คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ไทอาหม เป็นพวกที่แยกตัวจากพวกไต หรือที่เราเรียกว่า ไทใหญ่ เดินทางข้ามเขาปาดไก่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นประเทศอินเดียหลังจากมีพระพุทธศาสนาเป็นพันปี และยังเป็นชาติพันธุ์ไทกลุ่มเดียวที่รับศาสนาและวัฒนธรรมฮินดู
หลักฐานคือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของชาวอาหม ที่เรียกกันว่า อาหมบุราณจี หนังสือนี้บันทึกเรื่องราวด้วยภาษาและตัวอักษรอาหม ปัจจุบันยังพอมีคนอ่านได้ เป็นพ่อหมอสูงวัยและบรรดานักวิชาการเชื้อสายอาหม ในอาหมบุราณจีเล่าเรื่องในลักษณะตำนานตั้งแต่การสร้างโลก จนมาถึงเรื่องราวในราชวงศ์อาหมก่อนเสียเอกราชให้อังกฤษ นอกเหนือไปจากเนื้อหาในลักษณะตำนานแล้ว ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อตั้งอาณาจักร วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆในราชสำนัก ซึ่งไม่มีส่วนใดที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธเลย ... วัฒนธรรมประเพณีที่ชาวอาหมยึดถือคือการบูชาบรรพบุรุษ ตามความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท และมีศาสนาฮินดูเข้ามาผสมรวมในยุคหลังๆ ที่กษัตริย์ยอมรับนับถือ แต่ประเพณีที่สำคัญที่สุดคือการบูชาผีฟ้า บูชาบรรพบุรุษ
มีการศึกษาเรื่องไทอาหมอยู่มากมาย เจ้าของกระทู้ลองอ่านงานของ อาจารย์บรรจบ พันธุเมธา, อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, และอาจารย์เรณู วิชาศิลป์ ดูค่ะ ท่านเหล่านี้ถือเป็นนักวิชาการคนสำคัญที่ศึกษาเรื่องไทอาหม และมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ค่ะ
กลุ่มชาติพันธุ์ไทมีตัวอักษรของตนเองในการใช้บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความรู้ต่างๆ แทบจะทุกกลุ่มนะคะ แล้วถ้าศึกษาดู (จากที่มีการปริวรรตเป็นอักษรไทยกลางก็ได้ หรือจะอ่านตัวอักษรดั้งเดิมออกก็ดี) จะพบว่า ลักษณะแบบแผนการบันทึกจะมีความคล้ายกัน คืออ้างตำนานการสร้างโลกก่อนเกือบทั้งนั้น โดยเผ่าไทกลุ่มไหนรับพระพุทธศาสนาเข้ามา กลุ่มนั้นจะเล่าย้อนเรื่องราวไปถึงสมัยก่อนพุทธกาลตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระองค์แรกกันเลยทีเดียว ... แต่อาหมบุราณจีไม่ใช่แบบนั้น
ซึ่งถ้าพระพุทธเจ้าเป็นชาวอาหมจริงอย่างที่เจ้าของกระทู้เชื่อ ในอาหมบุราณจี ควรมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ค่ะ
กลุ่มชาติพันธุ์ไทในรัฐอัสสัมนั้น จะเรียกว่าเป็นผู้รุกรานก็ได้ ผู้อพยพก็ได้ เพราะเพิ่งเข้าไปสู่ดินแดนอัสสัมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 นี้เอง ชาวอาหมที่ไปตั้งถิ่นฐานก็คือชาวไทใหญ่ที่แยกตัวออกไปก่อนที่ชาวไทใหญ่จะรู้จักและนับถือพระพุทธศาสนา กลุ่มต่อมาคือ ไทพ่าเก ไทอ้ายตอน ก็เป็นอีกสายของไทใหญ่ แต่เข้าไปอินเดียหลังชาวอาหมหลายร้อยปี (ถ้าจำไม่ผิดเพิ่งอพยพเข้าไปเมื่อประมาณ 200 ปีมานี้เองค่ะ) สองกลุ่มนี้รู้จักและนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว แต่การบูชาบรรพบุรุษอย่างความเชื่อดั้งเดิมยังเข้มข้น ส่วนภาษาทั้งชาวพ่าเกและอ้ายตอนยังใช้ภาษาตระกูลไทอยู่ ส่วนอาหมนั้นปัจจุบันใช้ภาษาอัสสัม ซึ่งเป็นสายหนึ่งของภาษาตระกูลอินโด - ยูโรเปียน ภาษาอาหมนั้นในปัจจุบันเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันกันแล้ว แต่กำลังถูกฟื้นฟูโดยนักวิชาการเชื้อสายอาหม ร่วมกับนักวิชาการชาวไทย ฯ โดยอาศัยชาวไทพ่าเก และชาวไทอ้ายตอนซึ่งอพยพเข้าอินเดียมาทีหลัง และยังรักษาภาษาของตัวเองไว้ได้อยู่
ในด้านวัฒนธรรม นักวิชาการและนักการเมืองเชื้อสายอาหมสายฮาร์ดคอร์บางคน เลิกนับถือฮินดู กลับไปนับถือศาสนาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ คือ การนับถือผีค่ะ แต่บางคนก็เลือกมานับถือศาสนาพุทธตามอย่างชาวไทยในประเทศไทย เพราะได้มีโอกาสมาเรียนหนังสือที่เมืองไทย หรือมีการติดต่อสัมพันธ์กับนักวิชาการชาวไทยบ่อยครั้ง ส่วนชาวบ้านทั่วไปก็ยังนับถือฮินดูกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
คืออยากจะบอกเจ้าของกระทู้ว่า มีงานวิชาการที่เชื่อถือได้มากมาย ก่อนจะนำเสนอเรื่องใดๆอยากให้ศึกษาให้ดีก่อนน่ะค่ะ ดูไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์ว่าตรงกันหรือไม่อย่างไร น่าเชื่อถือได้แค่ไหน
อีกอย่าง เรื่องแบบนี้สุ่มเสี่ยงต่อการที่จะมีการปรามาสหลวงพ่อท่านได้ จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาเสนอค่ะ
หลักฐานคือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของชาวอาหม ที่เรียกกันว่า อาหมบุราณจี หนังสือนี้บันทึกเรื่องราวด้วยภาษาและตัวอักษรอาหม ปัจจุบันยังพอมีคนอ่านได้ เป็นพ่อหมอสูงวัยและบรรดานักวิชาการเชื้อสายอาหม ในอาหมบุราณจีเล่าเรื่องในลักษณะตำนานตั้งแต่การสร้างโลก จนมาถึงเรื่องราวในราชวงศ์อาหมก่อนเสียเอกราชให้อังกฤษ นอกเหนือไปจากเนื้อหาในลักษณะตำนานแล้ว ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อตั้งอาณาจักร วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆในราชสำนัก ซึ่งไม่มีส่วนใดที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธเลย ... วัฒนธรรมประเพณีที่ชาวอาหมยึดถือคือการบูชาบรรพบุรุษ ตามความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท และมีศาสนาฮินดูเข้ามาผสมรวมในยุคหลังๆ ที่กษัตริย์ยอมรับนับถือ แต่ประเพณีที่สำคัญที่สุดคือการบูชาผีฟ้า บูชาบรรพบุรุษ
มีการศึกษาเรื่องไทอาหมอยู่มากมาย เจ้าของกระทู้ลองอ่านงานของ อาจารย์บรรจบ พันธุเมธา, อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, และอาจารย์เรณู วิชาศิลป์ ดูค่ะ ท่านเหล่านี้ถือเป็นนักวิชาการคนสำคัญที่ศึกษาเรื่องไทอาหม และมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ค่ะ
กลุ่มชาติพันธุ์ไทมีตัวอักษรของตนเองในการใช้บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความรู้ต่างๆ แทบจะทุกกลุ่มนะคะ แล้วถ้าศึกษาดู (จากที่มีการปริวรรตเป็นอักษรไทยกลางก็ได้ หรือจะอ่านตัวอักษรดั้งเดิมออกก็ดี) จะพบว่า ลักษณะแบบแผนการบันทึกจะมีความคล้ายกัน คืออ้างตำนานการสร้างโลกก่อนเกือบทั้งนั้น โดยเผ่าไทกลุ่มไหนรับพระพุทธศาสนาเข้ามา กลุ่มนั้นจะเล่าย้อนเรื่องราวไปถึงสมัยก่อนพุทธกาลตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระองค์แรกกันเลยทีเดียว ... แต่อาหมบุราณจีไม่ใช่แบบนั้น
ซึ่งถ้าพระพุทธเจ้าเป็นชาวอาหมจริงอย่างที่เจ้าของกระทู้เชื่อ ในอาหมบุราณจี ควรมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ค่ะ
กลุ่มชาติพันธุ์ไทในรัฐอัสสัมนั้น จะเรียกว่าเป็นผู้รุกรานก็ได้ ผู้อพยพก็ได้ เพราะเพิ่งเข้าไปสู่ดินแดนอัสสัมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 นี้เอง ชาวอาหมที่ไปตั้งถิ่นฐานก็คือชาวไทใหญ่ที่แยกตัวออกไปก่อนที่ชาวไทใหญ่จะรู้จักและนับถือพระพุทธศาสนา กลุ่มต่อมาคือ ไทพ่าเก ไทอ้ายตอน ก็เป็นอีกสายของไทใหญ่ แต่เข้าไปอินเดียหลังชาวอาหมหลายร้อยปี (ถ้าจำไม่ผิดเพิ่งอพยพเข้าไปเมื่อประมาณ 200 ปีมานี้เองค่ะ) สองกลุ่มนี้รู้จักและนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว แต่การบูชาบรรพบุรุษอย่างความเชื่อดั้งเดิมยังเข้มข้น ส่วนภาษาทั้งชาวพ่าเกและอ้ายตอนยังใช้ภาษาตระกูลไทอยู่ ส่วนอาหมนั้นปัจจุบันใช้ภาษาอัสสัม ซึ่งเป็นสายหนึ่งของภาษาตระกูลอินโด - ยูโรเปียน ภาษาอาหมนั้นในปัจจุบันเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันกันแล้ว แต่กำลังถูกฟื้นฟูโดยนักวิชาการเชื้อสายอาหม ร่วมกับนักวิชาการชาวไทย ฯ โดยอาศัยชาวไทพ่าเก และชาวไทอ้ายตอนซึ่งอพยพเข้าอินเดียมาทีหลัง และยังรักษาภาษาของตัวเองไว้ได้อยู่
ในด้านวัฒนธรรม นักวิชาการและนักการเมืองเชื้อสายอาหมสายฮาร์ดคอร์บางคน เลิกนับถือฮินดู กลับไปนับถือศาสนาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ คือ การนับถือผีค่ะ แต่บางคนก็เลือกมานับถือศาสนาพุทธตามอย่างชาวไทยในประเทศไทย เพราะได้มีโอกาสมาเรียนหนังสือที่เมืองไทย หรือมีการติดต่อสัมพันธ์กับนักวิชาการชาวไทยบ่อยครั้ง ส่วนชาวบ้านทั่วไปก็ยังนับถือฮินดูกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
คืออยากจะบอกเจ้าของกระทู้ว่า มีงานวิชาการที่เชื่อถือได้มากมาย ก่อนจะนำเสนอเรื่องใดๆอยากให้ศึกษาให้ดีก่อนน่ะค่ะ ดูไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์ว่าตรงกันหรือไม่อย่างไร น่าเชื่อถือได้แค่ไหน
อีกอย่าง เรื่องแบบนี้สุ่มเสี่ยงต่อการที่จะมีการปรามาสหลวงพ่อท่านได้ จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมาเสนอค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ไทอาหม คนไทยในอินเดีย พูดสำเนียงเหนือ,อิสาน... หรือ พระพุทธเจ้าจะเป็นคนเชื้อสายไทย ตามหลวงปู่มั่น,หลวงพ่อฤาษีเล่า
พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
ในสมัยหนึ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาประทับสำราญอิริยาบถ ท่านโกมารภัจจ์ได้ยินข่าวว่า เมืองทวาราวดี เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีขนบธรรมเนียมประเพณีดี มีภาษาพูดเพราะ ก็อยากจะไปเที่ยวเมืองทวาราวดีคือเขตไทยทางด้านนครปฐม แต่ว่าทวาราวดีเวลานั้นก็กินเขตแดนเกือบทั้งหมดของเมืองไทยนี่เอง
เวลานั้นเขาไม่เรียกเมืองไทย เขาเรียกตามชื่อเมืองว่า เมืองทวาราวดี ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ ทูลลาองค์สมเด็จพระชินสีห์ ไปเที่ยวที่เมืองทวาราวดีอยู่เกือบ ๒ ปี ตอนนั้นท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว คือว่าการเป็นพระโสดาบันนี่เป็นไม่ยาก คือ
๑. นึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๒. เคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์
๓. มีศีล ๕ บริสุทธิ์
๔. จิตใจต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์
พระโสดาบันเขาเป็นกันแค่นี้นะ ทุกคนก็เป็นได้เมื่อมาถึงทวาราวดี อยู่ประมาณเกือบ ๒ ปี ท่านก็กลับ กลับแล้วก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าชาวเมืองทวาราวดีนี่มีภาษาพูดที่เพราะมาก เป็นภาษาโดด คือพูดเป็นคำๆ อย่างคำว่าไปก็ไป กินก็กิน อย่างเวลานั้นภาษาแขกหรือชาวมคธ คำว่า “ไป” เขาก็พูดว่า “คันตวา” มันเป็นคู่ “กิน” เขาก็พูดว่า“ภุญชติ” ภุญชติล่อไป ๓ คำ กลั้วกัน คันตวาล่อไป ๓ คำ ของเราไป ของเรากิน มันเป็นคำโดดพอกราบทูลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าภาษาทวาราวดีเขาพูดเพราะ พูดช้าๆ ฟังสบายๆ และก็เป็นภาษาโดด พระพุทธเจ้าจึงถามว่า ทวารวดีเขาพูดกันอย่างไร ลองพูดให้ฟังซิ ท่านโกมารภัจจ์ก็พูดให้ฟัง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พูดภาษาทวาราวดี คุยกับท่านโกมารภัจจ์อยู่พักหนึ่ง รู้สึกว่าสนุกสนานมาก ท่านโกมารภัจจ์ก็สนุก ทว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจะสนุกหรือไม่สนุกก็ไม่ทราบแต่เวลาคุยกับท่านโกมารภัจจ์ท่านคุยเป็นกันเอง คงจะสนุกเป็นพิเศษคุยกันไปคุยกันมา ท่านโกมารภัจจ์นึกขึ้นมาได้ว่า สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดานี้ เป็นลูกชาวกรุงกบิลพัสด์ อยู่อินเดีย ที่พูดภาษาทวาราวดีนี่ได้เพราะอาศัยปฏิสัมภิทาญาณหรือความรู้เดิมกันแน่ แล้วความจริงปฏิสัมภิทาญาณนี่เขารู้ภาษาทุกภาษา แม้แต่ภาษาสัตว์ทุกประเภท จึงกราบทูลองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ว่าที่พระองค์ตรัสภาษาทวาราวดีนี่ รู้มาเองหรือว่ารู้ด้วยอำนาจปฏิสัมภิทาญาณ หรือว่ารู้ด้วยการพูดได้เป็นภาษาเดิม หรือเรียนมาจากไหนองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงได้ตรัสว่า โกมารภัจจ์ ภาษาทวาราวดีนี่เป็นภาษาเดียวกับชาวกรุงกบิลพัสด์ใช้เป็นภาษาพื้นเมือง ฉะนั้นท่านโกมารภัจจ์ก็ทูลถามว่า ถ้าเช่นนั้น ชาวกรุงกบิลพัสด์ก็เป็นเชื้อสายเดียวกับทวาราวดีใช่ใหมองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่าใช่ คือชาวกรุงกบิลพัสด์ก็ดี ชาวกรุงทวาราวดีก็ดี เป็นเชื้อสายเดียวกัน คือพูดภาษาไทยเหมือนกันนี่ขอบรรดาท่านทั้งหลายได้โปรดทราบว่า พระพุทธเจ้าท่านความจริงเป็นคนไทย เขาเรียกว่าไทยอาหม
จากหนังสือธรรมปฏิบัติ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม ๑๗