ผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับสั่งแบงก์พาณิชย์จับตาสินเชื่อรายใหญ่ หลังเกิด”หนี้เสีย” ปูดเป็นระลอก “ทีเอ็มบี” เผยแนวโน้มเอ็นพีแอลรายใหญ่ไม่เพิ่ม แต่มีความเสี่ยงสินเชื่อกระจุกตัวบางเซ็กเตอร์ SCB จับตาใกล้ชิด “อุตฯเหล็ก-อสังหาฯ”
ธปท.สั่งเกาะติดสินเชื่อรายใหญ่
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่เกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ และบางรายลามไปจนเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลนั้น ปัจจุบันแบงก์ชาติทราบปัญหาดังกล่าว แต่กรณีที่เกิดขึ้นทั้ง บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ (EARTH) หรือกรณี บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE) นั้นเป็นปัญหาเฉพาะบริษัท ไม่สามารถนำมาสะท้อนภาวะเศรษฐกิจหรือคุณภาพสินเชื่อทั้งระบบได้
“ธปท.ทราบปัญหาเหล่านี้มาตลอด และก็ได้มีการเตือนไปถึงธนาคารพาณิชย์ชัดเจนว่า ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องลูกหนี้รายใหญ่เป็นพิเศษ ในการปล่อยสินเชื่อต่าง ๆ แต่ปัญหาผ่านมา อย่าเหมาว่าทุกรายไม่ดีหมด เพราะไม่งั้นจะเหมือนปลาทั้งข้องเสียหมด อยากให้ดูเป็นกรณี ๆ ไป เอิร์ธก็อาจมีเรื่องพิเศษเข้ามา เช่น การทุจริต ซึ่งเป็นเฉพาะส่วน บางชื่อที่มีการพูดถึงก็ไม่ใช่ปัญหาใหม่ เหล่านี้ทราบมานานแล้ว” นายวิรไทกล่าว
การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่ามีการฟื้นตัวต่อเนื่อง พบว่ารายใหญ่เริ่มกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้น แต่รายใหญ่มีตัวเลือกในการระดมทุนผ่านตลาดทุนจากการออกบอนด์ บางรายก็อาจไม่ได้ต้องการสินเชื่อจากธนาคาร และนอกจากรายใหญ่ที่เริ่มกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้นในปีนี้แล้ว เอสเอ็มอีก็เริ่มกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
เตือนสินเชื่อกระจุกบางเซ็กเตอร์
นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์ทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า หากดูคุณภาพสินเชื่อของธุรกิจรายใหญ่ของทั้งระบบขณะนี้ ถือว่าหนี้เสียมีแนวโน้มลดลง โดยสิ้นปี 2560 เอ็นพีแอลของธุรกิจรายใหญ่อยู่ที่ 1.75% ขณะที่สิ้นปี 2561 คาดว่าเอ็นพีแอลจะปรับลดลงเหลือ 1.50% ถือว่าโดยรวมไม่น่ากังวล แต่สิ่งที่ต้องระวังของสินเชื่อรายใหญ่ และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบได้ คือการปล่อยสินเชื่อที่กระจุกตัวเฉพาะบางเซ็กเตอร์ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมาหากเกิดปัญหาในอนาคต
“เพราะบางบริษัทมีโครงสร้างและขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าแบงก์ หลายแบงก์เข้าไปปล่อยกู้ร่วม ซึ่งหากเกิดอะไรขึ้น แบงก์จะกระทบเยอะ”
SCB มอนิเตอร์ “เหล็ก-อสังหาฯ”
นายวศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด multi-corporate segment ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันคุณภาพสินเชื่อรายใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยธนาคารดูแลติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งธนาคารมองว่าไม่ได้มีความเสี่ยงในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรที่มีปัจจัยต่างกัน อย่างในอุตสาหกรรมเกษตร ต้องจับตามองในส่วนของโรงสี และปัจจุบันก็ต้องจับตาอุตฯเหล็ก ที่บางบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กของสหรัฐ รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บางส่วนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
“อย่างไรก็ตาม ธุรกิจรายใหญ่ยังน่ากังวลน้อยกว่าเพราะสายป่านยาว ซึ่งปีนี้ธนาคารมองว่าสินเชื่อรายใหญ่จะเติบโต 5-6% จากปี 2560 อยู่ที่ 750,000 ล้านบาท โดยปีนี้มีหลายปัจจัยบวก เช่น เห็นความคืบหน้าการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมทั้งโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และอื่น ๆ ทำให้ธนาคารมุ่งเน้นการให้สินเชื่อในกลุ่มที่ทำรับเหมาก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน โรงพยาบาล โรงแรม และตั้งเป้าหมายจะเป็นธนาคารหลักของลูกค้า ซึ่งธนาคารยังไม่ได้รับคำสั่งจาก ธปท.ให้จับตามองธุรกิจรายใหญ่เป็นพิเศษ” นายวศินกล่าว
ทีวีดิจิทัล-พลังงานทดแทนติดบ่วง
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากกรณีสถานการณ์ธุรกิจทีวีดิจิทัลมีปัญหาผลประกอบการ เป็นสิ่งที่ธนาคารต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในการชำระหนี้ของกลุ่มนี้ และการพิจารณามากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มทีวีดิจิทัลในอนาคต
แหล่งข่าวจากแวดวงการเงินกล่าวว่า กลุ่มธุรกิจพลังงานทางเลือกก็เป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากที่ผ่านมาแบงก์พาณิชย์มีการแข่งขันเพื่อปล่อยกู้ในกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก โดยที่ผ่านมามีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯหลายรายที่โดดเข้ามาลงทุนตามกระแสของพลังงานทางเลือก แต่ในแง่ของผลการดำเนินธุรกิจหรือรายได้ที่เกิดขึ้นจริง หลายบริษัทยังไม่ชัดเจน แต่มีผลในแง่ของการสร้างราคาหุ้นพอสมควร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของ EARTH ซึ่งกลายเป็นหนี้เน่าก้อนโตถึง 1.2 หมื่นล้านบาท ของธนาคารกรุงไทย ปัญหาหลักมาจากการทุจริตของผู้บริหารที่มีการปลอมแปลงเอกสารขนถ่านหินเข้าประเทศ ซึ่งขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ อยู่ระหว่างการสอบสวน และธนาคารยังได้มีการตั้งกรรมการสอบผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยกู้ ส่วนกรณีของ PACE ซึ่งปัจจุบันยังเป็นปัญหาจากภาระหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวกว่า 3 หมื่นล้านบาท จนทำให้บริษัทต้องใช้แผนตัดขายสินทรัพย์ โครงการนิมิตหลังสวน และห้องชุดที่พักอาศัยจำนวน 53 ห้องชุด ในโครงการอาคารชุดมหานคร แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาพันธมิตรเข้ามาซื้อได้ ทำให้มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหาชำระหนี้ในระยะอันใกล้นี้
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ผวา "หนี้เสีย" รายใหญ่ปูด ธปท.สั่งแบงก์จับตาพิเศษ
ธปท.สั่งเกาะติดสินเชื่อรายใหญ่
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่เกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ และบางรายลามไปจนเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลนั้น ปัจจุบันแบงก์ชาติทราบปัญหาดังกล่าว แต่กรณีที่เกิดขึ้นทั้ง บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ (EARTH) หรือกรณี บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE) นั้นเป็นปัญหาเฉพาะบริษัท ไม่สามารถนำมาสะท้อนภาวะเศรษฐกิจหรือคุณภาพสินเชื่อทั้งระบบได้
“ธปท.ทราบปัญหาเหล่านี้มาตลอด และก็ได้มีการเตือนไปถึงธนาคารพาณิชย์ชัดเจนว่า ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องลูกหนี้รายใหญ่เป็นพิเศษ ในการปล่อยสินเชื่อต่าง ๆ แต่ปัญหาผ่านมา อย่าเหมาว่าทุกรายไม่ดีหมด เพราะไม่งั้นจะเหมือนปลาทั้งข้องเสียหมด อยากให้ดูเป็นกรณี ๆ ไป เอิร์ธก็อาจมีเรื่องพิเศษเข้ามา เช่น การทุจริต ซึ่งเป็นเฉพาะส่วน บางชื่อที่มีการพูดถึงก็ไม่ใช่ปัญหาใหม่ เหล่านี้ทราบมานานแล้ว” นายวิรไทกล่าว
การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่ามีการฟื้นตัวต่อเนื่อง พบว่ารายใหญ่เริ่มกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้น แต่รายใหญ่มีตัวเลือกในการระดมทุนผ่านตลาดทุนจากการออกบอนด์ บางรายก็อาจไม่ได้ต้องการสินเชื่อจากธนาคาร และนอกจากรายใหญ่ที่เริ่มกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้นในปีนี้แล้ว เอสเอ็มอีก็เริ่มกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
เตือนสินเชื่อกระจุกบางเซ็กเตอร์
นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์ทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า หากดูคุณภาพสินเชื่อของธุรกิจรายใหญ่ของทั้งระบบขณะนี้ ถือว่าหนี้เสียมีแนวโน้มลดลง โดยสิ้นปี 2560 เอ็นพีแอลของธุรกิจรายใหญ่อยู่ที่ 1.75% ขณะที่สิ้นปี 2561 คาดว่าเอ็นพีแอลจะปรับลดลงเหลือ 1.50% ถือว่าโดยรวมไม่น่ากังวล แต่สิ่งที่ต้องระวังของสินเชื่อรายใหญ่ และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบได้ คือการปล่อยสินเชื่อที่กระจุกตัวเฉพาะบางเซ็กเตอร์ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมาหากเกิดปัญหาในอนาคต
“เพราะบางบริษัทมีโครงสร้างและขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าแบงก์ หลายแบงก์เข้าไปปล่อยกู้ร่วม ซึ่งหากเกิดอะไรขึ้น แบงก์จะกระทบเยอะ”
SCB มอนิเตอร์ “เหล็ก-อสังหาฯ”
นายวศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด multi-corporate segment ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันคุณภาพสินเชื่อรายใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยธนาคารดูแลติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งธนาคารมองว่าไม่ได้มีความเสี่ยงในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรที่มีปัจจัยต่างกัน อย่างในอุตสาหกรรมเกษตร ต้องจับตามองในส่วนของโรงสี และปัจจุบันก็ต้องจับตาอุตฯเหล็ก ที่บางบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กของสหรัฐ รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บางส่วนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
“อย่างไรก็ตาม ธุรกิจรายใหญ่ยังน่ากังวลน้อยกว่าเพราะสายป่านยาว ซึ่งปีนี้ธนาคารมองว่าสินเชื่อรายใหญ่จะเติบโต 5-6% จากปี 2560 อยู่ที่ 750,000 ล้านบาท โดยปีนี้มีหลายปัจจัยบวก เช่น เห็นความคืบหน้าการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมทั้งโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และอื่น ๆ ทำให้ธนาคารมุ่งเน้นการให้สินเชื่อในกลุ่มที่ทำรับเหมาก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน โรงพยาบาล โรงแรม และตั้งเป้าหมายจะเป็นธนาคารหลักของลูกค้า ซึ่งธนาคารยังไม่ได้รับคำสั่งจาก ธปท.ให้จับตามองธุรกิจรายใหญ่เป็นพิเศษ” นายวศินกล่าว
ทีวีดิจิทัล-พลังงานทดแทนติดบ่วง
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากกรณีสถานการณ์ธุรกิจทีวีดิจิทัลมีปัญหาผลประกอบการ เป็นสิ่งที่ธนาคารต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในการชำระหนี้ของกลุ่มนี้ และการพิจารณามากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มทีวีดิจิทัลในอนาคต
แหล่งข่าวจากแวดวงการเงินกล่าวว่า กลุ่มธุรกิจพลังงานทางเลือกก็เป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากที่ผ่านมาแบงก์พาณิชย์มีการแข่งขันเพื่อปล่อยกู้ในกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก โดยที่ผ่านมามีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯหลายรายที่โดดเข้ามาลงทุนตามกระแสของพลังงานทางเลือก แต่ในแง่ของผลการดำเนินธุรกิจหรือรายได้ที่เกิดขึ้นจริง หลายบริษัทยังไม่ชัดเจน แต่มีผลในแง่ของการสร้างราคาหุ้นพอสมควร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของ EARTH ซึ่งกลายเป็นหนี้เน่าก้อนโตถึง 1.2 หมื่นล้านบาท ของธนาคารกรุงไทย ปัญหาหลักมาจากการทุจริตของผู้บริหารที่มีการปลอมแปลงเอกสารขนถ่านหินเข้าประเทศ ซึ่งขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ อยู่ระหว่างการสอบสวน และธนาคารยังได้มีการตั้งกรรมการสอบผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยกู้ ส่วนกรณีของ PACE ซึ่งปัจจุบันยังเป็นปัญหาจากภาระหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวกว่า 3 หมื่นล้านบาท จนทำให้บริษัทต้องใช้แผนตัดขายสินทรัพย์ โครงการนิมิตหลังสวน และห้องชุดที่พักอาศัยจำนวน 53 ห้องชุด ในโครงการอาคารชุดมหานคร แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาพันธมิตรเข้ามาซื้อได้ ทำให้มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหาชำระหนี้ในระยะอันใกล้นี้