วาทกรรมรัฐเอื้อเอกชน หรือรัฐเอื้อนายทุน เกิดขึ้นและขจรขจายอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีมานี้ โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลเร่งดำเนินนโยบายเศรษฐกิจนำการเมือง โดยขอให้ภาคเอกชนของไทยที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
ด้วยพื้นฐานที่ประเทศไทยใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ค่อนไปทางทุนนิยม ดังนั้น ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จึงต้องเกื้อกูลกัน โดยภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในการเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่วนภาครัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ พร้อมกับสร้างสุขภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเติบโตของภาคเอกชน ผ่านนโยบาย มาตรการ และบริการที่ให้แรงจูงใจที่ถูกต้องต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การลงทุน การเติบโต และความเข้มแข็งของภาคเอกชน อาทิ ด้านกฎหมาย และการลงทุนในกิจกรรมที่มีความจำเป็นต่อภาคประชาชน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ
เมื่อมองในจุดนี้ วาทกรรมรัฐเอื้อเอกชนก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะเป็นไปตามแนวทางที่ควรจะเป็น และผลประโยชน์จากการพัฒนาก็ตกอยู่กับประชาชน
ในประเทศที่ภาคเอกชนเข้มแข็ง เพราะภาครัฐเกื้อกูลในส่วนที่ควรจะเป็น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการพัฒนาประเทศ เพราะทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และอื่น ๆ ซึ่งความเข้มแข็งนี้เกิดจากการทำธุรกิจที่มีจริยธรรม มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้ความสำคัญกับสิทธิและประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การใช้ทรัพยากรขององค์กรที่มุ่งพัฒนาคน นวัตกรรม เทคโนโลยี ตลอดจนให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ และก่อให้เกิดการพัฒนาต่อได้อย่างยั่งยืน
รูปแบบของเศรษฐกิจทุนนิยมที่ทุกภาคส่วนเอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่ใช่รูปแบบเพ้อฝันหรือโลกสวย เพราะเป็นรูปแบบที่มีอยู่จริง ซึ่งสามารถสร้างผลประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมในสังคม และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวียประสบความสำเร็จมาแล้ว ซึ่งส่งผลดีอย่างเด่นชัดต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของประเทศไทยก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนเดินตามแนวทางที่ดีและเหมาะสม เช่น นโยบายการพัฒนาบนพื้นฐานของความยั่งยืน ที่คำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป ซึ่งจะค่อย ๆ สร้างความเท่าเทียมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ นอกจากต้องอาศัยเวลาแล้ว ยังต้องอาศัยความเข้มแข็งของภาครัฐ ในการวางโครงสร้างที่เอื้อให้ระบบตลาดจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำตัวเป็นผู้สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาให้กับหน่วยธุรกิจทุกขนาดอย่างเหมาะสม
วาทกรรมรัฐเอื้อนายทุนไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย แต่เป็นรูปแบบปกติที่ใช้กันโดยทั่วไป หากรู้จักใช้ให้เป็น ใช้ให้เกิดประโยชน์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635807
https://www.pier.or.th/?abridged=บทบาทภาครัฐภายใต้บริบท
รัฐเอื้อเอกชนกับเศรษฐกิจแบบเกื้อกูล
ด้วยพื้นฐานที่ประเทศไทยใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ค่อนไปทางทุนนิยม ดังนั้น ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จึงต้องเกื้อกูลกัน โดยภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในการเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่วนภาครัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ พร้อมกับสร้างสุขภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเติบโตของภาคเอกชน ผ่านนโยบาย มาตรการ และบริการที่ให้แรงจูงใจที่ถูกต้องต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การลงทุน การเติบโต และความเข้มแข็งของภาคเอกชน อาทิ ด้านกฎหมาย และการลงทุนในกิจกรรมที่มีความจำเป็นต่อภาคประชาชน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ
เมื่อมองในจุดนี้ วาทกรรมรัฐเอื้อเอกชนก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะเป็นไปตามแนวทางที่ควรจะเป็น และผลประโยชน์จากการพัฒนาก็ตกอยู่กับประชาชน
ในประเทศที่ภาคเอกชนเข้มแข็ง เพราะภาครัฐเกื้อกูลในส่วนที่ควรจะเป็น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการพัฒนาประเทศ เพราะทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และอื่น ๆ ซึ่งความเข้มแข็งนี้เกิดจากการทำธุรกิจที่มีจริยธรรม มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้ความสำคัญกับสิทธิและประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การใช้ทรัพยากรขององค์กรที่มุ่งพัฒนาคน นวัตกรรม เทคโนโลยี ตลอดจนให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ และก่อให้เกิดการพัฒนาต่อได้อย่างยั่งยืน
รูปแบบของเศรษฐกิจทุนนิยมที่ทุกภาคส่วนเอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่ใช่รูปแบบเพ้อฝันหรือโลกสวย เพราะเป็นรูปแบบที่มีอยู่จริง ซึ่งสามารถสร้างผลประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมในสังคม และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวียประสบความสำเร็จมาแล้ว ซึ่งส่งผลดีอย่างเด่นชัดต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของประเทศไทยก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนเดินตามแนวทางที่ดีและเหมาะสม เช่น นโยบายการพัฒนาบนพื้นฐานของความยั่งยืน ที่คำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป ซึ่งจะค่อย ๆ สร้างความเท่าเทียมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ นอกจากต้องอาศัยเวลาแล้ว ยังต้องอาศัยความเข้มแข็งของภาครัฐ ในการวางโครงสร้างที่เอื้อให้ระบบตลาดจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำตัวเป็นผู้สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาให้กับหน่วยธุรกิจทุกขนาดอย่างเหมาะสม
วาทกรรมรัฐเอื้อนายทุนไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย แต่เป็นรูปแบบปกติที่ใช้กันโดยทั่วไป หากรู้จักใช้ให้เป็น ใช้ให้เกิดประโยชน์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้