ตตคหบดี : อุบาสกนักเทศน์
เสฐียรพงษ์ วรรณปก (อ้างอิง :
http://www.dhammathai.org/sawok/sawok08.php )
พระพุทธศาสนาเน้นความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ระดับโลกๆ อันเรียกว่า "สุตะ" หรือความรู้ทางธรรม อันเรียกว่า "ญาณ" ก็ตาม สุตะนั้น ถ้าใครมีมากๆ ก็เรียกคนนั้นว่า พหูสูต หมายถึง การจำได้ ท่องได้ แสดงได้อย่างเชี่ยวชาญ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผู้คงแก่เรียน" นั้นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การจะมีความรู้ระดับคงแก่เรียนที่สมบูรณ์ จะต้องฝึกฝนตนให้ครบ 5 ขั้นตอน คือ
1. ฟังมาก พยายามฟัง อ่าน ศึกษาเล่าเรียน รวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด ในยุคที่มีมากมายนี้ สื่อต่างๆ จะเป็นแหล่งให้เราได้ศึกษาค้นคว้า จนมีความรู้หลากหลายที่สุด
2. จำได้ พยายามจดจำสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญให้ได้มาก และแม่นยำที่สุด เมื่อต้องการใช้ก็เรียกใช้ได้ทันที ไม่ต้องนึกหรือไม่ต้องเที่ยวไปเปิดตำราอีกให้เสียเวลา
3. คล่องปาก ประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญที่จดจำไว้ จะต้องท่องให้คล่องปาก ไม่ผิดเพี้ยน ดังหนึ่งท่องบทสวดมนต์หรือบทอาขยานอย่างนั้นแหละ
4. เจนใจ นึกภาพในใจจนกระจ่าง เห็นชัดเจน แล้วบรรยายออกมา ดุจดังบรรยายภาพที่มองเห็นในจอทีวี ฉะนั้น
5. ประยุกต์ใช้ได้ ท่องได้จำได้เจนใจแล้ว ถ้าหากนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ไม่เป็น ก็ไม่นับว่าเป็นผู้รู้จริง คำว่าประยุกต์ใช้ได้ หมายถึงย่อยแก่นออกมาแล้ว สร้างแนวคิดใหม่ๆ อันสืบเนื่องมาจากที่ท่องได้ จำได้ เจนใจนั้นเอง
ความเป็นผู้คงแก่เรียนนี้เป็นความรู้ระดับโลกิยะก็จริง แต่ก็เป็นเครื่องช่วยให้การปฏิบัติตามหลักพระศาสนาเป็นผลดี เพราะเท่ากับแผนที่ชี้บอกผู้เดินว่าไปทางไหน อย่างไร จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง
การปฏิบัติโดยไม่มีความรอบรู้ทางทฤษฎีเป็นเครื่องตรวจสอบ อาจไขว้เขวผิดทางได้ง่าย
ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าสรรเสริญผู้คงแก่เรียนว่า มีอุปการะสำคัญต่อการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา ดังทรงยกย่องพระอานนท์ว่าเป็น พหูสูต
ทรงยกย่องพระราหุลว่า เป็นผู้ใคร่การศึกษา
ทรงยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร และพระเขมาเถรี ว่า เป็นยอดพระธรรมกถึก
ฝ่ายคฤหัสถ์ก็ทรงยกย่องนางขุชชุตตรา สาวใช้ร่างค่อมของนางสามาวดี และจิตตคหบดี ว่าเป็นธรรมกถึก เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมามาก และมีความสามารถในการเทศน์สอนคนอื่น
กล่าวเฉพาะจิตตคหบดีนี้ ท่านเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ ตอนท่านเกิดนั้น ว่ากันว่ามีปรากฏการณ์ประหลาด คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมืองซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร (สันสกฤต เขียนจิตร) ซึ่งแปลว่ากุมารผู้น่าพิศวง หรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม
บิดาของท่านเป็นเศรษฐี ท่านจึงได้เป็นเศรษฐีสืบแทนบิดา
ในวงการพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี
ก่อนที่จะได้มานับถือพระพุทธศาสนานั้น ท่านมีโอกาสพบพระเถระนามว่ามหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวน ชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ
พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ
วันหนึ่งได้แสดงเรื่องอายตนะ 6 (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก 6 ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลังจบธรรมเทศนาจิตตคหบดีได้บรรลุอนาคามิผล
จิตตคหบดีเอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนืองๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี
ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
ท่านเคยโต้วาทะกับบุคคลสำคัญของศาสนาอื่นมาแล้วหลายท่าน
จิตตคหบดีท่านเป็นผู้มีใจบุญ ได้ถวายทานอย่างประณีตมโหฬารติดต่อกันครึ่งเดือนก็เคยมี
เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น จำนวนมากถึง 500 เล่มเกวียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์
ครั้งหนึ่งท่านป่วยหนัก เทวดามาปรากฏให้เห็น กล่าวกับท่านว่า คนมีบุญอย่างท่านนี้ แม้ปรารถนาราชสมบัติหลังตายแล้วก็ย่อมได้ไม่ยาก
ท่านตอบเทวดาว่าถึงราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ บรรดาลูกหลานที่เฝ้าไข้อยู่ นึกว่าท่านเพ้อจึงกล่าวเตือนว่า "กรุณาทำใจดีๆ อย่าได้เพ้อเลย"
ท่านบอกบุตรหลานว่า มิได้เพ้อเทวดามาบอกให้ปรารถนาราชสมบัติ แต่ท่านได้บอกเทวดาว่าไม่ต้องการ เพราะสิ่งนั้นไม่จีรัง ยังมีสิ่งอื่นที่ดีกว่า น่าปรารถนากว่า
เมื่อถูกถามว่าคืออะไร ท่านกล่าวว่าสิ่งนั้นคือ ศรัทธาอันแน่วแน่มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
อัมพาฏการามนั้นเป็น "วัด" ที่ท่านสร้างถวายพระมหามานะ นิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำ
แต่พระเถระพักอยู่ชั่วเวลาหนึ่งก็จาริกไปยังที่อื่น
พระเถระอื่นๆ เช่น พระอิสิทัตตเถระ พระโคทัตตเถระ พระกามภูเถระ พระอรหันต์เตี้ย นามว่า ลกุณฏกภัททิยเถระ ที่พระเณรอื่นนึกว่าเป็นเณรน้อย ก็มาพักอยู่เสมอ เพราะเป็นสถานที่สงบสงัด แต่ท่านเหล่านั้นก็มิได้อยู่ประจำนานๆ เพราะท่านไม่ติดที่อยู่
ต่อมามีพระรูปหนึ่ง นามว่า สุธัมมเถระ มาพำนักอยู่เป็นประจำ เป็นเวลานาน นานจนกระทั่งนึกว่าตัวท่านเป็น "สมภาร"
จิตตคหบดีก็อุปถัมภ์บำรุงท่านเป็นอย่างดี พระสุธรรมยังเป็นปุถุชน จิตตคหบดีเป็นอริยบุคคลระดับอนาคามี ขึ้นไปอีกขั้นก็เป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พระอนาคามีที่ถือเพศฆราวาส ก็ยังแสดงความเคารพ กราบไหว้พระภิกษุปุถุชน เพราะถือว่าเพศบรรพชิตเป็น "ธงชัยแห่งพระอรหันต์"
วันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง (พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ) เดินทางผ่านมา ท่านจิตตคหบดีนิมนต์ให้พระอัครสาวกทั้งสองพำนักอยู่ที่อัมพาฏการามพร้อมนิมนต์เพื่อฉันอาหารที่บ้านท่านในวันรุ่งขึ้น แล้วท่านก็ไปนิมนต์พระสุธรรมไปฉันด้วย
พระสุธรรมถือตัวว่าเป็น "เจ้าอาวาส" (ไม่รู้ว่าใครแต่งตั้ง) ถือตัวว่าเป็นผู้ที่คหบดีอุปถัมภ์ทำนองเป็นโยมอุปฐาก พอเห็นโยมอุปฐากของตนให้ความสำคัญแก่พระอัครสาวกมากกว่าตน ถึงกับนิมนต์ไปฉันภายหลัง (น่าจะนิมนต์ตนก่อน ว่าอย่างนั้นเถอะ) จึงไม่ยอมรับนิมนต์
แม้ท่านคหบดีจะอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมรับ
ไม่รับก็ไม่เป็นไร ท่านจิตตคหบดีก็สั่งให้ตระเตรียมภัตตาหารเพื่อถวายพระอัครสาวก
ในวันรุ่งขึ้น พระสุธรรมก็เดินไปในคฤหาสน์อย่างคนคุ้นเคย ดูนั่นดูนี่แล้วก็เปรยว่า "อาหารที่ท่านเตรียมถวายพระพรุ่งนี้ดีทุกอย่าง แต่ขาดอยู่อย่างเดียวที่ไม่ได้เตรียมถวาย"
จิตตคหบดีถามว่า "ขาดอะไร พระคุณเจ้า"
"ขนม-งา" เสียงดังฟังชัด
ว่ากันว่าคำว่าขนม-งา เป็นคำที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับตระกูลของท่านคหบดี จะมีนัยสำคัญอย่างไร ตำราไม่ได้บอกไว้ คงทำนองเป็น "ปมด้อย" หรือ "ปมเขื่อง" ของตระกูลก็ได้
เช่น ตระกูลบางตระกูล บรรพบุรุษเป็นกุลีมาก่อน แต่ภายหลังได้เป็นเศรษฐีความลับของตระกูลนี้ คนในตระกูลจะไม่เปิดเผยให้ใครทราบ
ถ้าเผื่อใครยกเอามาพูดในทำนองดูหมิ่นก็จะโกรธทันที อะไรทำนองนั้น
เรื่องขนม-งานี้ก็คงทำนองเดียวกัน พอพระพูดจบ ท่านคหบดีก็ฉุนว่าเอาแรงๆ เพื่อให้สำนึก
พระสุธรรมไม่สำนึก แต่โกรธตอบ หนีจากวัดไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตำหนิแรงๆ และมีพุทธบัญชาให้กลับไปขอโทษจิตตคหบดี
ท่านไปขอโทษคหบดี คหบดีไม่ยอมยกโทษให้ หน้าจ๋อย กลับมาเฝ้าพระพุทธองค์อีก
คราวนี้พระองค์ทรงให้ภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็น "อนุทูต" พาพระสุธรรมไปเพื่อขอขมาคหบดี ก่อนส่งไป พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เธอบรรลุพระอรหัต หลังทรงแสดงธรรมจบ พร้อมกับพระอนุทูต เดินทางไปขอขมาจิตตคหบดี
คราวนี้ท่านคหบดียกโทษให้ พร้อมกล่าวว่า ถ้าหากโทษของกระผมมี ขอพระคุณเจ้าจงยกโทษให้กระผมด้วย พระสุธรรมซึ่งตอนนี้เป็นพระอรหันต์แล้วได้ยกโทษให้แก่จิตตคหบดีเช่นกัน
จิตตคหบดีคงจะมีปฏิภาณเฉียบแหลม และมีความสามารถในการแสดงธรรมมาก จึงได้รับการยกย่องให้เอตทัคคะว่าเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทางเป็นธรรมกถึก
ในพระคัมภีร์มิได้บันทึกเทศนาของท่านไว้ แต่บันทึกเหตุการณ์โต้วาทีกับบุคคลสำคัญของลัทธิอื่น แสดงว่าท่านต้องเก่งจริงๆ จึงสามารถโต้กับบุคคลเหล่านั้นได้
บุคคลเหล่านี้ที่ว่านี้คือ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร และอเจลกนามกัสสปะ ท่านแรกเป็นถึงศาสดาของศาสนาเชน (ศาสนาพระแก้ผ้า) ท่านที่สองเป็นนักบวชชีเปลือยเหมือนกันที่เก่งมาก เพราะปรากฏว่าเคยสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าด้วย
เมื่อศึกษาประวัติของท่านจิตตคหบดีแล้ว ได้ความคิดว่า พระพุทธศาสนาก็เป็นของพวกเราชาวบ้านเหมือนกัน
พวกคฤหัสถ์หัวดำเช่นเราท่านทั้งหลาย ควรศึกษาพระพุทธวจนะให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จนสามารถสื่อสารแสดงให้คนอื่นเข้าใจได้เมื่อถึงคราวที่จำเป็น
เราจะได้มีโอกาสปกป้องพระศาสนาของเราได้ โดยไม่ต้องไปวานให้ใครมาช่วยทำแทน
จิตตคหบดี : อุบาสกนักเทศน์ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เสฐียรพงษ์ วรรณปก (อ้างอิง : http://www.dhammathai.org/sawok/sawok08.php )
พระพุทธศาสนาเน้นความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ระดับโลกๆ อันเรียกว่า "สุตะ" หรือความรู้ทางธรรม อันเรียกว่า "ญาณ" ก็ตาม สุตะนั้น ถ้าใครมีมากๆ ก็เรียกคนนั้นว่า พหูสูต หมายถึง การจำได้ ท่องได้ แสดงได้อย่างเชี่ยวชาญ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผู้คงแก่เรียน" นั้นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การจะมีความรู้ระดับคงแก่เรียนที่สมบูรณ์ จะต้องฝึกฝนตนให้ครบ 5 ขั้นตอน คือ
1. ฟังมาก พยายามฟัง อ่าน ศึกษาเล่าเรียน รวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด ในยุคที่มีมากมายนี้ สื่อต่างๆ จะเป็นแหล่งให้เราได้ศึกษาค้นคว้า จนมีความรู้หลากหลายที่สุด
2. จำได้ พยายามจดจำสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญให้ได้มาก และแม่นยำที่สุด เมื่อต้องการใช้ก็เรียกใช้ได้ทันที ไม่ต้องนึกหรือไม่ต้องเที่ยวไปเปิดตำราอีกให้เสียเวลา
3. คล่องปาก ประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญที่จดจำไว้ จะต้องท่องให้คล่องปาก ไม่ผิดเพี้ยน ดังหนึ่งท่องบทสวดมนต์หรือบทอาขยานอย่างนั้นแหละ
4. เจนใจ นึกภาพในใจจนกระจ่าง เห็นชัดเจน แล้วบรรยายออกมา ดุจดังบรรยายภาพที่มองเห็นในจอทีวี ฉะนั้น
5. ประยุกต์ใช้ได้ ท่องได้จำได้เจนใจแล้ว ถ้าหากนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ไม่เป็น ก็ไม่นับว่าเป็นผู้รู้จริง คำว่าประยุกต์ใช้ได้ หมายถึงย่อยแก่นออกมาแล้ว สร้างแนวคิดใหม่ๆ อันสืบเนื่องมาจากที่ท่องได้ จำได้ เจนใจนั้นเอง
ความเป็นผู้คงแก่เรียนนี้เป็นความรู้ระดับโลกิยะก็จริง แต่ก็เป็นเครื่องช่วยให้การปฏิบัติตามหลักพระศาสนาเป็นผลดี เพราะเท่ากับแผนที่ชี้บอกผู้เดินว่าไปทางไหน อย่างไร จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง
การปฏิบัติโดยไม่มีความรอบรู้ทางทฤษฎีเป็นเครื่องตรวจสอบ อาจไขว้เขวผิดทางได้ง่าย
ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าสรรเสริญผู้คงแก่เรียนว่า มีอุปการะสำคัญต่อการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา ดังทรงยกย่องพระอานนท์ว่าเป็น พหูสูต
ทรงยกย่องพระราหุลว่า เป็นผู้ใคร่การศึกษา
ทรงยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร และพระเขมาเถรี ว่า เป็นยอดพระธรรมกถึก
ฝ่ายคฤหัสถ์ก็ทรงยกย่องนางขุชชุตตรา สาวใช้ร่างค่อมของนางสามาวดี และจิตตคหบดี ว่าเป็นธรรมกถึก เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมามาก และมีความสามารถในการเทศน์สอนคนอื่น
กล่าวเฉพาะจิตตคหบดีนี้ ท่านเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ ตอนท่านเกิดนั้น ว่ากันว่ามีปรากฏการณ์ประหลาด คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมืองซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร (สันสกฤต เขียนจิตร) ซึ่งแปลว่ากุมารผู้น่าพิศวง หรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม
บิดาของท่านเป็นเศรษฐี ท่านจึงได้เป็นเศรษฐีสืบแทนบิดา
ในวงการพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี
ก่อนที่จะได้มานับถือพระพุทธศาสนานั้น ท่านมีโอกาสพบพระเถระนามว่ามหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวน ชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ
พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ
วันหนึ่งได้แสดงเรื่องอายตนะ 6 (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก 6 ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลังจบธรรมเทศนาจิตตคหบดีได้บรรลุอนาคามิผล
จิตตคหบดีเอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนืองๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี
ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
ท่านเคยโต้วาทะกับบุคคลสำคัญของศาสนาอื่นมาแล้วหลายท่าน
จิตตคหบดีท่านเป็นผู้มีใจบุญ ได้ถวายทานอย่างประณีตมโหฬารติดต่อกันครึ่งเดือนก็เคยมี
เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น จำนวนมากถึง 500 เล่มเกวียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์
ครั้งหนึ่งท่านป่วยหนัก เทวดามาปรากฏให้เห็น กล่าวกับท่านว่า คนมีบุญอย่างท่านนี้ แม้ปรารถนาราชสมบัติหลังตายแล้วก็ย่อมได้ไม่ยาก
ท่านตอบเทวดาว่าถึงราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ บรรดาลูกหลานที่เฝ้าไข้อยู่ นึกว่าท่านเพ้อจึงกล่าวเตือนว่า "กรุณาทำใจดีๆ อย่าได้เพ้อเลย"
ท่านบอกบุตรหลานว่า มิได้เพ้อเทวดามาบอกให้ปรารถนาราชสมบัติ แต่ท่านได้บอกเทวดาว่าไม่ต้องการ เพราะสิ่งนั้นไม่จีรัง ยังมีสิ่งอื่นที่ดีกว่า น่าปรารถนากว่า
เมื่อถูกถามว่าคืออะไร ท่านกล่าวว่าสิ่งนั้นคือ ศรัทธาอันแน่วแน่มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
อัมพาฏการามนั้นเป็น "วัด" ที่ท่านสร้างถวายพระมหามานะ นิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำ
แต่พระเถระพักอยู่ชั่วเวลาหนึ่งก็จาริกไปยังที่อื่น
พระเถระอื่นๆ เช่น พระอิสิทัตตเถระ พระโคทัตตเถระ พระกามภูเถระ พระอรหันต์เตี้ย นามว่า ลกุณฏกภัททิยเถระ ที่พระเณรอื่นนึกว่าเป็นเณรน้อย ก็มาพักอยู่เสมอ เพราะเป็นสถานที่สงบสงัด แต่ท่านเหล่านั้นก็มิได้อยู่ประจำนานๆ เพราะท่านไม่ติดที่อยู่
ต่อมามีพระรูปหนึ่ง นามว่า สุธัมมเถระ มาพำนักอยู่เป็นประจำ เป็นเวลานาน นานจนกระทั่งนึกว่าตัวท่านเป็น "สมภาร"
จิตตคหบดีก็อุปถัมภ์บำรุงท่านเป็นอย่างดี พระสุธรรมยังเป็นปุถุชน จิตตคหบดีเป็นอริยบุคคลระดับอนาคามี ขึ้นไปอีกขั้นก็เป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พระอนาคามีที่ถือเพศฆราวาส ก็ยังแสดงความเคารพ กราบไหว้พระภิกษุปุถุชน เพราะถือว่าเพศบรรพชิตเป็น "ธงชัยแห่งพระอรหันต์"
วันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง (พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ) เดินทางผ่านมา ท่านจิตตคหบดีนิมนต์ให้พระอัครสาวกทั้งสองพำนักอยู่ที่อัมพาฏการามพร้อมนิมนต์เพื่อฉันอาหารที่บ้านท่านในวันรุ่งขึ้น แล้วท่านก็ไปนิมนต์พระสุธรรมไปฉันด้วย
พระสุธรรมถือตัวว่าเป็น "เจ้าอาวาส" (ไม่รู้ว่าใครแต่งตั้ง) ถือตัวว่าเป็นผู้ที่คหบดีอุปถัมภ์ทำนองเป็นโยมอุปฐาก พอเห็นโยมอุปฐากของตนให้ความสำคัญแก่พระอัครสาวกมากกว่าตน ถึงกับนิมนต์ไปฉันภายหลัง (น่าจะนิมนต์ตนก่อน ว่าอย่างนั้นเถอะ) จึงไม่ยอมรับนิมนต์
แม้ท่านคหบดีจะอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมรับ
ไม่รับก็ไม่เป็นไร ท่านจิตตคหบดีก็สั่งให้ตระเตรียมภัตตาหารเพื่อถวายพระอัครสาวก
ในวันรุ่งขึ้น พระสุธรรมก็เดินไปในคฤหาสน์อย่างคนคุ้นเคย ดูนั่นดูนี่แล้วก็เปรยว่า "อาหารที่ท่านเตรียมถวายพระพรุ่งนี้ดีทุกอย่าง แต่ขาดอยู่อย่างเดียวที่ไม่ได้เตรียมถวาย"
จิตตคหบดีถามว่า "ขาดอะไร พระคุณเจ้า"
"ขนม-งา" เสียงดังฟังชัด
ว่ากันว่าคำว่าขนม-งา เป็นคำที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับตระกูลของท่านคหบดี จะมีนัยสำคัญอย่างไร ตำราไม่ได้บอกไว้ คงทำนองเป็น "ปมด้อย" หรือ "ปมเขื่อง" ของตระกูลก็ได้
เช่น ตระกูลบางตระกูล บรรพบุรุษเป็นกุลีมาก่อน แต่ภายหลังได้เป็นเศรษฐีความลับของตระกูลนี้ คนในตระกูลจะไม่เปิดเผยให้ใครทราบ
ถ้าเผื่อใครยกเอามาพูดในทำนองดูหมิ่นก็จะโกรธทันที อะไรทำนองนั้น
เรื่องขนม-งานี้ก็คงทำนองเดียวกัน พอพระพูดจบ ท่านคหบดีก็ฉุนว่าเอาแรงๆ เพื่อให้สำนึก
พระสุธรรมไม่สำนึก แต่โกรธตอบ หนีจากวัดไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตำหนิแรงๆ และมีพุทธบัญชาให้กลับไปขอโทษจิตตคหบดี
ท่านไปขอโทษคหบดี คหบดีไม่ยอมยกโทษให้ หน้าจ๋อย กลับมาเฝ้าพระพุทธองค์อีก
คราวนี้พระองค์ทรงให้ภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็น "อนุทูต" พาพระสุธรรมไปเพื่อขอขมาคหบดี ก่อนส่งไป พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เธอบรรลุพระอรหัต หลังทรงแสดงธรรมจบ พร้อมกับพระอนุทูต เดินทางไปขอขมาจิตตคหบดี
คราวนี้ท่านคหบดียกโทษให้ พร้อมกล่าวว่า ถ้าหากโทษของกระผมมี ขอพระคุณเจ้าจงยกโทษให้กระผมด้วย พระสุธรรมซึ่งตอนนี้เป็นพระอรหันต์แล้วได้ยกโทษให้แก่จิตตคหบดีเช่นกัน
จิตตคหบดีคงจะมีปฏิภาณเฉียบแหลม และมีความสามารถในการแสดงธรรมมาก จึงได้รับการยกย่องให้เอตทัคคะว่าเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทางเป็นธรรมกถึก
ในพระคัมภีร์มิได้บันทึกเทศนาของท่านไว้ แต่บันทึกเหตุการณ์โต้วาทีกับบุคคลสำคัญของลัทธิอื่น แสดงว่าท่านต้องเก่งจริงๆ จึงสามารถโต้กับบุคคลเหล่านั้นได้
บุคคลเหล่านี้ที่ว่านี้คือ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร และอเจลกนามกัสสปะ ท่านแรกเป็นถึงศาสดาของศาสนาเชน (ศาสนาพระแก้ผ้า) ท่านที่สองเป็นนักบวชชีเปลือยเหมือนกันที่เก่งมาก เพราะปรากฏว่าเคยสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าด้วย
เมื่อศึกษาประวัติของท่านจิตตคหบดีแล้ว ได้ความคิดว่า พระพุทธศาสนาก็เป็นของพวกเราชาวบ้านเหมือนกัน
พวกคฤหัสถ์หัวดำเช่นเราท่านทั้งหลาย ควรศึกษาพระพุทธวจนะให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จนสามารถสื่อสารแสดงให้คนอื่นเข้าใจได้เมื่อถึงคราวที่จำเป็น
เราจะได้มีโอกาสปกป้องพระศาสนาของเราได้ โดยไม่ต้องไปวานให้ใครมาช่วยทำแทน