ศาสนาอิสลามได้ จำกัด อำนาจไว้อย่างเด็ดขาด ในการออกกฎหมายในเรื่องสิ่งที่ต้องห้าม(ฮารอม)และ สิ่งที่เป็นที่อนุมัติ(ฮาลาล) โดยเอาออกจากน้ำมือของมนุษย์อย่างเด็ดขาดโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งทางศาสนาหรือทางโลกของพวกมนุษย์ไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะอยู่ในตำแหน่งใดๆก็ตาม และสงวนไว้สำหรับพระเจ้าของมนุษย์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
เรื่องการกำหนด สิ่งใดฮารอมหรือฮาลาลไม่ใช่สิทธิของ ปราชญ์, นักวิชาการ, พระ, บาดหลวง, เชคส์, กษัตริย์, หรือสุลตาน แม้แต่จุฬาราชมนตรี ในการ ที่จะออกกฏข้อห้ามอะไรก็ตาม(ทางด้านความศรัทธา) อย่างถาวรต่อผู้สวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮ์และถ้าผู้ใดก็ตามฝ่าฝืนกระทำการดังกล่าว เขาได้กระทำกินขอบเขตุ ของเขา, ล่วงล้ำแย่งชิงอำนาจอธิปไตยของอัลลอฮ์ ในการออกกฏเกณฑ์ข้อบังคับผู้คน, ซึ่งอำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
สำหรับผู้ใดที่ได้ทำการกำหนดข้อบังคับต่อมนุษย์ด้วยกันในเรื่อง"ฮาลาล" หรือ "ฮารอม" นั้นตกอยู่ในสภาวะที่ลำบาก เนื่องจากเขาได้ตั้งต้วขึ้นเป็นภาคีต่ออัลลอฮ์ ตามที่บัญญัติไว้ดังนี้: “หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้กําหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอหฺไม่ได้ทรงอนุมัติและหากไม่ใช่ลิขิตแห่งการพิพากษา (ที่ได้กําหนดไว้ก่อนแล้ว) ก็คงมีการตัดสินในระหว่างพวกเขา แท้จริงบรรดาผู้อธรรมนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บปวด (42:21)
หมายความว่า ถ้ามนุษย์สามารถที่จะกำหนดใน การห้าม(ฮารอม)หรือ การอนุมัติ(ฮาลาล)ได้เสียเอง มนุษย์ก็จะกลายเป็นผู้ตัดสินบุญบาปในระหว่างกันโดยไม่ต้องมีอัลลอฮ์หรือ? ไม่มีสิ่งใด ที่สามารถออกเป็นกฎบัญญัติในศาสนาอิสลามได้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้{10:19} และปวงมนุษย์นั้นไม่ใช่อื่นใด นอกจากเป็นประชาชาติเดียวกัน แล้วพวกเขาก็แตกแยกกัน และหากไม่ใช่เพราะพระลิขิตจากพระเจ้าของเธอมีมาก่อนแล้ว ก็คงมีการพิพากษาระหว่างพวกเขาในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน
{13:6} และพวกเขาเร่งเร้าเธอขอความเลวร้ายก่อนความดีงาม และแน่นอนได้เคยมีหลายตัวอย่างเกิดขึ้นก่อนหน้าพวกเขาแล้ว และแท้จริงพระเจ้าของเธอทรงเป็นเจ้าแห่งการอภัยต่อปวงมนุษย์ในความอธรรมของพวกเขา และแท้จริงพระเจ้าของเธอทรงรุนแรงในการลงโทษ
{13:18} บรรดาผู้ตอบสนองต่อพระเจ้าของพวกตน ก็จะได้รับความดี และบรรดาผู้ไม่ตอบสนองต่อพระองค์ แม้ว่าพวกเขาจะมีทั้งหมดที่มีอยู่ในแผ่นดินและมีอีกเยี่ยงนั้น พวกเขาก็จะยอมเอามาไถ่โทษอย่างแน่นอน ชนเหล่านั้น พวกเขาจะมีบัญชีที่ชั่ว และที่พำนักของพวกเขาคือนรกญะหันนัม และมันเป็นที่พำนักที่ชั่วช้าเสียนี่กระไร!
อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า,"พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาดหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอหฺ และยึดเอาอัลมะซีฮฺ บุตรมัรยัม เป็นพระเจ้าด้วย ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่ได้ถูกสั่ง นอกจากเพื่อเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น" (09:31)
เมื่ออัลกุรอานได้ถูกประทานมานั้น อัลกุรอานได้ถอดถอนอำนาจจากชาวคัมภีร์ที่ให้สิทธิแก่นักวิชาการ หรือพระ, บาดหลวง และในการออกกฏบัญญัติข้อห้ามทางศาสนา
หมายความว่า สำหรับในศาสนาอิสลาม ไม่อนุญาตให้ เชคส์ อิมาม รวมทั้ง ท่านจุฬาราชมนตรี ฟัตวา หรือ ออกกฏข้อห้ามที่นอกเหนือไปจากอัลกุรอาน, ซึ่งต่างจากในศาสนาจูดายและตริสตศาสนา ที่พระหรือบาดหลวง หรือ นักวิชาการ(แรบไบ) สามารถ ออกบัญญัติข้อห้ามได้
อัลลอ์ทรงบัญญัติ ห้ามมิให้มีการตั้งข้อห้าม หรือ ข้ออนุมัติ ในสิ่งใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพระองค์:
จงกล่าวเถิด "พวกเธอเห็นไหม? เครื่องยังชีพที่อัลลอหฺทรงประทานให้แก่พวกเธอ แล้วพวกเธอก็ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ จงกล่าวเถิด "อัลลอหฺทรงอนุมัติให้แก่พวกเธอ หรือพวกเธอปั้นแต่งให้แก่อัลลอหฺกันแน่? (10:59)
และพวกเธออย่ากล่าวตามที่ลิ้นของพวกเธอกล่าวเท็จขึ้นว่า นี่เป็นที่อนุมัติและนี่เป็นที่ต้องห้าม เพื่อที่พวกเธอจะกล่าวเท็จต่ออัลลอหฺ แท้จริง บรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอหฺนั้น พวกเขาจะไม่ได้รับความสำเร็จ (16: 116)
จากข้อบัญญัติที่ชัดเจนของคัมภีร์อัลกุรอานนี้บรรดานักวิชาการที่ออกกฏหมายอิสลามจะต้องยึดมั่นในความเชื่อมั่นว่า อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงมีสิทธิที่จะ ออก กฏบัญญํติ ในเรื่อง ฮารอมหรือ ฮาลาล, เฉพาะในอัลกุรอานที่ผ่านทางปากของท่านนบีเท่านั้น, หน้าที่ของนักวิชาการทางกฏหมายจะต้องไม่ทำเกินสิ่งที่อัลลอฮ์บัญญัติไว้ในอัลกุรอานว่าสิ่งใด ฮารามหรือฮาลาลซึ่งพระองค์ได้อธิบายไว้ ด้วยรายละเอียด อย่างชัดเจน ดังนี้:
"และไฉนเล่าพวกเธอจึงไม่บริโภคเฉพาะจากสิ่งที่พระนามของอัลลอหฺถูกกล่าวในยามที่เชือดมัน ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเธอแล้ว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติห้ามแก่พวกเธอ นอกจากว่าพวกเธอจะอยู่ในภาวะคับขันมีความจำเป็นต่อมัน และแท้จริงมีผู้คนมากมายหลอกลวงด้วยตัณหาของตนโดยปราศจากความรู้แท้จริง พระเจ้าของเธอนั้นคือพระผู้ที่ทรงรอบรู้ยิ่งเกี่ยวกับผู้ละเมิดทั้งหลาย" (6:119)
เป็นที่แน่นอนว่า หน้าที่ของนักวิชาการทางศาสนา ไม่ใช่การที่จะมาตัดสิน ว่าอะไรที่เป็นสิ่งอนุมัติหรือเป็นสิ่งห้ามสำหรับมนุษย์ ดังนั้น นักนิติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และมีความสามารถ ในการใช้ความพยายามค้นหาตัวบทหลักฐานเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยกำหนดบทบัญญัติ(اجتهاد) เมื่อพวกเขา พิจารณาเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องฮาลาลและฮารอมพวกเขามักจะ หลีกเลี่ยงการประกาศการตัดสินออกมาว่า อะไรเป็นสิ่ง ฮาลาลหรือ ฮารอม อย่างชัดเจน, จะโยนปัญหาไปให้นักวิชาการคนต่อๆไป เนื่องจากความกลัวตนเองจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการตัดสินนั้นๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราจะต้องไม่อ้างว่าอัลลอฮ์ได้ห้ามหรือไม่ได้ห้ามสิ่งนั้นสิ่งนี้ว่า “ฮาลาล หรือ ฮารอม มุสลิม จะต้องหลีกเลื่ยงการที่จะกล่าวอย่างแน่นอนว่า ‘สิ่งนี้ คือฮาลาลและสิ่งนี้เป็นฮารอม นอก จากจะเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องตีความจากบัญญัติในอัลกุรอาน
สิทธิ์ของอัลลอฮ์เท่านั้นในการกำหนด "สิ่งที่เป็น ฮาลาล" และ "สิ่งที่เป็น ฮารอม"
เรื่องการกำหนด สิ่งใดฮารอมหรือฮาลาลไม่ใช่สิทธิของ ปราชญ์, นักวิชาการ, พระ, บาดหลวง, เชคส์, กษัตริย์, หรือสุลตาน แม้แต่จุฬาราชมนตรี ในการ ที่จะออกกฏข้อห้ามอะไรก็ตาม(ทางด้านความศรัทธา) อย่างถาวรต่อผู้สวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮ์และถ้าผู้ใดก็ตามฝ่าฝืนกระทำการดังกล่าว เขาได้กระทำกินขอบเขตุ ของเขา, ล่วงล้ำแย่งชิงอำนาจอธิปไตยของอัลลอฮ์ ในการออกกฏเกณฑ์ข้อบังคับผู้คน, ซึ่งอำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
สำหรับผู้ใดที่ได้ทำการกำหนดข้อบังคับต่อมนุษย์ด้วยกันในเรื่อง"ฮาลาล" หรือ "ฮารอม" นั้นตกอยู่ในสภาวะที่ลำบาก เนื่องจากเขาได้ตั้งต้วขึ้นเป็นภาคีต่ออัลลอฮ์ ตามที่บัญญัติไว้ดังนี้: “หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้กําหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอหฺไม่ได้ทรงอนุมัติและหากไม่ใช่ลิขิตแห่งการพิพากษา (ที่ได้กําหนดไว้ก่อนแล้ว) ก็คงมีการตัดสินในระหว่างพวกเขา แท้จริงบรรดาผู้อธรรมนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บปวด (42:21)
หมายความว่า ถ้ามนุษย์สามารถที่จะกำหนดใน การห้าม(ฮารอม)หรือ การอนุมัติ(ฮาลาล)ได้เสียเอง มนุษย์ก็จะกลายเป็นผู้ตัดสินบุญบาปในระหว่างกันโดยไม่ต้องมีอัลลอฮ์หรือ? ไม่มีสิ่งใด ที่สามารถออกเป็นกฎบัญญัติในศาสนาอิสลามได้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า,"พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาดหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอหฺ และยึดเอาอัลมะซีฮฺ บุตรมัรยัม เป็นพระเจ้าด้วย ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่ได้ถูกสั่ง นอกจากเพื่อเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น" (09:31)
เมื่ออัลกุรอานได้ถูกประทานมานั้น อัลกุรอานได้ถอดถอนอำนาจจากชาวคัมภีร์ที่ให้สิทธิแก่นักวิชาการ หรือพระ, บาดหลวง และในการออกกฏบัญญัติข้อห้ามทางศาสนา หมายความว่า สำหรับในศาสนาอิสลาม ไม่อนุญาตให้ เชคส์ อิมาม รวมทั้ง ท่านจุฬาราชมนตรี ฟัตวา หรือ ออกกฏข้อห้ามที่นอกเหนือไปจากอัลกุรอาน, ซึ่งต่างจากในศาสนาจูดายและตริสตศาสนา ที่พระหรือบาดหลวง หรือ นักวิชาการ(แรบไบ) สามารถ ออกบัญญัติข้อห้ามได้
อัลลอ์ทรงบัญญัติ ห้ามมิให้มีการตั้งข้อห้าม หรือ ข้ออนุมัติ ในสิ่งใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพระองค์:
จงกล่าวเถิด "พวกเธอเห็นไหม? เครื่องยังชีพที่อัลลอหฺทรงประทานให้แก่พวกเธอ แล้วพวกเธอก็ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ จงกล่าวเถิด "อัลลอหฺทรงอนุมัติให้แก่พวกเธอ หรือพวกเธอปั้นแต่งให้แก่อัลลอหฺกันแน่? (10:59)
และพวกเธออย่ากล่าวตามที่ลิ้นของพวกเธอกล่าวเท็จขึ้นว่า นี่เป็นที่อนุมัติและนี่เป็นที่ต้องห้าม เพื่อที่พวกเธอจะกล่าวเท็จต่ออัลลอหฺ แท้จริง บรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอหฺนั้น พวกเขาจะไม่ได้รับความสำเร็จ (16: 116)
จากข้อบัญญัติที่ชัดเจนของคัมภีร์อัลกุรอานนี้บรรดานักวิชาการที่ออกกฏหมายอิสลามจะต้องยึดมั่นในความเชื่อมั่นว่า อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงมีสิทธิที่จะ ออก กฏบัญญํติ ในเรื่อง ฮารอมหรือ ฮาลาล, เฉพาะในอัลกุรอานที่ผ่านทางปากของท่านนบีเท่านั้น, หน้าที่ของนักวิชาการทางกฏหมายจะต้องไม่ทำเกินสิ่งที่อัลลอฮ์บัญญัติไว้ในอัลกุรอานว่าสิ่งใด ฮารามหรือฮาลาลซึ่งพระองค์ได้อธิบายไว้ ด้วยรายละเอียด อย่างชัดเจน ดังนี้:
"และไฉนเล่าพวกเธอจึงไม่บริโภคเฉพาะจากสิ่งที่พระนามของอัลลอหฺถูกกล่าวในยามที่เชือดมัน ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเธอแล้ว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติห้ามแก่พวกเธอ นอกจากว่าพวกเธอจะอยู่ในภาวะคับขันมีความจำเป็นต่อมัน และแท้จริงมีผู้คนมากมายหลอกลวงด้วยตัณหาของตนโดยปราศจากความรู้แท้จริง พระเจ้าของเธอนั้นคือพระผู้ที่ทรงรอบรู้ยิ่งเกี่ยวกับผู้ละเมิดทั้งหลาย" (6:119)
เป็นที่แน่นอนว่า หน้าที่ของนักวิชาการทางศาสนา ไม่ใช่การที่จะมาตัดสิน ว่าอะไรที่เป็นสิ่งอนุมัติหรือเป็นสิ่งห้ามสำหรับมนุษย์ ดังนั้น นักนิติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และมีความสามารถ ในการใช้ความพยายามค้นหาตัวบทหลักฐานเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยกำหนดบทบัญญัติ(اجتهاد) เมื่อพวกเขา พิจารณาเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องฮาลาลและฮารอมพวกเขามักจะ หลีกเลี่ยงการประกาศการตัดสินออกมาว่า อะไรเป็นสิ่ง ฮาลาลหรือ ฮารอม อย่างชัดเจน, จะโยนปัญหาไปให้นักวิชาการคนต่อๆไป เนื่องจากความกลัวตนเองจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการตัดสินนั้นๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราจะต้องไม่อ้างว่าอัลลอฮ์ได้ห้ามหรือไม่ได้ห้ามสิ่งนั้นสิ่งนี้ว่า “ฮาลาล หรือ ฮารอม มุสลิม จะต้องหลีกเลื่ยงการที่จะกล่าวอย่างแน่นอนว่า ‘สิ่งนี้ คือฮาลาลและสิ่งนี้เป็นฮารอม นอก จากจะเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องตีความจากบัญญัติในอัลกุรอาน