[[[ สมาธิสูตร
[๔๑]..................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.....]]]
☆เรียกว่า "
อารัมณูปนิชฌาน" คือการเพ่งอารมณ์เดียวจนจิตแน่วแน่☆
《《ฌาน แปลว่า เพ่ง เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาที่ตนประสงค์ไว้แล้ว เช่น เพ่งกสิณ หรือ เพ่งอสุภ เป็นต้น ให้เป็นไปตามประสงค์ของตน เช่น อยากจะให้เป็นไฟ แล้วก็เพ่งว่า ไฟ ๆ จนกว่าจิตนั้นจะรวมลงสู่ไฟ เกิดความร้อนขึ้นมา เป็นต้น หรือเพ่งคนให้เป็นอสุภ จนจิตรวมลงในคนนั้น แล้วเกิดอสุภขึ้นมาในบุคคลนั้นจริง ๆ ดังนี้ เป็นต้น
รวมความว่า จิต กับ สังขาร ไปปรุงแต่งหลอกลวงตนเอง แล้วตนเองก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จริง ๆ เกิดความสลดสังเวชถึงกับร้องไห้ร้องห่ม ทั้ง ๆ ที่ตัวของเราก็ยังดี ๆ อยู่ไม่เป็นอสุภเปื่อยเน่า อะไรเลย เพราะจิตรวมแล้วมัน ส่งใน คุมจิตของตัวเองไม่ได้ จึงร้องไห้ร้องห่มและเห็นเป็นอย่างนั้น จริง ๆ ....(หลวงปู่เทสก์)》》
......................................................................................................
[[[สมาธิสูตร
.....ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี..................สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ......]]]
☆นี้เรียกว่า
ลักขณูปนิชฌาน คือการเพ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เดียวหรือหลายอารมณ์ก็ได้☆
《《สมาธิ คือ ทำจิตให้สงบแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาน แต่มีการพิจารณาให้เห็น ตามเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น
ไม่ต้องให้เกิดปฏิภาค (คือแปรสภาพ จากของเดิม) เช่น นึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ เป็นต้น เพื่อให้จิตรวมเข้ามาอยู่ในที่เดียว แล้วพิจารณา พุทโธนั้นให้เห็นว่ามีคุณวิเศษอย่างไร และใครเป็นผู้ว่าพุทโธนั้น และอยู่ ณ ที่ไหน ให้เห็นชัดลงไปตามเป็นจริง เมื่อเห็นชัดลงไปแล้วจะเกิดความอิ่มเอิบในใจ เพลินอยู่กับความรู้ของตนนั้น ใจจะไม่ส่งออกไปภายนอก และใจจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว สมาธินี้จิตจะไม่ปรุงแต่งให้เป็นอสุภเหมือนกับฌานหรือกสิณ แต่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งนั้น ๆ จิตรวมลงได้เหมือนกัน แต่ไม่ ส่งใน คงที่อยู่ที่ใจแห่งเดียว.....(หลวงปู่เทสก์)》》
"ฌาน" ต่างจาก "สมาธิ" มากมาย คนส่วนมากมีความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ที่ว่าฌานกับสมาธิเหมือนกัน!!! มาเข้าใจกันใหม่ครับ
[๔๑]..................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.....]]]
☆เรียกว่า "อารัมณูปนิชฌาน" คือการเพ่งอารมณ์เดียวจนจิตแน่วแน่☆
《《ฌาน แปลว่า เพ่ง เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาที่ตนประสงค์ไว้แล้ว เช่น เพ่งกสิณ หรือ เพ่งอสุภ เป็นต้น ให้เป็นไปตามประสงค์ของตน เช่น อยากจะให้เป็นไฟ แล้วก็เพ่งว่า ไฟ ๆ จนกว่าจิตนั้นจะรวมลงสู่ไฟ เกิดความร้อนขึ้นมา เป็นต้น หรือเพ่งคนให้เป็นอสุภ จนจิตรวมลงในคนนั้น แล้วเกิดอสุภขึ้นมาในบุคคลนั้นจริง ๆ ดังนี้ เป็นต้น
รวมความว่า จิต กับ สังขาร ไปปรุงแต่งหลอกลวงตนเอง แล้วตนเองก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จริง ๆ เกิดความสลดสังเวชถึงกับร้องไห้ร้องห่ม ทั้ง ๆ ที่ตัวของเราก็ยังดี ๆ อยู่ไม่เป็นอสุภเปื่อยเน่า อะไรเลย เพราะจิตรวมแล้วมัน ส่งใน คุมจิตของตัวเองไม่ได้ จึงร้องไห้ร้องห่มและเห็นเป็นอย่างนั้น จริง ๆ ....(หลวงปู่เทสก์)》》
......................................................................................................
[[[สมาธิสูตร
.....ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี..................สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ......]]]
☆นี้เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน คือการเพ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เดียวหรือหลายอารมณ์ก็ได้☆
《《สมาธิ คือ ทำจิตให้สงบแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาน แต่มีการพิจารณาให้เห็น ตามเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ต้องให้เกิดปฏิภาค (คือแปรสภาพ จากของเดิม) เช่น นึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ เป็นต้น เพื่อให้จิตรวมเข้ามาอยู่ในที่เดียว แล้วพิจารณา พุทโธนั้นให้เห็นว่ามีคุณวิเศษอย่างไร และใครเป็นผู้ว่าพุทโธนั้น และอยู่ ณ ที่ไหน ให้เห็นชัดลงไปตามเป็นจริง เมื่อเห็นชัดลงไปแล้วจะเกิดความอิ่มเอิบในใจ เพลินอยู่กับความรู้ของตนนั้น ใจจะไม่ส่งออกไปภายนอก และใจจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว สมาธินี้จิตจะไม่ปรุงแต่งให้เป็นอสุภเหมือนกับฌานหรือกสิณ แต่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งนั้น ๆ จิตรวมลงได้เหมือนกัน แต่ไม่ ส่งใน คงที่อยู่ที่ใจแห่งเดียว.....(หลวงปู่เทสก์)》》