กระทู้นี้มีความมุ่งหมายที่จะเชิญชวนเยาวชนมุสลิมให้สนใจในการศึกษาและเข้าใจอัลกุรอาน, อันเป็นคัมภีร์ที่สำคัญและแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง เพียงแหล่งเดียวเท่านั้นในการศึกษาศาสนาอิสลาม การใช้แนวทางอื่นเป็นแนวทางที่ถือปฏิบัติเพื่อการดำเนินชีวิตของมุสลิมถือว่าเป็นการสร้างภาคีต่ออัลลอฮ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ {17:39} นั่นคือส่วนหนึ่งจากวิทยปัญญา ที่พระเจ้าของเธอได้ทรงเปิดเผยสำแดงแก่เธอ และเธออย่าตั้งพระเจ้าอื่นใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ มิฉะนั้น เธอจะถูกโยนลงในนรกญะฮันนัม เป็นผู้ถูกครหา ผู้ถูกขับไล่
{6:19} จงกล่าวเถิดว่า "สิ่งใดใหญ่ยิ่งที่สุดในการเป็นพยาน" จงกล่าวเถิดว่า "อัลลอฮฺ พระผู้ทรงเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกเธอ และอัลกุรอานนี้ก็ได้ถูกเปิดเผยสำแดงแก่ฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกเธอและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง พวกเธอจะยืนยันอย่างจริงจังกระนั้นหรือ ว่ามีพระผู้เป็นเจ้าอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ?" จงกล่าวเถิดว่า "ฉันจะไม่ยืนยัน" จงกล่าวเถิดว่า "พระองค์นั้นคือพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกเธอตั้งภาคี"
อัลลอฮ์ทรงประทานอัลกุรอานให้มวลมนุษยชาติ พร้อมกับสอนให้ มุสลิมเข้าใจลักษณะของ อัลกุรอานและการเข้าใจความหมายของอัลกุรอาน โดยอธิบายไว้ในบัญญัติที่ 7 ของซูเราะห์ อาลิอิมรอน (บท วงศ์วานอิมรอน) ไว้ดังนี้: อัลกุรอานมีโองการอยู่สองชนิดคือโองการที่เรียกว่า มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) และ มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ ۖ فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ ۗ وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلَّا اللَّهُ ۗ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ رَبِّنَا ۗ وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ {7}
{3:7} พระองค์คือพระผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เธอ โดยที่ส่วนหนึ่งของคัมภีร์นั้นเป็นบรรดาโองการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน ซึ่งโองการเหล่านั้นคือรากฐานของคัมภีร์ และมีโองการอื่น ๆ อีก ที่มีข้อความเป็นนัย ส่วนบรรดาผู้ที่ในจิตใจของพวกตนมีความเบี่ยงเบนนั้น พวกเขาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ เพราะต้องการก่อกวน และต้องการตีความโองการนั้น และไม่มีผู้ใดรู้การตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่ลึกซื้งในความรู้จะกล่าวว่า "พวกเรามีศรัทธาต่อมัน ทั้งมวลมาจากพระเจ้าของพวกเรา" และไม่มีผู้ใดที่จะได้รับคําตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น
1. โองการมุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) หมายถึงโองการที่เขียนไว้ด้วยถ้อยคำที่เฉียบขาดและชัดเจน ไม่ต้องมีการตีความใดๆทั้งสิ้น โองการ มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) ที่กล่าวถึงในที่นี้คือข้อบัญญัติของพระคัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นตัวหลักของคัมภีร์ มีความหมายที่ชัดเจนไม่มีความกำกวมและไม่ต้องการคำอธิบายใดๆเพิ่มเติม เป็นข้อความที่ชัดเจนถึงความหมายที่แท้จริงของข้อความจำพวกนี้, ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะให้ใครๆก็ตาม ตีความโดยพลการ ข้อความดังกล่าวเป็นแกนหลักของพระคัมภีร์อัลกุรอาน
โองการ มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) เป็นโองการที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่คัมภีร์กุรอ่าน ซึ่งถูกเปิดเผยและเชื้อเชิญมวลมนุษย์ทั้งโลกมาสู่อิสลาม โองการเหล่านี้รวบรวมการตักเตือนและการสอน รวมถึงการพิสูจน์หลักคำสอนที่ผิดพลาดและมีการอธิบายถึงวิธีการที่ถูกต้อง โองการเหล่านี้ ยังมีพื้นฐานของความศรัทธาที่แท้จริง คำสอนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ, การนมัสการและศีลธรรมรวมทั้งหน้าที่บังคับและข้อห้าม อันเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อห้ามและข้ออนุมัติที่แท้จริงโดยการศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ
2. โองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” โองการเป็นโองการที่มีความ คลุมเครือ เป็นโองการที่มีความหมายอาจจะอยู่ในระดับที่ต้องการความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง จึงจะเข้าใจความหมายได้ เป็นโองการที่ อธิบายความจริงเกี่ยวกับจักรวาล, เกี่ยวกับที่มาและจุดสิ้นสุดของจักรวาล, เกี่ยวกับตำแหน่งของมนุษย์ในระบบจักวาล การเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย และเรื่องอื่น ๆ ที่มีความสำคัญคล้ายๆกัน จะเห็นได้ชัดว่ามีความจริงที่อยู่นอกเหนือจากการรับรู้และความเข้าใจของมนุษย์นั้น ซึ่งถูกปิดบังด้วยสำนวนคำพูดซึ่งไม่มีคำพูดใดๆ ในคำศัพท์ของมนุษย์ซึ่งแสดงออกหรือแสดงภาพให้จินตนาการได้ เป็น โองการเทียบอุปมาอุปมัย ถึงสิ่งที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ภาษาประเภทนี้ใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการอธิบายเรื่องเหนือธรรมชาติ ที่มีลักษณะ "คลุมเครือ" ในการอธิบายเรื่องราวดังกล่าว
อัลลอฮ์ทรงเตือนมุสลิมไว้ว่า
โองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” นี้เป็นโองการที่ผู้ฉ้อฉลผู้ที่ต้องการที่จะก่อกวนความสงบของสังคม จะนำโองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” นี้ไปตีความหมายให้ผิดไป
{48:10} แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันกับเธอนั้น เสมือนกับว่าพวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอัลลอฮฺ
พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา ฉะนั้นผู้ใดบิดพริ้ว เสมือนกับว่าเขาทำลายตนเอง ส่วนผู้ใดปฏิบัติตามสัญญาที่เขาได้มีไว้กับอัลลอฮฺโดยครบถ้วน พระองค์ก็จะทรงตอบแทนรางวัลอันใหญ่หลวงแก่เขา
"พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา" มีความหมายว่า "อัลลอฮ์ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือพวกเขาที่สาบานต่ออัลลอฮ์ว่าจะจงรักภักดี" ต่อหน้าท่านศาสนทูตมูฮัมมัด
ในกรณีนี้ต้องระวังเรื่องการสร้างภาคี เพราะว่าส่วนมากของผู้ที่อธิบายจะอธิบายว่า "หมายถึงมือของท่านศาสดามูฮัมมัดที่วางอยู่บนมือของพวกเขาที่กล่าวปฏิญาณตัวว่าจะจงรักภักดีต่อท่านศาสดาและพระองค์อัลลอฮ์, มือของศาสดามูฮัมมัดเปรียบเสมือนเป็นมือของอัลลอฮ์" ที่วางอยู่เหนือมือของผู้ที่มาปฏิญาณ
ความหมายควรจะเป็นว่า ในการกล่าวปฏิญาณว่ามีศรัทธาต่ออัลลอฮ์นั้นให้รำลึกเสมอว่า อัลลอฮ์นั้นมีอำนาจเหนือเขาเหล่านั้นรวมทั้งท่านศาสดามูฮัมมัดด้วย
อีกอย่างหนึ่งการบิดเบนที่เห็นได้ชัดเจนคือนักเขียนชาวตะวันตกในการใช้คำว่า "จิฮาด" ในความหมายของ"สงครามศาสนา" เป็นต้น
นักวิชาการเป็นส่วนมากมักจะนำเอาบัญญัตินี้มาอ้างอิงว่าเป็นบัญญัติที่ห้ามฟังเพลง ร้องเพลง และการเล่นดนตรี ตามความเป็นจริงแล้วศาสนาอิสลามไม่ได้ห้ามการเล่นเครื่องดนตรี, การร้องเพลงและการฟังเพลงที่สุภาพหรือมีเนื่อร้องที่ไม่หยาบคาย บัญญัติที่ 31:6 นี้ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับเพลงหรือเครื่องดนตรีเลย
มีแต่การห้ามนำฮาดีษ/เรื่องราวที่ไรัสาระ เรื่องราวสนุกสนานเริงรมณ์ มาทำให้ผู้คนละทิ้งอัลกุรอาน ในกรณีนี้อาจจะหมายถึง การเอาฮาดีษบางบทที่ไม่อยู่ในเนื้อหาของอัลกุรอานมาใช้แทนอัลกุรอาน
การเข้าใจอัลกุรอานจากบัญญัติที่ 3:7
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อัลลอฮ์ทรงประทานอัลกุรอานให้มวลมนุษยชาติ พร้อมกับสอนให้ มุสลิมเข้าใจลักษณะของ อัลกุรอานและการเข้าใจความหมายของอัลกุรอาน โดยอธิบายไว้ในบัญญัติที่ 7 ของซูเราะห์ อาลิอิมรอน (บท วงศ์วานอิมรอน) ไว้ดังนี้: อัลกุรอานมีโองการอยู่สองชนิดคือโองการที่เรียกว่า มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) และ มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. โองการมุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) หมายถึงโองการที่เขียนไว้ด้วยถ้อยคำที่เฉียบขาดและชัดเจน ไม่ต้องมีการตีความใดๆทั้งสิ้น โองการ มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) ที่กล่าวถึงในที่นี้คือข้อบัญญัติของพระคัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นตัวหลักของคัมภีร์ มีความหมายที่ชัดเจนไม่มีความกำกวมและไม่ต้องการคำอธิบายใดๆเพิ่มเติม เป็นข้อความที่ชัดเจนถึงความหมายที่แท้จริงของข้อความจำพวกนี้, ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะให้ใครๆก็ตาม ตีความโดยพลการ ข้อความดังกล่าวเป็นแกนหลักของพระคัมภีร์อัลกุรอาน
โองการ มุฮ์กะมัต (مُحْكَمَاتٌ) เป็นโองการที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่คัมภีร์กุรอ่าน ซึ่งถูกเปิดเผยและเชื้อเชิญมวลมนุษย์ทั้งโลกมาสู่อิสลาม โองการเหล่านี้รวบรวมการตักเตือนและการสอน รวมถึงการพิสูจน์หลักคำสอนที่ผิดพลาดและมีการอธิบายถึงวิธีการที่ถูกต้อง โองการเหล่านี้ ยังมีพื้นฐานของความศรัทธาที่แท้จริง คำสอนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ, การนมัสการและศีลธรรมรวมทั้งหน้าที่บังคับและข้อห้าม อันเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อห้ามและข้ออนุมัติที่แท้จริงโดยการศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ
2. โองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” โองการเป็นโองการที่มีความ คลุมเครือ เป็นโองการที่มีความหมายอาจจะอยู่ในระดับที่ต้องการความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง จึงจะเข้าใจความหมายได้ เป็นโองการที่ อธิบายความจริงเกี่ยวกับจักรวาล, เกี่ยวกับที่มาและจุดสิ้นสุดของจักรวาล, เกี่ยวกับตำแหน่งของมนุษย์ในระบบจักวาล การเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย และเรื่องอื่น ๆ ที่มีความสำคัญคล้ายๆกัน จะเห็นได้ชัดว่ามีความจริงที่อยู่นอกเหนือจากการรับรู้และความเข้าใจของมนุษย์นั้น ซึ่งถูกปิดบังด้วยสำนวนคำพูดซึ่งไม่มีคำพูดใดๆ ในคำศัพท์ของมนุษย์ซึ่งแสดงออกหรือแสดงภาพให้จินตนาการได้ เป็น โองการเทียบอุปมาอุปมัย ถึงสิ่งที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ภาษาประเภทนี้ใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการอธิบายเรื่องเหนือธรรมชาติ ที่มีลักษณะ "คลุมเครือ" ในการอธิบายเรื่องราวดังกล่าว
อัลลอฮ์ทรงเตือนมุสลิมไว้ว่า โองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” นี้เป็นโองการที่ผู้ฉ้อฉลผู้ที่ต้องการที่จะก่อกวนความสงบของสังคม จะนำโองการ “มุตะชาบิฮัต (مُتَشَابِهَاتٌ)” นี้ไปตีความหมายให้ผิดไป
{48:10} แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันกับเธอนั้น เสมือนกับว่าพวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอัลลอฮฺ พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา ฉะนั้นผู้ใดบิดพริ้ว เสมือนกับว่าเขาทำลายตนเอง ส่วนผู้ใดปฏิบัติตามสัญญาที่เขาได้มีไว้กับอัลลอฮฺโดยครบถ้วน พระองค์ก็จะทรงตอบแทนรางวัลอันใหญ่หลวงแก่เขา
"พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา" มีความหมายว่า "อัลลอฮ์ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือพวกเขาที่สาบานต่ออัลลอฮ์ว่าจะจงรักภักดี" ต่อหน้าท่านศาสนทูตมูฮัมมัด
ในกรณีนี้ต้องระวังเรื่องการสร้างภาคี เพราะว่าส่วนมากของผู้ที่อธิบายจะอธิบายว่า "หมายถึงมือของท่านศาสดามูฮัมมัดที่วางอยู่บนมือของพวกเขาที่กล่าวปฏิญาณตัวว่าจะจงรักภักดีต่อท่านศาสดาและพระองค์อัลลอฮ์, มือของศาสดามูฮัมมัดเปรียบเสมือนเป็นมือของอัลลอฮ์" ที่วางอยู่เหนือมือของผู้ที่มาปฏิญาณ
ความหมายควรจะเป็นว่า ในการกล่าวปฏิญาณว่ามีศรัทธาต่ออัลลอฮ์นั้นให้รำลึกเสมอว่า อัลลอฮ์นั้นมีอำนาจเหนือเขาเหล่านั้นรวมทั้งท่านศาสดามูฮัมมัดด้วย
อีกอย่างหนึ่งการบิดเบนที่เห็นได้ชัดเจนคือนักเขียนชาวตะวันตกในการใช้คำว่า "จิฮาด" ในความหมายของ"สงครามศาสนา" เป็นต้น