ก็ในอธิการนี้ หากมีผู้ถามว่า เมื่อความไม่เคลื่อน ความปรากฏมีอยู่
อย่างนี้ เหตุทีขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว
และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัยแก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น
ผลนั้นของกรรมอื่น ก็พึงมีแต่กรรมอื่น ่
มิใช่หรือ ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้น พึงมีแก่ใคร เพราะฉะนั้น
วิธีนี้ไม่ดี ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า
สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ นาญฺสฺส น จ อญฺโต
วีชานํ อภิสํขาโร เอตสฺสถสฺส สาธโก
ผลใด ในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่
ของกรรมอื่น และมิใช่แต่กรรมอื่น สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย
เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้.
จริงอยู่ ผล เมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน ก็เพราะความที่
เป็นอันเดียวกัน และความต่างกัน จึงสำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น
จึงไม่มีว่า เป็นของกรรมอื่น หรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย
เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืช มะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษ
ในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้น ๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น
ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น อนึ่ง พืชเหล่านั้น หรือเครื่องปรุงแต่งนั้น
ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ ฉันนั้น และพึงทราบเนื้อความนี้
ด้วยวิชชา ศิลปะ และโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็กอำนวยผล
ให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้าไปเสวยผลนี้
พึงมีแก่แก่ใคร. ในข้อนั้น
มติว่าผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ชาวโลกย่อมเรียกว่า ย่อมผลิผล หรือออกผล
แล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียกว่า
ต้นไม้นั้นแหละ ฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวย
หรือเรียกว่า ผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่เรียกว่า
ผู้เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและมนุษย์ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไร ๆ ด้วยบุคคล
อื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.
แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม
ไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผลิว่าสังขารที่มีอยู่
วิบากก็พึงมีแก่สังขารเหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป
ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่งผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง
แต่ความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้
สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็น
ผู้ทำและมิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อนั้น
พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็นอุทาหรณ์.
จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้
กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
จักขุวิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกระทำ
เพราะการสั่งสมกุศลกรรมที่เป็นกามาพจร เป็นต้น
และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้ซ้ำซาก
เพราะความวิบากอันให้ผลแล้ว. ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้
พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งให้โลก เพื่อรับมอบอำนาจ
ประโยชน์บางอย่าง ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การทำนั้น
ซึ่งก็เป็นเพียงการทำการงานของนายประกันนั้นนั่น
เองเป็นปัจจัยในการรับมอบหมายประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่ หรือไม่มี
เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้
เกินกว่าการรับมอบหมายในประโยชน์นั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความมอบ
หมายเป็นต้น ตนการทำไว้แล้ว ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็
ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของนี้ เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้
เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.
ว่าด้วยผู้เสวยวิบากแห่งกรรม(สำเร็จผล)
อย่างนี้ เหตุทีขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว
และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัยแก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น
ผลนั้นของกรรมอื่น ก็พึงมีแต่กรรมอื่น ่
มิใช่หรือ ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้น พึงมีแก่ใคร เพราะฉะนั้น
วิธีนี้ไม่ดี ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า
สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ นาญฺสฺส น จ อญฺโต
วีชานํ อภิสํขาโร เอตสฺสถสฺส สาธโก
ผลใด ในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่
ของกรรมอื่น และมิใช่แต่กรรมอื่น สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย
เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้.
จริงอยู่ ผล เมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน ก็เพราะความที่
เป็นอันเดียวกัน และความต่างกัน จึงสำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น
จึงไม่มีว่า เป็นของกรรมอื่น หรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย
เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืช มะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษ
ในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้น ๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น
ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น อนึ่ง พืชเหล่านั้น หรือเครื่องปรุงแต่งนั้น
ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ ฉันนั้น และพึงทราบเนื้อความนี้
ด้วยวิชชา ศิลปะ และโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็กอำนวยผล
ให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้าไปเสวยผลนี้
พึงมีแก่แก่ใคร. ในข้อนั้น
มติว่าผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ชาวโลกย่อมเรียกว่า ย่อมผลิผล หรือออกผล
แล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียกว่า
ต้นไม้นั้นแหละ ฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวย
หรือเรียกว่า ผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่เรียกว่า
ผู้เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและมนุษย์ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไร ๆ ด้วยบุคคล
อื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.
แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม
ไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผลิว่าสังขารที่มีอยู่
วิบากก็พึงมีแก่สังขารเหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป
ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่งผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง
แต่ความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้
สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็น
ผู้ทำและมิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อนั้น
พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็นอุทาหรณ์.
จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้
กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
จักขุวิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกระทำ
เพราะการสั่งสมกุศลกรรมที่เป็นกามาพจร เป็นต้น
และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้ซ้ำซาก
เพราะความวิบากอันให้ผลแล้ว. ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้
พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งให้โลก เพื่อรับมอบอำนาจ
ประโยชน์บางอย่าง ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การทำนั้น
ซึ่งก็เป็นเพียงการทำการงานของนายประกันนั้นนั่น
เองเป็นปัจจัยในการรับมอบหมายประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่ หรือไม่มี
เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้
เกินกว่าการรับมอบหมายในประโยชน์นั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความมอบ
หมายเป็นต้น ตนการทำไว้แล้ว ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็
ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของนี้ เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้
เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.