บัณฑิตสามเณร ผู้บรรลุอรหันต์จากการฟังธรรมเพียง ๔ ข้อ
พระศาสดา เมื่อประทับอยูในพระเชตวัน ทรงปรารภบัณฑิตสามเณร ตรัสพระธรรมเทศนาพระคาถนี้ว่า อุทกํ หิ นยนฺติ เป็นต้น
สามเณรบัณฑิต เป็นบุตรชายของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุแค่ 7 ขวบ ในวันที่ 8
หลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณร ขณะที่ไปบิณฑบาตกับพระสารีบุตรเถระ มองเห็นชาวนากำลังไขน้ำเข้านาก็ได้เรียนถามพระเถระว่า
“คนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้สู่ที่ที่ปรารถนาแล้วๆได้หรือขอรับ”
พระเถระตอบว่า “ได้สิ เธอ” เมื่อเดินต่อไปอีก
สามเณรบัณฑิตแลเห็นช่างศรกำลังดัดลูกศรด้วยการใช้ไฟลนแล้วเล็งด้วยหางตาดัดให้ตรงและต่อไปก็ได้แลเห็นช่างถากกำลังถากไม้ ทำสิ่งต่างๆเช่นล้อเกวียนเป็นต้น
สามเณรก็เกิดความคิดว่า ถ้าคนทั้งหลายไขน้ำซึ่งไม่มีจิตเช่นนี้ไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาได้
ถ้าคนทั้งหลายถือเอาลูกศรอันไม่มีจิตลนไฟแล้วดัดให้ตรงได้ ถ้าคนทั้งหลายถือเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิต
ไปทำเป็นล้อเป็นต้นได้ เพราะเหตุไร
คนผู้มีจิตจึงจักไม่อาจทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า
จากนั้นบัณฑิตสามเณรได้ขออนุญาตจากพระเถระขอกลับไปที่ห้องพักของตนในวัด แล้วมุ่งมั่นพยายามปฏิบัติธรรม
โดยพิจารณากายานุปัสสนากัมมัฏฐาน ทั้งท้าวสักกเทวราชและท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็ได้เสด็จมาช่วยบัณฑิตสามเณร
โดยบันดาลให้อาณาบริเวณในวัดเงียบสงบไร้เสียงรบกวนจากนกเป็นต้น ก่อนเวลาฉันอาหารเช้าบัณฑิตสามเณรก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล
ในขณะนั้น พระสารีบุตรเถระกำลังจะนำอาหารมาให้สามเณรฉัน พระศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นด้วยพระจักษุทิพย์ว่า
สามเณรได้บรรลุพระอนาคามิผลแล้วและหากให้ปฏิบัติธรรมอยู่ต่อไปก็จะได้บรรลุพระอรหัตตผลในไม่ช้านี้
ดังนั้นพระศาสดาจึงได้ตัดสินพระทัยไปดักคอยห้ามพระสารีบุตรเถระมิให้เข้าไปในห้อง
โดยเสด็จไปประทับยืนอยู่ที่ประตูแล้วซักถามปัญหากับพระสารีบุตรเพื่อถ่วงเวลา
ขณะที่การสนทนาระหว่างพระศาสดากับพระสารีบุตรกำลังดำเนินอยู่นั้น
บัณฑิตสามเณรก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในวันที่ 8 หลังจากที่ได้บรรพชาเป็นสามเณร
ต่อมาพระภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระศาสดาได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาผู้มีบุญทำสมณธรรม แม้แต่ท้าวสักกเทราชและท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็ได้มาช่วยให้การอารักขา
แม้แต่เราเองมาได้มาคอยดูแลที่ประตูเพื่อมิให้บัณฑิตสามเณรถูกรบกวน บัณฑิตสามเณร
เมื่อได้เห็นพวกชาวนาไขน้ำเข้านา พวกช่างศรดัดลูกศรให้ตรง พวกช่างถากกำลังถากไม้ ถือเอาเหตุนั้น ให้เป็นอารมณ์
ฝึกจิตตนและปฏิบัติธรรม จนได้บรรลุพระอรหัตตผลในบัดนี้”
จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 80 ว่า
อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตาฯ
(แปลว่า)
คนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ
ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดศร
ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน.
เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น
สามเณรเป็นผู้ที่มีปัญญามาก รู้จักเอาสิ่งที่เห็นรอบตัวเอามาคิดพิจารณา แล้วย้อมกลับมามองตัวท่านเอง
อ่านเรื่องนี้แล้ว รู้สึกอยากจะน้อมนำมาใช้กับตัวเอง หวังว่าเรื่องของสามเณร คงจะมีประโยชน์ในการศึกษาธรรม
บัณฑิตสามเณร ผู้บรรลุอรหันต์จากการฟังธรรมเพียง ๔ ข้อ
พระศาสดา เมื่อประทับอยูในพระเชตวัน ทรงปรารภบัณฑิตสามเณร ตรัสพระธรรมเทศนาพระคาถนี้ว่า อุทกํ หิ นยนฺติ เป็นต้น
สามเณรบัณฑิต เป็นบุตรชายของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุแค่ 7 ขวบ ในวันที่ 8
หลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณร ขณะที่ไปบิณฑบาตกับพระสารีบุตรเถระ มองเห็นชาวนากำลังไขน้ำเข้านาก็ได้เรียนถามพระเถระว่า
“คนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้สู่ที่ที่ปรารถนาแล้วๆได้หรือขอรับ”
พระเถระตอบว่า “ได้สิ เธอ” เมื่อเดินต่อไปอีก สามเณรบัณฑิตแลเห็นช่างศรกำลังดัดลูกศรด้วยการใช้ไฟลนแล้วเล็งด้วยหางตาดัดให้ตรงและต่อไปก็ได้แลเห็นช่างถากกำลังถากไม้ ทำสิ่งต่างๆเช่นล้อเกวียนเป็นต้น
สามเณรก็เกิดความคิดว่า ถ้าคนทั้งหลายไขน้ำซึ่งไม่มีจิตเช่นนี้ไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาได้
ถ้าคนทั้งหลายถือเอาลูกศรอันไม่มีจิตลนไฟแล้วดัดให้ตรงได้ ถ้าคนทั้งหลายถือเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิต
ไปทำเป็นล้อเป็นต้นได้ เพราะเหตุไร คนผู้มีจิตจึงจักไม่อาจทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า
จากนั้นบัณฑิตสามเณรได้ขออนุญาตจากพระเถระขอกลับไปที่ห้องพักของตนในวัด แล้วมุ่งมั่นพยายามปฏิบัติธรรม
โดยพิจารณากายานุปัสสนากัมมัฏฐาน ทั้งท้าวสักกเทวราชและท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็ได้เสด็จมาช่วยบัณฑิตสามเณร
โดยบันดาลให้อาณาบริเวณในวัดเงียบสงบไร้เสียงรบกวนจากนกเป็นต้น ก่อนเวลาฉันอาหารเช้าบัณฑิตสามเณรก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล
ในขณะนั้น พระสารีบุตรเถระกำลังจะนำอาหารมาให้สามเณรฉัน พระศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นด้วยพระจักษุทิพย์ว่า
สามเณรได้บรรลุพระอนาคามิผลแล้วและหากให้ปฏิบัติธรรมอยู่ต่อไปก็จะได้บรรลุพระอรหัตตผลในไม่ช้านี้
ดังนั้นพระศาสดาจึงได้ตัดสินพระทัยไปดักคอยห้ามพระสารีบุตรเถระมิให้เข้าไปในห้อง
โดยเสด็จไปประทับยืนอยู่ที่ประตูแล้วซักถามปัญหากับพระสารีบุตรเพื่อถ่วงเวลา
ขณะที่การสนทนาระหว่างพระศาสดากับพระสารีบุตรกำลังดำเนินอยู่นั้น
บัณฑิตสามเณรก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในวันที่ 8 หลังจากที่ได้บรรพชาเป็นสามเณร
ต่อมาพระภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระศาสดาได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาผู้มีบุญทำสมณธรรม แม้แต่ท้าวสักกเทราชและท้าวมหาราชทั้ง 4 ก็ได้มาช่วยให้การอารักขา
แม้แต่เราเองมาได้มาคอยดูแลที่ประตูเพื่อมิให้บัณฑิตสามเณรถูกรบกวน บัณฑิตสามเณร
เมื่อได้เห็นพวกชาวนาไขน้ำเข้านา พวกช่างศรดัดลูกศรให้ตรง พวกช่างถากกำลังถากไม้ ถือเอาเหตุนั้น ให้เป็นอารมณ์
ฝึกจิตตนและปฏิบัติธรรม จนได้บรรลุพระอรหัตตผลในบัดนี้”
จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 80 ว่า
อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตาฯ
(แปลว่า)
คนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ
ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดศร
ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน.
เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น
สามเณรเป็นผู้ที่มีปัญญามาก รู้จักเอาสิ่งที่เห็นรอบตัวเอามาคิดพิจารณา แล้วย้อมกลับมามองตัวท่านเอง
อ่านเรื่องนี้แล้ว รู้สึกอยากจะน้อมนำมาใช้กับตัวเอง หวังว่าเรื่องของสามเณร คงจะมีประโยชน์ในการศึกษาธรรม