สืบเนื่องจากกระทู้
อัตตา คืออะไร? อัตตาใช่เราไหม? อัตตาใช่ขันธ์๕ไหม? อัตตาตรงข้ามกับอนัตตาจริงหรือ?
https://ppantip.com/topic/41660447/comment11
คุณหัวหอมได้อธิบาย เกี่ยวกับ อัตตา ในความเห็นที่ 11 โดยทำภาพอธิบายตามนี้
เมื่ออ่านทบทวนตามภาพ พบว่าน่ามีความผิดพลาดหลายประการ ดิฉันจึงทักท้วงขึ้นในความเห็นที่ 21 ในกระทู้เดียวกัน แต่คุณหัวหอมก็ไม่ได้ทบทวนแต่อย่างใดทั้งๆที่ตัวเองก็เขียนไว้ในความคิดเห็นที่ 9 ว่าต้องการสนทนาแบบ"สัปบุรุส"
ดังนั้นดิฉันจึงขอสรุปความผิดพลาดในการอธิบายตามภาพนี้เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่ได้อ่านนะคะ
1.บทบาลีว่า "อตฺถตฺตาติ" เป็นการเชื่อมคำมาจากคำสามคำ คือ อตฺถิ (มีอยู่) +อตฺตา (อัตตา)+อิติ (ว่า,ดังนี้)
เป็นเรื่องปกติที่จะมีการเชื่อมคำในข้อความบาลีเพื่อการพูดออกเสียงได้ลื่นไหล สละสลวย
เมื่อจะแปล เราต้องตัดบทเพื่อแยกออกมาเป็นคำโดดๆ แล้วจึงแปลตามปกติ ถ้าตัดบทออกมาผิด ก็แปลผิด ความหมายผิด
คุณหัวหอม ตัดบทเป็น อตฺถ+อตฺตา+อิติ (ผิดตรงคำ "อตฺถ"/ ควรเป็น "อตฺถิ")
(อตฺถิ แปลว่า มีอยู่ / อตฺถ แปลว่า ประโยชน์, ความหมาย)
ตัดบทผิด เป็น อตฺถ แต่แปลว่า มีอยู่
นั่นคือ ไม่มีความรู้ไวยากรณ์วิธีการตัดบท เชื่อมบท และไม่รู้ความหมายของ อตฺถ ด้วย
2. คุณหัวหอมอ้างตัวอย่างคำว่า สติ-สโต ใน"อัตตา 3 ในโปฏปาทะสูตร" เมื่อลองค้นดูทั้งพระสูตรก็พบว่า ไม่มีคำว่า "สโต" แต่อย่างใด
2.1 คำว่า "สติ" มาจาก สนฺต +สมึวิภัตติ => สติ แปลว่า ครั้นเมื่อมีอยู่ (ขอละขั้นตอนการเปลี่ยนตัวรูปไว้นะคะ)
ถ้าจะนำมาใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของ จะใช้ =>สนฺโต (ไม่ใช่ "สโต" นะคะคุณหัวหอม) (ไม่เหมือน สตฺต ที่เปลี่ยนรูปเป็น สตฺโต)
คุณหัวหอมไปค้นคำว่า "สโต" จากที่ใดในโปฏปาทะสูตร หรือว่าไม่ได้ค้น แต่มโนเอาเองคะ?
2.2 คำว่า สติ นอกจากจะแปลว่า "มีอยู่" แล้ว ยังแปลว่า "สติ" "ระลึกรู้" ก็ได้ด้วย
และในโปฏฐปาทะสูตร มี คำว่า "สติ" อยู่จริง แต่ แปลว่า "สติ/ระลึกรู้" .... ไม่มี ที่ใด แปลว่า "มีอยู่" เลย
คุณหัวหอมได้ค้นคำว่า "สติ" และ "สโต"ในโปฏฐปาทะสูตร แล้ว จริงหรือ?
3.คำว่า "อตฺถิ" และ "สติ" แปลว่า มีอยู่ แต่ไม่ได้มีความหมายต่างกันที่ การมีอยู่"ชั่วคราว" หรือ "ถาวร" ทั้งสองคำแปลว่า มีอยู่ ได้ทั่วๆไป
ในพระไตรปิฏกแปลไทยหลายฉบับ แปลข้อความ
" กึ นุ โข โภ โคตม อตฺถตฺตาติ ฯ" ว่า
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัตตามีอยู่หรือ"
คุณหัวหอมแปลเองว่า "ท่านโคดม อัตตามีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร นั่นหรือ"
ข้อความว่า "เที่ยงแท้ถาวร" เอามาจากไหน
แปลโดยไม่ทราบไวยากรณ์ ไม่แปลตามพระไตรปิฏกภาษาไทย แล้ว ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการแปล?
ในความเห็นที่ 9 คุณหัวหอมประสงค์จะสนทนา แบบสัปบุรุส
แต่เมื่อดิฉันได้เขียนแย้งเพื่อให้คุณหัวหอมได้ทบทวนในความเห็นที่ 21 กลับไม่มีการทบทวนแก้ไข ปล่อยให้ภาพแสดงความเห็นผิดยังคงเผยแพร่ต่อไป
นี่คือ วิธีการศึกษาที่ถูกต้องแล้วหรือ?
เช่นนี้ เรียกว่า "สัตบุรุษ"ได้หรือ?
คุณหัวหอม(5549398) คุณเป็นสัตบุรุษ รึเปล่าคะ?
อัตตา คืออะไร? อัตตาใช่เราไหม? อัตตาใช่ขันธ์๕ไหม? อัตตาตรงข้ามกับอนัตตาจริงหรือ?
https://ppantip.com/topic/41660447/comment11
คุณหัวหอมได้อธิบาย เกี่ยวกับ อัตตา ในความเห็นที่ 11 โดยทำภาพอธิบายตามนี้
เมื่ออ่านทบทวนตามภาพ พบว่าน่ามีความผิดพลาดหลายประการ ดิฉันจึงทักท้วงขึ้นในความเห็นที่ 21 ในกระทู้เดียวกัน แต่คุณหัวหอมก็ไม่ได้ทบทวนแต่อย่างใดทั้งๆที่ตัวเองก็เขียนไว้ในความคิดเห็นที่ 9 ว่าต้องการสนทนาแบบ"สัปบุรุส"
ดังนั้นดิฉันจึงขอสรุปความผิดพลาดในการอธิบายตามภาพนี้เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่ได้อ่านนะคะ
1.บทบาลีว่า "อตฺถตฺตาติ" เป็นการเชื่อมคำมาจากคำสามคำ คือ อตฺถิ (มีอยู่) +อตฺตา (อัตตา)+อิติ (ว่า,ดังนี้)
เป็นเรื่องปกติที่จะมีการเชื่อมคำในข้อความบาลีเพื่อการพูดออกเสียงได้ลื่นไหล สละสลวย
เมื่อจะแปล เราต้องตัดบทเพื่อแยกออกมาเป็นคำโดดๆ แล้วจึงแปลตามปกติ ถ้าตัดบทออกมาผิด ก็แปลผิด ความหมายผิด
คุณหัวหอม ตัดบทเป็น อตฺถ+อตฺตา+อิติ (ผิดตรงคำ "อตฺถ"/ ควรเป็น "อตฺถิ")
(อตฺถิ แปลว่า มีอยู่ / อตฺถ แปลว่า ประโยชน์, ความหมาย)
ตัดบทผิด เป็น อตฺถ แต่แปลว่า มีอยู่
นั่นคือ ไม่มีความรู้ไวยากรณ์วิธีการตัดบท เชื่อมบท และไม่รู้ความหมายของ อตฺถ ด้วย
2. คุณหัวหอมอ้างตัวอย่างคำว่า สติ-สโต ใน"อัตตา 3 ในโปฏปาทะสูตร" เมื่อลองค้นดูทั้งพระสูตรก็พบว่า ไม่มีคำว่า "สโต" แต่อย่างใด
2.1 คำว่า "สติ" มาจาก สนฺต +สมึวิภัตติ => สติ แปลว่า ครั้นเมื่อมีอยู่ (ขอละขั้นตอนการเปลี่ยนตัวรูปไว้นะคะ)
ถ้าจะนำมาใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของ จะใช้ =>สนฺโต (ไม่ใช่ "สโต" นะคะคุณหัวหอม) (ไม่เหมือน สตฺต ที่เปลี่ยนรูปเป็น สตฺโต)
คุณหัวหอมไปค้นคำว่า "สโต" จากที่ใดในโปฏปาทะสูตร หรือว่าไม่ได้ค้น แต่มโนเอาเองคะ?
2.2 คำว่า สติ นอกจากจะแปลว่า "มีอยู่" แล้ว ยังแปลว่า "สติ" "ระลึกรู้" ก็ได้ด้วย
และในโปฏฐปาทะสูตร มี คำว่า "สติ" อยู่จริง แต่ แปลว่า "สติ/ระลึกรู้" .... ไม่มี ที่ใด แปลว่า "มีอยู่" เลย
คุณหัวหอมได้ค้นคำว่า "สติ" และ "สโต"ในโปฏฐปาทะสูตร แล้ว จริงหรือ?
3.คำว่า "อตฺถิ" และ "สติ" แปลว่า มีอยู่ แต่ไม่ได้มีความหมายต่างกันที่ การมีอยู่"ชั่วคราว" หรือ "ถาวร" ทั้งสองคำแปลว่า มีอยู่ ได้ทั่วๆไป
ในพระไตรปิฏกแปลไทยหลายฉบับ แปลข้อความ " กึ นุ โข โภ โคตม อตฺถตฺตาติ ฯ" ว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัตตามีอยู่หรือ"
คุณหัวหอมแปลเองว่า "ท่านโคดม อัตตามีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร นั่นหรือ"
ข้อความว่า "เที่ยงแท้ถาวร" เอามาจากไหน
แปลโดยไม่ทราบไวยากรณ์ ไม่แปลตามพระไตรปิฏกภาษาไทย แล้ว ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการแปล?
ในความเห็นที่ 9 คุณหัวหอมประสงค์จะสนทนา แบบสัปบุรุส
แต่เมื่อดิฉันได้เขียนแย้งเพื่อให้คุณหัวหอมได้ทบทวนในความเห็นที่ 21 กลับไม่มีการทบทวนแก้ไข ปล่อยให้ภาพแสดงความเห็นผิดยังคงเผยแพร่ต่อไป
นี่คือ วิธีการศึกษาที่ถูกต้องแล้วหรือ?
เช่นนี้ เรียกว่า "สัตบุรุษ"ได้หรือ?