ความสำคัญและความหมายของอาหารฮาลาล
มุสลิมมีความศรัทธาว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ นบีมูฮัมมัดเป็นผู้สื่อ (รอซูล) ของอัลลอฮฺ" และมุสลิมมีความเชื่ออย่างมั่นใจว่า อัลลอฮฺ คือผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาล ดังนั้น คำบัญชาของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) คำสอนและแบบอย่างของนบีมูฮัมมัด (ซุนนะห์) จึงเป็นเรื่องที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและจริงจัง กล่าวคือ ปฏิบัติในสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) และไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อห้าม (ฮารอม) ด้วยความ เต็มใจและยินดu
ฮาลาล-ฮารอม ในอิสลามจึงมิได้หมายความเพียงการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงวิถีการดำเนิน ชีวิตในทุกด้าน เพราะอิสลามคือระบอบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาหารฮาลาล (Halal Food) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิมหากบริโภคอาหารฮาลาลก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นเดียวกันเพราะอาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามปราศจากสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) และมีคุณค่าทางอาหาร (ตอยยิบ) อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้มีบัญชาไว้ในบทที่ 2 วรรคที่ 168 แห่งคัมภีร์อัล-กุรอาน ความว่า
“โอ้มนุษย์ จงบริโภคสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) ที่ดี (ตอยยิบ) จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดา ก้าวเดินของมาร (ซัยตอน) แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า"
และอัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้กำชับผู้ศรัทธาไว้ในบทที่ 2 วรรคที่ 172 ความว่า
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพของพวกเจ้าจากสิ่งที่ดีทั้งหลาย และจงขอบคุณ อัลลอฮฺเถิด เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ"
อาหารฮาลาลจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทั่วโลก
ความหมายของคำ (ภาษาอาหรับ) “ฮาลาล ฮารอม ตอยยิบ มัสบุฮฺ"
ฮาลาล (Halal) แปลว่า อนุมัติ, อนุญาต
ฮารอม (Haram) แปลว่า ห้าม ตรงข้ามกับคำว่า ฮาลาล
ตอยยิบ (Toyyib) แปลว่า ดี มีคุณค่า ปราศจากอันตราย
มัสบุฮฺ (Musbuh) แปลว่า เคลือบแคลงสงสัยว่าฮาลาลหรือฮารอม
นบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ได้สอนว่า “ฮาลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ และฮารอม คือสิ่งที่พระองค์ ได้ทรงห้ามไว้ และที่เกี่ยวกับที่พระองค์ทรงนิ่งเงียบนั้น พระองค์ได้ทรงอนุมัติให้เป็นความโปรดปรานแก่ท่าน” “สิ่งฮาลาลย่อมชัดแจ้งและสิ่งฮารอมก็ชัดแจ้ง แต่ระหว่างทั้งสองดังกล่าวมีสิ่งที่ไม่ชัดเจนอยู่ ซึ่งคนส่วนมากไม่รู้”
บรรดานักวิชาการอิสลามได้ให้คำนิยามว่า “ฮาลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูล (นบีมูฮัมมัด) อนุมัติ ฮารอม คือ สิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลทรงห้าม มัสบุฮฺ คือ สิ่งที่ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยและระบุไม่ได้ว่าฮาลาล หรือ ฮารอม จนกว่าจะวินิจฉัยให้ชัดเจน อย่างใดอย่างหนึ่ง”
“อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลาม ให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้”
สัตว์ที่ห้ามนำมาบริโภค
1) สุกร สุนัข หมูป่า ลิง แมว
2) สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี นกที่มีกรงเล็บ
3) สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโรค เข่น หนู ตะขาบ แมงป่อง
4) สัตว์มีพิษและเป็นอันตราย เช่น งู
5) สัตว์น่ารังเกียจ เช่น หนอน แมลงวัน
6) สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่า เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน นกหัวขวาน นกเหยี่ยวเล็ก กบ เป็นต้น
7) สัตว์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลา เช่น ล่อ
8) สัตว์ที่ตายเอง
9) สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย ถูกตีหรือขว้างจนตาย ตกจากที่สูงลงมาตาย ถูกขวิดตาย ถูกสัตว์อื่นกัดกินจนตาย
10) สัตว์ที่ถูกเชือดเพื่อบูชายัญ
11) สัตว์ที่ถูกเชือดโดยกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
12) สัตว์สกปรกที่เกิดจากอาหารการกิน เช่น อัล-ญัลลาละฮฺ คือสัตว์ที่กินของสกปรก เช่นกินมูลสัตว์เป็นอาหาร
13) สัตว์ที่กินซากศพ เช่น นกอินทรีย์ นกอีแร้ง และนกอีกา
14) เลือดสัตว์
15) สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ครอบครอง เช่น สัตว์ที่ฉกชิงจากผู้อื่นหรือขโมยมา
สัตว์และสัตว์ปีกที่(อนุมัติ)ให้บริโภค
1. สัตว์บกทุกชนิดถือว่าเป็นสิ่งที่อนุมัตินอกจากสัตว์ที่ได้กล่าวมาแล้วและสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกับสัตว์ดังกล่าว จึงอนุญาตให้รับประทานปศุสัตว์ต่างๆ นั่นก็คือ อูฐ วัว แพะ และแกะ และอนุญาตให้รับประทานเนื้อลาป่า ม้า วัวป่า เนื้อสมัน กวางขาว กระต่าย และสัตว์ป่าทุกชนิดนอกจากสัตว์ที่มีเขี้ยวไว้ล่าเหยื่อซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่ต้องห้าม
2. สัตว์ปีกทุกชนิดถือว่าเป็นสัตว์ที่อนุมัติเว้นแต่สัตว์ที่ได้กล่าวมาแล้วขั้นต้นและสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกับสัตว์ดังกล่าว อย่างเช่น ไก่ เป็ด ห่าน นกพิราบ นกกระจอกเทศ นกกระจอก นกไนติงเกล นกยูง นกเขา และสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกันนี้
จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวว่า
نَـهَى رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم عَنْ كُلِّ ذِي نَابٍ مِنَ السِّبَاعِ، وَعَنْ كُلِّ ذِي مِـخْلَبٍ مِنَ الطَّيْرِ. أخرجه مسلم.
ความว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ห้ามกินสัตว์ใดๆ ที่มีเขี้ยว และนกทุกชนิดที่มีกรงเล็บ (รายงานโดยมุสลิม 1934)
3. สัตว์ทะเลทุกชนิดที่ใช้ชีวิตเฉพาะในทะเลเป็นที่อนุมัติไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มิได้ยกเว้นแม้แต่ชนิดเดียวทุกอย่างเป็นสัตว์ที่อนุมัติให้รับประทานได้ ดังโองการของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า
أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ وَطَعَامُهُ مَتَاعًا لَّكُمْ وَلِلسَّيَّارَةِ ۖ وَحُرِّمَ عَلَيْكُمْ صَيْدُ الْبَرِّ مَا دُمْتُمْ حُرُمًا ۗ وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي إِلَيْهِ تُحْشَرُونَ ( 96 )
ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล และอาหารจากทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่พวกเจ้า และแก่บรรดาผู้เดินทาง และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่พวกเจ้าครองอิห์รอมอยู่และจงยำเกรงอัลลอฮ์เภิดผู้ ที่พวกเจ้าจะถูกรวบรวมนำไปสู่พระองค์
(อัล-มาอิดะฮฺ 96)
พืชที่ห้ามนำมาบริโภค
พืชมีพิษและมีอันตราย
อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ หรือมีสิ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
เมื่อใดที่อนุญาตให้กินสิ่งที่หะรอม(อนุญาตบริโภคในสิ่งที่ไม่อนุมัติเมื่อยามจำเป็น)
ผู้ใดที่อยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องรับประทานสิ่งที่ถูกห้ามที่ไม่มีพิษ อนุญาตให้รับประทานได้เพียงแค่บรรเทาความหิวและรักษาตัวเองให้พ้นจากความตาย
อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيْكُمُ الْمَيْتَةَ وَالدَّمَ وَلَحْمَ الْخِنزِيرِ وَمَا أُهِلَّ بِهِ لِغَيْرِ اللَّهِ ۖ فَمَنِ اضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ وَلَا عَادٍ فَلَا إِثْمَ عَلَيْهِ ۚ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ( 173 )
ที่จริงที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งเสียงที่มันเพื่ออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ
(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2 : 173)
Credit : เว็บมุสลิมเชียงใหม่
สถาบันฮาลาล
จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์
(มีต่อ)
อาหารการกินการบริโภคกับหลักคำสอนศาสนาอิสลาม(อาหารฮาลาลและฮารอม)
มุสลิมมีความศรัทธาว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ นบีมูฮัมมัดเป็นผู้สื่อ (รอซูล) ของอัลลอฮฺ" และมุสลิมมีความเชื่ออย่างมั่นใจว่า อัลลอฮฺ คือผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาล ดังนั้น คำบัญชาของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) คำสอนและแบบอย่างของนบีมูฮัมมัด (ซุนนะห์) จึงเป็นเรื่องที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและจริงจัง กล่าวคือ ปฏิบัติในสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) และไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อห้าม (ฮารอม) ด้วยความ เต็มใจและยินดu
ฮาลาล-ฮารอม ในอิสลามจึงมิได้หมายความเพียงการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงวิถีการดำเนิน ชีวิตในทุกด้าน เพราะอิสลามคือระบอบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาหารฮาลาล (Halal Food) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิมหากบริโภคอาหารฮาลาลก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นเดียวกันเพราะอาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามปราศจากสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) และมีคุณค่าทางอาหาร (ตอยยิบ) อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้มีบัญชาไว้ในบทที่ 2 วรรคที่ 168 แห่งคัมภีร์อัล-กุรอาน ความว่า
“โอ้มนุษย์ จงบริโภคสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) ที่ดี (ตอยยิบ) จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดา ก้าวเดินของมาร (ซัยตอน) แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า"
และอัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้กำชับผู้ศรัทธาไว้ในบทที่ 2 วรรคที่ 172 ความว่า
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพของพวกเจ้าจากสิ่งที่ดีทั้งหลาย และจงขอบคุณ อัลลอฮฺเถิด เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ"
อาหารฮาลาลจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทั่วโลก
ความหมายของคำ (ภาษาอาหรับ) “ฮาลาล ฮารอม ตอยยิบ มัสบุฮฺ"
ฮาลาล (Halal) แปลว่า อนุมัติ, อนุญาต
ฮารอม (Haram) แปลว่า ห้าม ตรงข้ามกับคำว่า ฮาลาล
ตอยยิบ (Toyyib) แปลว่า ดี มีคุณค่า ปราศจากอันตราย
มัสบุฮฺ (Musbuh) แปลว่า เคลือบแคลงสงสัยว่าฮาลาลหรือฮารอม
นบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ได้สอนว่า “ฮาลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ และฮารอม คือสิ่งที่พระองค์ ได้ทรงห้ามไว้ และที่เกี่ยวกับที่พระองค์ทรงนิ่งเงียบนั้น พระองค์ได้ทรงอนุมัติให้เป็นความโปรดปรานแก่ท่าน” “สิ่งฮาลาลย่อมชัดแจ้งและสิ่งฮารอมก็ชัดแจ้ง แต่ระหว่างทั้งสองดังกล่าวมีสิ่งที่ไม่ชัดเจนอยู่ ซึ่งคนส่วนมากไม่รู้”
บรรดานักวิชาการอิสลามได้ให้คำนิยามว่า “ฮาลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูล (นบีมูฮัมมัด) อนุมัติ ฮารอม คือ สิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลทรงห้าม มัสบุฮฺ คือ สิ่งที่ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยและระบุไม่ได้ว่าฮาลาล หรือ ฮารอม จนกว่าจะวินิจฉัยให้ชัดเจน อย่างใดอย่างหนึ่ง”
“อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลาม ให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้”
สัตว์ที่ห้ามนำมาบริโภค
1) สุกร สุนัข หมูป่า ลิง แมว
2) สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี นกที่มีกรงเล็บ
3) สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโรค เข่น หนู ตะขาบ แมงป่อง
4) สัตว์มีพิษและเป็นอันตราย เช่น งู
5) สัตว์น่ารังเกียจ เช่น หนอน แมลงวัน
6) สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่า เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน นกหัวขวาน นกเหยี่ยวเล็ก กบ เป็นต้น
7) สัตว์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลา เช่น ล่อ
8) สัตว์ที่ตายเอง
9) สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย ถูกตีหรือขว้างจนตาย ตกจากที่สูงลงมาตาย ถูกขวิดตาย ถูกสัตว์อื่นกัดกินจนตาย
10) สัตว์ที่ถูกเชือดเพื่อบูชายัญ
11) สัตว์ที่ถูกเชือดโดยกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
12) สัตว์สกปรกที่เกิดจากอาหารการกิน เช่น อัล-ญัลลาละฮฺ คือสัตว์ที่กินของสกปรก เช่นกินมูลสัตว์เป็นอาหาร
13) สัตว์ที่กินซากศพ เช่น นกอินทรีย์ นกอีแร้ง และนกอีกา
14) เลือดสัตว์
15) สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ครอบครอง เช่น สัตว์ที่ฉกชิงจากผู้อื่นหรือขโมยมา
สัตว์และสัตว์ปีกที่(อนุมัติ)ให้บริโภค
1. สัตว์บกทุกชนิดถือว่าเป็นสิ่งที่อนุมัตินอกจากสัตว์ที่ได้กล่าวมาแล้วและสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกับสัตว์ดังกล่าว จึงอนุญาตให้รับประทานปศุสัตว์ต่างๆ นั่นก็คือ อูฐ วัว แพะ และแกะ และอนุญาตให้รับประทานเนื้อลาป่า ม้า วัวป่า เนื้อสมัน กวางขาว กระต่าย และสัตว์ป่าทุกชนิดนอกจากสัตว์ที่มีเขี้ยวไว้ล่าเหยื่อซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่ต้องห้าม
2. สัตว์ปีกทุกชนิดถือว่าเป็นสัตว์ที่อนุมัติเว้นแต่สัตว์ที่ได้กล่าวมาแล้วขั้นต้นและสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกับสัตว์ดังกล่าว อย่างเช่น ไก่ เป็ด ห่าน นกพิราบ นกกระจอกเทศ นกกระจอก นกไนติงเกล นกยูง นกเขา และสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกันนี้
จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวว่า
نَـهَى رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم عَنْ كُلِّ ذِي نَابٍ مِنَ السِّبَاعِ، وَعَنْ كُلِّ ذِي مِـخْلَبٍ مِنَ الطَّيْرِ. أخرجه مسلم.
ความว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ห้ามกินสัตว์ใดๆ ที่มีเขี้ยว และนกทุกชนิดที่มีกรงเล็บ (รายงานโดยมุสลิม 1934)
3. สัตว์ทะเลทุกชนิดที่ใช้ชีวิตเฉพาะในทะเลเป็นที่อนุมัติไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มิได้ยกเว้นแม้แต่ชนิดเดียวทุกอย่างเป็นสัตว์ที่อนุมัติให้รับประทานได้ ดังโองการของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า
أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ وَطَعَامُهُ مَتَاعًا لَّكُمْ وَلِلسَّيَّارَةِ ۖ وَحُرِّمَ عَلَيْكُمْ صَيْدُ الْبَرِّ مَا دُمْتُمْ حُرُمًا ۗ وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي إِلَيْهِ تُحْشَرُونَ ( 96 )
ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล และอาหารจากทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่พวกเจ้า และแก่บรรดาผู้เดินทาง และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่พวกเจ้าครองอิห์รอมอยู่และจงยำเกรงอัลลอฮ์เภิดผู้ ที่พวกเจ้าจะถูกรวบรวมนำไปสู่พระองค์
(อัล-มาอิดะฮฺ 96)
พืชที่ห้ามนำมาบริโภค
พืชมีพิษและมีอันตราย
อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ หรือมีสิ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
เมื่อใดที่อนุญาตให้กินสิ่งที่หะรอม(อนุญาตบริโภคในสิ่งที่ไม่อนุมัติเมื่อยามจำเป็น)
ผู้ใดที่อยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องรับประทานสิ่งที่ถูกห้ามที่ไม่มีพิษ อนุญาตให้รับประทานได้เพียงแค่บรรเทาความหิวและรักษาตัวเองให้พ้นจากความตาย
อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيْكُمُ الْمَيْتَةَ وَالدَّمَ وَلَحْمَ الْخِنزِيرِ وَمَا أُهِلَّ بِهِ لِغَيْرِ اللَّهِ ۖ فَمَنِ اضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ وَلَا عَادٍ فَلَا إِثْمَ عَلَيْهِ ۚ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ( 173 )
ที่จริงที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งเสียงที่มันเพื่ออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ
(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2 : 173)
Credit : เว็บมุสลิมเชียงใหม่
สถาบันฮาลาล
จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์
(มีต่อ)