สวัสดีครับ ช่วงนี้ตั้งกระทู้บ่อย เจอของดีเลยเอามาฝาก เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ เกี่ยวกับการสอนให้ข้อคิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบทพิสูจน์การบรรลุธรรมของพระสาวก โดยความเห็นผม พระพุทธองค์ทรงสอบพิสูจน์การบรรลุธรรมของภิกษุสาวกด้วยการถามปัญหา ถ้ารู้จำจากตำราก็ไม่สามารถตอบได้หมด แต่ถ้ารู้จริงจากการปฏิบัติ ถามมาอย่างไรก็ตอบได้ เหมือนอ่านหนังสือว่าลักษณะของหิมะเป็นอย่างไร แต่ไม่เคยเห็นหรือสัมผัสจริง ก็ไม่สามารถตอบได้เหมือนคนที่เห็นหรือสัมผัสหิมะจริงๆ ดังพุทธพจน์ที่ว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ , เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ลองอ่านดูนะครับ
ภิกษุสองสหาย เรื่องประกอบใน "ธรรมบท ทางแห่งความดี ๑" ..วศิน อินทสระ
ชาย 2 คน ชาวเมืองสาวัตถี ฟังพระธรรมของพระศาสดาแล้วเกิดเลื่อมใส ออกบวชพร้อมกัน อยู่ในสำนักอุปัชฌายาจารย์ 5 พรรษาแล้ว รูปหนึ่งเรียนกัมมฐานออกป่า ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "วิปัสสกภิกษุ" อีกรูปหนึ่งพอใจเรียน ปริยัติ หรือคันถธุระ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "คันถิกภิกษุ"
พระวิปัสสกะพยายามอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ส่วนพระคันถิกะเรียนพระไตรปิฎกแตกฉานได้เป็นอาจารย์ของภิกษุประมาณ 500 เป็นอาจารย์ของคณะถึง 18 คณะ รวมความว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่
ภิกษุเป็นอันมากเรียนกัมมฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว ไปสู่สำนักพระวิปัสสกะ สมัครตนเป็นศิษย์ของท่าน อยู่บำเพ็ญวิปัสสนาไม่นานก็ได้สำเร็จอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น มีความประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงเรียนท่านว่า"กระผมทั้งหลายใคร่ไปเฝ้าพระศาสดา"
"ไปเถิดท่านผู้มีอายุ" พระวิปัสสกะกล่าว "ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา และนมัสการพระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป ในนามของเราด้วย(ฝากนมัสการ) อนึ่ง มีภิกษุผู้เป็นสหายของเราอยู่รูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงนมัสการภิกษุนั้นในนามของเราด้วย"
ภิกษุเหล่านั้นไปถวายบังคมพระศาสดา พระอสีติมหาสาวกและภิกษุผู้เป็นสหายของอาจารย์ตามลำดับ
"ใครคืออาจารย์ของพวกท่าน" พระคันถิกะภิกษุถาม
"ภิกษุผู้เป็นสหายของท่านที่บวชพร้อมกัน" ภิกษุทั้งหลายตอบ
เมื่อภิกษุทั้งหลายเดินทางมาเชตวนาราม วิปัสสกภิกษุได้ฝากข่าวมาเยี่ยมเยียนภิกษุผู้สหายเนืองๆ จนภิกษุผู้สหายประหลาดใจว่า "สหายของเราบวชแล้วเข้าป่า ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎกเลย ไม่รู้ธรรมอะไรมาก ยังสามารถมีศิษย์ได้มากมายถึงปานนี้ เมื่อท่านมาเฝ้าพระศาสดา เราจักถามปัญหาดู"
ต่อมาพระวิปัสสกภิกษุมาเฝ้าพระศาสดา เก็บบาตรและจีวรไว้ในสำนักพระคันถิกะ เมื่อเฝ้าพระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาสาวกเสร็จ ก็ไปพักที่สำนักของพระคันถิกะผู้สหาย พระคันถิกะให้ศิษย์ของตนปฏิบัติพระวิปัสสกะ แล้วนั่งบนอาสนะเสมอกัน ตั้งใจจะถามปัญหา
พระศาสดาทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ ทรงดำริว่า"พระคันถิกภิกษุจะพึงตกนรก เพราะเบียดเบียนพระวิปัสสกภิกษุ" ดังนี้แล้ว ทรงอาศัยเมตตานุเคราะห์ในคันถิกภิกษุนั้น จึงทรงกระทำประหนึ่งว่าเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร มาถึงสำนักของคันถิกภิกษุแล้วประทับนั่งบนอาสนะ แล้วตรัสถามปัญหาหลายอย่าง เริ่มต้นแต่ปัญหาเกี่ยวกับปฐมฌานแก่คันถิกภิกษุ ไปจนถึงปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ แต่ภิกษุนั้นตอบไม่ได้สักปัญหาเดียว เมื่อทรงถามวิปัสสกภิกษุ ท่านตอบได้
ท่านถามปัญหาเกี่ยวกับโสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตผล คันถิกภิกษุตอบไม่ได้ แต่วิปัสสกภิกษุตอบได้
พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่วิปัสสกภิกษุนั้น พวกเทวดาก็ช่วยกันสาธุการด้วย พวกสัทธิวิหาริก อันเตวาสิกของพระคันถิกะตำหนิพระศาสดาว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระแก่ซึ่งไม่รู้อะไร ส่วนอาจารย์ของตน พระศาสดาไม่กระทำแม้สักว่าการชมเชยสรรเสริญ อาจารย์ของพวกตนเป็นอาจารย์ของภิกษุถึง 500
พระศาสดาจึงตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! อาจารย์ของพวกเธอเป็นเหมือนคนเลี้ยงโค ได้เพียงค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนวิปัสสกภิกษุบุตรของเราเป็นเหมือนเจ้าของโคได้บริโภคแล้วซึ่งปัญจโครสตามใจของตน" ดังนี้แล้วตรัสว่า
"บุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้มาก แต่มิได้ประพฤติตามธรรมนั้น ก็จัดว่าเป็นผู้ประมาท ย่อมไม่มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค คอยนับโคให้คนอื่น ไม่ได้ดื่มปัญจโครส
ฝ่ายบุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้น้อย แต่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะและโมหะได้ เป็นผู้รอบคอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล".
http://larndham.org/index.php?/topic/25655-%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
บทพิสูจน์การบรรลุธรรมของพระสาวก
ภิกษุสองสหาย เรื่องประกอบใน "ธรรมบท ทางแห่งความดี ๑" ..วศิน อินทสระ
ชาย 2 คน ชาวเมืองสาวัตถี ฟังพระธรรมของพระศาสดาแล้วเกิดเลื่อมใส ออกบวชพร้อมกัน อยู่ในสำนักอุปัชฌายาจารย์ 5 พรรษาแล้ว รูปหนึ่งเรียนกัมมฐานออกป่า ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "วิปัสสกภิกษุ" อีกรูปหนึ่งพอใจเรียน ปริยัติ หรือคันถธุระ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "คันถิกภิกษุ"
พระวิปัสสกะพยายามอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ส่วนพระคันถิกะเรียนพระไตรปิฎกแตกฉานได้เป็นอาจารย์ของภิกษุประมาณ 500 เป็นอาจารย์ของคณะถึง 18 คณะ รวมความว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่
ภิกษุเป็นอันมากเรียนกัมมฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว ไปสู่สำนักพระวิปัสสกะ สมัครตนเป็นศิษย์ของท่าน อยู่บำเพ็ญวิปัสสนาไม่นานก็ได้สำเร็จอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น มีความประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงเรียนท่านว่า"กระผมทั้งหลายใคร่ไปเฝ้าพระศาสดา"
"ไปเถิดท่านผู้มีอายุ" พระวิปัสสกะกล่าว "ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา และนมัสการพระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป ในนามของเราด้วย(ฝากนมัสการ) อนึ่ง มีภิกษุผู้เป็นสหายของเราอยู่รูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงนมัสการภิกษุนั้นในนามของเราด้วย"
ภิกษุเหล่านั้นไปถวายบังคมพระศาสดา พระอสีติมหาสาวกและภิกษุผู้เป็นสหายของอาจารย์ตามลำดับ
"ใครคืออาจารย์ของพวกท่าน" พระคันถิกะภิกษุถาม
"ภิกษุผู้เป็นสหายของท่านที่บวชพร้อมกัน" ภิกษุทั้งหลายตอบ
เมื่อภิกษุทั้งหลายเดินทางมาเชตวนาราม วิปัสสกภิกษุได้ฝากข่าวมาเยี่ยมเยียนภิกษุผู้สหายเนืองๆ จนภิกษุผู้สหายประหลาดใจว่า "สหายของเราบวชแล้วเข้าป่า ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎกเลย ไม่รู้ธรรมอะไรมาก ยังสามารถมีศิษย์ได้มากมายถึงปานนี้ เมื่อท่านมาเฝ้าพระศาสดา เราจักถามปัญหาดู"
ต่อมาพระวิปัสสกภิกษุมาเฝ้าพระศาสดา เก็บบาตรและจีวรไว้ในสำนักพระคันถิกะ เมื่อเฝ้าพระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาสาวกเสร็จ ก็ไปพักที่สำนักของพระคันถิกะผู้สหาย พระคันถิกะให้ศิษย์ของตนปฏิบัติพระวิปัสสกะ แล้วนั่งบนอาสนะเสมอกัน ตั้งใจจะถามปัญหา
พระศาสดาทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ ทรงดำริว่า"พระคันถิกภิกษุจะพึงตกนรก เพราะเบียดเบียนพระวิปัสสกภิกษุ" ดังนี้แล้ว ทรงอาศัยเมตตานุเคราะห์ในคันถิกภิกษุนั้น จึงทรงกระทำประหนึ่งว่าเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร มาถึงสำนักของคันถิกภิกษุแล้วประทับนั่งบนอาสนะ แล้วตรัสถามปัญหาหลายอย่าง เริ่มต้นแต่ปัญหาเกี่ยวกับปฐมฌานแก่คันถิกภิกษุ ไปจนถึงปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ แต่ภิกษุนั้นตอบไม่ได้สักปัญหาเดียว เมื่อทรงถามวิปัสสกภิกษุ ท่านตอบได้
ท่านถามปัญหาเกี่ยวกับโสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตผล คันถิกภิกษุตอบไม่ได้ แต่วิปัสสกภิกษุตอบได้
พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่วิปัสสกภิกษุนั้น พวกเทวดาก็ช่วยกันสาธุการด้วย พวกสัทธิวิหาริก อันเตวาสิกของพระคันถิกะตำหนิพระศาสดาว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระแก่ซึ่งไม่รู้อะไร ส่วนอาจารย์ของตน พระศาสดาไม่กระทำแม้สักว่าการชมเชยสรรเสริญ อาจารย์ของพวกตนเป็นอาจารย์ของภิกษุถึง 500
พระศาสดาจึงตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! อาจารย์ของพวกเธอเป็นเหมือนคนเลี้ยงโค ได้เพียงค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนวิปัสสกภิกษุบุตรของเราเป็นเหมือนเจ้าของโคได้บริโภคแล้วซึ่งปัญจโครสตามใจของตน" ดังนี้แล้วตรัสว่า
"บุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้มาก แต่มิได้ประพฤติตามธรรมนั้น ก็จัดว่าเป็นผู้ประมาท ย่อมไม่มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค คอยนับโคให้คนอื่น ไม่ได้ดื่มปัญจโครส
ฝ่ายบุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้น้อย แต่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะและโมหะได้ เป็นผู้รอบคอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล".
http://larndham.org/index.php?/topic/25655-%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2/