บาลีเล่มแรกตำราไวยากรณ์ คือ กัจจายนะ

ไวยากรณ์บาลีเล่มแรก ?

ตำราไวยากรณ์บาลีเล่มแรกคือคัมภีร์อะไร?

ไม่อาจระบุชัดได้ บางท่านก็ว่า นิรุตติปิฎก และมหานิรุตติ จูฬนิรุตติ น่าจะเป็นฉบับแรก ๆ  แต่หาต้นฉบับไม่ได้ บางทีอาจมีตำราไวยากรณ์อื่นที่เราไม่รู้จักชื่อที่ใช้เรียน ท่องจำ และสอนกันในบางวัดโดยที่ไม่ได้เขียนลงวัสดุใบลานหรือเขียนลงใบลานเหมือนกัน แต่หมดสภาพไป ไม่แพร่หลาย ไม่โด่งดังพอก็เป็นได้ 

สำหรับตำราไวยากรณ์บาลีเล่มที่รู้จักกันแพร่หลายเป็นอย่างดีเล่มแรก ๆ และยังคงมีอยู่มาจนกระทั่งทุกวันนี้  คือ ตำราไวยากรณ์บาลีชื่อ กัจจายนะ 

ซึ่งผู้แต่งน่าจะเป็นพระภิกษุชาวอินเดียหรือลังกาที่รู้บาลีและภาษาสันสกฤตเป็นอย่างดี ท่านสร้างตำรานี้ขึ้นมาเพื่อใช้สอนคนในท้องถิ่นให้มีพื้นความรู้ทางภาษาจนพอจะเข้าใจพระไตรปิฎกได้แบบง่าย ๆ

คนไทยนำเข้าตำรานี้ นำมาจัดเรียงลำดับเนื้อหาใหม่ และเรียกตำรานี้ว่า มูลกัจจายน์ หรือ กัจจายนมูล ที่คนในดินแดนไทยนี้เรียนรู้กันตั้งแต่ยุคก่อนมีอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา อยุธยา สืบเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

 อมยิ้ม33

ความคิดส่วนตัว มองเห็นคำถามเช่นนี้ตลอดมา ดังนี้ว่า “...ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" “...พระพุทธเจ้าไม่พูดบาลี” หรือ “...พระพุทธเจ้าไม่พูดมคธ” และความเห็นต่างอื่นๆ เยอะแยะมากมาย ก็ถกกันต่อไป แต่ความน่าจะเป็นที่สุด ก็อยู่ที่ ภาษา มคธ 

ดังที่ สมเด็จท่าน อธิบายไว้ ดังนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

อมยิ้ม23

ยังมีเนื้อหาให้อ่านด้านล่าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่