ใครที่เจอกับภาวะลำบากในการเข้าสังคมอาจจะต้องเจอกับความเสี่ยงทางด้านปัญหาจิตใจและปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา สอดคล้องกับงานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัย Arizona
เนื่องจากคนที่มีทักษะทางด้านการเข้าสังคมที่แย่มีแนวโน้มที่จะประสบกับปัญหาความเครียดกับความโดดเดี่ยว ปัญหาทั้งสองอย่างนี้เป็นผลกระทบต่อสุขภาพทางด้านลบ กล่าวโดย Chirs Segrin ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะสื่อสาร
งานวิจัยนี้ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Health Communication โดยเรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกับทักษะการเข้าสังคม ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของสุขภาพจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
“พวกเราใช้เวลานานกว่าที่จะพบว่า ทักษะการเข้าสังคมส่งผลต่อปัญหาทางด้านสุขภาพจิตหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นภาวะความกดดันกับความวิตกกังวล” Segrin กล่าว “แต่พวกเราไม่มีทางรู้ได้แน่ชัดว่าทักษะการเข้าสังคมจะบ่งบอกได้ถึงภาวะสุขภาพที่ย่ำแย่ได้ ปัญหาสองอย่างทั้งเรื่องของความโดดเดี่ยวกับความเครียดชี้ให้เห็นว่า ทักษะการเข้าสังคมที่แย่ส่งผลต่อเรื่องสุขภาพ คนที่มีทักษะการเข้าสังคมที่แย่จะมีระดับความเครียดที่สูงและอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง
จากงานวิจัยได้ยึดหลักในการสำรวจผู้คนตัวอย่างในประเทศถึง 775 คนโดยมีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 91 ปี โดยมีการสอบถามผ่านออนไลน์ในการประเมินเกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคม ความเครียด ความโดดเดี่ยวและปัญหาทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ทักษะการเข้าสังคมเป็นทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสารเพื่อที่จะทำการปฎิสัมพันธ์กับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและพูดคุยกับคนอื่นได้อย่างเหมาะสม ทางด้าน Sergrin ได้โฟกัสในทักษะการเข้าสังคม 4 ประเด็นก็คือ : ความสามารถในการสร้างอารมณ์ที่ดีกับคนอื่นเช่น การเปิดเผยตัวเอง หรือความสามารถในการแชร์ข้อมูลให้กับคนอื่นอย่างเช่น จุดอ่อนของตัวเอง หรือความสามารถในการรับมือกับข้อเรียกร้องที่ไร้เหตุผลกับคนอื่นและทักษะการสร้างความสัมพันธ์ หรือความสามารถในการแนะนำตัวเองให้กับคนอื่นและทำให้คนอื่นรู้จัก
“ผู้ที่ทำการเข้าร่วมได้รายงานเกี่ยวกับการใช้ทักษะต่างๆที่ก่อให้เกิดความเครียด ทำให้อยู่โดดเดี่ยวและส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต” Segrin กล่าว
แม้ว่าผลกระทบที่ได้จากความเครียดที่มีต่อร่างกายจะเป็นที่รู้กันมาเป็นเวลานาน แต่เรื่องของความโดดเดี่ยวเป็นเรื่องที่ค้นพบไม่นานมานี้ว่ามีความเสี่ยงที่ส่งผลต่อปัญหาทางด้านสุขภาพ
“พวกเราเริ่มเข้าใจเรื่องนี้เมื่อประมาณ 15 ปีก่อนว่า ความโดดเดี่ยวจริงๆแล้วมีความเสี่ยงที่จะก่อปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆขึ้นมามาก ทำให้มีความเสี่ยงในการสูบบุหรี่มากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวมากเกินไปหรือกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงๆและไม่ค่อยออกกำลังกาย” Segrin กล่าว
Sergin ได้พูดถึงผู้คนที่ประสบปัญหาการอยู่โดดเดี่ยวว่า เหมือนกับพวกเขารีบออกจากประตูบ้านแต่กลับหากุญแจไม่เจอ เว้นแต่เป็นความรู้สึกที่ไม่อยากออกไปไหน
“เมื่อพวกเราทำกุญแจหาย 99 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลานั้นพวกเรามักจะหากุญแจพบ แล้วทำให้ความตึงเครียดหมดลงไปพวกเราก็เข้าไปในรถและทุกอย่างก็จบลงด้วยดี” เขากล่าว “คนที่อยู่โดดเดี่ยวมักจะรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ค้นหากุญแจ ในกรณีตัวอย่างนั้นไม่ใช่ค้นหากุญแจรถยนต์ แต่เป็นเรื่องของความสำคัญในเรื่องของความเป็นมิตรภาพและพวกเขาไม่มีความสามารถในการหลีกหนีออกจากความตึงเครียดได้ พวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองกำลังมองหาอะไรอยู่ และความเครียดก็ได้เข้ามาลนลานในชีวิตของพวกเขา”
Sergrin กล่าวว่า ข่าวดีก็คือทักษะการเข้าสังคมชี้ให้เห็นการยอมรับที่คนนั้นสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้
“สำหรับใครที่ต้องการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมจริงๆและอยากพูดคุยกับคนอื่นอย่างจริงจัง มันก็มีแนวทางการบำบัด มีการให้คำปรึกษาและมีการฝึกฝนทักษะการเข้าสังคม” เขากล่าว
“อย่างไรก็ตามโชคไม่ดีที่ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีทักษะการเข้าสังคมที่แย่กลับไม่ยอมรับความจริง” Sergrin กล่าว
“ปัญหาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคมที่แย่ก็คือ การขาดความตระหนักรู้ทางสังคม ด้วยเหตุนี้หากพวกเขายังไม่นัดพบปะกัน พวกเขาก็ไม่มีทางที่จะได้อาชีพการงานทำแน่ พวกเขาจะต้องทำการโต้เถียงกับเพื่อนร่วมงานหรือคู่ชีวิตของพวกเขา พวกเขายังมองไม่เห็นถึงปัญหาต่างๆ “Segrin กล่าว “พวกเขายังต้องเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงทางด้านสุขภาพตามมาและพวกเขายังมองไม่เห็นถึงสิ่งที่จะตามมานี้”
แล้วทักษะการเข้าสังคมมาจากไหนล่ะ?
ทักษะการเข้าสังคมส่วนใหญ่มาจากการเรียนรู้ในแต่ละช่วงเวลา โดยเริ่มต้นจากครอบครัวของคุณก่อนและเริ่มเรียนรู้จากชีวิตที่เหลือ จนถึงตอนนี้ในทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ชี้ว่า จะต้องมีอุปนิสัยอย่างเช่นความสามารถในการเข้าสังคมหรือการรับมือกับความวิตกกังวลจากสังคม ซึ่งบางทีก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งจากกรรมพันธุ์ กล่าวโดย Segrin จากการที่เขาได้ศึกษาเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมมาเป็นเวลากว่า 31 ปี
ในขณะที่ Sergrin ไม่ได้พูดถึงการแก้ปัญหาในงานวิจัยของเขา เขาเองก็ได้กล่าวว่าเทคโนโลยีสำหรับพวกเขาแล้วล้วนมีประโยชน์ แต่นั่นก็อาจเป็นปัญหาต่อการเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นวัยรุ่น
“การใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะการพิมพ์ข้อความก็อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมในช่วงหมู่วัยรุ่นยุคปัจจุบัน” เขากล่าว “ทุกๆอย่างล้วนแล้วทำให้โลกแคบลงและมาจากการใช้คำเพียงไม่กี่คำเท่านั้น และนั่นก็ไม่ได้เป็นวิถีมนุษย์ที่ทำกันในช่วงหลายพันปีก่อนที่มีการติดต่อสื่อสารกัน ทำให้วัยรุ่นส่วนใหญ่เกิดความขี้อายขึ้นมาเมื่อพวกเขาเจอผู้คนตัวจริง และพวกเขาก็ทำอะไรไม่ถูกว่าจะเอายังไงต่อดี จึงไม่สามารถที่จะทำการปฎิสัมพันธ์กันทางสังคมได้ และผมเกรงว่าจะเป็นเรื่องเจ็บปวดสำหรับหมู่วัยรุ่น”
ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือลูกๆพัฒนาทักษะการเข้าสังคมที่ดีขึ้นได้ และช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่เพียงแค่ลดช่องโหว่เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เด็กๆรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆที่จะต้องรับมือกับการปฎิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย Sergrin กล่าว
“ในช่วงค่ายหน้าร้อน โปรแกรมการกีฬา การทำพิธีทางศาสนาบางครั้งพวกเขาก็สามารถพูดคุยกับคนอื่นและขอให้เพียงแค่พูดคุยได้ก็ดีแล้ว และจากนั้นก็หันมาทำกิจกรรมด้วยกัน” เขากล่าว
Sergrin กล่าวว่างานวิจัยในอนาคตจะต้องมุ่งเน้นทำการสำรวจมุมมองในส่วนของทักษะการเข้าสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่นกันเขาเองก็ให้ความสนใจในเรื่องของทักษะการเข้าสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย
“ผมอยากให้ผู้คนให้ความสำคัญกับทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี” Sergrin กล่าว “ทักษะพวกนี้ไม่เพียงแค่จะมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในสังคมเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
คนที่มีทักษะการเข้าสังคมแย่อาจส่งผลต่อสุขภาพย่ำแย่ตามมา
ใครที่เจอกับภาวะลำบากในการเข้าสังคมอาจจะต้องเจอกับความเสี่ยงทางด้านปัญหาจิตใจและปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา สอดคล้องกับงานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัย Arizona
เนื่องจากคนที่มีทักษะทางด้านการเข้าสังคมที่แย่มีแนวโน้มที่จะประสบกับปัญหาความเครียดกับความโดดเดี่ยว ปัญหาทั้งสองอย่างนี้เป็นผลกระทบต่อสุขภาพทางด้านลบ กล่าวโดย Chirs Segrin ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะสื่อสาร
งานวิจัยนี้ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Health Communication โดยเรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกับทักษะการเข้าสังคม ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของสุขภาพจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
“พวกเราใช้เวลานานกว่าที่จะพบว่า ทักษะการเข้าสังคมส่งผลต่อปัญหาทางด้านสุขภาพจิตหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นภาวะความกดดันกับความวิตกกังวล” Segrin กล่าว “แต่พวกเราไม่มีทางรู้ได้แน่ชัดว่าทักษะการเข้าสังคมจะบ่งบอกได้ถึงภาวะสุขภาพที่ย่ำแย่ได้ ปัญหาสองอย่างทั้งเรื่องของความโดดเดี่ยวกับความเครียดชี้ให้เห็นว่า ทักษะการเข้าสังคมที่แย่ส่งผลต่อเรื่องสุขภาพ คนที่มีทักษะการเข้าสังคมที่แย่จะมีระดับความเครียดที่สูงและอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง
จากงานวิจัยได้ยึดหลักในการสำรวจผู้คนตัวอย่างในประเทศถึง 775 คนโดยมีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 91 ปี โดยมีการสอบถามผ่านออนไลน์ในการประเมินเกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคม ความเครียด ความโดดเดี่ยวและปัญหาทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ทักษะการเข้าสังคมเป็นทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสารเพื่อที่จะทำการปฎิสัมพันธ์กับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและพูดคุยกับคนอื่นได้อย่างเหมาะสม ทางด้าน Sergrin ได้โฟกัสในทักษะการเข้าสังคม 4 ประเด็นก็คือ : ความสามารถในการสร้างอารมณ์ที่ดีกับคนอื่นเช่น การเปิดเผยตัวเอง หรือความสามารถในการแชร์ข้อมูลให้กับคนอื่นอย่างเช่น จุดอ่อนของตัวเอง หรือความสามารถในการรับมือกับข้อเรียกร้องที่ไร้เหตุผลกับคนอื่นและทักษะการสร้างความสัมพันธ์ หรือความสามารถในการแนะนำตัวเองให้กับคนอื่นและทำให้คนอื่นรู้จัก
“ผู้ที่ทำการเข้าร่วมได้รายงานเกี่ยวกับการใช้ทักษะต่างๆที่ก่อให้เกิดความเครียด ทำให้อยู่โดดเดี่ยวและส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต” Segrin กล่าว
แม้ว่าผลกระทบที่ได้จากความเครียดที่มีต่อร่างกายจะเป็นที่รู้กันมาเป็นเวลานาน แต่เรื่องของความโดดเดี่ยวเป็นเรื่องที่ค้นพบไม่นานมานี้ว่ามีความเสี่ยงที่ส่งผลต่อปัญหาทางด้านสุขภาพ
“พวกเราเริ่มเข้าใจเรื่องนี้เมื่อประมาณ 15 ปีก่อนว่า ความโดดเดี่ยวจริงๆแล้วมีความเสี่ยงที่จะก่อปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆขึ้นมามาก ทำให้มีความเสี่ยงในการสูบบุหรี่มากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวมากเกินไปหรือกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงๆและไม่ค่อยออกกำลังกาย” Segrin กล่าว
Sergin ได้พูดถึงผู้คนที่ประสบปัญหาการอยู่โดดเดี่ยวว่า เหมือนกับพวกเขารีบออกจากประตูบ้านแต่กลับหากุญแจไม่เจอ เว้นแต่เป็นความรู้สึกที่ไม่อยากออกไปไหน
“เมื่อพวกเราทำกุญแจหาย 99 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลานั้นพวกเรามักจะหากุญแจพบ แล้วทำให้ความตึงเครียดหมดลงไปพวกเราก็เข้าไปในรถและทุกอย่างก็จบลงด้วยดี” เขากล่าว “คนที่อยู่โดดเดี่ยวมักจะรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ค้นหากุญแจ ในกรณีตัวอย่างนั้นไม่ใช่ค้นหากุญแจรถยนต์ แต่เป็นเรื่องของความสำคัญในเรื่องของความเป็นมิตรภาพและพวกเขาไม่มีความสามารถในการหลีกหนีออกจากความตึงเครียดได้ พวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองกำลังมองหาอะไรอยู่ และความเครียดก็ได้เข้ามาลนลานในชีวิตของพวกเขา”
Sergrin กล่าวว่า ข่าวดีก็คือทักษะการเข้าสังคมชี้ให้เห็นการยอมรับที่คนนั้นสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้
“สำหรับใครที่ต้องการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมจริงๆและอยากพูดคุยกับคนอื่นอย่างจริงจัง มันก็มีแนวทางการบำบัด มีการให้คำปรึกษาและมีการฝึกฝนทักษะการเข้าสังคม” เขากล่าว
“อย่างไรก็ตามโชคไม่ดีที่ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีทักษะการเข้าสังคมที่แย่กลับไม่ยอมรับความจริง” Sergrin กล่าว
“ปัญหาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคมที่แย่ก็คือ การขาดความตระหนักรู้ทางสังคม ด้วยเหตุนี้หากพวกเขายังไม่นัดพบปะกัน พวกเขาก็ไม่มีทางที่จะได้อาชีพการงานทำแน่ พวกเขาจะต้องทำการโต้เถียงกับเพื่อนร่วมงานหรือคู่ชีวิตของพวกเขา พวกเขายังมองไม่เห็นถึงปัญหาต่างๆ “Segrin กล่าว “พวกเขายังต้องเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงทางด้านสุขภาพตามมาและพวกเขายังมองไม่เห็นถึงสิ่งที่จะตามมานี้”
แล้วทักษะการเข้าสังคมมาจากไหนล่ะ?
ทักษะการเข้าสังคมส่วนใหญ่มาจากการเรียนรู้ในแต่ละช่วงเวลา โดยเริ่มต้นจากครอบครัวของคุณก่อนและเริ่มเรียนรู้จากชีวิตที่เหลือ จนถึงตอนนี้ในทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ชี้ว่า จะต้องมีอุปนิสัยอย่างเช่นความสามารถในการเข้าสังคมหรือการรับมือกับความวิตกกังวลจากสังคม ซึ่งบางทีก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งจากกรรมพันธุ์ กล่าวโดย Segrin จากการที่เขาได้ศึกษาเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมมาเป็นเวลากว่า 31 ปี
ในขณะที่ Sergrin ไม่ได้พูดถึงการแก้ปัญหาในงานวิจัยของเขา เขาเองก็ได้กล่าวว่าเทคโนโลยีสำหรับพวกเขาแล้วล้วนมีประโยชน์ แต่นั่นก็อาจเป็นปัญหาต่อการเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นวัยรุ่น
“การใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะการพิมพ์ข้อความก็อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมในช่วงหมู่วัยรุ่นยุคปัจจุบัน” เขากล่าว “ทุกๆอย่างล้วนแล้วทำให้โลกแคบลงและมาจากการใช้คำเพียงไม่กี่คำเท่านั้น และนั่นก็ไม่ได้เป็นวิถีมนุษย์ที่ทำกันในช่วงหลายพันปีก่อนที่มีการติดต่อสื่อสารกัน ทำให้วัยรุ่นส่วนใหญ่เกิดความขี้อายขึ้นมาเมื่อพวกเขาเจอผู้คนตัวจริง และพวกเขาก็ทำอะไรไม่ถูกว่าจะเอายังไงต่อดี จึงไม่สามารถที่จะทำการปฎิสัมพันธ์กันทางสังคมได้ และผมเกรงว่าจะเป็นเรื่องเจ็บปวดสำหรับหมู่วัยรุ่น”
ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือลูกๆพัฒนาทักษะการเข้าสังคมที่ดีขึ้นได้ และช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่เพียงแค่ลดช่องโหว่เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เด็กๆรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆที่จะต้องรับมือกับการปฎิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย Sergrin กล่าว
“ในช่วงค่ายหน้าร้อน โปรแกรมการกีฬา การทำพิธีทางศาสนาบางครั้งพวกเขาก็สามารถพูดคุยกับคนอื่นและขอให้เพียงแค่พูดคุยได้ก็ดีแล้ว และจากนั้นก็หันมาทำกิจกรรมด้วยกัน” เขากล่าว
Sergrin กล่าวว่างานวิจัยในอนาคตจะต้องมุ่งเน้นทำการสำรวจมุมมองในส่วนของทักษะการเข้าสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่นกันเขาเองก็ให้ความสนใจในเรื่องของทักษะการเข้าสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย
“ผมอยากให้ผู้คนให้ความสำคัญกับทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี” Sergrin กล่าว “ทักษะพวกนี้ไม่เพียงแค่จะมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในสังคมเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com