พระศาสดายังมี เวทนา สัญญา วิตก

กระทู้คำถาม
กระบวนการการกระทบอารมณ์ของพระอรหันต์  เหตุ ผล ปรากฎการณ์ องค์ที่เกิด และปลายทางคืออย่างไร
พระอรหันต์มีเจตนาหรือไม่
และการวิเคราะห์ คำว่า ไม่ปรุงแต่งในอุปยสูตร 
ขอทราบความเห็นเกี่ยวกับอุปยสูตร

*๑.๒ มัชฌิมปัณณาสก์
**๑.๒.๑.  อุปยวรรค
๑.    อุปยสูตร 105
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น
สาวตฺถิยํ ฯ ตตฺร โข  ณ ที่นั้นแล ฯ เป ฯ เอตทโวจ อุปาโย ภิกฺขเว อวิมุตฺโต ภิกษูทั้งหลาย ความเข้าถึง เป็นความไม่หลุดพ้น อนุปาโย วิมุตฺโต ความไม่เข้าถึงเป็นความหลุดพ้น ฯ  ///อุปายุปาทานา (ความเข้าไปยึดถือ -ด้วยตัณหา ทิฏฐิและอุปาทาน)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง (ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    ความเข้าถึง    ไม่ใช่ความหลุดพ้น
ความไม่เข้าถึง    เป็นความหลุดพ้น (ความเข้าถึง ย่อมต้องมีเหตุปัจจัยผลักดันให้เข้าไปถึง?)
            ภิกษุทั้งหลาย    วิญญาณที่เข้าถึงรูป    เมื่อตั้งอยู่    ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์    มีรูป
เป็นที่ตั้ง    เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่    ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
            ฯลฯ
            วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร    เมื่อตั้งอยู่    ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์    มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่    ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
            ภิกษุทั้งหลาย    เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า    ‘เราจักบัญญัติการมา
การไป    การจุติ    การอุบัติ    หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ    เว้นจากรูป
เวทนา    สัญญา    สังขาร’
 
...ฯ ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ    ภิกษุละได้แล้ว    เพราะละความกำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ (ถูกตัดออก เพราะไม่มีสัญเจตนา มีรูปสัญเจนตาเป็นต้น ซึ่งเป็นสังขาร?)    ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี    วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น    ก็ไม่งอกงาม  ไม่ปรุงแต่ง (น่าจะไม่ปรุงแต่งโดยสัญเจตนา ที่จะนำไปสู่ ตัณหา อุปาทาน ภพ ฯ? )    หลุดพ้นไป    เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น    เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ    เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง    เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง(เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว/ย่อม
ดับรอบ(สนิท)เฉพาะตนเท่านั้น.)    ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า    ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” (ขันธ์5)

 
บทว่า    โวจฺฉิชฺชตารมฺมฌํ   ความว่า   อารมณ์ย่อมขาดลง
บทว่า   จตสฺโส  วิญฺญาณฏฺฐิติโย ความว่า ขันธ์ ๔ มีรูปขันธ์ เป็นต้น อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมวิญญาณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่