(จุติและปฏิสนธิวิญญาณ)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ – ภพ’ ดังนี้. ภพ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า”
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม(กามธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง(รูปธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต(อรูปธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
- ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้ว ในเนื้อนาดี.
อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงามไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง๑ ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่าเป็นไปอย่างในอปรปริยายะ๒ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลายอันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัยอันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างใน ทิฏฐิธรรม(คือทันควัน) หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ(ในระยะเวลาถัดมา) หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ (เวลาที่ถัดมาอีก) ก็ตาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย 3 ประการ คือ โลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
.
ว่าด้วยเหตุให้มีการเกิด-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ – ภพ’ ดังนี้. ภพ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า”
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม(กามธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง(รูปธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต(อรูปธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
- ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้ว ในเนื้อนาดี.
อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงามไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง๑ ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่าเป็นไปอย่างในอปรปริยายะ๒ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลายอันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัยอันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างใน ทิฏฐิธรรม(คือทันควัน) หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ(ในระยะเวลาถัดมา) หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ (เวลาที่ถัดมาอีก) ก็ตาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย 3 ประการ คือ โลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
.