของบุคคลอื่นก็เหมือนกัน ที่เราชอบเรารัก คิดว่าเขาจะไม่ตาย คิดว่าเขาจะไม่เปลี่ยนแปลง เขาจะอยู่กับเราตลอดเวลา นี่เ็ป็นความคิดของบุคคลผู้เป็นเหยื่อของวัฏฏะ หมายความว่าเป็นเหยื่อของกิเลส เป็นความเห็นผิดหนึ่งละนะ
๒. วิจิกิจฉา สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้านี่แค่เราละหรือ ไม่แค่เราหรอก ไอ้ที่พูดมานี้จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้นี่ ถ้าหากว่าเรานึกว่าเราสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ละก็เชื่อสิ นี่เราไม่เชื่อนี่เราดีกว่าพระพุทธเจ้าเสียแล้ว
๓. สีลัพตปรามาส นี่ได้แก่การรักษาศีลไม่จริง รับศีลส่งเดช พระว่าปาณา อทินนา กาเม มุสา ก็ว่าส่งแล้วก็บอกว่าไปรับศีลมาแล้ว แต่ความจริงไม่ถือศีลเลย โกหกตัวเอง โกหกพระ
(สามข้อนี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดากับพระสกิทาคามี)
๔. กามฉันทะ มีความพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสตามที่อายตนะกระทบกระทั่ง รักอยากได้มาเป็นผัวเป็นเมีย อยากเคล้าเคลียอยู่คู่ครอง ทีนี้ข้อที่
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งจิต ความไม่ชอบใจที่เขาทำไม่ถูกใจเรา หรือพยาบาทการจองล้างจองผลาญ นี้ถ้ามันไม่ถูกใจละก็คิดอาฆาต ก็ตัวเดียวกัน ไม่เห็นจะเป็นตัวอะไร
(ข้อ ๑ ถึง ๕ นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี )
๖.รูปราคะ
๖. รูปราคะ หลงอยู่ในรูปฌาน คิดว่าฌานเป็นของวิเศษ
๗. อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
๘. อุทธัจจะ อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง
๙. มานะ การถือว่าเราเสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา
๑๐. อวิชชา ความโง่ อวิชชานี่ผมไม่แปลนะขอรับ ว่าไม่รู้ ไม่มีใครที่ไหน คนก็ดี สัตว์ก็ดี เกิดมาแล้วมันรู้ทั้งนั้น มันรู้ แต่ว่าจะรู้ตรงตามคติของพระพุทธเจ้าหรือเปล่าเท่านั้นแหละ ถ้ารู้ไม่ตรงก็เรียกกันว่าความโง่ดีกว่า ไม่ใช่คนไม่รู้ คือว่ารู้ไม่ครบ
(สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล)
สังโยชน์มันมีอยู่ ๑๐ หน้า ตัวไหนมันมีกำลังใหญ่ที่สุดร้ายแรงที่สุด เราจะโจมตีกองทัพให้พินาศไป ฆ่าจอมบงการนั่นเสีย ตายแล้วลูกน้องก็หมดกำลัง ทีนี้มาว่ากันถึงแม่ทัพใหญ่ในสังโยชน์ทั้งสิบนี้มันคือใคร มันใครกันแน่ที่จะตัดอายตนะเสียได้ ความผูกพันที่เกิดจากอายตนะ ไอ้ตัวนี้ไม่ใช่ใคร สักกายทิฏฐิตัวต้นนั่นแหละ ตามที่พูดมาแล้วในขันธวรรค หรือขันธบรรพ ที่พระสารีบุตรบอกกับบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลาย ตัดสักกายทิฏฐิได้ตัวเดียวไปนิพพานได้ จะเป็นพระโสดาก็ได้ เป็นอนาคาก็ได้
ทีนี้จะมาบอกวิธีตัดให้สักนิด สมมุติว่าตาเห็นรูป มันเกิดรักรูปเข้าแล้วนะ รักแบบไหนก็ช่างเถอะ เอาแบบชนิดที่เรียกว่าถอนตัวไม่ออกก็แล้วกัน ทีนี้รูปไหนละที่เรารัก ไปยืนเปรียบเทียบดู ถ้าเข้าไปใกล้ๆ ระวังนะ เขาจะตบหน้าเอา อยู่ไกลๆ ก็ได้ มองดูว่าเรามีเท้า เขามีเท้าหรือเปล่า เรามีหนัง เขามีหนังหรือเปล่า เรามีตามีหู มีจมูกมีฟัน มีขี้มีเยี่ยว มีเลือดมีเสลด มีน้ำเหลือง อะไรต่ออะไรพวกนี้ ไอ้รูปที่เรารักน่ะ เขามีหรือเปล่า นี่หมายถึงว่ารูปที่มีชีวิตนะ
แต่รูปที่ไม่มีชีวิตก็เหมือนกันนะ เมื่อมันเกิดมาใหม่แล้ว มันเก่าหรือเปล่า ไอ้รูปตัวอย่างก่อนๆ มันเก่าไปแล้วมีไหม เอายังงี้ก็แล้วกันเทียบกันดูนะ ทีนี้เอารูปคนเถอะ อย่างอื่นมันไม่แน่นักหรอก ไอ้ที่ยึดแน่นกับรูปคน รูปบ้าน เราชอบใจเดี๋ยวเราก็ละ มันเก่าแล้วเราก็ไม่ชอบ เครื่องประดับประดาอย่างอื่นก็เหมือนกัน ประเดี๋ยวก็หยิบประเดี๋ยวก็วาง ไอ้ที่ติดมากนี่คือรูปคน รูปคนนี่ไม่ใช่ชอบรูปอย่างเดียว ชอบลูบชอบคลำเสียด้วย ชอบสัมผัสนี่มันชอบมาก ทีนี้ตัวรูปตัวนี้แหละไปลองคลำๆ ดูว่าเขามีเหมือนเรา แล้วล้วงเข้าไปในท้อง นึกล้วงนา อย่าเอามือล้วงเข้าไปนาเดี๋ยวติดตะราง ล้วงเข้าไปในท้องดูว่าเขามีอะไรเหมือนเราไหม ถ้ามีแล้วก็ลองพิจารณาดูว่ารูปนี้สะอาดหรือสกปรก น่าประคับประคองหรือเปล่า แล้วก็ดูต่อไป รูปนี่มีอาการเปลี่ยนแปลงไหมนะ แล้วในที่สุดมันพังไหม นี่เป็นงี้ เมื่อพังแล้วมันก็สะอาดหรือมันสกปรก หรือมันเก่ามันผุมันเปื่อย มันเหม็นหรือมันหอม หาความเป็นจริง นี่เรียกว่ารูปภายนอกที่เราชอบนะ รูปภายในคือร่างกายของเรา ว่ามันทรงสภาพไหม มันเปลี่ยนแปลงไหม แล้วมันจะตายไหม ถ้ารู้ว่ามันจะเปลี่ยนแปลง มันจะตาย มันจะสกปรก เราก็นึกสิว่าเจ้าเวรเอ๋ย เองจะไปรักมันทำไม แล้วมันก็ไม่เป็นมิตรที่ดีสำหรับเรา จะชอบมันทำไม
โมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตายมีอยู่ ทำไมจึงไม่ชอบ นั่นก็คือพระนิพพาน ทำใจยังไงจึงจะเห็นชัด โน่นแน่ะ ไปล้วงเอานวสี ๙ คืออสุภกรรมฐาน มา เอาธาตุ ๔ มา เอาปฏิกูลสัญญามาช่วยประกอบ นี่เวลาเจริญวิปัสสนาญาณต้องเอาสมถะมาช่วยประกอบเหมือนกันนะ มันจึงจะไปรอด ถ้าตัดรูปไปได้ตัวเดียว เห็นแล้วว่าเจ้านี่ตายแน่แล้ว เจ้านี่ป่วยแน่แล้ว เจ้านี่เน่าแน่แล้ว เจ้านี่แก่แน่แล้ว แล้วเราจะรักมันเพื่อประโยชน์อะไร คิดบ่อยๆ ให้มันชิน พิจารณาให้เห็น หนักๆ เข้ามันก็จะมีความรังเกียจ คล้ายๆ รังเกียจสิ่งโสโครก คืออสุภกรรมฐาน ได้แก่คนเน่าคนเปื่อย สุนัขเน่าสุนัขเปื่อยนั่นเอง
เมื่อเกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายแล้ว ต่อมาสังขารุเปกขาญาณ ความวางเฉยในสังขารมันก็ปรากฏในร่างกาย ก็เชิญป่วยสิ มียาฉันก็รักษา หายก็หายไม่หายก็ตามใจนายสิ ตามใจ จะตายรึ ก็ตามใจสิ ฉันรู้แล้วนี่ว่าแกจะตาย ไอ้แกกับฉันนี่ชาตินี้ชาติเดียว เป็นชาติสุดท้ายนะ ต่อไปเลิกคบกัน เราไม่ต้องการ อีตอนคิดอย่างนี้มันดียังไง จะดีหรือไม่ก็ต้องดู ท่านโคทิกะ ท่านโคทิกะบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา บวชมาแล้วได้แต่เพียงฌานโลกีย์ ไม่ได้อรหัตตผล พระโสดาก็ไม่ได้ เกิดความป่วยไข้ไม่สบายอย่างหนักบวมทั้งตัว ในที่สุดก็เกิดเบื่อสังขาร เบื่อขันธ์ ๕ คิดว่าเกิดมาทันพระพุทธเจ้าแล้วขันธ์ ๕ ยังเป็นโทษ เลยไม่ต้องการขันธ์ ๕ อีก คิดว่าชาตินี้ชาติเดียว เราเป็นเหยื่อของขันธ์ ๕ ชาติหน้าขันธ์ ๕ ไม่มีสำหรับเรา เมื่อไม่ต้องการความเกิดอีกทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าขันธ์แล้วไม่ต้องการ เลยเอามีดโกนเชือดคอตาย ไปนิพพาน นี่การไปนิพพานมีนิพพิทาญาณ สังขารุเปกขาญาณเสียหน่อยเดียวก็ไปได้
ทีนี้เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว ไอ้เสียง ไอ้กลิ่น ไอ้รสสัมผัสก็เหมือนกัน มันก็ตัดได้หมด ให้ตัดรูปเสียเพราะไอ้เสียงมันก็มาจากรูป ไอ้รสแห่งการสัมผัส รสกระทบลิ้นมันก็มาจากรูป ไอ้สัมผัสมันก็มาจากรูป ทำไมว่ารสมาจากรูป กินรูปเข้าไปได้หรือ ก็กินปลากินหมูนี่ไม่ใช่หรือ กินผักกินน้ำพริกน่ะ มันรูปทั้งนั้นแหละ จะไปเอาแต่รูปคนยังไงเล่า นี่มันก็เป็นรูปด้วยกันหมดแหละ
เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว ต่อไปเมื่อมีความสงสัยในคำสอน ก็นึกว่านี่เราเห็นตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้ากล่าวแล้วนี่ ท่านกล่าวว่า คนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันหมด ก็เลิกสงสัย ทีนี้ถ้าเราจะเอาดีแล้ว เห็นดีแล้วตามพระพุทธเจ้า ก็นึกว่าศีลนี่แหละจะนำเราไปพระนิพพาน กำลังใจมันก็เกิด ก็รักษาศีลได้ ทีนี้มาตอนกามฉันทะ เรากำจัดความพอใจในรูปเสียได้แล้วกามฉันทะมันจะมาได้ยังไงล่ะ มันก็หมดไป ถ้ามีอารมณ์ที่เป็นอนึสัย ก็ค่อยๆ คิด มันก็หายไป
แล้วมาพยาบาท โอ๊ะ มันจะเกิดมาได้ยังไงเล่า ก็เมื่อเรารู้อยู่ว่าเขาจะต้องตาย เขาก็ต้องเจ็บเขาเอง เขาก็ต้องป่วยเขาเอง เขาต้องลำบากเขาเอง แล้วเขาก็ตายเขาเอง เราจะมานั่งคิดฆ่าเขาทำไม มันก็หายไป ทีนี้ถ้าอารมณ์จับพระนิพพานแล้วนี่ตอนนี้ เป็นพระอนาคามีแล้วนี่แหละ กำจัดพยาบาทได้เป็นพระอนาคามีแล้ว
มาถึงรูปราคะในปฐมฌานก็ดี หรืออรูปราคะในอรูปฌานก็ดี เราก็ไม่เอาหัวไปจมอยู่ตรงนั้นหรอก อย่าคิดว่าฌานเป็นของเลิศประเสริฐไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า มันคิดไม่ได้แล้ว เพราะวิปัสสนาญาณที่มีกำลังสูงกว่า มีความบริสุทธิ์กว่าเข้าถึงแล้ว
ทีนี้มาตัวมานะ เมื่อรู้ว่าคนตายเหมือนกันแล้ว มานะมันจะเกิดที่ไหน อุทธัจจะความฟุ้งซ่านก็เหมือนกัน ในเมื่ออารมณ์จับพระนิพพานแล้วความฟุ้งซ่านไม่มี มีอย่างเดียว คือเห็นด้วยเฉพาะนิพพานเท่านั้น จับเฉพาะพระนิพพาน จิตไม่คลาดจากพระนิพพาน อย่างนี้เรียกว่าไม่มีอุทธัจจะ อวิชชาความโง่ เมื่อรู้มาแค่นี้แล้ว มันจะโง่ยังไง ไม่มีการโง่หรอก ไม่ต้องไปตัดหรอก มันตัดหมดของมันเอง นี่เป็นอันว่าอายตนทั้ง ๖ ต้องตัดด้วยสักกายทิฏฐิ สังโยชน์ที่เกาะร้อยรัดจึงจะหมดไป
พอมีประโยชน์กับนักปฏิบัติทั้งหลายที่กำลังตัดสังโยชน์ 10 อยู่นะครับ
สังโยชน์ 10 ที่เกี่ยวข้องกับอายตนะ
สังโยชน์10ที่เกี่ยวข้องกับอายตนะ
๑. สักกายทิฏฐิ มีความหลงผิดเข้าใจว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา ก็คิดว่าร่างกายของเรานี่มันไม่ตายหรอก มันไม่ตาย มันไม่ยอมตาย มันไม่ยอมสลายตัว มันอยู่กับเราตลอดเวลา แล้วก็ร่างกายของบุคคลอื่นก็เหมือนกัน ที่เราชอบเรารัก คิดว่าเขาจะไม่ตาย คิดว่าเขาจะไม่เปลี่ยนแปลง เขาจะอยู่กับเราตลอดเวลา นี่เ็ป็นความคิดของบุคคลผู้เป็นเหยื่อของวัฏฏะ หมายความว่าเป็นเหยื่อของกิเลส เป็นความเห็นผิดหนึ่งละนะ
๒. วิจิกิจฉา สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้านี่แค่เราละหรือ ไม่แค่เราหรอก ไอ้ที่พูดมานี้จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้นี่ ถ้าหากว่าเรานึกว่าเราสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ละก็เชื่อสิ นี่เราไม่เชื่อนี่เราดีกว่าพระพุทธเจ้าเสียแล้ว
๓. สีลัพตปรามาส นี่ได้แก่การรักษาศีลไม่จริง รับศีลส่งเดช พระว่าปาณา อทินนา กาเม มุสา ก็ว่าส่งแล้วก็บอกว่าไปรับศีลมาแล้ว แต่ความจริงไม่ถือศีลเลย โกหกตัวเอง โกหกพระ
(สามข้อนี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดากับพระสกิทาคามี)
๔. กามฉันทะ มีความพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสตามที่อายตนะกระทบกระทั่ง รักอยากได้มาเป็นผัวเป็นเมีย อยากเคล้าเคลียอยู่คู่ครอง ทีนี้ข้อที่
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งจิต ความไม่ชอบใจที่เขาทำไม่ถูกใจเรา หรือพยาบาทการจองล้างจองผลาญ นี้ถ้ามันไม่ถูกใจละก็คิดอาฆาต ก็ตัวเดียวกัน ไม่เห็นจะเป็นตัวอะไร
(ข้อ ๑ ถึง ๕ นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี )
๖.รูปราคะ
๖. รูปราคะ หลงอยู่ในรูปฌาน คิดว่าฌานเป็นของวิเศษ
๗. อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
๘. อุทธัจจะ อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง
๙. มานะ การถือว่าเราเสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา
๑๐. อวิชชา ความโง่ อวิชชานี่ผมไม่แปลนะขอรับ ว่าไม่รู้ ไม่มีใครที่ไหน คนก็ดี สัตว์ก็ดี เกิดมาแล้วมันรู้ทั้งนั้น มันรู้ แต่ว่าจะรู้ตรงตามคติของพระพุทธเจ้าหรือเปล่าเท่านั้นแหละ ถ้ารู้ไม่ตรงก็เรียกกันว่าความโง่ดีกว่า ไม่ใช่คนไม่รู้ คือว่ารู้ไม่ครบ
(สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล)
สังโยชน์มันมีอยู่ ๑๐ หน้า ตัวไหนมันมีกำลังใหญ่ที่สุดร้ายแรงที่สุด เราจะโจมตีกองทัพให้พินาศไป ฆ่าจอมบงการนั่นเสีย ตายแล้วลูกน้องก็หมดกำลัง ทีนี้มาว่ากันถึงแม่ทัพใหญ่ในสังโยชน์ทั้งสิบนี้มันคือใคร มันใครกันแน่ที่จะตัดอายตนะเสียได้ ความผูกพันที่เกิดจากอายตนะ ไอ้ตัวนี้ไม่ใช่ใคร สักกายทิฏฐิตัวต้นนั่นแหละ ตามที่พูดมาแล้วในขันธวรรค หรือขันธบรรพ ที่พระสารีบุตรบอกกับบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลาย ตัดสักกายทิฏฐิได้ตัวเดียวไปนิพพานได้ จะเป็นพระโสดาก็ได้ เป็นอนาคาก็ได้
ทีนี้จะมาบอกวิธีตัดให้สักนิด สมมุติว่าตาเห็นรูป มันเกิดรักรูปเข้าแล้วนะ รักแบบไหนก็ช่างเถอะ เอาแบบชนิดที่เรียกว่าถอนตัวไม่ออกก็แล้วกัน ทีนี้รูปไหนละที่เรารัก ไปยืนเปรียบเทียบดู ถ้าเข้าไปใกล้ๆ ระวังนะ เขาจะตบหน้าเอา อยู่ไกลๆ ก็ได้ มองดูว่าเรามีเท้า เขามีเท้าหรือเปล่า เรามีหนัง เขามีหนังหรือเปล่า เรามีตามีหู มีจมูกมีฟัน มีขี้มีเยี่ยว มีเลือดมีเสลด มีน้ำเหลือง อะไรต่ออะไรพวกนี้ ไอ้รูปที่เรารักน่ะ เขามีหรือเปล่า นี่หมายถึงว่ารูปที่มีชีวิตนะ
แต่รูปที่ไม่มีชีวิตก็เหมือนกันนะ เมื่อมันเกิดมาใหม่แล้ว มันเก่าหรือเปล่า ไอ้รูปตัวอย่างก่อนๆ มันเก่าไปแล้วมีไหม เอายังงี้ก็แล้วกันเทียบกันดูนะ ทีนี้เอารูปคนเถอะ อย่างอื่นมันไม่แน่นักหรอก ไอ้ที่ยึดแน่นกับรูปคน รูปบ้าน เราชอบใจเดี๋ยวเราก็ละ มันเก่าแล้วเราก็ไม่ชอบ เครื่องประดับประดาอย่างอื่นก็เหมือนกัน ประเดี๋ยวก็หยิบประเดี๋ยวก็วาง ไอ้ที่ติดมากนี่คือรูปคน รูปคนนี่ไม่ใช่ชอบรูปอย่างเดียว ชอบลูบชอบคลำเสียด้วย ชอบสัมผัสนี่มันชอบมาก ทีนี้ตัวรูปตัวนี้แหละไปลองคลำๆ ดูว่าเขามีเหมือนเรา แล้วล้วงเข้าไปในท้อง นึกล้วงนา อย่าเอามือล้วงเข้าไปนาเดี๋ยวติดตะราง ล้วงเข้าไปในท้องดูว่าเขามีอะไรเหมือนเราไหม ถ้ามีแล้วก็ลองพิจารณาดูว่ารูปนี้สะอาดหรือสกปรก น่าประคับประคองหรือเปล่า แล้วก็ดูต่อไป รูปนี่มีอาการเปลี่ยนแปลงไหมนะ แล้วในที่สุดมันพังไหม นี่เป็นงี้ เมื่อพังแล้วมันก็สะอาดหรือมันสกปรก หรือมันเก่ามันผุมันเปื่อย มันเหม็นหรือมันหอม หาความเป็นจริง นี่เรียกว่ารูปภายนอกที่เราชอบนะ รูปภายในคือร่างกายของเรา ว่ามันทรงสภาพไหม มันเปลี่ยนแปลงไหม แล้วมันจะตายไหม ถ้ารู้ว่ามันจะเปลี่ยนแปลง มันจะตาย มันจะสกปรก เราก็นึกสิว่าเจ้าเวรเอ๋ย เองจะไปรักมันทำไม แล้วมันก็ไม่เป็นมิตรที่ดีสำหรับเรา จะชอบมันทำไม
โมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตายมีอยู่ ทำไมจึงไม่ชอบ นั่นก็คือพระนิพพาน ทำใจยังไงจึงจะเห็นชัด โน่นแน่ะ ไปล้วงเอานวสี ๙ คืออสุภกรรมฐาน มา เอาธาตุ ๔ มา เอาปฏิกูลสัญญามาช่วยประกอบ นี่เวลาเจริญวิปัสสนาญาณต้องเอาสมถะมาช่วยประกอบเหมือนกันนะ มันจึงจะไปรอด ถ้าตัดรูปไปได้ตัวเดียว เห็นแล้วว่าเจ้านี่ตายแน่แล้ว เจ้านี่ป่วยแน่แล้ว เจ้านี่เน่าแน่แล้ว เจ้านี่แก่แน่แล้ว แล้วเราจะรักมันเพื่อประโยชน์อะไร คิดบ่อยๆ ให้มันชิน พิจารณาให้เห็น หนักๆ เข้ามันก็จะมีความรังเกียจ คล้ายๆ รังเกียจสิ่งโสโครก คืออสุภกรรมฐาน ได้แก่คนเน่าคนเปื่อย สุนัขเน่าสุนัขเปื่อยนั่นเอง
เมื่อเกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายแล้ว ต่อมาสังขารุเปกขาญาณ ความวางเฉยในสังขารมันก็ปรากฏในร่างกาย ก็เชิญป่วยสิ มียาฉันก็รักษา หายก็หายไม่หายก็ตามใจนายสิ ตามใจ จะตายรึ ก็ตามใจสิ ฉันรู้แล้วนี่ว่าแกจะตาย ไอ้แกกับฉันนี่ชาตินี้ชาติเดียว เป็นชาติสุดท้ายนะ ต่อไปเลิกคบกัน เราไม่ต้องการ อีตอนคิดอย่างนี้มันดียังไง จะดีหรือไม่ก็ต้องดู ท่านโคทิกะ ท่านโคทิกะบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา บวชมาแล้วได้แต่เพียงฌานโลกีย์ ไม่ได้อรหัตตผล พระโสดาก็ไม่ได้ เกิดความป่วยไข้ไม่สบายอย่างหนักบวมทั้งตัว ในที่สุดก็เกิดเบื่อสังขาร เบื่อขันธ์ ๕ คิดว่าเกิดมาทันพระพุทธเจ้าแล้วขันธ์ ๕ ยังเป็นโทษ เลยไม่ต้องการขันธ์ ๕ อีก คิดว่าชาตินี้ชาติเดียว เราเป็นเหยื่อของขันธ์ ๕ ชาติหน้าขันธ์ ๕ ไม่มีสำหรับเรา เมื่อไม่ต้องการความเกิดอีกทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าขันธ์แล้วไม่ต้องการ เลยเอามีดโกนเชือดคอตาย ไปนิพพาน นี่การไปนิพพานมีนิพพิทาญาณ สังขารุเปกขาญาณเสียหน่อยเดียวก็ไปได้
ทีนี้เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว ไอ้เสียง ไอ้กลิ่น ไอ้รสสัมผัสก็เหมือนกัน มันก็ตัดได้หมด ให้ตัดรูปเสียเพราะไอ้เสียงมันก็มาจากรูป ไอ้รสแห่งการสัมผัส รสกระทบลิ้นมันก็มาจากรูป ไอ้สัมผัสมันก็มาจากรูป ทำไมว่ารสมาจากรูป กินรูปเข้าไปได้หรือ ก็กินปลากินหมูนี่ไม่ใช่หรือ กินผักกินน้ำพริกน่ะ มันรูปทั้งนั้นแหละ จะไปเอาแต่รูปคนยังไงเล่า นี่มันก็เป็นรูปด้วยกันหมดแหละ
เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว ต่อไปเมื่อมีความสงสัยในคำสอน ก็นึกว่านี่เราเห็นตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้ากล่าวแล้วนี่ ท่านกล่าวว่า คนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันหมด ก็เลิกสงสัย ทีนี้ถ้าเราจะเอาดีแล้ว เห็นดีแล้วตามพระพุทธเจ้า ก็นึกว่าศีลนี่แหละจะนำเราไปพระนิพพาน กำลังใจมันก็เกิด ก็รักษาศีลได้ ทีนี้มาตอนกามฉันทะ เรากำจัดความพอใจในรูปเสียได้แล้วกามฉันทะมันจะมาได้ยังไงล่ะ มันก็หมดไป ถ้ามีอารมณ์ที่เป็นอนึสัย ก็ค่อยๆ คิด มันก็หายไป
แล้วมาพยาบาท โอ๊ะ มันจะเกิดมาได้ยังไงเล่า ก็เมื่อเรารู้อยู่ว่าเขาจะต้องตาย เขาก็ต้องเจ็บเขาเอง เขาก็ต้องป่วยเขาเอง เขาต้องลำบากเขาเอง แล้วเขาก็ตายเขาเอง เราจะมานั่งคิดฆ่าเขาทำไม มันก็หายไป ทีนี้ถ้าอารมณ์จับพระนิพพานแล้วนี่ตอนนี้ เป็นพระอนาคามีแล้วนี่แหละ กำจัดพยาบาทได้เป็นพระอนาคามีแล้ว
มาถึงรูปราคะในปฐมฌานก็ดี หรืออรูปราคะในอรูปฌานก็ดี เราก็ไม่เอาหัวไปจมอยู่ตรงนั้นหรอก อย่าคิดว่าฌานเป็นของเลิศประเสริฐไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า มันคิดไม่ได้แล้ว เพราะวิปัสสนาญาณที่มีกำลังสูงกว่า มีความบริสุทธิ์กว่าเข้าถึงแล้ว
ทีนี้มาตัวมานะ เมื่อรู้ว่าคนตายเหมือนกันแล้ว มานะมันจะเกิดที่ไหน อุทธัจจะความฟุ้งซ่านก็เหมือนกัน ในเมื่ออารมณ์จับพระนิพพานแล้วความฟุ้งซ่านไม่มี มีอย่างเดียว คือเห็นด้วยเฉพาะนิพพานเท่านั้น จับเฉพาะพระนิพพาน จิตไม่คลาดจากพระนิพพาน อย่างนี้เรียกว่าไม่มีอุทธัจจะ อวิชชาความโง่ เมื่อรู้มาแค่นี้แล้ว มันจะโง่ยังไง ไม่มีการโง่หรอก ไม่ต้องไปตัดหรอก มันตัดหมดของมันเอง นี่เป็นอันว่าอายตนทั้ง ๖ ต้องตัดด้วยสักกายทิฏฐิ สังโยชน์ที่เกาะร้อยรัดจึงจะหมดไป
พอมีประโยชน์กับนักปฏิบัติทั้งหลายที่กำลังตัดสังโยชน์ 10 อยู่นะครับ