อัลกุรอานเป็นคัมภีร์และแหล่งวิชาทางศาสนาเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น (สำหรับมุสลิม)

อัลกุรอานเป็นคัมภีร์และแหล่งวิชาทางศาสนาเพียงแหล่งเดียว ของศาสนาอิสลาม ฮาดีษเป็นการบันทึกเหตุการในประวัติศาสตร์​ ของศาสนาอิสลาม และการสอนของท่านศาสดามูฮัมมัดที่เหมาะสมกับอารยธรรมและวัฒนธรรมของสังคมอรับทะเลทรายในสมัยนั้น ทั้งอัลกุรอานและฮาดีษเป็นคำสอนเพื่อปรับปรุงสังคมอรับที่ป่าเถื่อนในสมัยเมื่อปี 622 CE หรือประมาณ 1445 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งอัลกุรอานสามาถที่จะปรับปรุงสังคมอรับทะเลทรายให้เจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบันนี้ จนทำให้สังคมอรับเจริญขึ้นมากว่าทุกๆประเทศชาติในโลกในการให้สวัสดิการแก่ประชาชนพลเมืองของเขาโดยทั่วหน้า ตัวอย่างเช่นในประเทศซาอุดุอารเบียและUAE (Watch on YouTube  https://www.youtube.com/watch?v=ot2myi03H4Y )           

การนำบัญญัติในอัลกุรอานมาใช้ จะต้องใช้ ตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ อารยธรรม และการปกครองในแต่ละประเทศ เพราะศาสนาอิสลามมีผู้นับถืออยู่ทั่วโลกทุกๆประเทศ มุสลิมจะต้องพิจารณาว่าส่วนใดเป็นประวัติศาสตร์และส่วนใดที่เป็นการปกครองของชาวอรับ, อัลลอฮ์สอนให้มุสลิมทุกๆคนใช้ปัญญาและเหตุผลก่อนที่จะปฏิบัติหรือทำอะไรลงไป  แต่มุสลิมจะต้องยึดมั่นต่อความศรัทธาต่อพระเจ้าหรือมหาอำนาจ อันทรง พลังอันยิ่งใหญ่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ภาษาอรับเรียกว่า " อัลลอฮุอักบัร الله أكبر " เพราะอำนาจนี้ คือ อำนาจที่ทำให้เกิดจักรวาล สรรพสิ่งที่มีชีวิต/ไม่มีชีวิต, ธรรมชาติ, กฏธรรมชาติ รวมทั้ง มนุษย์ทุกๆคน ซึ่งยังไม่มีทฤษฎีใดๆลบล้างความจริง ของความมีอยู่ของมหาอำนาจหนึ่งเดียวนี้ และไม่มีวิธี หรือทฤษฎี อื่นใด ที่มีเหตุผลอย่างชัดเจน ที่สามารถจะอ้างได้ว่าไม่มีผู้สร้าง

เนื่องจากท่านศาสดามูฮัมมัดไม่ต้องการให้มี การสับสนระหว่างการสอนของท่านกับบัญญัติในอัลกุรอาน ท่านจึงสั่งห้ามอย่างเด็ดขาด ไม่ให้ผู้ใดจดบันทึกเรื่องราวอะไรที่ท่านกล่าว (ฮาดีษ), เพราะว่าอาจจะเป็นเรื่องราวส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับหลักการของศาสนาอิสลาม, แต่การจดบันทึกก็ยังมีแอบกระทำกันอยู่ โดยเฉพาะหลังจากที่ศาสดามูฮัมมัดสิ้นชีวิตไปแล้วนานถึง 250-300 กว่าปี  ในช่วงหลังจากประมาณ 300 ปีนี้ ท่านอีหม่ามบุคอรี พยายามที่จะรวบรวมฮาดีษต่างๆและกำจัดฮาดีษที่เหลวไหลเป็นจำนวนหลายพันฮาดีษทิ้ง, ถึงแม้ว่าจะมีการจัดระดับความแท้จริงของฮาดีษในระดับต่างๆก็ตาม ยังไม่วายที่จะมีฮาดีษที่แปลกปลอม ซึ่งไม่ใช่คำสอนของท่านศาสดามูฮัมมัดปะปนอยู่ในระบบฮาดีษทั้งหลาย ที่หมุนเวียนอยู่ในสังคมมุสลิมในปัจจุบันอยู่มากมายทีเดียว  ยากที่จะแยกแยะออกได้  

ฮาดีษที่แปลกปลอมสามารถที่จะพิจารณาและจัดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมได้อย่างแน่นอน, ทั้งนี้เพราะว่า อัลลอฮ์ได้ห้ามท่านศาสดามูฮัมมัด แก้ไขข้อความหรือทำการสอนอัลกุรอานนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้  ดังนั้นฮาดีษอะไรที่อ้างถึงการสอนของศาสดามูฮัมมัด ที่มีเนื้อความที่ไม่มีบัญญัติไว้ หรืออยู่ภาย ในเนื้อหาของอัลกุรอานแล้ว ไม่ใช่หลักการของศาสนาอิสลาม มุสลิมจะต้องไม่นำมาอ้างอิงว่าเป็นส่วนของคำสอนในศาสนาอิสลาม และจะต้องไม่นำเอาฮาดีษใดๆก็ตาม มาอธิบายอัลกุรอาน เพราะจะทำให้เนื้อหาของบัญญัติของอัลลอฮ์ผิดไปจากความจริงได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 อัลลอฮ์ทรงบัญญัติไว้ในบทที่ 3 ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน บัญญัติที่ 7 ว่า:
 เพื่อความเข้าใจ 3:7  โปรดอ่านเพิ่มเติมได้ที่    https://ppantip.com/topic/42804679

การเข้าใจอัลกุรอานจากบัญญัติที่ 3:7

กระทู้นี้มีความมุ่งหมายที่จะเชิญชวนเยาวชนมุสลิมให้สนใจในการศึกษาและเข้าใจอัลกุรอาน, อันเป็นคัมภีร์ที่สำคัญและแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง เพียงแหล่งเดียวเท่านั้นในการศึกษาศาสนาอิสลาม  การใช้แนวทางอื่นเป็นแนวทางที่ถือปฏิบัติเพื่อการดำเนินชีวิตของมุสลิมถือว่าเป็นการสร้างภาคีต่ออัลลอฮ์ 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อัลลอฮ์ทรงประทานอัลกุรอานให้มวลมนุษยชาติ พร้อมกับสอนให้ มุสลิมเข้าใจลักษณะของ อัลกุรอานและการเข้าใจความหมายของอัลกุรอาน โดยอธิบายไว้ในบัญญัติที่ 7 ของซูเราะห์ อาลิอิมรอน (บท วงศ์วานอิมรอน) ไว้ดังนี้:  อัลกุรอานมีโองการอยู่สองชนิดคือโองการที่เรียกว่า มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) และ มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 1. โองการมุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) หมายถึงโองการที่เขียนไว้ด้วยถ้อยคำที่เฉียบขาดและชัดเจน ไม่ต้องมีการตีความใดๆทั้งสิ้น  โองการ มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) ที่กล่าวถึงในที่นี้คือข้อบัญญัติของพระคัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นตัวหลักของคัมภีร์  มีความหมายที่ชัดเจนไม่มีความกำกวมและไม่ต้องการคำอธิบายใดๆเพิ่มเติม เป็นข้อความที่ชัดเจนถึงความหมายที่แท้จริงของข้อความจำพวกนี้, ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะให้ใครๆก็ตาม ตีความโดยพลการ ข้อความดังกล่าวเป็นแกนหลักของพระคัมภีร์อัลกุรอาน

โองการ มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) เป็นโองการที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่คัมภีร์กุรอ่าน ซึ่งถูกเปิดเผยและเชื้อเชิญมวลมนุษย์ทั้งโลกมาสู่อิสลาม โองการเหล่านี้รวบรวมการตักเตือนและการสอน รวมถึงการพิสูจน์หลักคำสอนที่ผิดพลาดและมีการอธิบายถึงวิธีการที่ถูกต้อง  โองการเหล่านี้ ยังมีพื้นฐานของความศรัทธาที่แท้จริง คำสอนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ, การนมัสการและศีลธรรมรวมทั้งหน้าที่บังคับและข้อห้าม อันเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อห้ามและข้ออนุมัติที่แท้จริงโดยการศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ

2. โองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)”  โองการเป็นโองการที่มีความ คลุมเครือ  เป็นโองการที่มีความหมายอาจจะอยู่ในระดับที่ต้องการความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง จึงจะเข้าใจความหมายได้ เป็นโองการที่ อธิบายความจริงเกี่ยวกับจักรวาล, เกี่ยวกับที่มาและจุดสิ้นสุดของจักรวาล, เกี่ยวกับตำแหน่งของมนุษย์ในระบบจักวาล การเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย และเรื่องอื่น ๆ ที่มีความสำคัญคล้ายๆกัน จะเห็นได้ชัดว่ามีความจริงที่อยู่นอกเหนือจากการรับรู้และความเข้าใจของมนุษย์นั้น ซึ่งถูกปิดบังด้วยสำนวนคำพูดซึ่งไม่มีคำพูดใดๆ ในคำศัพท์ของมนุษย์ซึ่งแสดงออกหรือแสดงภาพให้จินตนาการได้ เป็น โองการเทียบอุปมาอุปมัย ถึงสิ่งที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้  ภาษาประเภทนี้ใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการอธิบายเรื่องเหนือธรรมชาติ  ที่มีลักษณะ "คลุมเครือ" ในการอธิบายเรื่องราวดังกล่าว

อัลลอฮ์ทรงเตือนมุสลิมไว้ว่า โองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” นี้เป็นโองการที่ผู้ฉ้อฉลผู้ที่ต้องการที่จะก่อกวนความสงบของสังคม จะนำโองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” นี้ไปตีความหมายให้ผิดไป{48:10} แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันกับเธอนั้น เสมือนกับว่าพวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอัลลอฮฺ พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา ฉะนั้นผู้ใดบิดพริ้ว เสมือนกับว่าเขาทำลายตนเอง ส่วนผู้ใดปฏิบัติตามสัญญาที่เขาได้มีไว้กับอัลลอฮฺโดยครบถ้วน พระองค์ก็จะทรงตอบแทนรางวัลอันใหญ่หลวงแก่เขา"พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา" มีความหมายว่า "อัลลอฮ์ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือพวกเขาที่สาบานต่ออัลลอฮ์ว่าจะจงรักภักดี" ต่อหน้าท่านศาสนทูตมูฮัมมัดในกรณีนี้ต้องระวังเรื่องการสร้างภาคี เพราะว่าส่วนมากของผู้ที่อธิบายจะอธิบายว่า "หมายถึงมือของท่านศาสดามูฮัมมัดที่วางอยู่บนมือของพวกเขาที่กล่าวปฏิญาณตัวว่าจะจงรักภักดีต่อท่านศาสดาและพระองค์อัลลอฮ์, มือของศาสดามูฮัมมัดเปรียบเสมือนเป็นมือของอัลลอฮ์" ที่วางอยู่เหนือมือของผู้ที่มาปฏิญาณความหมายควรจะเป็นว่า ในการกล่าวปฏิญาณว่ามีศรัทธาต่ออัลลอฮ์นั้นให้รำลึกเสมอว่า อัลลอฮ์นั้นมีอำนาจเหนือเขาเหล่านั้นรวมทั้งท่านศาสดามูฮัมมัดด้วยอีกอย่างหนึ่งการบิดเบนที่เห็นได้ชัดเจนคือนักเขียนชาวตะวันตกในการใช้คำว่า "จิฮาด" ในความหมายของ"สงครามศาสนา" เป็นต้น 
  
 นักวิชาการเป็นส่วนมากมักจะนำเอาบัญญัตินี้มาอ้างอิงว่าเป็นบัญญัติที่ห้ามฟังเพลง ร้องเพลง และการเล่นดนตรี ตามความเป็นจริงแล้วศาสนาอิสลามไม่ได้ห้ามการเล่นเครื่องดนตรี, การร้องเพลงและการฟังเพลงที่สุภาพหรือมีเนื่อร้องที่ไม่หยาบคาย  บัญญัติที่ 31:6 นี้ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับเพลงหรือเครื่องดนตรีเลย มีแต่การห้ามนำฮาดีษ/เรื่องราวที่ไรัสาระ เรื่องราวสนุกสนานเริงรมณ์ มาทำให้ผู้คนละทิ้งอัลกุรอาน ในกรณีนี้อาจจะหมายถึง การเอาฮาดีษบางบทที่ไม่อยู่ในเนื้อหาของอัลกุรอานมาใช้แทนอัลกุรอาน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่