19 ต.ค.60-นายฮิโรคิ มิทสึมะตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์ผู้ลงทุนอันดับ 1 ในประเทศไทยตลอด 3 ปีติดต่อกัน ( ปี 2557-2559 ส่วน 6 เดือนแรกของปี 2560 ญี่ปุ่นก็ยังมาเป็นที่ 1 เช่นกัน) เมื่อมองในแง่จำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
โดยในปี 2559 มีโครงการของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจากบีโอไอถึง 284 รายด้วยกัน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 7.9 หมื่นล้านบาท นำห่างบริษัทร่วมทุนจากจีนที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยจำนวน 107 ราย มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5.3 หมื่นล้านบาท และอันดับ3 คือ สิงคโปร์ 106 ราย มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในสายตาของบริษัทญี่ปุ่นที่ยังคงแข็งแกร่ง
“ไม่ว่าไทยจะผ่านสถานการณ์การเมืองมาอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นและนักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมากคือ ความต่อเนื่องของนโยบายทางเศรษฐกิจของไทย นอกจากนี้ ด้วยความที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนและใช้ไทยเป็นฐานการผลิตมายาวนานเกินกว่า 10 ปีทำให้เกิดเครือข่ายซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่แข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ เมื่อมีการลงทุนใหม่เข้ามาก็สามารถต่อยอดธุรกิจได้เลย ไม่ต้องเข้ามาสร้างฐานการผลิตโดยเริ่มต้นใหม่จากศูนย์”
เจโทรและกระทรวงเมติของญี่ปุ่นนำคณะผู้แทนธุรกิจชุดใหญ่เยือนไทยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ยังพบว่า การลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น (FDI) ในอุตสาหกรรมภาคการผลิต ยังคงพุ่งมาที่ประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2559) คิดเป็นมูลค่ารวม 34,131 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยอินโดนีเซียและสิงคโปร์เป็นอันดับ 2 และ 3 แต่ถ้าเป็นการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมภาคบริการหรืออุตสาหกรรมนอกภาคการผลิต ไทยมาเป็นอันดับ2 (มูลค่าการลงทุนรวม 19,430 ล้านดอลลาร์) รองจากสิงคโปร์เท่านั้น สะท้อนให้เห็นชัดว่า ไทยเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้
และที่น่าสนใจก็คือ บริษัทที่อยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี จากญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นถึง 432 บริษัท (เมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนในปี 2557) ขณะที่บริษัทญี่ปุ่นที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น 404 บริษัท ทำให้ทางเจโทรเองมีกิจกรรมส่งเสริมการขับเคลื่อนของเอสเอ็มอีญี่ปุ่นในไทยอย่างต่อเนื่อง เช่นในวันที่ 24 พ.ย. ศกนี้ เจโทรจะจัดประชุมว่าด้วยอุตสาหกรรมภาคบริการที่กรุงเทพฯ โดยจะเน้นไปที่ธุรกิจท่องเที่ยว จะมีการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอีญี่ปุ่นและอาเซียนในธุรกิจประเภทนี้ให้มากยิ่งขึ้น และในเดือนพ.ย.เช่นกันจะมีการนำคณะตัวแทนธุรกิจจากจังหวัดยามานาชิ 10 บริษัทมาดูงานในประเทศไทย โดยนอกจากจะมาร่วมงาน METALEX 2017 ที่กรุงเทพฯ แล้ว ยังจะลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ของไทยด้วย
http://www.thansettakij.com/content/221417
“ญี่ปุ่น” ...อันดับ 1 นักลงทุนรายใหญ่ในไทย
นักลงทุนญี่ปุ่น” นับเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มียอดเงินลงทุนสะสมคงค้างกว่า 2.4 ล้านล้านบาท
ตามรายงานของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ ไตรมาสแรก ของปีนี้ มียอดเงินลงทุนโดยตรงของ “นักลงทุนญี่ปุ่น” ในไทย คงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2560 จำนวน 75,311.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ตามลำดับ
ขณะที่ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ระบุว่า “นักลงทุนญี่ปุ่น” ยังคงเป็นนักลงทุนที่ลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 1 มียอดเงินลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2559 จำนวน 57,466 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ 37,228 ล้านบาท และ จีน 32,537 ล้านบาท
เช่นเดียวกับ ในครึ่งปีแรกของปีนี้ คือ ตั้งแต่เดือน ม.ค. - มิ.ย. มีการยื่นรับการส่งเสริมของโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 371 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 119,029 ล้านบาท โดย “นักลงทุนญี่ปุ่น” ยังเป็นประเทศที่มีปริมาณเงินลงทุนในการยื่นขอส่งเสริมสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ซึ่งมีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ กิจการผลิตรถยนต์ไฮบริจด์ มูลค่า 19,547 ล้านบาท, การผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษ หรือ เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ มูลค่า 15,182 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลงทุนในการผลิตรถยนต์, การผลิตตัวยึดจับฮาร์ดดิสก์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป อีกด้วย
สำหรับการเดินทางมาเยือนไทยของคณะนักธุรกิจญี่ปุ่น ที่นำโดย รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) มีจำนวนกว่า 570 บริษัท ถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา นอกจากนี้ จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ 7 ฉบับ คือ
1.สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น หรือ เคดันเรน กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทย กับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JCCI) เพื่อร่วมกันรวมถึงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 แห่ง ในประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0) และความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นในประเทศไทยและญี่ปุ่น อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า การตลาด และเศรษฐกิจ, การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการระหว่างกัน และการให้ความช่วยเหลือ/การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ ที่มีมาตรฐานสากล
2.สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า)
3.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับสถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ภายใต้แนวคิดความร่วมมือทางไกลระหว่างมหแาวิทยาลัยของญี่ปุ่นกับนักลงทุนไทย
4.นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครกับ บริษัท ฮิตาชิ
5.กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร
6.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับองค์การสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศญี่ปุ่น
7.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและ บริษัท JC Service
http://m.thansettakij.com/content/207209
http://daily.bangkokbiznews.com/detail/312413
ด้วยความพยายามของฝ่ายเศรษฐกิจ การนำนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนก็ได้ผลอย่างดี
รัฐบาลนี้ทำเพื่อประชาชน หวังกระตุ้เศรษฐกิจ ประชาชนมีงานทำ มีรายได้
ต้องขอบคุณท่านรองนายกฯลุงสมคิดและคณะนะคะ ที่มุ่งมั่นทำงานจนประสบความสำเร็จ...
~มาลาริน~** มีเรื่องดีๆมาบอกอีกแล้วค่ะ....ญี่ปุ่นแชมป์ลงทุนในไทย หนุน SMEs ปักฐานเพิ่ม
19 ต.ค.60-นายฮิโรคิ มิทสึมะตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์ผู้ลงทุนอันดับ 1 ในประเทศไทยตลอด 3 ปีติดต่อกัน ( ปี 2557-2559 ส่วน 6 เดือนแรกของปี 2560 ญี่ปุ่นก็ยังมาเป็นที่ 1 เช่นกัน) เมื่อมองในแง่จำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
โดยในปี 2559 มีโครงการของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจากบีโอไอถึง 284 รายด้วยกัน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 7.9 หมื่นล้านบาท นำห่างบริษัทร่วมทุนจากจีนที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยจำนวน 107 ราย มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5.3 หมื่นล้านบาท และอันดับ3 คือ สิงคโปร์ 106 ราย มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในสายตาของบริษัทญี่ปุ่นที่ยังคงแข็งแกร่ง
“ไม่ว่าไทยจะผ่านสถานการณ์การเมืองมาอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นและนักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมากคือ ความต่อเนื่องของนโยบายทางเศรษฐกิจของไทย นอกจากนี้ ด้วยความที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนและใช้ไทยเป็นฐานการผลิตมายาวนานเกินกว่า 10 ปีทำให้เกิดเครือข่ายซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่แข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ เมื่อมีการลงทุนใหม่เข้ามาก็สามารถต่อยอดธุรกิจได้เลย ไม่ต้องเข้ามาสร้างฐานการผลิตโดยเริ่มต้นใหม่จากศูนย์”
เจโทรและกระทรวงเมติของญี่ปุ่นนำคณะผู้แทนธุรกิจชุดใหญ่เยือนไทยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ยังพบว่า การลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น (FDI) ในอุตสาหกรรมภาคการผลิต ยังคงพุ่งมาที่ประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2559) คิดเป็นมูลค่ารวม 34,131 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยอินโดนีเซียและสิงคโปร์เป็นอันดับ 2 และ 3 แต่ถ้าเป็นการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมภาคบริการหรืออุตสาหกรรมนอกภาคการผลิต ไทยมาเป็นอันดับ2 (มูลค่าการลงทุนรวม 19,430 ล้านดอลลาร์) รองจากสิงคโปร์เท่านั้น สะท้อนให้เห็นชัดว่า ไทยเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้
และที่น่าสนใจก็คือ บริษัทที่อยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี จากญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นถึง 432 บริษัท (เมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนในปี 2557) ขณะที่บริษัทญี่ปุ่นที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น 404 บริษัท ทำให้ทางเจโทรเองมีกิจกรรมส่งเสริมการขับเคลื่อนของเอสเอ็มอีญี่ปุ่นในไทยอย่างต่อเนื่อง เช่นในวันที่ 24 พ.ย. ศกนี้ เจโทรจะจัดประชุมว่าด้วยอุตสาหกรรมภาคบริการที่กรุงเทพฯ โดยจะเน้นไปที่ธุรกิจท่องเที่ยว จะมีการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอีญี่ปุ่นและอาเซียนในธุรกิจประเภทนี้ให้มากยิ่งขึ้น และในเดือนพ.ย.เช่นกันจะมีการนำคณะตัวแทนธุรกิจจากจังหวัดยามานาชิ 10 บริษัทมาดูงานในประเทศไทย โดยนอกจากจะมาร่วมงาน METALEX 2017 ที่กรุงเทพฯ แล้ว ยังจะลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ของไทยด้วย
http://www.thansettakij.com/content/221417
“ญี่ปุ่น” ...อันดับ 1 นักลงทุนรายใหญ่ในไทย
นักลงทุนญี่ปุ่น” นับเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มียอดเงินลงทุนสะสมคงค้างกว่า 2.4 ล้านล้านบาท
ตามรายงานของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ ไตรมาสแรก ของปีนี้ มียอดเงินลงทุนโดยตรงของ “นักลงทุนญี่ปุ่น” ในไทย คงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2560 จำนวน 75,311.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ตามลำดับ
ขณะที่ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ระบุว่า “นักลงทุนญี่ปุ่น” ยังคงเป็นนักลงทุนที่ลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 1 มียอดเงินลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2559 จำนวน 57,466 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ 37,228 ล้านบาท และ จีน 32,537 ล้านบาท
เช่นเดียวกับ ในครึ่งปีแรกของปีนี้ คือ ตั้งแต่เดือน ม.ค. - มิ.ย. มีการยื่นรับการส่งเสริมของโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 371 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 119,029 ล้านบาท โดย “นักลงทุนญี่ปุ่น” ยังเป็นประเทศที่มีปริมาณเงินลงทุนในการยื่นขอส่งเสริมสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ซึ่งมีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ กิจการผลิตรถยนต์ไฮบริจด์ มูลค่า 19,547 ล้านบาท, การผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษ หรือ เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ มูลค่า 15,182 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลงทุนในการผลิตรถยนต์, การผลิตตัวยึดจับฮาร์ดดิสก์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป อีกด้วย
สำหรับการเดินทางมาเยือนไทยของคณะนักธุรกิจญี่ปุ่น ที่นำโดย รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) มีจำนวนกว่า 570 บริษัท ถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา นอกจากนี้ จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ 7 ฉบับ คือ
1.สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น หรือ เคดันเรน กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทย กับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JCCI) เพื่อร่วมกันรวมถึงความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 แห่ง ในประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0) และความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นในประเทศไทยและญี่ปุ่น อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า การตลาด และเศรษฐกิจ, การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการระหว่างกัน และการให้ความช่วยเหลือ/การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ ที่มีมาตรฐานสากล
2.สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า)
3.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับสถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ภายใต้แนวคิดความร่วมมือทางไกลระหว่างมหแาวิทยาลัยของญี่ปุ่นกับนักลงทุนไทย
4.นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครกับ บริษัท ฮิตาชิ
5.กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร
6.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับองค์การสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศญี่ปุ่น
7.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและ บริษัท JC Service
http://m.thansettakij.com/content/207209
http://daily.bangkokbiznews.com/detail/312413
ด้วยความพยายามของฝ่ายเศรษฐกิจ การนำนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนก็ได้ผลอย่างดี
รัฐบาลนี้ทำเพื่อประชาชน หวังกระตุ้เศรษฐกิจ ประชาชนมีงานทำ มีรายได้
ต้องขอบคุณท่านรองนายกฯลุงสมคิดและคณะนะคะ ที่มุ่งมั่นทำงานจนประสบความสำเร็จ...