เรียนผู้รู้ภาษาบาลี ช่วยอธิบายถึงความแตกต่างกันของ "โหติ" "ภวติ" และ "อตฺถิ" หน่อยครับ

คำถามก็ตามหัวข้อเลยครับ ทั้งสามคำเป็นกริยาที่แปลว่า เป็น หรือ มี แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจว่า สามคำนี้มีบริบทในการใช้ต่างกันอย่างไรครับ
พอดีว่าผมเพิ่งจะหัดเรียนภาษาบาลีหน่ะครับ เรียนบาลีไวยากรณ์เองก็พอเข้าใจบ้าง แต่มีจุดที่สงสัยก็ค่อนข้างเยอะเลยเพราะไม่มีผู้อธิบายให้กระจ่าง
แต่ถ้าใครสามารถช่วยผมได้ก็คุยราคากันหลังไมค์ได้นะ ยินดีจ่ายให้ครับ
ขอรบกวนด้วยนะครับ ยิ้ม

vvv คำถามเพิ่มเติม (ถ้าตอบได้รบกวนช่วยอธิบายให้หน่อยนะครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความจริงยังมีอีกหลายการผันที่ผมสงสัย แต่ผมขอถามเพียงเท่านี้ก่อน
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ไม่ค่อยรู้ แต่ยากตอบ

โหติ ภวติ แปลว่า (ย่อม)มี,(ย่อม)เป็น หรือ มี(อยู่),เป็น(อยู่) (แต่โดยมากใช้ในความหมายว่า เป็น มากกว่า)

คำในวงเล็บ มาจากกาลในภาษาบาลี เปรียบกับภาษาอังกฤษ ก็เป็น present tense

อตฺถิ แปลว่า มี(อยู่) อย่างเดียว ตรงข้ามกับคำว่า นตฺถิ ที่แปลว่า ไม่มี(อยู่)

ความแตกต่างการใช้ ให้ลองเติมคำให้เป็นประโยคสมบูรณ์ ดังนี้นะครับ ตํ เม ธนํ ………

ถ้าเติมว่า ตํ เม ธนํ อตฺถิ   แปลว่า เงินนั้นผมมีอยู่ ประโยคนี้ ธนํ เป็นประธานได้อย่างเดียว

ถ้าเติมว่า ตํ เม ธนํ โหติ (หรือ ภวติ) แปลว่า เงินนั้นผมมีอยู่ ธนํ ก็เป็นประธานเหมือนเดิม

แต่ โหติ,ภวติ ยังแปลได้อีกความหมาย คือ แปลว่า เป็น ดังนั้น ธนํ อาจเปลี่ยนเป็นคำขยายได้

โดยเอา ตํ เป็นประธาน และแปลว่า สิ่งนั้น เป็นเงินของผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่