[๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติ ๓ ประการนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓ ประการเป็นไฉน คือ
โลภะ ๑
โทสะ ๑
โมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูก
โลภะครอบงำ
เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น
เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูก
โทสะครอบงำ
เกิดแต่โทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น
เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูก
โมหะครอบงำ
เกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น
เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ไม่ถูกลมแดดกระทบ มีสาระ เก็บงำไว้ดี .....เขาหว่าน
ลงบนพื้นดินที่พรวนไว้ดีแล้วในไร่ที่ดี
ทั้งฝนก็ตกดีตามฤดูกาล เมล็ดพืชเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยแท้ทีเดียว แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
.....กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
.....กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะมีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น
ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
อโลภะ ๑
อโทสะ ๑
อโมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูก
อโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด
เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
กรรมที่ถูก
อโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแต่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด
เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ยังไม่ถูกลมแดดกระทบ
มีสาระถูกเก็บงำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้ว
พึงทำให้เป็นเขม่า แล้วโปรยลงไปในลมพายุ หรือลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว
พึงเป็นพืชถูกถอนรากขึ้น ถูกทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
กรรมที่ถูก
อโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด
เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา กรรมที่ถูก
อโทสะครอบงำ ฯลฯ
กรรมที่ถูก
อโมหะครอบงำ เกิดแก่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด
เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ
-----------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
นิทานสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๕๓๕ - ๓๕๘๒. หน้าที่ ๑๕๒ - ๑๕๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3535&Z=3582&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=473
ธรรมชาติ ๓ ประการนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓ ประการเป็นไฉน คือ
โลภะ ๑
โทสะ ๑
โมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดแต่โทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ไม่ถูกลมแดดกระทบ มีสาระ เก็บงำไว้ดี .....เขาหว่านลงบนพื้นดินที่พรวนไว้ดีแล้วในไร่ที่ดี
ทั้งฝนก็ตกดีตามฤดูกาล เมล็ดพืชเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยแท้ทีเดียว แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
.....กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา
กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
.....กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะมีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น
ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
อโลภะ ๑
อโทสะ ๑
อโมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด
เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแต่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด
เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ยังไม่ถูกลมแดดกระทบ
มีสาระถูกเก็บงำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงทำให้เป็นเขม่า แล้วโปรยลงไปในลมพายุ หรือลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว
พึงเป็นพืชถูกถอนรากขึ้น ถูกทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด
เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ
กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแก่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด
เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ
-----------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก นิทานสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๕๓๕ - ๓๕๘๒. หน้าที่ ๑๕๒ - ๑๕๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3535&Z=3582&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=473