วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี
วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ
มีท่านพุทธศาสนิกชนมากท่านได้มีจดหมายมาขอวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบง่ายๆ เพื่อฝึก ด้วยตนเอง อาตมาจึงเขียนวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองขึ้นเป็นแบบฝึกในหมวด สุกขวิปัสสโก คือฝึกแบบง่ายๆ ขอให้ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามนี้
สมาธิ
อันดับแรก ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่าสมาธิก่อนสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึง การตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั่นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ
อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ
สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์ สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิท จนไม่อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง
เริ่มทำสมาธิ
เริ่มทำสมาธิใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น เพราะไม่สาคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เรา ต้องการก็ใช้ได้
อาการนั่ง
อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลาพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือ นอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่าน บูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้า และหายใจออก คำว่า กำหนดรู้ คือหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมาก ก็ให้สังเกตด้วยว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้าแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิแล้ว การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นในเวลา นั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ
ภาวนา
การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่า ต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยถ้อยคำ สั้น ๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาว ๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนา อย่างง่ายคือ "พุทโธ" คาภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก เพราะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงชื่อของพระพุทธเจ้าเฉย ๆ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิ ๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่า ข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น
เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจจงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออก นึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนา เรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆ หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุหรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลาย อารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนด อย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่าน มากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำ อย่างนั้น
ขณิกสมาธิ
อารมณ์ที่ทรงสมาธิระยะแรกนี้จะทรงไม่ได้นาน เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ท่านเรียก สมาธิระยะนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย ความจริงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงอารมณ์ไม่ได้ นานก็มีอานิสงส์มาก
ฝึกทรงอารมณ์
อารมณ์ทรงสมาธิ ถึงแม้ว่าจะทรงไม่ได้นานแต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่า มีสมาธิดีกว่าจะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่ นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้
ให้ท่านภาวนาควบกับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า"พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้ นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่นจะประคองใจให้อยู่ ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออกทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่าง น้อยสิบนาทีหรือถึงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมากอารมณ์จะสบายจงพยายามทำ อย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมากบังคับอารมณ์ เพียงสิบเท่านั้นพอใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี
อย่าฝืนอารมณ์มากนัก
เรื่องของอารมณ์เป็นของไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตาม ที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุม ไม่อยู่ ในตอนนั้นควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้นอารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนก็คือ อารมณ์ กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้
ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้น สามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางครั้ง ทำได้เกินสิบก็ทำเรื่อย ๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบอารมณ์เกิดรวนเรกระสับกระส่าย ให้หยุดพัก ประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถ ควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริง ๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่หรือเลิกไปเลย วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลยปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือ หลับไปเลยเพื่อให้ใจสบายให้ถือว่าทำได้เท่าไรพอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี คือ อารมณ์ฌาน
คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์ ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌาน- โลกีย์ที่ทำได้นั้น เอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วยมันก็สามารถคุม อาการภาวนา หรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายบกพร่องนิดเดียว เราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้
ฉะนั้น ถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ , พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรง อารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก,เปรต,อสุรกาย, สัตว์เดียรัจฉานได้ ถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง ถ้า เมื่อเวลาตายเกิดมีอารมณ์เศร้าหมองเข้าครองใจ สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะ อย่างอื่นเข้าประคองใจด้วยธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิมีนรก เป็นต้นก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ
กรรมบถ ๑๐ ประการ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลาบาก
๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ
๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น (ขอแถมนิดหนึ่ง ไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทาให้มึนเมาไร้สติ)
๔. ไม่พูดจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง
๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้รับฟัง
๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน
๗. ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล
๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้
๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทาร้ายใคร
๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี
อานิสงส์กรรมบถ ๑๐
ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็นผู้ทรงสมาธิในศีล
ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้
๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว ไม่อายุ สั้นพลันตาย
๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร , ไฟไหม้ , น้ำท่วม , ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์บริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี
๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี , ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัยเมื่อเกิด เป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง, ไม่เป็นโรค เส้นประสาท, ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์, มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เรื่องของวาจา
๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคน จะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูด เขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัย ปัจจุบัน จะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุข และทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง เรื่องของใจ
๕. อานิสงส์ข้อที่แปด ,ข้อเก้า และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจาก การคิดลักขโมย เป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร, เชื่อพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคำสอน ของท่านด้วยความเคารพ, ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนมีอารมณ์สงบ, มีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว
แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐ ประการ
การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วน ให้ปฏิบัติดังนี้
๑. คิดถึงความตาย ไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจ จะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่าไป สวรรค์ , อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้วขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่ พอใจที่สุดของเรา
๒. คิดต่อไปว่า เมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่ สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยความศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอ ปฏิบัติตามคาสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไร ขอไปนิพพานแห่งเดียว
เมื่อนึกถึงความตายแล้ว ตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกแล้วตั้งใจ นึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจา และพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาดคิด ติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่า มีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใด สิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาด พลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วันไม่นานนักอย่าง ช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบทจะไม่มีการ ผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อท่านใดทรงอารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้โดยไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้นขณิกสมาธิได้ครบถ้วนเมื่อตาย ท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่ นอนถ้าบารมียังอ่อนเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญา แบบเบา ๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขไม่ติดในความโลภ ไม่วุ่นวายในความ โกรธ มีการให้อภัยเป็นปกติ ไม่เมาในร่างกายเรา และร่างกายเขาไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพาน ได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้
อุปจารสมาธิ
อุปจารสมาธิ หมายถึง
วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ โดย (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง
วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ
มีท่านพุทธศาสนิกชนมากท่านได้มีจดหมายมาขอวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบง่ายๆ เพื่อฝึก ด้วยตนเอง อาตมาจึงเขียนวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองขึ้นเป็นแบบฝึกในหมวด สุกขวิปัสสโก คือฝึกแบบง่ายๆ ขอให้ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามนี้
สมาธิ
อันดับแรก ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่าสมาธิก่อนสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึง การตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั่นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ
อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ
สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์ สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิท จนไม่อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง
เริ่มทำสมาธิ
เริ่มทำสมาธิใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น เพราะไม่สาคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เรา ต้องการก็ใช้ได้
อาการนั่ง
อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลาพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือ นอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่าน บูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้า และหายใจออก คำว่า กำหนดรู้ คือหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมาก ก็ให้สังเกตด้วยว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้าแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิแล้ว การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นในเวลา นั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ
ภาวนา
การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่า ต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยถ้อยคำ สั้น ๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาว ๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนา อย่างง่ายคือ "พุทโธ" คาภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก เพราะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงชื่อของพระพุทธเจ้าเฉย ๆ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิ ๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่า ข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น
เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจจงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออก นึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนา เรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆ หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุหรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลาย อารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนด อย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่าน มากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำ อย่างนั้น
ขณิกสมาธิ
อารมณ์ที่ทรงสมาธิระยะแรกนี้จะทรงไม่ได้นาน เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ท่านเรียก สมาธิระยะนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย ความจริงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงอารมณ์ไม่ได้ นานก็มีอานิสงส์มาก
ฝึกทรงอารมณ์
อารมณ์ทรงสมาธิ ถึงแม้ว่าจะทรงไม่ได้นานแต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่า มีสมาธิดีกว่าจะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่ นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้
ให้ท่านภาวนาควบกับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า"พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้ นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่นจะประคองใจให้อยู่ ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออกทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่าง น้อยสิบนาทีหรือถึงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมากอารมณ์จะสบายจงพยายามทำ อย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมากบังคับอารมณ์ เพียงสิบเท่านั้นพอใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี
อย่าฝืนอารมณ์มากนัก
เรื่องของอารมณ์เป็นของไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตาม ที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุม ไม่อยู่ ในตอนนั้นควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้นอารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนก็คือ อารมณ์ กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้
ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้น สามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางครั้ง ทำได้เกินสิบก็ทำเรื่อย ๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบอารมณ์เกิดรวนเรกระสับกระส่าย ให้หยุดพัก ประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถ ควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริง ๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่หรือเลิกไปเลย วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลยปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือ หลับไปเลยเพื่อให้ใจสบายให้ถือว่าทำได้เท่าไรพอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี คือ อารมณ์ฌาน
คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์ ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌาน- โลกีย์ที่ทำได้นั้น เอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วยมันก็สามารถคุม อาการภาวนา หรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายบกพร่องนิดเดียว เราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้
ฉะนั้น ถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ , พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรง อารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก,เปรต,อสุรกาย, สัตว์เดียรัจฉานได้ ถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง ถ้า เมื่อเวลาตายเกิดมีอารมณ์เศร้าหมองเข้าครองใจ สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะ อย่างอื่นเข้าประคองใจด้วยธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิมีนรก เป็นต้นก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ
กรรมบถ ๑๐ ประการ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลาบาก
๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ
๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น (ขอแถมนิดหนึ่ง ไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทาให้มึนเมาไร้สติ)
๔. ไม่พูดจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง
๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้รับฟัง
๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน
๗. ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล
๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้
๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทาร้ายใคร
๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี
อานิสงส์กรรมบถ ๑๐
ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็นผู้ทรงสมาธิในศีล
ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้
๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว ไม่อายุ สั้นพลันตาย
๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร , ไฟไหม้ , น้ำท่วม , ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์บริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี
๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี , ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัยเมื่อเกิด เป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง, ไม่เป็นโรค เส้นประสาท, ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์, มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เรื่องของวาจา
๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคน จะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูด เขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัย ปัจจุบัน จะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุข และทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง เรื่องของใจ
๕. อานิสงส์ข้อที่แปด ,ข้อเก้า และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจาก การคิดลักขโมย เป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร, เชื่อพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคำสอน ของท่านด้วยความเคารพ, ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนมีอารมณ์สงบ, มีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว
แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐ ประการ
การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วน ให้ปฏิบัติดังนี้
๑. คิดถึงความตาย ไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจ จะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่าไป สวรรค์ , อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้วขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่ พอใจที่สุดของเรา
๒. คิดต่อไปว่า เมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่ สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยความศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอ ปฏิบัติตามคาสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไร ขอไปนิพพานแห่งเดียว
เมื่อนึกถึงความตายแล้ว ตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกแล้วตั้งใจ นึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจา และพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาดคิด ติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่า มีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใด สิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาด พลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วันไม่นานนักอย่าง ช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบทจะไม่มีการ ผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อท่านใดทรงอารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้โดยไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้นขณิกสมาธิได้ครบถ้วนเมื่อตาย ท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่ นอนถ้าบารมียังอ่อนเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญา แบบเบา ๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขไม่ติดในความโลภ ไม่วุ่นวายในความ โกรธ มีการให้อภัยเป็นปกติ ไม่เมาในร่างกายเรา และร่างกายเขาไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพาน ได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้
อุปจารสมาธิ
อุปจารสมาธิ หมายถึง