สงสัยคงต้องเลิกทำตัวบ้าบอซักที เข้าสู่การปฏิบัติจริงๆจังดีกว่ากันเยอะ
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=14
เรื่องภิกษุ ๒ สหาย [๑๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒ สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน ” เป็นต้น.
สองสหายออกบวช
ความพิสดารว่า กุลบุตร ๒ คน ชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหายกัน ไปยังวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ละกามทั้งหลาย ถวายชีวิตในพระศาสนาของพระศาสดา๑- บวชแล้ว อยู่ในสำนักพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ตลอด ๕ ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา ได้ฟังวิปัสสนาธุระและคันถธุระโดยพิสดารแล้ว๒-, รูปหนึ่งกราบทูลก่อนว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บวชแล้วเมื่อภายแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระได้, แต่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ” ดังนี้แล้ว ทูลให้พระศาสดาตรัสบอกวิปัสสนาจนถึงพระอรหัต พากเพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตพร้อมกับด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
____________________________
๑- อุรํ ทตฺวา.
๒- เป็นประโยคกิริยาปธานนัย.
ฝ่ายภิกษุรูปนอกนี้ คิดว่า “เราจะบำเพ็ญคันถธุระ” ดังนี้แล้ว เรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกโดยลำดับ กล่าวธรรม สวดสรภัญญะ ในสถานที่ตนไปแล้วๆ, เที่ยวบอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้เป็นอาจารย์ของคณะใหญ่ ๑๘ คณะ.
ภิกษุทั้งหลายเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ที่อยู่ของพระเถระนอกนี้ (รูปบำเพ็ญวิปัสสนา) ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน บรรลุพระอรหัตแล้ว นมัสการพระเถระ เรียนว่า “กระผมทั้งหลายใคร่จะเฝ้าพระศาสดา”
พระเถระกล่าวว่า “ไปเถิด ผู้มีอายุ, ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา นมัสการพระมหาเถระทั้ง ๘๐ รูป ตามคำของเรา, จงบอกกะพระเถระผู้สหายของเราบ้างว่า ‘ท่านอาจารย์ของกระผมทั้งหลาย นมัสการใต้เท้า’” ดังนี้แล้วส่งไป. ภิกษุเหล่านั้นไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ไปสู่สำนักพระคันถิกเถระ เรียนว่า “ใต้เท้าขอรับ ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการถึงใต้เท้า” ก็เมื่อพระเถระนอกนี้ถามว่า “อาจารย์ของพวกท่านนั่นเป็นใคร?” ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ.”
เมื่อพระเถระ (วิปัสสกภิกษุ) ส่งข่าวเยี่ยมอย่างนี้เรื่อยๆ อยู่, ภิกษุนั้น (คันถิกะ) อดทนอยู่ได้สิ้นกาลเล็กน้อย ภายหลังไม่สามารถจะอดทนอยู่ได้, เมื่อพวกอาคันตุกภิกษุเรียนว่า “ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการใต้เท้า” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “อาจารย์ของพวกท่าน นั่นเป็นใคร”,
เมื่อภิกษุทั้งหลายเรียนว่า “เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ” จึงกล่าวว่า “ก็อะไรเล่า? ที่พวกท่านเรียนในสำนักของภิกษุนั้น บรรดานิกายมีทีฆนิกายเป็นต้น นิกายใดนิกายหนึ่งหรือ? หรือบรรดาปิฎก ๓ ปิฎกใดปิฎกหนึ่งหรือ? ที่พวกท่านได้แล้ว” ดังนี้แล้ว คิดว่า สหายของเราย่อมไม่รู้จักคาถาแม้ประกอบด้วย ๔ บท, ถือบังสุกุล เข้าป่า แต่ในคราวบวชแล้ว ยังได้อันเตวาสิกมากมายหนอ, ในกาลที่เธอมา เราควรถามปัญหาดู”
พระเถระทั้งสองพบกัน
ในกาลต่อมา พระเถระ (วิปัสสกะ) ได้มาเฝ้าพระศาสดา, เก็บบาตรจีวรไว้ในสำนักพระเถระผู้สหายแล้ว ไปถวายบังคมพระศาสดา และนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ก็กลับมาที่อยู่ของพระเถระผู้สหาย. ลำดับนั้น พระคันถิกเถระนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทำวัตรแก่ท่านแล้ว ถือเอาอาสนะมีขนาดเท่ากัน นั่งแล้วด้วยตั้งใจว่า “จักถามปัญหา.”
พระศาสดาถามปัญหาพระเถระทั้งสอง
ขณะนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า “คันถิกภิกษุนี้พึงเบียดเบียนบุตรของเราผู้มีรูปเห็นปานนี้ แล้วเกิดในนรก”, ด้วยทรงเอ็นดูในเธอ ทำประหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปในวิหาร เสด็จถึงสถานที่เธอทั้งสองนั่งแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เธอจัดไว้. แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะนั่งในที่นั้นๆ จัดอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้าก่อน แล้วจึงนั่ง. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงประทับนั่งเหนืออาสนะที่พระคันถิกภิกษุนั้นจัดไว้โดยปกตินั่นแล.
ก็แลครั้นประทับนั่งแล้ว จึงตรัสถามปัญหาในปฐมฌานกะคันถิกภิกษุ ครั้นเมื่อเธอทูลตอบไม่ได้, จึงตรัสถามปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติทั้งแปด ตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไป พระคันถิกเถระก็มิอาจทูลตอบได้แม้ข้อเดียว พระวิปัสสกเถระนอกนี้ ทูลตอบปัญหานั้นได้ทั้งหมด.
ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรคกับเธอ. พระคันถิกเถระก็มิสามารถทูลตอบได้. แต่นั้น จึงตรัสถามกะพระขีณาสพเถระ. พระเถระก็ทูลตอบได้.
พระวิปัสสกเถระได้รับสาธุการ
พระศาสดาทรงชมเชยว่า “ดีละๆ” แล้วตรัสถามปัญหา แม้ในมรรคที่เหลือทั้งหลายโดยลำดับ. พระคันถิกเถระก็มิได้อาจทูลตอบปัญหาได้สักข้อเดียว ส่วนพระขีณาสพทูลตอบปัญหาที่ตรัสถามแล้วๆ ได้. พระศาสดาได้ประทานสาธุการแก่พระขีณาสพนั้นในฐานะทั้งสี่. เทวดาทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมเทวดา จนถึงพรหมโลกและนาคครุฑ ได้ฟังสาธุการนั้นแล้ว ก็ได้ให้สาธุการ.
พวกอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของพระคันถิกเถระ ได้สดับสาธุการนั้นแล้ว จึงยกโทษพระศาสดาว่า “พระศาสดาทรงทำกรรรมอะไรนี่? พระองค์ได้ประทานสาธุการแก่พระมหัลลกเถระผู้ไม่รู้อะไรๆ ในฐานะทั้งสี่, ส่วนท่านอาจารย์ของพวกเราผู้จำทรงพระปริยัติธรรมไว้ได้ทั้งหมด เป็นหัวหน้าภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป พระองค์มิได้ทรงทำแม้มาตรว่า ความสรรเสริญ”
พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกันนี่?” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, ตรัสว่า “
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เช่นกับผู้รักษาโคทั้งหลาย เพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา, ส่วนบุตรของเรา เช่นกับเจ้าของผู้บริโภคปัญจโครส๑- ตามชอบใจ”
ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
๑๔. พหุมฺปิ เจ สหิตํ๒- ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสส โหติ.
อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ.
“หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี
ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว
ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อมไม่
เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล๓- เหมือนคนเลี้ยงโค
นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี
ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว
พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย
(แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มี
จิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”
พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ เรื่องภิกษุสองสหายที่แทงใจดำผมเข้าจังๆเรย
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=14
เรื่องภิกษุ ๒ สหาย [๑๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒ สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน ” เป็นต้น.
สองสหายออกบวช
ความพิสดารว่า กุลบุตร ๒ คน ชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหายกัน ไปยังวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ละกามทั้งหลาย ถวายชีวิตในพระศาสนาของพระศาสดา๑- บวชแล้ว อยู่ในสำนักพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ตลอด ๕ ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา ได้ฟังวิปัสสนาธุระและคันถธุระโดยพิสดารแล้ว๒-, รูปหนึ่งกราบทูลก่อนว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บวชแล้วเมื่อภายแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระได้, แต่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ” ดังนี้แล้ว ทูลให้พระศาสดาตรัสบอกวิปัสสนาจนถึงพระอรหัต พากเพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตพร้อมกับด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
____________________________
๑- อุรํ ทตฺวา.
๒- เป็นประโยคกิริยาปธานนัย.
ฝ่ายภิกษุรูปนอกนี้ คิดว่า “เราจะบำเพ็ญคันถธุระ” ดังนี้แล้ว เรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกโดยลำดับ กล่าวธรรม สวดสรภัญญะ ในสถานที่ตนไปแล้วๆ, เที่ยวบอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้เป็นอาจารย์ของคณะใหญ่ ๑๘ คณะ.
ภิกษุทั้งหลายเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ที่อยู่ของพระเถระนอกนี้ (รูปบำเพ็ญวิปัสสนา) ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน บรรลุพระอรหัตแล้ว นมัสการพระเถระ เรียนว่า “กระผมทั้งหลายใคร่จะเฝ้าพระศาสดา”
พระเถระกล่าวว่า “ไปเถิด ผู้มีอายุ, ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา นมัสการพระมหาเถระทั้ง ๘๐ รูป ตามคำของเรา, จงบอกกะพระเถระผู้สหายของเราบ้างว่า ‘ท่านอาจารย์ของกระผมทั้งหลาย นมัสการใต้เท้า’” ดังนี้แล้วส่งไป. ภิกษุเหล่านั้นไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ไปสู่สำนักพระคันถิกเถระ เรียนว่า “ใต้เท้าขอรับ ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการถึงใต้เท้า” ก็เมื่อพระเถระนอกนี้ถามว่า “อาจารย์ของพวกท่านนั่นเป็นใคร?” ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ.”
เมื่อพระเถระ (วิปัสสกภิกษุ) ส่งข่าวเยี่ยมอย่างนี้เรื่อยๆ อยู่, ภิกษุนั้น (คันถิกะ) อดทนอยู่ได้สิ้นกาลเล็กน้อย ภายหลังไม่สามารถจะอดทนอยู่ได้, เมื่อพวกอาคันตุกภิกษุเรียนว่า “ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการใต้เท้า” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “อาจารย์ของพวกท่าน นั่นเป็นใคร”,
เมื่อภิกษุทั้งหลายเรียนว่า “เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ” จึงกล่าวว่า “ก็อะไรเล่า? ที่พวกท่านเรียนในสำนักของภิกษุนั้น บรรดานิกายมีทีฆนิกายเป็นต้น นิกายใดนิกายหนึ่งหรือ? หรือบรรดาปิฎก ๓ ปิฎกใดปิฎกหนึ่งหรือ? ที่พวกท่านได้แล้ว” ดังนี้แล้ว คิดว่า สหายของเราย่อมไม่รู้จักคาถาแม้ประกอบด้วย ๔ บท, ถือบังสุกุล เข้าป่า แต่ในคราวบวชแล้ว ยังได้อันเตวาสิกมากมายหนอ, ในกาลที่เธอมา เราควรถามปัญหาดู”
พระเถระทั้งสองพบกัน
ในกาลต่อมา พระเถระ (วิปัสสกะ) ได้มาเฝ้าพระศาสดา, เก็บบาตรจีวรไว้ในสำนักพระเถระผู้สหายแล้ว ไปถวายบังคมพระศาสดา และนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ก็กลับมาที่อยู่ของพระเถระผู้สหาย. ลำดับนั้น พระคันถิกเถระนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทำวัตรแก่ท่านแล้ว ถือเอาอาสนะมีขนาดเท่ากัน นั่งแล้วด้วยตั้งใจว่า “จักถามปัญหา.”
พระศาสดาถามปัญหาพระเถระทั้งสอง
ขณะนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า “คันถิกภิกษุนี้พึงเบียดเบียนบุตรของเราผู้มีรูปเห็นปานนี้ แล้วเกิดในนรก”, ด้วยทรงเอ็นดูในเธอ ทำประหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปในวิหาร เสด็จถึงสถานที่เธอทั้งสองนั่งแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เธอจัดไว้. แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะนั่งในที่นั้นๆ จัดอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้าก่อน แล้วจึงนั่ง. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงประทับนั่งเหนืออาสนะที่พระคันถิกภิกษุนั้นจัดไว้โดยปกตินั่นแล.
ก็แลครั้นประทับนั่งแล้ว จึงตรัสถามปัญหาในปฐมฌานกะคันถิกภิกษุ ครั้นเมื่อเธอทูลตอบไม่ได้, จึงตรัสถามปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติทั้งแปด ตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไป พระคันถิกเถระก็มิอาจทูลตอบได้แม้ข้อเดียว พระวิปัสสกเถระนอกนี้ ทูลตอบปัญหานั้นได้ทั้งหมด.
ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรคกับเธอ. พระคันถิกเถระก็มิสามารถทูลตอบได้. แต่นั้น จึงตรัสถามกะพระขีณาสพเถระ. พระเถระก็ทูลตอบได้.
พระวิปัสสกเถระได้รับสาธุการ
พระศาสดาทรงชมเชยว่า “ดีละๆ” แล้วตรัสถามปัญหา แม้ในมรรคที่เหลือทั้งหลายโดยลำดับ. พระคันถิกเถระก็มิได้อาจทูลตอบปัญหาได้สักข้อเดียว ส่วนพระขีณาสพทูลตอบปัญหาที่ตรัสถามแล้วๆ ได้. พระศาสดาได้ประทานสาธุการแก่พระขีณาสพนั้นในฐานะทั้งสี่. เทวดาทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมเทวดา จนถึงพรหมโลกและนาคครุฑ ได้ฟังสาธุการนั้นแล้ว ก็ได้ให้สาธุการ.
พวกอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของพระคันถิกเถระ ได้สดับสาธุการนั้นแล้ว จึงยกโทษพระศาสดาว่า “พระศาสดาทรงทำกรรรมอะไรนี่? พระองค์ได้ประทานสาธุการแก่พระมหัลลกเถระผู้ไม่รู้อะไรๆ ในฐานะทั้งสี่, ส่วนท่านอาจารย์ของพวกเราผู้จำทรงพระปริยัติธรรมไว้ได้ทั้งหมด เป็นหัวหน้าภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป พระองค์มิได้ทรงทำแม้มาตรว่า ความสรรเสริญ”
พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกันนี่?” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เช่นกับผู้รักษาโคทั้งหลาย เพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา, ส่วนบุตรของเรา เช่นกับเจ้าของผู้บริโภคปัญจโครส๑- ตามชอบใจ”
ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
๑๔. พหุมฺปิ เจ สหิตํ๒- ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสส โหติ.
อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ.
“หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี
ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว
ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อมไม่
เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล๓- เหมือนคนเลี้ยงโค
นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี
ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว
พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย
(แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มี
จิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”