คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ต้องอธิบายโดยยกตัวอย่างให้ฟัง เช่น เวลามองดูรูปภาพ เราใช้ตามองไปที่รูปภาพ มีความรู้สึกเกิดขึ้นที่ใจว่า ชอบ ไม่ชอบ หรือ เฉย ๆ "การรับรู้ที่ใจ" แยกเรียก "การรับรู้" ว่า วิญญาณ เรียกคำว่า "ที่ใจ" ว่า วิญญาณทางใจ (มโนวิญญาณ) แต่ที่ละเอียดกว่านี้คือ จริง ๆ แล้วมีการรับรู้ที่ตาก่อน แล้วถึงมีการส่งสัญญานมาให้ใจแสดงความรู้สึกอีกที "การรับรู้ที่ตา" แยกเรียก "การรับรู้" ว่า วิญญาณ เรียก "ที่ตา" ว่า วิญญาณทางตา (จักขุวิญญาณ) เป็นทำนองเดียวกันกับอายตนะ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
"การรับรู้" หรือเรียกอีกอย่างว่า "ความรู้แจ้งอารมณ์" ทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า วิญญาณ เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕
"ตัวรู้ หรือ ผู้รู้" เรียกว่า "จิต" เมื่อ จิต ไปทำหน้าที่ "การรับรู้" หรือ "ความรู้แจ้งอารมณ์ เรียก จิต นั้นว่า วิญญาณ
"จิต" อยู่ในร่างกาย เป็นนามธรรม ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ตั้ง เกิดขึ้นทุกที่ ที่มี "การรับรู้"
มโนวิญญาณ, จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ ,ฆานะวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ และ กายวิญญาณ เป็นชื่อเรียก วิญญาณที่เกิดตามอายตนะภายในต่าง ๆ
"การรับรู้" หรือเรียกอีกอย่างว่า "ความรู้แจ้งอารมณ์" ทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า วิญญาณ เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕
"ตัวรู้ หรือ ผู้รู้" เรียกว่า "จิต" เมื่อ จิต ไปทำหน้าที่ "การรับรู้" หรือ "ความรู้แจ้งอารมณ์ เรียก จิต นั้นว่า วิญญาณ
"จิต" อยู่ในร่างกาย เป็นนามธรรม ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ตั้ง เกิดขึ้นทุกที่ ที่มี "การรับรู้"
มโนวิญญาณ, จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ ,ฆานะวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ และ กายวิญญาณ เป็นชื่อเรียก วิญญาณที่เกิดตามอายตนะภายในต่าง ๆ
แสดงความคิดเห็น
จะอธิบาย "วิญญาณ" ในขันธ์ 5...ให้นักเรียน นักศึกษา และคนทั่วไป เข้าใจง่ายๆ ต้องอธิบายยังไง?
...ก็จะเกิดคำถามว่า แล้วอะไรเป็นตัวรู้ ผู้รู้? มันอยู่ตรงไหนในร่างกาย? (ตัวที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ)
...แล้ว "มโนวิญญาณ" ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของ "วิญญาณ"..."ใจ" มันไม่ใช่ตัวเดียวกันกับ "จิต" หรือ "วิญญาณ" หรอกหรือ?