กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ต่อเนื่องจาก กระทู้ข้างล่างนี้
http://ppantip.com/topic/31912336
อัลลอฮ์ทรงมีบัญชาให้มุสลิมให้อภัยไม่ใช่การแก้แค้น
http://ppantip.com/topic/31924069
ศาสนาอิสลามสอนเน้นถึงการให้อภัยและความอดทนต่อความโกรธ และ "การเอาชนะอารมณ์ชั่วของตัวเอง"
http://ppantip.com/topic/31982773
สำหรับสมาชิกที่สนใจ เกี่ยวกับ การเข้าใจอัลกุรอาน จากผู้ที่ไม่เคยมีความรู้ภาษาอรับมาก่อน
http://ppantip.com/topic/32017109/comment51
"เมื่อเราไม่รู้ความหมายที่แท้จริง เราจึงต้องใช้นักปราชญ์อธิบายความหมาย"
หลังจากผมได้คุยกับอาจารย์ฮุไซนี มา หลายกระทู้และเป็นเวลานานมาก ผมจึง เข้าใจได้ว่า ปัญหาในการแปลอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัชชูรอ (42.การปรึกษาหารือ) บัญญัติที่ 39 และ 41 นั้นปัญหาอยู่ที่ คำว่า(يَنْتَصِرُ ) และ ( انْتَصَرَ) จากบัญญัติที่42:39และ42:41 ซึ่งปัญหาอยู่ที่ คำว่า
“ตัวเอง,เขาเอง, พวกเขาเอง" นี้มาจากที่ใด?
ทำไมผมจึงยืนยันว่าจะต้องมี คำว่า“
ตัวเอง,เขาเอง, พวกเขาเอง"อยู่ข้างหลังคำกริยาใน แบบ (اِفْتَعَلَ)เสมอไป?
จากหลายๆความคิดเห็นและ 4 กระทู้ที่ผ่านมาคำว่า “
ตัวเอง,เขาเอง, พวกเขาเอง นี้มาจากที่ใด? ยังเป็นปัญหา
เพื่อจะได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้อง ผมจำเป็นที่จะต้องอธิบายไวยกรณ์ภาษาอรับเบื้องต้น ในการ ผัน และ กระจาย(วิเคราะห์) คำกริยา เฉพาะรูปแบบที่ใช้อยู่ในบัญญํติ 42:39และ42:41 ให้เข้าใจเสียยก่อน นั้นคือคำกริยาในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) , ตามที่ผมเข้าใจ ดังนี้:
คำกริยาในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) ซึ่ง ผันมากจาก รูปแบบแรกซึ่งเป็นรากศัพท์ มาจาก (فَعَل), (فَعِلَ) และ (فَعُلَ) ซึ่งใช้ในการ ผันกริยาในแบบ ความหมาย ธรรมดา ให้อยู่ในความหมาย “ซึ่งสะท้อนการกระทำของ ประธานมาที่ตัวประธานเอง”, ไม่ทราบว่าภาษาทางไวยกรณ์ไทยเราเรียก การผันคำกริยาในรูปแบบนี้ว่า อะไร, แต่ในที่นี้หมายถึง “คำกริยาที่สะท้อนการกระทำของ ประธานมาที่ตัวประธานเอง”
ตัวอย่างเช่นคำกริยา “เขาทำ” (فَعَل) เมื่อถูกผันอยู่ในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) แล้วความหมายจะเปลี่ยนไป เป็น “เขาทำตัวเอง” หรือ “เขาบังคับให้ตัวเองทำ” หรือ “เขาจำใจต้องทำ”, การผันกริยาในรูปแบบนี้ มีวิธีการผันต่างกันจากในแบบอื่นๆอีก1-2 วิธี, แต่ในที่นี้ จะขอสนทนาถึงการผันในรูปแบบของ (اِفْتَعَلَ) เท่านั้น, ตามที่ใช้ใน ซูเราะฮฺอัชชูรอ (42.การปรึกษาหารือ) บัญญัติที่ 39 และ 41 คือคำว่า يَنْتَصِرُ และ انْتَصَرَ
จากบัญญัติที่41-42ข้างล่างนี้
وَالَّذِينَ إِذَا أَصَابَهُمُ الْبَغْيُ هُمْ
يَنْتَصِرُونَ 39
وَلَمَنِ
انْتَصَرَ بَعْدَ ظُلْمِهِ فَأُولَٰئِكَ مَا عَلَيْهِمْ مِنْ سَبِيلٍ 41
กริยาในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) นี้ มีวิธีการผันจาก รากศัพท์ได้ โดยการเติมอักษร(ا) ไว้ข้างหน้า คำกริยารากศัพท์ และ ใส่ “ซุกูน” ไว้บน อักษรตัวแรกของคำกริยารากศัพท์, และตามด้วย تَ หลังอักษรตัวแรก ของคำกริยา, ตัวอักษร تَ นี้ “ทำให้เกิดผลสะท้อนของ การกระทำ(คำกริยา) มาสู่ตัวประธาน” คือ ตัวผู้กระทำเอง หรือ “ตัวเอง” ดังนั้น จึงทำให้ คำกริยารากศัพท์ มีความหมายตรงกันข้าม ทำให้ผลสะท้อนของการกระทำมาสู่ผู้กระทำ เอง จากการผันของ คำกริยารากศัพท์ (فَعَل) เมื่อ ใส่อักษร(ا ) ไว้ข้างหน้า( فَ), และเติม อักษร (تَ) เข้า ไปหลัง ( فَ) แล้วจะมีความหมายว่า “เขาทำตัวเขาเอง” ในรูปแบบคำกริยา (اِفْتَعَلَ)
ในทำนองเดียวกัน คำว่า نَصَر ( = เขาช่วยเหลือ, เขานำชัยชนะ เขาต่อสู้ป้องกัน) เมื่อ ผันจาก รูปแบบ (فَعَل), ตามตัวอย่างข้างบนนั้นแล้วจะมีรูปแบบ
เป็น (انْتَصَرَ) ทำให้เปลี่ยนความหมายเป็น, เขาช่วยเหลือตัวเอง, เขานำชัยชนะมาสู่ตัวเอง(เขามีชัยชนะ), เขาต่อสู้ป้องกันตัวเขาเอง
สำหรับประโยค “(هُمْ يَنْتَصِرُونَ) ในบัญญัติที่ 42:39 นั้น คำ هُمْ นี้เป็น บุรุษสรรพนาม เพศชาย พหูพจน์, ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ของคำกริยาที่ใช้ในประโยคนี้ คือ (انْتَصَرَ)
แต่เนื่องจากว่า คำกริยา (انْتَصَرَ) เป็นคำกริยา สำหรับ ประธานที่ เป็นเอกพจน์ บุรุษที่สาม,เมื่อจะนำมาใช้กับประธานพหูพจน์ บุรุษที่ สาม,คำกริยา(انْتَصَرَ) จะต้องถูกเปลี่ยนเป็น พหูพจน์ ตาม ประธานไปด้วย คือ เปลี่ยนจาก (انْتَصَرَ) เป็น (يَنْتَصِر) โดยเปลี่ยนอักษร (ا ) ที่อยู่หน้า อักษร (ن) เป็น(يَ) คำกริยาจะกลาย
เป็น (يَنْتَصِر) ซึ่งเป็นกริยาในรูป พหูพจน์ บุรุษที่สาม และยังอยู่ในแบบ (اِفْتَعَلَ)
สำหรับ คำ ونَ นั้นเป็นสรรพนามแสดงประธานของกริยาผู้กระทำ,(จากรูปของคำกริยาที่ แสดงให้เห็นนี้ เราจะเห็นว่า คำกริยาในภาษาอรับ จะบอกหน้าที่ ของประธาน, การกระทำ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใส่ คำ(هُمْ) ไว้ข้างหน้า เราก็อาจจะเข้าใจได้),
ด้วยเหตุผลทางไวยกรณ์ตามหลักภาษาดังกล่าว ประโยค (هُمْ يَنْتَصِرُونَ) ในบัญญัติที่ 42:39 และคำกริยา (انْتَصَرَ) ในบัญญัติที่ 42:41
จึงจะต้องแปลว่า, “
เขาช่วยเหลือตัวเอง, เขานำชัยชนะมาสู่ตัวเอง(เขามีชัยชนะ), เขาทั้งหลายต่อสู้ป้องกันพวกเขาเอง”
คำต่อท้ายคำกริยาว่า “-ตัวเอง,-เขาเอง, -พวกเขาเอง” เป็นความหมายหนึ่ง ที่ได้มาจากการผัน คำกริยาใน แบบ (اِفْتَعَلَ)
http://ppantip.com/topic/31912336
อัลลอฮ์ทรงมีบัญชาให้มุสลิมให้อภัยไม่ใช่การแก้แค้น
http://ppantip.com/topic/31924069
ศาสนาอิสลามสอนเน้นถึงการให้อภัยและความอดทนต่อความโกรธ และ "การเอาชนะอารมณ์ชั่วของตัวเอง"
http://ppantip.com/topic/31982773
สำหรับสมาชิกที่สนใจ เกี่ยวกับ การเข้าใจอัลกุรอาน จากผู้ที่ไม่เคยมีความรู้ภาษาอรับมาก่อน
http://ppantip.com/topic/32017109/comment51
"เมื่อเราไม่รู้ความหมายที่แท้จริง เราจึงต้องใช้นักปราชญ์อธิบายความหมาย"
หลังจากผมได้คุยกับอาจารย์ฮุไซนี มา หลายกระทู้และเป็นเวลานานมาก ผมจึง เข้าใจได้ว่า ปัญหาในการแปลอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัชชูรอ (42.การปรึกษาหารือ) บัญญัติที่ 39 และ 41 นั้นปัญหาอยู่ที่ คำว่า(يَنْتَصِرُ ) และ ( انْتَصَرَ) จากบัญญัติที่42:39และ42:41 ซึ่งปัญหาอยู่ที่ คำว่า“ตัวเอง,เขาเอง, พวกเขาเอง" นี้มาจากที่ใด?
ทำไมผมจึงยืนยันว่าจะต้องมี คำว่า“ตัวเอง,เขาเอง, พวกเขาเอง"อยู่ข้างหลังคำกริยาใน แบบ (اِفْتَعَلَ)เสมอไป?
จากหลายๆความคิดเห็นและ 4 กระทู้ที่ผ่านมาคำว่า “ตัวเอง,เขาเอง, พวกเขาเอง นี้มาจากที่ใด? ยังเป็นปัญหา
เพื่อจะได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้อง ผมจำเป็นที่จะต้องอธิบายไวยกรณ์ภาษาอรับเบื้องต้น ในการ ผัน และ กระจาย(วิเคราะห์) คำกริยา เฉพาะรูปแบบที่ใช้อยู่ในบัญญํติ 42:39และ42:41 ให้เข้าใจเสียยก่อน นั้นคือคำกริยาในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) , ตามที่ผมเข้าใจ ดังนี้:
คำกริยาในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) ซึ่ง ผันมากจาก รูปแบบแรกซึ่งเป็นรากศัพท์ มาจาก (فَعَل), (فَعِلَ) และ (فَعُلَ) ซึ่งใช้ในการ ผันกริยาในแบบ ความหมาย ธรรมดา ให้อยู่ในความหมาย “ซึ่งสะท้อนการกระทำของ ประธานมาที่ตัวประธานเอง”, ไม่ทราบว่าภาษาทางไวยกรณ์ไทยเราเรียก การผันคำกริยาในรูปแบบนี้ว่า อะไร, แต่ในที่นี้หมายถึง “คำกริยาที่สะท้อนการกระทำของ ประธานมาที่ตัวประธานเอง”
ตัวอย่างเช่นคำกริยา “เขาทำ” (فَعَل) เมื่อถูกผันอยู่ในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) แล้วความหมายจะเปลี่ยนไป เป็น “เขาทำตัวเอง” หรือ “เขาบังคับให้ตัวเองทำ” หรือ “เขาจำใจต้องทำ”, การผันกริยาในรูปแบบนี้ มีวิธีการผันต่างกันจากในแบบอื่นๆอีก1-2 วิธี, แต่ในที่นี้ จะขอสนทนาถึงการผันในรูปแบบของ (اِفْتَعَلَ) เท่านั้น, ตามที่ใช้ใน ซูเราะฮฺอัชชูรอ (42.การปรึกษาหารือ) บัญญัติที่ 39 และ 41 คือคำว่า يَنْتَصِرُ และ انْتَصَرَ
จากบัญญัติที่41-42ข้างล่างนี้
وَالَّذِينَ إِذَا أَصَابَهُمُ الْبَغْيُ هُمْ يَنْتَصِرُونَ 39
وَلَمَنِ انْتَصَرَ بَعْدَ ظُلْمِهِ فَأُولَٰئِكَ مَا عَلَيْهِمْ مِنْ سَبِيلٍ 41
กริยาในรูปแบบ (اِفْتَعَلَ) นี้ มีวิธีการผันจาก รากศัพท์ได้ โดยการเติมอักษร(ا) ไว้ข้างหน้า คำกริยารากศัพท์ และ ใส่ “ซุกูน” ไว้บน อักษรตัวแรกของคำกริยารากศัพท์, และตามด้วย تَ หลังอักษรตัวแรก ของคำกริยา, ตัวอักษร تَ นี้ “ทำให้เกิดผลสะท้อนของ การกระทำ(คำกริยา) มาสู่ตัวประธาน” คือ ตัวผู้กระทำเอง หรือ “ตัวเอง” ดังนั้น จึงทำให้ คำกริยารากศัพท์ มีความหมายตรงกันข้าม ทำให้ผลสะท้อนของการกระทำมาสู่ผู้กระทำ เอง จากการผันของ คำกริยารากศัพท์ (فَعَل) เมื่อ ใส่อักษร(ا ) ไว้ข้างหน้า( فَ), และเติม อักษร (تَ) เข้า ไปหลัง ( فَ) แล้วจะมีความหมายว่า “เขาทำตัวเขาเอง” ในรูปแบบคำกริยา (اِفْتَعَلَ)
ในทำนองเดียวกัน คำว่า نَصَر ( = เขาช่วยเหลือ, เขานำชัยชนะ เขาต่อสู้ป้องกัน) เมื่อ ผันจาก รูปแบบ (فَعَل), ตามตัวอย่างข้างบนนั้นแล้วจะมีรูปแบบ
เป็น (انْتَصَرَ) ทำให้เปลี่ยนความหมายเป็น, เขาช่วยเหลือตัวเอง, เขานำชัยชนะมาสู่ตัวเอง(เขามีชัยชนะ), เขาต่อสู้ป้องกันตัวเขาเอง
สำหรับประโยค “(هُمْ يَنْتَصِرُونَ) ในบัญญัติที่ 42:39 นั้น คำ هُمْ นี้เป็น บุรุษสรรพนาม เพศชาย พหูพจน์, ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ของคำกริยาที่ใช้ในประโยคนี้ คือ (انْتَصَرَ)
แต่เนื่องจากว่า คำกริยา (انْتَصَرَ) เป็นคำกริยา สำหรับ ประธานที่ เป็นเอกพจน์ บุรุษที่สาม,เมื่อจะนำมาใช้กับประธานพหูพจน์ บุรุษที่ สาม,คำกริยา(انْتَصَرَ) จะต้องถูกเปลี่ยนเป็น พหูพจน์ ตาม ประธานไปด้วย คือ เปลี่ยนจาก (انْتَصَرَ) เป็น (يَنْتَصِر) โดยเปลี่ยนอักษร (ا ) ที่อยู่หน้า อักษร (ن) เป็น(يَ) คำกริยาจะกลาย
เป็น (يَنْتَصِر) ซึ่งเป็นกริยาในรูป พหูพจน์ บุรุษที่สาม และยังอยู่ในแบบ (اِفْتَعَلَ)
สำหรับ คำ ونَ นั้นเป็นสรรพนามแสดงประธานของกริยาผู้กระทำ,(จากรูปของคำกริยาที่ แสดงให้เห็นนี้ เราจะเห็นว่า คำกริยาในภาษาอรับ จะบอกหน้าที่ ของประธาน, การกระทำ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใส่ คำ(هُمْ) ไว้ข้างหน้า เราก็อาจจะเข้าใจได้),
ด้วยเหตุผลทางไวยกรณ์ตามหลักภาษาดังกล่าว ประโยค (هُمْ يَنْتَصِرُونَ) ในบัญญัติที่ 42:39 และคำกริยา (انْتَصَرَ) ในบัญญัติที่ 42:41
จึงจะต้องแปลว่า, “เขาช่วยเหลือตัวเอง, เขานำชัยชนะมาสู่ตัวเอง(เขามีชัยชนะ), เขาทั้งหลายต่อสู้ป้องกันพวกเขาเอง”