เวลาที่เรามองใครสักคนแล้วคิดในใจว่า "เขาแย่จัง ที่ทำตัวแบบนี้"
วินาทีนั้นเอง ที่เราทำลายคุณของเรา ด้วยการเพ่งโทษของผู้อื่น
ดังตัวอย่างในคาถาธรรมบทนี้
ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘
๑๑.
เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ [๑๙๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระรูปหนึ่ง ชื่ออุชฌานสัญญี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส" เป็นต้น.
คุณวิเศษไม่เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น
ได้ยินว่า พระเถระรูปนั้นเที่ยวแส่หาความผิด ของภิกษุทั้งหลายเท่านั้นว่า "ภิกษุนี้ก็นุ่งผิดอย่างนี้ ภิกษุนีก็ห่มผิดอย่างนี้." พวกภิกษุกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ชอบทำแบบนี้."
พระศาสดาตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติแล้วกล่าวสอนอยู่อย่างนี้ ใครๆ ก็ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใดแสวงหาโทษของชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายที่จะจับผิด พูดแบบนี้ไปอยู่, บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น, อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑๑. ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูความผิด
ของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันจับผิดอยู่เสมอ,
บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชฺฌานสญฺญิโน ความว่า บรรดาธรรมทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ธรรมแม้อย่างหนึ่งย่อมไม่เจริญแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามากไปด้วยการยกโทษ เพราะความเป็นผู้แส่หาโทษของชนเหล่าอื่นว่า "ควรนุ่งอย่างนี้ ควรห่มอย่างนี้ " เป็นต้น (นี้เป็นเพียงตัวอย่าง แต่การจับผิดผู้อื่นสามารถขยายออกไปได้มากมายหลายเรื่องทีเดียว เช่น มองคนอื่นว่า เค้าควรจะพูดให้น้อย เค้าไม่ควรจะโกง เค้าไม่ควรเป็นชู้ เค้าไม่ควรเอาผลงาน เอาหน้ากับนายนะ เป็นต้น การมองคนอื่น ไม่ใช่การสร้างประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ไม่มีประโยชน์ปัจจุบัน ประโชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งเกิดขึ้น มีแต่เพียงเรา ที่เสียเวลา และส่งจิตออกนอกแต่เพียงเท่านั้น
โดยที่แท้อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้อยู่ไกล คือแสนไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ กล่าวคือพระอรหัต.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ จบ.
*****************
"คนพาล มีการเพ่งโทษคนอื่นเป็นกำลัง
บัณฑิต มีการเพ่งโทษตนเองเป็นกำลัง" - พระพุทธภาษิต
เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=28&p=11
คุณความดี ไม่เกิดขึ้นกับคนที่จับผิดคนอื่น
วินาทีนั้นเอง ที่เราทำลายคุณของเรา ด้วยการเพ่งโทษของผู้อื่น
ดังตัวอย่างในคาถาธรรมบทนี้
ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘
๑๑. เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ [๑๙๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระรูปหนึ่ง ชื่ออุชฌานสัญญี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส" เป็นต้น.
คุณวิเศษไม่เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น
ได้ยินว่า พระเถระรูปนั้นเที่ยวแส่หาความผิด ของภิกษุทั้งหลายเท่านั้นว่า "ภิกษุนี้ก็นุ่งผิดอย่างนี้ ภิกษุนีก็ห่มผิดอย่างนี้." พวกภิกษุกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ชอบทำแบบนี้."
พระศาสดาตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติแล้วกล่าวสอนอยู่อย่างนี้ ใครๆ ก็ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใดแสวงหาโทษของชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายที่จะจับผิด พูดแบบนี้ไปอยู่, บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น, อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑๑. ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูความผิด
ของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันจับผิดอยู่เสมอ,
บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชฺฌานสญฺญิโน ความว่า บรรดาธรรมทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ธรรมแม้อย่างหนึ่งย่อมไม่เจริญแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามากไปด้วยการยกโทษ เพราะความเป็นผู้แส่หาโทษของชนเหล่าอื่นว่า "ควรนุ่งอย่างนี้ ควรห่มอย่างนี้ " เป็นต้น (นี้เป็นเพียงตัวอย่าง แต่การจับผิดผู้อื่นสามารถขยายออกไปได้มากมายหลายเรื่องทีเดียว เช่น มองคนอื่นว่า เค้าควรจะพูดให้น้อย เค้าไม่ควรจะโกง เค้าไม่ควรเป็นชู้ เค้าไม่ควรเอาผลงาน เอาหน้ากับนายนะ เป็นต้น การมองคนอื่น ไม่ใช่การสร้างประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ไม่มีประโยชน์ปัจจุบัน ประโชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งเกิดขึ้น มีแต่เพียงเรา ที่เสียเวลา และส่งจิตออกนอกแต่เพียงเท่านั้น
โดยที่แท้อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้อยู่ไกล คือแสนไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ กล่าวคือพระอรหัต.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ จบ.
*****************
"คนพาล มีการเพ่งโทษคนอื่นเป็นกำลัง
บัณฑิต มีการเพ่งโทษตนเองเป็นกำลัง" - พระพุทธภาษิต
เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=28&p=11